ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนวัดศรีเมือง


“ โรงเรียนวัดศรีเมือง ”

1/2 หมู่3 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

หัวหน้าโครงการ
นายสมชาย ทับไกร

ชื่อโครงการ โรงเรียนวัดศรีเมือง

ที่อยู่ 1/2 หมู่3 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร

รหัสโครงการ ศรร.1213-038 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ก.7

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนวัดศรีเมือง จังหวัดสมุทรสาคร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 1/2 หมู่3 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนวัดศรีเมือง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนวัดศรีเมือง



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนวัดศรีเมือง " ดำเนินการในพื้นที่ 1/2 หมู่3 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร รหัสโครงการ ศรร.1213-038 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนวัดศรีเมือง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 666 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรงเรียนวัดศรีเมือง ได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส ปีที่ 1 ซึ่งกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีดังนี้ ด้านการเกษตร ได้แก่ กิจกรรมผักปลอดสารพิษ ผักไฮโดรโปนิกส์และเห็ดน้อยสอนน้อง ด้านการจัดบริการอาหารของโรงเรียน ด้านการติดตามภาวะโภชนาการ ด้านการพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน ด้านการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะและด้านการจัดบริการสุขภาพ เราได้จัดกิจกรรม เด็กไทยทำได้(อาหารปลอดภัย สุขาน่าใช้ เด็กไทยฟันดี) พุงจ๋าหนูลาก่อนและซี่โครงจ๋าหนูลาก่อน ส่วนด้านการจัดการเรียนรู้ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย เราจัดบูรณาการเข้าไปในการเรียนการสอน ในแต่ละรายวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ สุขศึกษาและพละศึกษา

ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการในปีแรก ถือว่าผ่านไปด้วยดี แต่ยังมีอีกองค์ประกอบที่เรายังไม่ได้นำมาเข้าโครงการ คือ ด้านสหกรณ์นักเรียน ซึ่งทางเราได้ตระหนักว่า หากนำองค์ประกอบนี้เข้ามาดำเนินการด้วย จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างครบวงจรมากขึ้น นักเรียนได้เรียนรู้การทำบัญชี รายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน ซึ่งนอกจากจะทำให้โครงการมีความสมบูรณ์แล้ว นักเรียนยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดการถ่ายทอดความรู้จากเพื่อนสู่เพื่อน จากพี่สู่น้อง และคนในครอบครัว และเป็นองค์ความรู้ติดตัวเป็นอาชีพในอนาคตได้ ทางโรงเรียนวัดศรีเมือง จึงมุ่งมั่นจะพัฒนาด้านนี้สำหรับโครงการปีที่ 2

นอกจากนี้ ทางเราประชุมและประเมินแล้ว พบว่า ในปีแรก ทางโรงเรียนยังจัดโครงการเป็นรูปแบบการเรียนการสอนภายในโรงเรียน กลุ่มผู้ที่ได้เรียนรู้ยังอยู่ในกรอบของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเท่านั้น ดังนั้นในปีที่ 2 นี้ทางเราจึงมุ่งมั่นและตั้งใจ ให้เกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านต่างๆที่เป็นวงกว้างมากขึ้น มีการเชื่อมโยงและประสานงานกับองค์กรและชุมชนมากขึ้น โดยการเน้นจัดกิจกรรมลักษณะเปิดบ้านความรู้ การสร้างภาคีเครือข่ายกับชุมชนให้มากขึ้น โดยจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในลักษณะศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่กับชุมชนใกล้เคียง เช่น ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ท่าทราย เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นโรงเรียน วัดศรีเมือง จึงได้เข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสเพื่อถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักไฮโดรโปนิก การปลูกเห็ด การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ
  2. 2. เพื่อสร้างกระบวนการประเมินติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  3. 3.เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีและเพิ่มทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียน
  4. 4. เพื่อพัฒนาบุคลากร ชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่าย และภาคีเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส
  5. 5. เพื่อปลูกฝัง สร้างองค์ความรู้ โดยบูรณาการจัดการเรียนรู้อย่างรอบด้าน ครบวงจร จากการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงให้แก่นักเรียน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. โรงเรียนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
    2. เกิดกระบวนการประเมินติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    3. นักเรียนมีสุขอนามัยที่ดีและมีทักษะการดำรงชีวิต
    4. เกิดการพัฒนาบุคลากร ชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่าย และภาคีเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เตรียมโรงเรือนปลูกเห็ด กิจกรรมเห็ดน้อยสอนน้อง

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2016 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและนักเรียน ช่วยกันซ่อมแซมโรงเรือนสำหรับการปลูกเห็ด และปรับแต่งพื้นที่รอบๆโรงเห็ด 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียน ได้เรียนรู้และเกิดทักษะการเตรียมโรงเรือนปลูกเห็ด 2.นักเรียนได้ออกกำลังกาย 3.นักเรียนฝึกการมีจิตอาสา 

     

    16 16

    2. ลงเชื้อเห็ด ปลูกเห็ด กิจกรรมเห็ดน้อยสอนน้อง

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและนักเรียนช่วยกันนำเชื้อเห็ดที่ซื้อมา เข้าสู่โรงเรือนปลูกเห็ด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้ ลักษณะของก้อนเชื้อเห็ด จากการปฏิบัติจริงและเห็นจากของจริง 2.นักเรียนได้ออกกำลังกาย

     

    35 20

    3. ปลูกผักไฮโดรโปนิก

    วันที่ 2 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนผู้รับผิดชอบ ช่วยกันปลูกผักและดูแลผัก ที่ปลูกโดยระบบไฮโดรโปนิกส์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -นักเรียนได้เรียนรู้การปลูกผัก ไร้ดิน เรียกว่า ไฮโดรโปนิกส์ -นักเรียนได้ดุแลผักที่ปลูก บำรุงรักษา -มีทักษะ นำไปประกอบอาชีพได้

     

    30 33

    4. เตรียมแปลงสำหรับปลูกผัก กิจกรรมผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 10 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูบอกจุดประสงค์ของการทำกิจกรรมและอธิบาย จากนั้นสาธิตให้นักเรียนดู 2.นักเรียนเตรียมแปลงสำหรับปลูกผักด้วยตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูกผักจากการลงมือปฏิบัติจริง 2.นักเรียนได้ออกกำลังกาย 

     

    40 35

    5. ซื้ออุปกรณ์สำหรับทำการเกษตร

    วันที่ 15 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและนักเรียน ได้ไปซื้ออุปกรณ์ จอบและเสียม สำหรับ ทำแปลงผักปลอดสารพิษและผักสวนครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครูและนักเรียน มีอุปกรณ์สำหรับการทำการเกษตร แปลงผักต่างๆ

     

    7 9

    6. ตลาดนัดชุมชน ขายเห็ดจากกิจกรรม เห็ดน้อยสอนน้อง ให้แก่ผู้ปกครองและชุมชนใกล้เคียง

    วันที่ 30 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นักเรียนเตรียมอุปกรณ์สำหรับการขายเห็ด เช่น โต๊ะวาง ถุงใส่เห็ด และเครื่องชั่ง 2. จัดเตรียมชั่งเห็ดขาย แบบครึ่งกิโลกรัมและ 1 กิโลกรัม 3. ประชาสัมพันธ์โดยใช้เสียงตามสายแจ้งให้ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนใกล้เคียงทราบ ว่าทางโรงเรียนเริ่มเปิดขายเห็ด จากกิจกรรมเห็ดน้อยสอนน้อง แล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนมีทักษะในการเก็บเห็ด
    2. นักเรียนมีทักษะในการชั่ง ตวง เพื่อเตรียมเห็ดขาย
    3. นักเรียนมีทักษะในการสื่อสาน ประชาสัมพันธ์ กับชุมชนและผู้คนอย่างหลากหลาย

