ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)


“ โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์) ”

จังหวัดกรุงเทพมหานคร

หัวหน้าโครงการ
นางสายธาร แสนแก้วทอง

ชื่อโครงการ โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)

ที่อยู่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัด กรุงเทพมหานคร

รหัสโครงการ ศรร. 1233-116 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ก.15

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์) " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร รหัสโครงการ ศรร. 1233-116 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 875 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ(กุลางกูรอุปถัมภ์) จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. (1) เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  2. (2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
  3. (3) เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายในอนาคตอันใกล้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียน ครู บุคลากรและ ผู้ปกครองได้รู้จักโครงการเด็กไทยแก้มใสมากขึ้น
    2. นักเรียน ครู บุคลากรและ ผู้ปกครองเกิดความรู้ความเข้าใจและตระหนักเห็นถึงคุณค่าของการบริโภคอาหารอย่าง ถูกหลักอนามัย รวมทั้งการออกกำลังกายและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีซึ่งสุดท้ายจะส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและ สุขภาพจิตที่ดีของทุกคนด้วย
    3. โรงเรียนมี “นวัตกรรมใหม่” ซึ่งเป็นโครงการที่บูรณาการจากหลาย ๆ กิจกรรมและหลาย ๆ โครงการเข้าด้วยกัน
    4. ครูและบุคลากรมีความสามัคคีและมีการทำงานเป็นทีมกันมากขึ้น
    5. โรงเรียนมีโอกาสสร้าง “นักเรียนแกนนำ” ในหลาย ๆ กิจกรรมจากโครงการนี้

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกและลดความอ้วน โดยการออกกำลังกาย ด้วยการ แอโรบิคและวิธีอื่นๆ

    วันที่ 19 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมลดอ้วนขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น จึงได้เชิญวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้จำนวน 1 ท่าน โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นนักเรียนจำนวน 50 คน และผู้ปกครองจำนวน 50 คน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้เริ่มตั้งแต่เวลา 08.30 - 15.00 น. มีค่าอาหารว่าง 2 มื้อ อาหารกลางวัน 1 มื้อ และมีการจัดทำเอกสารประกอบการอบรมแจกผู้เข้ารับการอบรม และมีการจัดทำไวนิลกิจกรรมลดอ้วน เมื่อได้รับฟังการบรรยายในการดูแลสุขภาพในเบื้องต้นแล้วมีการปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังโดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนและผู้ปกครองได้รับความรู้และกระบวนการทักษะในการดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี

    1. ทางด้านร่างกาย มีระบบการขับถ่ายที่ดีมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีบุคลิกภาพที่ดี
    2. ทางด้านจิตใจร่าเริง แจ่มใส ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และการออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น เป็นการฝึกการเล่นกีฬาเป็นทีม
    3. ทางด้านอารมณ์ มีอารมณ์ที่ปราศจากความเครียด
    4. ทางด้านสติปัญญา ทำให้ความคิดปลอดโปร่งมีไหวพริบ มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
    5. ทางด้านสังคมสามารถปรับตัวได้กับผู้ร่วมงานได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

     

    100 100

    2. การเพาะเห็ด

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เห็ดนางฟ้าจะออกดอกเมื่อมีความชื้นสูงพออากาศไม่ร้อนมากเมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยอากาศเย็นตอนกลางคืน ก็จะออกดอกได้ดี
    2. เมื่อเก็บดอกเสร็จต้องทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อโดยเขี่ยเศษเห็ดออกให้หมดงดให้น้ำสัก 3 วันเพื่อให้เชื้อฟักตัวแล้วก็กลับมาให้น้ำอีกตามปกติเห็ดจะทำให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอและดอกใหญ่
    3. เมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้วให้เก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อโยกซ้ายขวา-บน ล่าง แล้วดึงออกจากถุงเห็ดระวังอย่างให้ปากถุงเห็ดบานถ้าดอกเห็ดโคนขาดติดอยู่ให้แคะออกทิ้งให้สะอาดเพื่อป้องกันการเน่าเสียเป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอนจากการวางไข่ของแมลงได้
    4. การดูลักษณะดอกเห็ดที่ควรเก็บคือ ดอกไม่แก่ หรือ อ่อนจนเกินไป ดูที่ขอบดอกยังงุ้มอยู่คือดอกที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยวถ้าขอบยกขึ้นแสดงว่าแก่แล้วดอกเห็ดที่แก่จัดและออกสปอร์เป็นผงขาวด้านหลังดอกเห็ดต้องรีบเก็บออก เพราะสปอร์จะเป็นตัวชักนำให้แมลงเข้ามาในโรงเรือนเพาะเห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้าได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เห็ดออกผลผลิตได้อย่างดีนักเรียนได้รับความรู้ทางการเกษตร และได้ลงมือปฏิบัติจริงและนำผลผลิตที่ได้มาต่อยอดโดยการจำหน่าย