     

    35 55

    7. เก็บผักบุ้ง จากกิจกรรมผักไฮโดรโปนิกส์ และเตรียมนำไปขาย

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2016 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม นัดหมาย และเตรียมนักเรียน มาเก็บผักบุ้ง
    2. นักเรียนช่วยการเก็บผักบุ้ง และจัดเตรียมเพื่อนำไปขาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รู้จักผักบุ้ง และเรียนรู้การเก็บผักบุ้ง 2.นักเรียนได้เรียนรู้การเตรียมของสำหรับขายและเรียนรู้การขาย 3.นักเรียนได้บูรณาการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ ทักาะการ บวก ลบ เลข 4.นักเรียนมีจิตอาสา ช่วยงานกิจกรรมของโรงเรียน 5.นักเรียนหลายๆคน รู้จักผักบุ้งมากขึ้นและขอซื้อไปให้ที่บ้าน เนื่องจากอยากลองทานผักบุ้ง

     

    25 45

    8. นำผักบุ้งจากกิจกรรม ผักไฮโดรโปนิกส์ เข้าสู่เมนูอาหารกลางวันเพื่อเด็กๆ

    วันที่ 4 กรกฎาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนนำผักบุ้งที่ผู้ประกอบอาหารซื้อ ไปส่งให้แม่ครัว เพื่อทำอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้ รู้จักผักบุ้ง 2.นักเรียนได้เรียนรู้การเก็บเกีี่ยวผลผลิต 3.นักเรียนได้เรียนรู้การค้าขาย และการ บวก ลบ เลข ระหว่างขาย เป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ 4.นักเรียนได้ทานผักปลอดสารพิษ ผลิตผลจากโรงเรียนจากเมนูอาหารกลางวัน

     

    7 7

    9. ขายผักจากผลผลิตในโรงเรียน ให้สหกรณ์แก้มใส และสหกรณ์ขายต่อให้ผู้ประกอบอาหาร เพื่อนำไปประกอบอาหารในโรงเรียน

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2016 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม นัดนักเรียน เก็บผักคะน้า ที่ปลูกแบบ ไฮโดรโปนิกส์
    2. นักเรียนช่วยกันชั่งผัก เพื่อขายให้แก่สหกรณ์
    3. นำผักขายให้แก่นักเรียนแกนนำ สหกรณ์แก้มใส
    4. นักเรียนแกนนำสหกรณ์แก้มใส ขายผักให้แก่ผู้ประกอบอาหาร เพื่อนำไปประกอบอาหารให้แก่นักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนได้เรียนรู้ว่าผักคะน้า มีลักษณะอย่างไร ต้องเก็บผลผลิตอย่างไร
    2. นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในการเก็บเกี่ยวผลผลิต
    3. นักเรียนได้เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง ด้านการชั่งน้ำหนักและการขายของ
    4. นักเรียนได้เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง ด้านการสื่อสาร ประสานงาน กับลูกค้า

     

    40 23

    10. ช่วยกันดูแลพื้นที่รอบๆแปรงผักปลอดสารพิษและกำจัดวัชพืชในแปรงผัก

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและนักเรียน มาดูแลผักและกำจัดวัชพืช ที่แปรงผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้ รู้จักผักหลากหลายชนิด 2.นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลและกำจัดวัชพืช 3.นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานจริง การมีจิตอาสาช่วยกิจกรรมของโรงเรียน

     

    7 8

    11. ออกกำลังกาย ทุกเช้าวันพฤหัสบดี กิจกรรมหน้าเสาธง

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ นำเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ และคณะครู ร่วมกันออกกำลังกาย ทุกเช้าวันพฤหัสบดี หน้าเสาธง โดยการเต้นแอโรบิค ไปพร้อมๆกันทั้งโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
    2. นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน ทั้งคณะครู ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้มีปฏิสัมพันธ์ ที่ดีต่อกัน ได้ร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน ช่วยเพิ่มสายสัมพันธ์อันดี แน่นแฟ้น

     

    678 678

    12. ติดตามผลและเฝ้าระวัง นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน จากภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลสมุทรสาคร

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ภาคีเครือข่าย จากโรงพยาบาลสมุทรสาคร มาช่วยประเมิน ติดตามผล นักเรียนกลุ่มเสี่ยง ที่มีภาวะอ้วน เริ่มอ้วน 2.ครูผู้ดูแลนักเรียน นำนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มาพบเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล 3.เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ให้กับนักเรียน 4.นักเรียนคนใด มีน้ำหนักลดตามเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจในการควบคุมน้ำหนักตนเองอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้ทราบภาวะ สุขภาพ น้ำหนัก ส่วนสูง ของตนเอง 2.นักเรียนได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ในการดูแล รักษาสุขภาพตนเองและการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคอ้วน 3.โรงเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ มีความสัมพันธ์อันดี เกิดการขยายเครือข่าย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 4.มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการเฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

     

    16 21

    13. กำจัดวัชพืชในแปลงผักบุ้ง กิจกรรมผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 5 สิงหาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนช่วยกันกำจัดวัชพืช ที่อยู่ในแปลงผักบุ้ง ในกิจกรรมแปลงผักปลอดสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้ จำแนก ระหว่าง ผักบุ้ง กับ วัชพืช 2.นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการกำจัดวัชพืช การดูแลผัก 3.นักเรียนได้ออกกำลังกาย

     

    32 31

    14. บ่อเลี้ยงปลาและบ่อเลี้ยงกบ

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมหารือคณะทำงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียน
    2. กำหนดรูปแบบและวางแผนการจัดทำบ่อเลี้ยงปลา และบ่อเลี้ยงกบ ตามรูปแบบ ขนาด ที่ตกลง
    3. จัดหาผู้รับจ้าง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการจัดทำ พร้อมทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
    4. มอบหมายครูผู้รับผิดชอบเพื่อติดตามการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าให้แก่ผู้บริหารทราบ
    5. ตรวจรับงาน ตามสัญญาจ้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนและนักเรียน มีสถานที่สำหรับเรียนรู้กระบวนการ การเลี้ยงปลาและเลี้ยงกบ
    2. เพื่อนำผลผลิตที่ได้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน
    3. โรงเรียนมีสถานที่ เป็นแหล่งฝึกทักษะอาชีพและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม ให้แก่นักเรียนและชุมชนใกล้เคียงต่อไป

     

    8 8

    15. เปิดบ้าน เยี่ยมชม ชมรมเด็กไทยทำได้

    วันที่ 19 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โรงเรียนจัดแสดงผลงาน รายงานกิจกรรม ที่ชมรมเด็กไทยทำได้ ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง
    2. ชมการแสดง จากชมรมเด็กไทยทำได้
    3. คณะผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีเมือง เข้าเยี่ยมชม ผลงาน จากโครงงานนักเรียน
    4. นักเรียนตัวแทนแต่ละโครงงานนำเสนอโครงงานที่ตนเองได้ทำมา ดังนี้ โครงงานอาหารปลอดภัย จัดทำเรื่อง ไข่ฟู, โครงงานสุขาน่าใช้ จัดทำเรื่อง สมุนไพรใช้ดับกลิ่น และโครงงานเด้กไทยฟันดี จัดทำเรื่อง Hi Herb Toothpaste
    5. คณะผู้เยี่ยมชม ให้ความรู้ ความคิดเห็น คำติชม สำหรับการดำเนินงานของชมรม เด็กไทยทำได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนได้นำเสนอผลงาน การดำเนินงาน และกิจกรรมที่ได้จัดทำมา
    2. นักเรียนได้มีโอกาส นำเสนอผลงานและ ความรู้ที่ตนเองได้รับ และได้ดำเนินกิจกรรม ในชมรมเด็กไทยทำได้
    3. โรงเรียนได้ขยายเครือข่าย กับหน่วยงานต่างๆและได้ขยายองค์ความรู้ ให้แก่ชุมชนได้ทราบ
    4. โรงเรียนได้ทราบผลการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน และรับการประเมิน จากผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน ทั้งด้าน อาหาร สุขา และฟัน จาก ทั้ง รพ. รพ.สต และ สสจ.

     

    66 96

    16. ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

    วันที่ 19 สิงหาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะครูและนักเรียน ร่วมด้วยช่วยกัน เตรียมพื้นดิน เตรียมแปลงปลูกผัก และช่วยกัน ปลูกพืชผักสวนครัว ทั้งแบบปลูกตามริมรั้วและปลูกแบบเลื้อยลอยฟ้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียน ได้เรียนรู้การ เตรียมแปลงและการปลูกผัก
    2. นักเรียน มีแหล่งอาหาร ที่เข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน และจะได้ทานผักปลอดสารพิษ
    3. นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ ด้านเศรษกิจพอเพียง และพืชพรรณหลากหลายชนิด
    4. นักเรียนมีทักษะการดำรงชีวิต ทักษะอาชีพ

     

    40 40

    17. ตลาดนัดชุมชน ขายผักบุ้งปลอดสารพิษ จากแปลงเกษตรในโรงเรียน ขายให้ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนใกล้เคียง

    วันที่ 25 สิงหาคม 2016 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูและนักเรียน ร่วมกันเก็บผักบุ้ง จากแปรงผักปลอดสารพิษ
    2. ครูและนักเรียนร่วมกันเตรียมผัก เพื่อนำไปขาย
    3. ครูและนักเรียนร่วมกันขายของให้แก้ผู้ปกครองและชุมชนใกล้เคียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้ รู้จักผักบุ้ง 2.นักเรียนได้เรียนรู้การเก็บเกีี่ยวผลผลิต 3.นักเรียนได้เรียนรู้การค้าขาย และการ บวก ลบ เลข ระหว่างขาย เป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ 4.นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานจริง การมีจิตอาสาช่วยกิจกรรมของโรงเรียน 5.โรงเรียนได้รับชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในนาม แหล่งขายสินค้าเกษตรอินทรยื ปลอดสารพิษ

     

    15 25

    18. มาดูแลแปลงผักบุ้งปลอดสาร และเตรียมเก็บ

    วันที่ 25 สิงหาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนลงพื้นที่ ไปตรวจแปลงผัก และสังเกตว่าผักได้เวลาเก็บเกี่ยวหรือยัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้ รู้จักลักษณะของผักบุ้ง 2.นักเรียนได้เรียนรู้การเก็บเกี่ยวผักบุ้ง ว่าใช้เวลาปลูกมากน้อย เท่าใดจึงจะเก็บได้ ผักต้องมีลักษณะอย่างไร ถึงจะเก็บ 3.บูรณาการการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฝึกทักษะการสังเกต การสรุปผล

     

    11 11

    19. ขายแตงกวาปลอดสารพิษ จากกิจกรรม ผักสวนครัวรั้วกินได้ ให้สหกรณ์แก้มใส

    วันที่ 6 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนและครูนำผลผลิต ที่ได้จากการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ (แตงกวา)มาขายให้ สหกรณ์แก้มใส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้ รู้จักลักษณะของต้นแตงกวาและผลแตงกวา 2.นักเรียนได้เรียนรู้การเก็บเกีี่ยวผลผลิต 3.นักเรียนได้เรียนรู้ การชั่ง จากเครื่องชั่ง เป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ 4.นักเรียนได้เรียนรู้การค้าขาย และการ บวก ลบ เลข ระหว่างขาย เป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ 5.นักเรียนได้เรียนรู้การจากทำงานจริง ทำให้เข้าใจอย่างลึกวึ้งและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ุ6.นักเรียนได้ฝึกการมีจิตอาสาช่วยกิจกรรมของโรงเรียน

     

    9 9

    20. การจัดกิจกรรมอบรม ให้ความรู้ เรื่องโภชนาการ ในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์

    วันที่ 9 กันยายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้ความรู้นักเรียน เกี่ยวกับ - ธงโภชนาการ อาหารหลัก 5 หมู่ - การเลือกทานอาหาร อย่างปลอดภัย - การอ่านฉลากอาหาร อ่านเป็น กินเป็น โดยแบ่งเป็น ฐานการเรียนรู้ ให้นักเรียน เวียนเข้าแต่ละฐานการเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


    - นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับ ธงโภชนาการ อาหารหลัก 5 หมู่ - นักเรียนมีความรู้ในการเลือกทานอาหาร อย่างปลอดภัย - นักเรียนมีความรู้ในการอ่านฉลากอาหาร อ่านเป็น กินเป็น

     

    676 678

    21. รายการฟ้าห่มดิน ทาง ช่อง 5 มา เยี่ยมชมและถ่ายรายการ ศูนย์เรียนรู้เศรษกิจพอเพียง

    วันที่ 21 กันยายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายการฟ้าห่มดิน มาเยี่ยมชม และถ่ายทำรายการ ศูนย์เรียนรู้เศรษกิจพอเพียง ออกอากาศ ทางช่อง 5 - นักเรียนผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมและแต่ละฐานการเรียนรู้ เตรียมพร้อมและนำเสนอ ขั้นตอน กระบวนการ เตรียม ดูแลรักษา และการบริหารจัดการผลผลิต - คณะครู นำผลงานต่างๆ กิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียน ดำเนินการด้านเศรษฐกิจพอเพียง นำเสนอรายการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • โรงเรียน ได้ขยายองค์ความรู้ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ออกสู่สาธารณชน ให้เป็นที่ประจักษ์และเผยแพร่ความรู้สู่สังคม
    • นักเรียนได้นำเสนอ ผลงาน การดำเนินกิจกรรม ที่ตนเองได้ทำมา เรียนรู้มา ให้สู่สังคมได้เรียนรู้
    • คณะครู ได้นำเสนอผลการดำเนินกิจกรรม ในโรงเรียน ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้สังคมทราบและเผยแพร่ความรู้สู่สังคม

     

    55 65

    22. เยี่ยมชม โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 28 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้นำเสนอและอธิบาย กิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้หน่วยงานภายนอกรับรู้ 2.โรงเรียนได้ขยายองค์ความรู้และเป็นที่รู้จักในนาม ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 

     

    45 45

    23. ติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียน โดยการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง ของต้นเทอมภาคเรียนที่2

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูพานักเรียน ไปชั่งน้ำหนักและส่วนสูง
    2. ครูบันทึกน้ำหนักส่วนสูง ลงในแบบบันทึกและประเมินภาวะ อ้วน เตี้ย ผอม รวมทั้งตรวจสุขภาพด้านอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียน ได้รับการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง และตรวจสุขภาพร่างการเบื้องต้น
    2. ครูได้มีการลงบันทึกน้ำหนักส่วนสูง และประเมินภาวะโภชนาการ อ้วน เตี้ย ผอม
    3. ครูได้มีการนำผลไปวิเคราะห์ภาวะโภชนาการผลรวมทั้งโรงเรียน เพื่อวิเคราะห์ นำไปสู่การจัดกิจกรรมเพื่อปรับปรุง ป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียนต่อไป