     

    100 0

    3. อบรมการจัดทำรายงานสรุปการเงินงวดที่ 1

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    3 3

    4. การเลี้ยงปลาดุก

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ปรับปรุงพื้นที่และบ่อสำหรับการเลี้ยงปลาดุก โดยการขยายพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงพันธ์ุปลาดุก
    2. ซื้อพันธุ์ปลาดุก
    3. ซื้ออาหารปลา
    4. ดูแลรักษาให้ปลาเจริญเติบโตมีการดูแลรักษา ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงปลาดุกอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีพื้นที่ในการเลี้ยงปลาเพิ่ม ปลาเจริญเติบโตขึ้น สามารถนำไปแปรรูป ขยายเป็นผลิตภัณฑ์ และเพื่อสำหรับจำหน่าย นำรายได้เข้าสหกรณ์โรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

     

    100 0

    5. การเพาะถั่วงอก

    วันที่ 1 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แช่ถั่วเขียว ในน้ำร้อน1ส่วน + น้ำธรรมดา3ส่วน ประมาณ 6-8 ชั่วโมง (แช่น้ำธรรมดาก็ได้ )ตัดก้นถุงดำเพื่อให้ระบายน้ำได้
      ตัดกระสอบ กับ ตะแกรงให้ได้ขนาดตะกร้า

    2. รองกระสอบใต้ก้นตะกร้า ถ้ามีเยอะให้รองหลายๆแผ่น
      จะได้อุ้มน้ำ ถั่วงอกชอบน้ำมากๆค่ะ
      ตามด้วยตะแกรง

    3.ตามด้วยถั่วเขียวให้แน่นๆหน่อยไม่ต้องกลัวถั่วงอกเบียดกัน เสร็จชั้นแรก ทำชั้นที่สอง และสาม ตามลำดับ กระสอบ/ตะแกรง/ถั่วเขียว

    4.ทำเป็นชั้น ประมาณ 3 หรือ 4 ชั้น อย่าพยายามให้เกินนี้ ไม่งั้นมันจะเน่าได้ (เสียดายของ) พอเสร็จ ปิดทับด้วยกระสอบอีกที รดน้ำให้ชุ่ม
    จับใส่ถุงดำยิ่งมืดยิ่งดี ถั่วโตไว และมีสีขาว


    5.ตั้งไว้ที่มืด หรือทึบแสง
    เปิดถุงรดน้ำบ่อยๆ (ไม่ต้องเอาตะกร้าออกมา) ถ้าต้องการต้นอวบๆ ยาวๆ เคล็ดลับคือ ตั้งแต่วันที่สอง ให้ท่านจัดการถ่วงน้ำ ถั่วงอกจะ ทั้งยาว ทั้งอวบ


    6.ชั้นข้างล่างจะโตกว่า เพราะได้รับแรงถ่วงหนักกว่าค่ะ
    แต่ถ้ามากไป ชั้นข้างล่าง จะเริ่ม เน่าก่อน

    7.ทีนี้ก็ตัดราก ซะ จะได้น่ากิน
    ยกขึ้นมาทั้งชั้น คว่ำลงในกะละัมัง
    แล้วก็พยายามฟัด เอาเปลือกออกให้ได้มากที่สุด แล้วก็จัดการล้าง คัดเปลือกออก ก็จะได้ถั่วงอก ขาวๆ อวบๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การเกษตรในโรงเรียนนักเรียนสามารถเรียนรู้ และแก้ปัญหา เกี่ยวกับการเพาะถั่วงอก ในพื้นที่จำกัด และตามปัจจัยสภาพแวดล้อมตามบริบทของโรงเรียน

     

    100 100

    6. การทำน้ำหมักชีวภาพ (การทำน้ำยาล้างจาน,การทำน้ำยาล้างห้องน้ำ

    วันที่ 2 ธันวาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เตรียมภาชนะสำหรับผสม ก้นเรียบ และพายไม้สำหรับคน (สำหรับสูตรที่ให้นี้ ได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆ หรือถังสีใบใหญ่ ในการผสมก็จะเหมาะที่สุด)