     

    682 682

    24. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาสุขภาวะในวัยรุ่นและ ทักษะการดำรงชีวิต

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ภาคีเครือข่าย- โรงพยาบาสมุทรสาครและ รพ.สต  มาอบรม ให้ความรู้ เกี่ยวกับ - การรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
    - ปัญหาสุขภาวะในวัยรุ่น - ยาเสพติด - ทักษะการดำรงชีวิตและการปฏิเสธ - การดูแลรักษาสุขภาพ ในวัยรุ่นตอนต้น โดยใช้เวลา 2 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รับความรู้ ทั้งด้านการดูแลตนเองและการป้องกัน การตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร ยาเสพติด การดูแลสุขภาพตนเอง ทักษะในการดำรงชีวิตและทักษะการปฏิเสธ 2. นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้นำไปเผยแพร่ต่อไป ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ในฐานะแกนนำ 3. นักเรียนมีความรู้ความเข้าในในเนื้อหาต่างๆมากขึ้น เนื่องจากได้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

     

    95 0

    25. นักเรียนได้เรียนรู้ ตกผลึกความรู้ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและประโยชน์ของพืชผักที่เราปลูก ผ่าน mind mapping

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูให้นักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ลงแปลงเกษตรและเศรษฐกิจพอเพียง ผ่าน mind mapping

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนเกิดการตกผลึกความคิด สามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้มา ทั้งในห้องเรียนและทั้งการปฏบัติ สรุปเป็นภาพรวมให้เิดความเข้าใจง่ายขึ้น และสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดได้

     

    670 670

    26. อบรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนในเครือข่ายและเปิดบ้านศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการอบรม พัฒนาศักยภาพโรงเรียนในเครือข่ายและเปิดบ้านศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส
    ตามรอยเจ้าฟ้านักโภชนาการ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559
    ณ หอประชุมโรงเรียนวัดศรีเมือง อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

    เวลา รายละเอียด 08.00 - 08.45 น. - ลงทะเบียน 08.45 - 09.00 น. - พิธีเปิดการอบรม กล่าวรายงาน โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณวิภา วิทยสรณะ 09.00 - 09.10 น. - พิธีเปิดการอบรม บรรยายพิเศษ โดยผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศรีเมือง นายสมชาย ทับไกร 09.10 - 09.20 น. - นำเสนอภาพรวมและความก้าวหน้าของโครงการ โดยคณะครูโรงเรียนวัดศรีเมือง 09.20 - 09.30 น. - การแสดงจากชมรมเด็กไทยทำได้ โดยนักเรียนโรงเรียนวัดศรีเมือง 09.30 - 10.45 น. - การทำบัญชีรายรับรายจ่ายและความช่วยเหลือจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร  โดยเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร 10.45 - 11.00 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 11.00 - 12.00 น. - เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามฐานการเรียนรู้ โดยนักเรียนแกนนำ และคณะครูโรงเรียนวัดศรีเมือง • ฐานที่ 1 บ่อเลี้ยงปลาดุก • ฐานที่ 2 บ่อเลี้ยงกบ • ฐานที่ 3 ผักไฮโดรโปนิกส์ • ฐานที่ 4 เห็ดน้อยสอนน้อง • ฐานที่ 5 แปลงผักปลอดสารพิษ • ฐานที่ 6 สวนผักลอยฟ้า • ฐานที่ 7 ผักสวนครัว - เยี่ยมชม สหกรณ์ ห้องพยาบาลและโรงอาหาร 12.00 – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. - อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย เด็กไทยสุขภาพดี
    โดยนักโภชนาการ โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร 14.00 – 14.15 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 14.15 – 14.30 น. - กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยคณะครูโรงเรียนวัดศรีเมือง 14.30 – 15.30 น. - ค่ายภารกิจ พิชิตสุขภาพดี โดย นักเรียนแกนนำและคณะครูโรงเรียนวัดศรีเมือง • ฐานที่ 1 อ่าน    : ฉลากโภชนาการ อ่านเป็น กินเป็น • ฐานที่ 2 ปรับ    : กินหลากหลาย เพิ่มผักผลไม้ • ฐานที่ 3 เปลี่ยน : กินหวาน มัน เค็ม แต่พอดี • ฐานที่ 4 ขยับ    : กินเท่าไหร่ ใช้ให้หมด 15.30 – 16.00 น. - สรุปประโยชน์ จากการเข้าร่วมกิจกรรมและสรุปผลการร่วมกิจกรรม

    หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนได้เปิดบ้านศูนย์เรียนรู้ ชุมชน สังคม โรงเรียนเครือข่ายได้ทราบการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรม และสนับสนุนโครงการ
    2. โรงเรียนและนักเรียนเครือข่าย ได้รับความรู้ตามความมุ่งหมายที่เราได้กำหนดในวัตถุประสงค์ ในการขยายองค์ความรู้สู่สังคม ได้แก่ โรงเรียนบ้านท่าทราย โรงเรียนบ้านยกกระบัตร โรงเรียนวัดพันธุวงษ์และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีเมือง
    3. เกิดการประสานความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ทั้งส่วนของเจ้าหน้าที่เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่ฝ่ายโภชนาการโรงพยาบาลสมุทรสาคร ฝ่ายข่ายและประชาสัมพันธ์สมุทรสาคร
    4. นักเรียนได้รับความรู้และได้นำเสนอผลงานที่ตนเองได้ดำเนินกิจกรรม และสร้างนักเรียนแกนนำ ทั้งด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหารและโภชนาการ

     

    383 380

    27. อบรมและตรวจสอบบัญชีการเงินโครงการ งวดที่ 1

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมและตรวจสอบบัญชีการเงินโครงการ งวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับการตรวจสอบการเงิน ในการดำเนินโครงการววดที่ 1

     

    2 2

    28. เก็บผลผลิตจากกิจกรรมผักสวนครัว นำไปบูรณาการจัดการเรียนรู้ เตรียมทำโครงงานน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนและครูช่วยกันเก็บผลผลิต จากกิจกรรมผักสวนครัวลอยฟ้า เพื่อเตรียมทำน้ำสมุนไพร ใบเตยอัญชัญเพื่อสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนรู้จักสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่สามารถ นำไปประยุกต์ทำน้ำดื่มสมุนไพรได้ 2.นักเรียนรู้จักบูรณาการนำผลผลิตที่ตนเองปลูกในโรงเรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์

     

    11 11

    29. เก็บผักบุ้ง จากกิจกรรม แปลงผักปลอดสารพิษ ขายให้สหกรณ์และโรงอาหาร

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เก็บผลผลิต ผักบุ้ง จากกิจกรรม แปลงผักปลอดสารพิษ -ขายให้สหกรณ์และโรงอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เก็บผลผลิต ที่ตนเองปลูกมา 2.นักเรียนได้รู้ มีทักษะ การซื้อขาย ผ่านสหกรณ์และขายต่อเข้าสู่โรงครัว เพื่อเป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน 3. นักเรียนจะได้ วัตถุดิบ ที่ สด สะอาด ปลอดภัย สำหรับ การทานอาหาร 4. นักเรียน ได้ เรียนรู้ แบบบูรณาการ ครบวงจร

     

    7 7

    30. เก็บผลผลิตจากกิจกรรมผักสวนครัว นำไปบูรณาการจัดการเรียนรู้ เตรียมทำโครงงาน

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนเก็บผลผลิตจากกิจกรรมผักสวนครัว นำไปบูรณาการจัดการเรียนรู้ เตรียมทำโครงงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนได้เรียนรู้ผักชนิดต่างๆและได้เก็บผลผลิต ที่นักเรียนได้ปลูกมา ได้แก่ ถั่วพู อัญชัญ ใบเตย
    2. นักเรียนได้เรียนรู้การนำผลผลิตจากการเกษตรต่างๆ มาบูรณาการ สู่การทำโครงงานนักเรียน 

     

    5 5

    31. ทำน้ำใบเตย-อัญชัญ ให้นักเรียนดื่ม โดยใช้ผลผลิตจากกิจกรรมผักสวนครัว โดยบูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอนแบบโครงงาน

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นักเรียนและคณะครู เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ที่ใช้ทำน้ำดื่มสมุนไพร จากใบเตยและอัญชัญ
    2. นำผลผลิตที่ได้จาก กิจกรรมผักสวนครัวและผักลอยฟ้า ใบเตยและอัญชัญ มาทำโครงงาน น้ำสมุนไพรใบเตยอัญชัญเพื่อสุขภาพ
    3. หลังจากร่วมกันทำน้ำสมุนไพรแล้ว เด็กๆนำน้ำสมุนไพร แจกจ่ายให้นักเรียนดื่มช่วงทานอาหารกลางวัน และให้คณะครูได้ดื่มกันอย่างถ้วนหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนและครูได้บูรณาการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน ในการทำโครงงานน้ำดื่มสมุนไพรใบเตยอัญชัญเพื่อสุขภาพ
    2. นักเรียนและครูได้รู้จักการบริหารจัดการ นำทรัพยากรที่มีอยู่มากในโรงเรียนและผลผลิตที่นักเรียนได้ปลูกที่โรงเรียน มาใช้ให้เกิดประโยชน์
    3. นักเรียนและครูได้ดื่มน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สะอาดและปลอดภัย
    4. เพิ่มทักษะในการดำรงชีวิต นัเรียนและครูสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ที่บ้านหรือสร้างอาชีพให้แก่ตนเองต่อไปในอนาคตได้

     

    682 0

    32. จับปลาและกบ จากกิจกรรมเลี้ยงปลาและกบขาย

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จับปลาและกบ ซึ่งเลี้ยงได้ระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว ไปขาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้เรียนรู้ปลาและกบ จากการปฏิบัติ และได้ฝึกการค้าขาย นำเงินเข้าสู่โรงเรียน

     

    16 16

    33. พิธีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และบูรณาการจัดการเรียนรู้อย่างครบวงจร โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริ พระราชประวัติและผลงานนักเรียน สู่การเรียนรู้อย่างครบวงจร

    วันที่ 1 ธันวาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดพิธีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่มีต่อในหลวง รัชกาลที่ 9
    • การร้องเพลงประสานเสียง
    • การแปรขบวนอักษร
    • การร่วมปลูก ต้นไม้ของพ่อ
    • การแสดงพระราชประวัติ
    • การนำผลงานที่ นักเรียนทำเพื่อในหลวงและแสดงออกถึงความรักมาแสดง
    • การจัดทำและนำสื่อการเรียนรู้ด้านการเกษตร เศรษฐกิจพอเพียงและแนวพระราชดำริ รวมทั้งโครงการเชิงประจักษ์ต่างๆของในหลวง มาให้นักเรียนได้ศึกษา หาความรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะครู ผู้นำทางศาสนา และนักเรียน ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ ต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    2. ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม และสื่อมวลชนท้องถิ่น ได้รับรู้และร่วมือ ร่วมใจ ร่วมการแสดงออกในครั้งนี้
    3. นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งการแปรขบวนอักษร การร่วมร้องเพลงประสานเสียง การปลูกต้นไม้ของพ่อ การแสดงผลงานของตนเอง ฝึกทั้งความอดทน ความมีระเบียบ ความพร้อมเพรียง ความรู้และความคิดสร้างสรรค์
    4. นักเรียน ได้เรียนรู้อย่างครบวงจร รอบด้าน ทั้ง พระราชประวัติ โครงการในพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง การเกษตร การออมเงิน 

     

    694 693

    34. ประชุมคณะกรรมการกิจกรรมสหกรณ์แก้มใสและทบทวนเรื่องการทำบัญชี

    วันที่ 6 ธันวาคม 2016 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นักเรียนแกนนำและคณะกรรมการนักเรียนในกิจกรรมสหกรณ์แก้มใส จัดประชุมร่วมกัน โดยมีคณะครูคอยให้คำปรึกษา
    2. นักเรียนทบทวนการทำบัญชีและฝึกฝนส่งต่อให้แก่รุ่นน้อง โดยใช้ระบบพี่สอนน้อง
    3. นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาที่พบในการทำกิจกรรมและฝึกฝนการทำบัญชีพื้นฐาน รายรับรายจ่าย
    4. คณะครูให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนแกนนำและคณะกรรมการนักเรียนในกิจกรรมสหกรณ์แก้มใส จัดประชุมร่วมกัน โดยมีคณะครูคอยให้คำปรึกษา
    2. นักเรียนทบทวนการทำบัญชีและฝึกฝนส่งต่อให้แก่รุ่นน้อง โดยใช้ระบบพี่สอนน้อง
    3. นักเรียนได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาที่พบในการทำกิจกรรมและได้ฝึกฝนการทำบัญชีพื้นฐาน รายรับรายจ่าย
    4. คณะครูได้ให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

     

    13 13

    35. นำผักคะน้าจาก กิจกรรมผักไฮโดรโปนิกออกจำหน่ายให้ชุมชน และนำเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน

    วันที่ 7 ธันวาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นักเรียนเก็บผักคะน้า จากกิจกรรม ผักไฮโดรโปนิกส์
    2. นำออกจำหน่ายให้ชุมชนโดยใช้เสียงตามสาย และ เข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
    3. นักเรียนจะได้รับประทาน ผักที่ตนเองปลูก และปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนได้เรียนรู้การ เก็บผักคะน้า จากกิจกรรม ผักไฮโดรโปนิกส์
    2. นักเรียนได้ฝึกการ ค้าขายจำหน่ายผลผลิตให้ชุมชนโดยใช้เสียงตามสาย และ เข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
    3. นักเรียนได้รับประทาน ผักที่ตนเองปลูก และปลอดสารพิษ

     

    15 15

    36. ปรับปรุงโรงเรือนปลูกเห็ดและลงก้อนเชื้อเห็ดชุดใหม่

    วันที่ 9 ธันวาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ปรับปรุงซ่อมแซม โรงเรือนสำหรับปลูกเห็ด
    2. คัดเลือกเชื้อเห็ดเก่าที่หมดอายุออก เพื่อเตรียมลงเชื้อใหม่
    3. นำก้อนเห็ดชุดใหม่ที่ซื้อมา ลงในโรงเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรือนสำหรับปลูกเห็ด ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ให้ดีขึ้น สะอาด สวยงาม
    2. ก้อนเชื้อเห็ดเก่าที่หมดอายุได้รับการคัดแยกออก เพื่อเตรียมลงเชื้อใหม่
    3. ได้ลงก้อนเชื้อเห็ดชุดใหม่
    4. นักเรียนมีความรู้และทักษะการคัดเลือกเชื้อเห็ดและการดูแลรักษาโรงเพาะเห็ด
    5. ฝึกความมีจิตสาธารณะและความอดทนเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงด้วยดี