                1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะผสม (ควรเทผงฟองต่ำๆ เบา ๆ เพราะจะฟุ้ง)             2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด (ควรคนไปทางเดียวกัน ประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย             3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดลงในส่วนผสมทีละน้อยๆพร้อมกับคนไปเรื่อยๆ ให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน (ถ้าใส่น้ำลงไปครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะจับตัวเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)
                4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน
                5. ใส่น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้รสเปรี้ยว แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน (ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ นาน 3 เดือนขึ้นไป เมื่อผสมแล้วจะเก็บน้ำยาไว้ได้นานเป็นปี ไม่เสียง่าย)
                    ถ้าไม่มีน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้ที่หมักเกิน 3 เดือน หรือหมักจนได้ที่แล้ว แต่รีบใช้น้ำยา จะใช้น้ำมะกรูดต้ม หรือน้ำสับปะรดต้ม แทนก็ได้
    ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูกหรือสับเนื้อสับปะรดให้ละเอียด ผสมกับน้ำสะอาดให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้
    แต่วิธีนี้ เมื่อผสมเป็นน้ำยาแล้ว จะเก็บไว้ได้นานประมาณ  1 เดือนเท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้ น้ำยาจะมีกลิ่นคล้ายน้ำดองผักหรือผลไม้ ไม่น่าใช้
                6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี(จะไม่ใส่น้ำหอมเลยก็ได้ ถ้าใช้เป็นน้ำยาล้างจานไม่ควรใส่น้ำหอมเลย)             7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว(ประมาณ 1 คืน) จึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การซักผ้าด้วยน้ำยาอเนกประสงค์สูตรน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้รสเปรี้ยว

          ใช้ได้ทั้งการซักผ้าด้วยมือและซักด้วยเครื่อง (ใช้น้ำยาฯ ปริมาณใกล้เคียงกับการใช้น้ำยาซักผ้าทั่วๆไป) ถ้าจะให้ได้ผลในการทำความสะอาดดียิ่งขึ้น  ควรแช่ผ้าทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที จากนั้นก็ซักเหมือนกับการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไป แต่การซักผ้าด้วยน้ำยาอเนกประสงค์สูตรชีวภาพนี้ มีข้อดีกว่าการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไปหลายประการ ดังนี้(ได้พิสูจน์มาแล้วทั้งด้วยตัวครูป้าเองและคนรอบข้าง)

      1. ทำได้เองในครัวเรือน ราคาถูกกว่า ประหยัดเงินมากกว่า
      2. ใช้ง่ายกว่าผงซักฟอก เพราะน้ำยาฯ ละลายน้ำง่ายกว่า   3. ใช้ซักผ้าได้ทั้งแบบซักด้วยมือ และซักเครื่อง(ซักเครื่องจะไม่มีตะกอนแป้งขาวๆติดผ้าเป็นคราบ)   4. ขจัดคราบสกปรกได้ดี เบาแรงขยี้ ถนอมมือ   5. ถึงแช่ผ้าทิ้งไว้ค้างคืน น้ำซักผ้าก็ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของแป้ง)   6. เมื่อผ้าแห้งแล้วจะมีกลิ่นสะอาด ไม่เหม็นอับ   7. แม้ตากผ้าไว้ในที่ร่ม หรือตากผ้าตอนกลางคืน ผ้าก็ไม่มีกลิ่นเหม็น   8. ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ไม่มีแสงแดด ตากผ้าไว้แล้วไม่แห้งภายในวันเดียวผ้าก็ไม่เหม็นอับ   9. เสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วจะมีกลิ่นเหม็นน้อยกว่าเสื้อผ้าที่ซักทั่วๆไป (น้ำหมักชีวภาพจะช่วยยับยั้งกลิ่นเหม็น)   10. ถนอมเส้นใยผ้า เสื้อผ้าไม่เก่าเร็ว   11. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เมื่อนำไปรดต้นไม้จะโตดี มีโรคและแมลงรบกวนน้อย   12. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของโซดาไฟ,สีสังเคราะห์)

     