     

    12 12

    37. ครูและนักเรียนร่วมกัน เก็บผลผลิต ปรับแปลงผักปลอดสารพิษ กำจัดวัชพืช เพื่อเตรียมพร้อม ปลูกผักชุดใหม่

    วันที่ 13 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและนักเรียนร่วมกัน เก็บผลผลิต และปรับแปลงผัก กำจัดวัชพืช  เพื่อเตรียมพร้อม ลงดิน ใส่ปุ๋ยและปลูกผักชุดใหม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนได้เรียนรู้การเตรียมแปรงผัก สำหรับการปลูกผักแบบใช้ดิน และแบบทำแปลงผัก
    2. นักเรียนได้เรียนรู้การเก็บเกี่ยวผลผลิต การกำจัดวัชพืชชนิดต่างๆ
    3. นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ฝึกความอดน ความเสียสละและความสามัคคี เพื่อให้งานลุล่วง

     

    31 61

    38. ปลูกผักบุ้งชุดใหม่

    วันที่ 19 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและนักเรียนร่วมกัน ปลูกผักบุ้ง ในกิจกรรม แปลงผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ครูและนักเรียน ได้เรียนรู้การปลูกผักบุ้ง
    -เกิดทักษะในการดำรงชีวิต ไปใช้ในอนาคตได้

     

    36 47

    39. ร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลสมุทรสาคร จัดบริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันให้นักเรียน

    วันที่ 9 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกับภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลสมุทรสาคร จัดบริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันให้นักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างทั่วถึง สามารถส่งต่อรักษาได้ทันเวลากรณีที่มีอาการหนัก 2. นักเรียนได้รับบริการถึงโรงเรียน ทำให้สะดวกสำหรับผู้ปกครองมากขึ้น 3. นักเรียนได้รับคำแนะนำจากผู้เชียวชาญโดยตรงและมีความตระหนักในเรื่องช่องปากและฟันมากขึ้น

     

    650 650

    40. คัดกรองนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน เข้าอบรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน

    วันที่ 9 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คัดกรองนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน เข้าอบรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคเรื้อรังต่างๆ โดยร่วมกับภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลสมุทรสาคร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รับการคัดกรองจากครู เพื่อป้องโรคอ้วนและโรคเรื้อรังต่างๆที่จะตามมา 2.นักเรียนได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ทำให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องและเชิงลึก 3.นักเรียนเกิดความตระหนักต่อภาวะโรคอ้วนและมีแนวทางในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

     

    72 62

    41. ครูและนักเรียน ออกกำลังกาย ทุกเช้าวันพฤหัสบดี กิจกรรมหน้าเสาธง

    วันที่ 12 มกราคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและนักเรียน ออกกำลังกาย ทุกเช้าวันพฤหัสบดี กิจกรรมหน้าเสาธง โดยมีนักเรียนแกนนำ ส่งเสริมสุขภาพ เป็นผู้พาเพื่อนๆน้องออกกำลังกาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนและครูมีสุขภาพที่ดี ป้องกันและลดปัญหาโรคต่างๆ 2. นักเรียนและครูทั้งโรงเรียน ได้ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน

     

    670 670

    42. กิจกรรม English today นักเรียนแกนนำและครูมาให้ความรู้ด้านสุขภาพทั้งการรักษาสุขภาพและผักผลไม้ เป็นภาษาอังกฤษ ทุกวันศุกร์

    วันที่ 13 มกราคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนแกนนำและครู มาให้ความรู้ ผ่านกิจกรรม English today โดยเน้นให้ความรู้ด้านการรักษาสุขภาพและผักผลไม้ชนิดต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ ทุกวันศุกร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนได้เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษมากขึ้น ผ่านเรื่องใกล้ๆตัวและใช้ในชีวิตประจำวันได้
    2. นักเรียนได้ความรู้ด้านสุขภาพ ชนิดต่างๆของผักผลไม้ ทุกๆสัปดาห์ในเวอร์ชั่นภาษาอังอังกฤษ
    3. นักเรียนมีความกระตือรือร้น สนใจในการเรียนรู้มากขึ้นและหันมาสนใจ รักสุขภาพกันมากขึ้น

     

    670 670

    43. แกนนำอบรมเด็กที่มีภาวะอ้วน มาให้ความรู้เรื่องการทานผัก และเมนูวันนี้ ทุกสัปดาห์

    วันที่ 23 มกราคม 2017 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูฝึกและเป็นที่ปรึกษานักเรียน ที่มีภาวะอ้วน และได้เข้าอบรมการป้องกันโรคอ้วน มาเป็นแกนนำ ตัวแทน โดยการนำผักชนิดต่างๆ ที่มีในโรงเรียน มาแสดงตัวอย่าง และหาข้อมูลของประโยชน์ต่างๆ เพื่อมาพูดให้เพื่อนๆน้องๆฟังหน้าเสาธง และ ยังมีหน้าที่อธิบายให้เพื่อนๆฟังว่า วันนี้ที่โรงเรียนทำเมนูอะไร ให้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนและครูได้รู้จักผักชนิดต่างๆมากขึ้น และเมื่อทราบประโยชน์ จะทำให้แต่ละคนหันมาทานผักมากขึ้น
    2. นักเรียนและครูได้ทราบชื่อของเมนูอาหารแต่ละวันที่ทานไป และทราบประโยชน์พื้นฐาน ว่าตนเองได้ทานอาหารครบ 5 หมู่ หรือไม่ 3 นักเรียนที่มีภาวะอ้วน หันมาสนใจสุขภาพและเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ซึ่งเกิดจากการได้เป็นแกนนำหาความรู้และนำเสนอข้อมูล

     

    670 670

    44. ลงดินปลูกผัก ปรับแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ และปลูกผักชุดใหม่

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ปรับเปลี่ยนแปลงผัก ให้เรียบร้อย สวยงาม
    2. ลงดินที่ซื้อมา ลงแปลงปลูกผัก
    3. ผสมสัดส่วนดิน ให้ได้ตามที่ต้องการ
    4. ลงเมล็ดผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนแปลงผัก ให้เรียบร้อย สวยงาม
    2. นักเรียนได้เรียนรู้การและปฏิบัติ ลงดินที่ซื้อมา ลงแปลงปลูกผัก
    3. นักเรียนได้เรียนรู้การและปฏิบัติ ผสมสัดส่วนดิน ให้ได้ตามที่ต้องการ
    4. นักเรียนได้เรียนรู้การและปฏิบัติ ปลูกเมล็ดผัก
    5. นักเรียนได้ฝึกความอดทน และมีพื้นฐานความรู้ติดตัว นำไปใช้ในอนาคตได้

     

    12 17

    45. ติดตามภาวะโภชนาการ วัดน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียน ครั้งที่ 2 ของ ภาคเรียนที่ 2

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูประจำชั้นแต่ละชั้น ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียน เพื่อติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน ครั้งที่ 2 ของภาคเรียนที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน ร้อยละ 100 ได้รับการชัั่งน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อติดตามภาวะโภชนาการ

     

    670 670

    46. จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย

    วันที่ 5 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เงินดอกเบี้ยธนาคาร

     

    1 1

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักไฮโดรโปนิก การปลูกเห็ด การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ
    ตัวชี้วัด : เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ชุมชนและผู้สนใจศึกษาด้านเศรษฐกิจพอเพียง

     

    2 2. เพื่อสร้างกระบวนการประเมินติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นร้อยละ 80

     

    3 3.เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีและเพิ่มทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 เด็กนักเรียนมีสุขอนามัยที่ดี มีวินัยและทักษะที่ดีในการดำรงชีวิต

     

    4 4. เพื่อพัฒนาบุคลากร ชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่าย และภาคีเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส
    ตัวชี้วัด : มีเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส โดยมีชุมชน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วม อย่างน้อย 3 โรงเรียน

     

    5 5. เพื่อปลูกฝัง สร้างองค์ความรู้ โดยบูรณาการจัดการเรียนรู้อย่างรอบด้าน ครบวงจร จากการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงให้แก่นักเรียน
    ตัวชี้วัด : เกิดงานบูรณาการเกษตร - สหกรณ์ - อาหารกลางวัน ในโรงเรียน โดยการเชื่อมโยงเข้าสู่แผนการเรียน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักไฮโดรโปนิก การปลูกเห็ด การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ (2) 2. เพื่อสร้างกระบวนการประเมินติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน (3) 3.เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีและเพิ่มทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียน (4) 4. เพื่อพัฒนาบุคลากร ชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่าย และภาคีเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส (5) 5. เพื่อปลูกฝัง สร้างองค์ความรู้ โดยบูรณาการจัดการเรียนรู้อย่างรอบด้าน ครบวงจร จากการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงให้แก่นักเรียน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนวัดศรีเมือง

    รหัสโครงการ ศรร.1213-038 รหัสสัญญา 58-00-2265-ก.7 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน
    1. กิจกรรมบ่อเลี้ยงปลาและกบ
    2. กิจกรรมผักไฮโดรโปนิกส์
    3. กิจกรรมเห็ดน้อยสอนน้อง
    4. กิจกรรมแปลงผักปลอดสารพิษ
    5. กิจกรรมผักสวนครัว
    6. กิจกรรมผักลอยฟ้า
    • เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและชุมชนใกล้เคียง ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เกิดทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ปฏิบัติจริง(ใบงาน, ผลงานนักเรียน)
    • ผักที่ปลูกได้ขายผ่านสหกรณ์และเข้าสู่โครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ทานผักและวัตถุดิบที่สด สะอาด ปลอดสาร และบางส่วนได้ขายให้แก่ชุมชนโดยผ่านระบบเสียงตามสาย (บัญชีรายรับ รายจ่าย ซื้อขายผัก)
    • เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ให้แก่ชุมชนและสังคม โดยมีผู้เข้ามาขอศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก ทั้งต่างโรงเรียน โรงเรียนในเครือข่ายตามสัญญา ผู้ใหญ่บ้าน อบต. หน่วยงานสาธารณสุขและโรงเรียนจากจังหวัดนครสวรรค์ รวมทั้งสื่อรายการโทรทัศน์ของจังหวัดสมุทรสาคร และรายการฟ้าห่มดิน ทาง ททบ.5 (รูปภาพ, บันทึกการศึกษาดูงานของโรงเรียน)

    มีระบบการวางแผนระหว่างผู้ทำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงกับทางผู้ประกอบอาหารให้สัมพันธ์มากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมา เข้าสู่โรงอาหารมากขึ้น ไม่มีภาวะขาดวัตถุดิบ หรือ บางช่วง ล้นเกินความต้องการ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน
    • กิจกรรมสหกรณ์แก้มใส
    • อบรมให้ความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
    • ฝึกให้นักเรียนแกนนำ รู้จักการซื้อขายผ่านระบบสหกรณ์ โดยมีครูผู้ดูแลด้านสหกรณ์มาช่วยเป็รที่ปรึกษา
    • นักเรียนทำบัญชี รายรับรายจ่าย การซื้อขายผักจากกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง (บัญชี รายรับรายจ่าย)
    • จัดอบรมการทำบัญชีขั้นพื้นฐาน ให้นักเรียนทุกคน ระดับชั้น ป.4-6 โดยผู้เชี่ยวชาญจากสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร (แบบลงทะเบียน การเข้าอบรม)

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน
    • การใช้ program Thai School Luch
    • การนำผลผลิตจากเศรษกิจพอเพียงในโรงเรียน มาประกอบอาหารให้แก่นักเรียน
    • การเชิญวิทยากรด้านโภชนาการ จากโรงพยาบาลสมุทรสาคร มาให้ความรู้ทั้งนักเรียนและแม่ครัว รวมทั้งครูผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้ง โรงเรียนในเครือข่าย ทั้ง 3 โรงเรียน
    • รับซื้อผักและนำมาประกอบอาหารให้แก่นักเรียนได้รับประทาน และจัดตามโปรแกรม เพื่อได้อาหารตามหลักโภชนาการ
    • การเชิญวิทยากรด้านโภชนาการ จากโรงพยาบาลสมุทรสาคร มาให้ความรู้ อบรม ด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัย เด็กไทยสุขภาพดี(แบบลงทะเบียนการอบรม, รูปภาพ)

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน
    • การจัดกิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ จากการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง
    • การจัดกิจกรรม พุงจ๋่าหนูลาก่อนและซี่โครงจ๋าหนูลาก่อน
    • ประสานงานและจัดอบรม สำหรับนักเรียนที่คัดกรองแล้ว มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วนไปอบรมเข้มข้นและส่งต่อไปรักษา กรณีรุนแรง
    • ชั่งน้ำหนักและส่วนสูงนักเรียน ทุกภาคเรียน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ต้นและปลายภาค และสรุปผลภาวะโภชนาการวิเคราะห์ ส่งต่อให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
    • จัดการเรียนการสอน รวมทั้งการจัดกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกันทุกเช้าและเน้นพิเศษสำหรับกลุ่มเสี่ยง
    • จัดอบรม โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ทางโรงพยาบาล เพื่อลดอ้วน ลดพุง และติดตามประเมินผล น้ำหนักส่วนสูง ทุกๆเดือน

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
    • จัดอบรมให้ความรู้ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ทั้งการล้างมือ 7 ขั้นตอน การดูแลสุขภาพตนเองให้เท่าทันโลกและโรคภัยต่างๆ โดยครูอนามัยและนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ
    • การส่งแกนนำไปอบรม และนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ผ่านเสียงตามสาย และหน้าเสาธง และเป็นแกนนำส่งเสริมสุขภาพรุ่นต่อรุ่น
    • ทีมครู ดูแลด้านอนามัย อบรมให้ความรู้ เช่น ด้านการดูแลปากและฟัน อย่างถูกวิธี และมีการแปรงฟันหลังอาหารทุกเที่ยง การล้างมือ 7 ขั้นตอน การใช้ห้องน้ำอย่างถูกสุขลักษณะ การรู้เท่าทันโรค เป็นต้น
    • อบรมให้ความรู้ด้านสุขอนามัย และโรคต่างๆ โดยร่วมมือ กับ รพ.สต มาให้ความรู้ทุกๆภาคเรียน
    • การบริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
    • การจัดกิจกรรม ห้องเรียนสีขาว เพื่อให้ห้องเรียน มีความสะอาด และเป็นมุมเรียนรู้ที่น่าอยู่
    • การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ให้สะอาด ร่มรื่น น่าอยู่ จากกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ
    • การจัดมุมต่างๅในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านอาหารปลอดภัยและโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สวนวิทยาศาสตร์ สนามเด็กเล่น เป็นต้น
    • การจัดกิจกรรมสุขาน่าใช้ และอบรม การใช้ห้องน้ำอย่างถูกสุขลักษณะ
    • การจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดอก โดยการเดินรณณงค์ ให้ความรู้ แจกทรายอะเบต กำจัดแหล่งพาหะ ในและรอบๆโรงเรียน และให้ความรู้โดย รพสต