    100 100

    7. การปลูกพืชผักสวนครัวหน้าระเบียง

    วันที่ 6 ธันวาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ตัดโฟมให้เท่ากับกล่อง เจาะรูเท่าที่ต้องการ แล้วแต่ว่าปลูกผักไทยหรือสลัด ผักสลัดต้นจะเป็นพุ่มจะใส่ได้ไม่กี่ต้นสำหรับชุดปลูกแบบนี้
    2. เริ่มจากการเพาะเมล็ดในฟองน้ำก่อน โดยนำฟองน้ำมากดในน้ำให้ชุ่มน้ำ
    3. เมล็ดผักไทยที่ใช้ปลูกไฮโดรน้ำนิ่งวันนี้จะเป็นผักกาดขาว ใส่แค่ผิวๆพอ ถ้าลึกมากเมล็ดจะเน่าแล้วไม่งอก และเวลาใส่ต้องให้กระจายตัวเหมือนในรูป ผักไทยใส่เมล็ดประมาณ3เมล็ดต่อหลุมค่ะ
    4. นำมาใส่ในถ้วยปลูกฟ้า  เสร็จแล้วเอาถ้วยสีฟ้ามาใส่ถาดใส่น้ำรองในถาด ปลูกในนี้ประมาณ 3 วัน
    5. หยอดเมล็ดลงไปในถ้วย ถ้วยละ1เมล็ด ไม่ต้องใส่ลึกมาก
    6. รดน้ำเช้าเย็นพร้อมแช่ถ้วยปลูกไว้ในน้ำ  เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำถึงตลอด ทิ้งไว้ประมาณ 3วัน
    7. ต้นอ่อนจะเริ่มงอกหลัง 3 วัน  (เขียนชื่อไว้แบบในรูป เพราะผักตอนเล็กๆหน้าตาเหมือนกันมาก)
    8. มาเริ่มใส่ปุ๋ย  นำย้ายลงมาในแปลงปลูกน้ำนิ่งที่เตรียมไว้
    9. ทีนี้ก็รอทาน หน้าตาหลังจากผ่านไป 2 – 3 อาทิตย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การเกษตรในโรงเรียนในอีกรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งสามารถใช้พื้นที่ในการให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อมและบริบทของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร  โดยการปลูกผักชนิดต่างๆ ไว้หน้าระเบียง เพื่อง่ายต่อการศึกษา  ดูแล  เก็บเกี่ยว  และเป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ห้องเรียน  อีกทั้งยังทำให้สภาพแวดล้อม  บรรยากาศการเรียน  และอาคารเรียนมีความสร้างสรรค์  สวยงาม

     

    100 0

    8. อบรมเรื่องสหกรณ์

    วันที่ 17 ธันวาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การจัดตั้งสหกรณ์โรงเรียนก็ยึดหลักในการดำเนินการทั่วไป เช่นเดียวกับสหกรณ์ทั่วไปทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน ได้ฝึกปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์โรงเรียน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. โรงเรียนจัดประชุมทำความเข้าใจแก่บุคลากรในโรงเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินการ 3. ร่างระเบียบข้อบังคับและประชาสัมพันธ์ 4. ประกาศรับสมัครสมาชิกและรวบรวมหุ้นเพื่อเป็นทุนดำเนินการ 5. จัดอาคารสถานที่และอุปกรณ์ 6. ประชุมสมาชิกเพื่อพิจารณาข้อบังคับและเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครู และบุคลากร  นักเรียน  มีความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียน  และสามารถนำผลผลิตที่ได้จากกิจกรรมต่างๆในโครงการเด็กไทยแก้มใส  นำไปขาย เพื่อนำผลกำไร มาหมุนเวียนในการทำสหกรณ์

     

    80 80

    9. การจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้ความรู้ แม่ครัว ผู้ปกครอง และแกนนำ ตามหลักโปรแกรม TSL.

    วันที่ 7 มกราคม 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. การวางแผน (P:PLAN) รายละเอียดการวางแผนการดำเนินงาน 1.1 ผู้บริหาร เชิญประชุมคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.2 นำข้อสรุปจากที่ประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยจัดทำกำหนดการและการจัดกิจกรรมตามโครงการ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ 1.3 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจัดเตรียมงานตามหน้าที่รับผิดชอบ

    2. การดำเนินงาน (D:DO) รายละเอียดในการดำเนินงาน ลำดับขั้นตอนการดำเนินงานความร่วมมือของทีมงาน 2.1 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านเหมืองแร่รับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม
      2.2 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้รับผิดชอบกิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงาน 2.3 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้รับผิดชอบมีมติให้ดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม ในวันที่ 27  มกราคม  2560  โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามคำสั่งของโรงเรียน 2.4 ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง แม่ครัว ผู้ปกครอง และนักเรียนแกนนำเรื่องการบริหารจัดการอาหารตามหลักโภชนาการสมวัย และ การใช้เมนู TSL มาจัดบริการอาหารกลางวันหมุนเวียนรายเดือน และการนำไปประยุกต์ใช้ที่บ้านของผู้ปกครองทุกคน  ณ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่

    3. การตรวจสอบและประเมินผล (C:CHECK) 3.1 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลโครงการ 3.2 แบบประเมินการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  จากแบบติดตามประเมินผล ปรากฏว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมประชุมคิดเป็นร้อยละ 90  ซึ่งถือว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.3 ภาพการดำเนินกิจกรรม

    4. ขั้นปรับปรุงแก้ไขและข้อเสนอแนะ (A:ACTION)     ปัญหาและอุปสรรค ผู้ปกครองไม่ค่อยเข้าในเรื่องที่อบรมเพราะส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า และไม่เข้าใจในเรื่องโปรแกรมการจัดการอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. บุคลากรที่เกี่ยวข้อง แม่ครัว ผู้ปกครองและนักเรียนแกนนำสามารถเลือกจัดเมนูหมุนเวียนที่มั่นใจว่าได้คุณค่าสารอาหารตามมาตรฐานด้วยตนเอง สามารถวางแผนเมนูหมุนเวียนที่ได้คุณค่าสารอาหารตามมาตรฐานที่สอดคล้องกับความชอบ วัตถุดิบอาหารหรือผลผลิตที่มีในท้องถิ่นและงบประมาณ  สามารถทราบปริมาณวัตถุดิบอาหารที่ต้องจัดเตรียมให้ได้คุณค่าอาหารตามมาตรฐานสำหรับจำนวนผู้รับบริการที่กำหนดและสามารถตรวจสอบคุณค่าสารอาหารได้ด้วยตนเอง
    2. บุคลากรที่เกี่ยวข้อง แม่ครัว ผู้ปกครองและนักเรียนแกนนำ มีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของคุณค่าสารอาหาร ภาวะโภชนาการ และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็กนักเรียน

     

    90 90

    10. จัดนิทรรศการโรงเรียนต้นแบบ

    วันที่ 25 มีนาคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการเด็กไทยแก้มใส เพื่อขยายผลต่อภาคีเครือข่ายให้กับโรงเรียนในเขตประเวศ
    2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมหลัก เพื่อให้ตอบสนองกรอบแนวคิด 8 กิจกรรมหลักของโครงการเด็กไทยแก้มใส
    3. ดำเนินการจัดซุ้มงาน และมีการจัดแสดงผลงานทางการเกษตร  หลักโภชนาการ และกิจกรรมลดอ้วน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    4. สรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดนิทรรศการเด็กไทยยแก้มใสตามเป้าหมายที่กำหนดไว้และนำไปขยายผลในอนาคตอันใกล้

     

    210 210

    11. คืนดอกเบี้ยธนาคารเพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 1 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนดอกเบี้ยธนาคารเพื่อปิดโครงการ

     

    2 2

    12. ถอนเงินเปิดบัญชี

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินเปิดบัญชี

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 (1) เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7 % ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7 % ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7 % นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมอนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) ผลไม้ (อนุบาล½ ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน

     

    2 (2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    ตัวชี้วัด : ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนและส่งเสริม ในการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

     

    3 (3) เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายในอนาคตอันใกล้
    ตัวชี้วัด : ขยายผลให้กับโรงเรียนในเครือข่าย จำนวน 3 โรงเรียน 1. โรงเรียนสุเหร่าทางควาย 2. โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ 3. โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีนุสรณ์

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) (1) เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน (2) (2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (3) (3) เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายในอนาคตอันใกล้

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)

    รหัสโครงการ ศรร. 1233-116 รหัสสัญญา 58-00-2265-ก.15 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน
    • โรงเพาะเห็ด
    • การเลี้ยงปลาดุก
    • การเพาะถั่วงอก
    • การปลูกผักไฮโดร
    • การทำน้ำยาล้างจาน
    • การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้

    กิจกรรมทุกชนิดเป็นการเรียนรู้ร่วมกันโดยให้ นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เรียนรู้ด้วยตนเองจากการอธิบายจากผู้รู้โดยตรง หลักฐาน รูปถ่าย/การปฏิบัติจริงที่โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ - กิจกรรมเพาะเห็ด ให้นักเรียนได้ดูแลก้อนเชื้อเห