    จัดกิจกรรม อบรม ให้ความรู้ ในกิจกรรมห้องเรียนและโรงเรียนสีขาว (รูปภาพ บันทึกใน Facebook โรงเรียน ) จัดกิจกรรม อบรม ให้ความรู้ ในกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ (รูปภาพ บันทึกใน Facebook โรงเรียน )

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน
    • ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้แก่นักเรียนทุกภาคเรียน
    • การจัดเตรียมห้องพยาบาลเบื้องต้นให้แก่นักเรียน
    • การจัดอบรม เรื่องสุขภาพเบื้องต้นให้แก่นักเรียน
    • การนำนักเรียนไปรับวัคซีน ทุกภาคเรียน
    • แบบบันทึกสุขภาพ
    • แบบบันทึกการใช้ห้องพยาบาล
    • แบบลงทะเบียนการอบรม

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย
    • สอนแทรกเสริม แบบบูรณาการในทุกๆรายวิชา ตามความเหมาะสม
    • การให้ความรู้หน้าเสาธง ด้านอาหาร ผัก ผลไม้ โดยครูและนักเรียนแกนนำ ทุกๆวันศุกร์
    • เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเข้ามาอบรมให้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
    • ประสานงานกับองคืกรเครือข่าย ทั้ง รพ รพ.สต เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ เข้ามาให้ความรู้ -เชิญโรงเรียนในเครือข่าย ตามสัญญา ทั้ง 3 โรงเรียน ทั้งครูและนักเรียน มาเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบได้ทำกิจกรรมและการเรียนการสอนอะไรบ้าง เพื่อขยายองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคมให้กว้างขึ้น
    • จัดทำโครงงาน อาหารปลอดภัย สุขาน่าใช้ เด็กไทยฟันดี และฝึกนักเรียนแกนนำมานำเสนอ โดยมีครูคอยเป็นที่ปรึกษา
    • สอดแทรกสอน ทั้งด้านธงโภชนาการ อาหารหลัก 5 หมู่ อาหารปลอดภัย เด็กไทยสุขภาพดี ในวันวิทยาศาสตร์
    • บูรณาการสอนด้านเศรษฐกิจพอเพียง การออม การปลูกพืช ในวันพธีสำนึกบุญคุณถุงในหลวงรัชกาลที่ 9
    • แผนการจัดการเรียนรู้ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และจัดการเรียนการสอน หน้าเสาธง ทุกวันศุกร์ โดยเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร ผัก ผลไม้ ทั้งเวอร์ชั่นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ประสานให้มีการอบรมด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัย โดยจ้างวิทยากร นักโภชนาการ มาให้ความรู้
    • ประสานให้ความรู้ด้านสหกรณ์และบัญชี โดยจ้างวิทยากรมาให้ความรู้โดยตรง
    • อบรมด้านโรตติดต่อ ปากและฟัน โรคอ้วน รณรงค์ป้องกันด้านยาเสพติด ด้านการรณณงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น ก็จะเชิญ เจ้าหน้าที่ ทั้ง รพสต ตำรวจ ทหาร มาให้ความรู้เสมอ
    • แบบลงทะเบียนการอบรม และรูปภาพ

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    • รพสต บ้านศรีเมือง
    • รพ สมุทรสาคร
    • วัดศรีเมือง
    • ตำรวจและทหาร

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

     

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    การประชุม วางแผน กระจายงานและประสานกับผู้เกี่ยวข้อง ก่อน ร่วมมือกันปฏิบัติงาน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    การสร้างนักเรียนแกนนำ การส่งแกนนำไปอบรมทุกเรื่องที่จำเป็นและสำคัญเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพแกนนำและนำความรู้มาปฏิบัติและถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น รวมทั้งการเชิญผู้เชียวชาญด้านต่างๆโดยตรงเข้ามาอบรมให้ความรู้อย่างทั่วถึง

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    การประสานงาน และการแจ้งข่าวสารที่สำคัญให้แก่ชุมชนรอบข้างทราบเมอถึงกิจกรรรมในโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    พื้นที่โรงเรียน มีจำนวนจำกัด จึงเน้นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี มีผักและสมุนไพรหลากหลายชนิด แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับอาหารกลางวัน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    พื้นที่จำกัดและติดชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    เลี้ยงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและแก่บุคคลภายนอก แต่ไม่พอสำหรับอาหารกลางวัน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    โดยแม่ครัวรับเหมา เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    มีการจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักปลอดสาร โดยการไปศึกษาดูงานจากทั้งโรงเรียนและในชุมชนตัวอย่างมาเป็นต้นแบบ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    ได้ทำ แต่ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเทอมที่ 2 ที่ติดภาระ ทำให้ไม่ได้ทำ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูงรายชั้นและแบบสรุปภาวะดภชนาการ

     

     

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/1
    เตี้ย 0.79 0.79% 1.26 1.26% 1.24 1.24% 1.71 1.71% 1.56 1.56% 2.19 2.19%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 1.43 1.43% 1.41 1.41% 1.40 1.40% 1.71 1.71% 1.56 1.56% 2.19 2.19%
    ผอม 0.95 0.95% 2.51 2.51% 6.68 6.68% 5.75 5.75% 6.39 6.39% 4.69 4.69%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 1.74 1.74% 5.65 5.65% 6.68 6.68% 5.75 5.75% 6.39 6.39% 4.69 4.69%
    อ้วน 4.44 4.44% 3.92 3.92% 6.83 6.83% 6.83 6.83% 7.63 7.63% 11.89 11.89%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 8.24% 8.24% 6.91% 6.91% 10.40% 10.40% 10.09% 10.09% 9.19% 9.19% 11.89% 11.89%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง
    • กิจกรรมพุงจ๋าหนูลาก่อน
    • กิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธง
    • ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่ออบรมให้แก่กลุ่มเสี่ยง
    • การอบรมให้ความรู้ด้านอาหาร โภชนาการ ทั้งจากครู แกนนำ และวิทยากรที่เชี่ยวชาญ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง
    • การจัดจำหน่ายอาหารเช้าในโรงเรียน
    • การจัดบริการนมให้ดื่มทุกเช้า
    • การจัดออกกำลังและสอนสอดแทรกบูรณาการ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง
    • การจัดจำหน่ายอาหารเช้าในโรงเรียน
    • การจัดบริการนมให้ดื่มทุกเช้า
    • การจัดออกกำลังและสอนสอดแทรกบูรณาการ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร
    • กิจกรรมพุงจ๋าหนูลาก่อน
    • กิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธง
    • ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่ออบรมให้แก่กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะโรคอ้วน
    • การอบรมให้ความรู้ด้านอาหาร โภชนาการ ทั้งจากครู แกนนำ และวิทยากรที่เชี่ยวชาญ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    การจัดอบรมในวันประชุมผู้ปกครอง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    • รพสต บ้านศรีเมือง
    • รพ สมุทรสาคร
    • วัดศรีเมือง
    • ตำรวจและทหาร

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนวัดศรีเมือง จังหวัด สมุทรสาคร

    รหัสโครงการ ศรร.1213-038

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสมชาย ทับไกร )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด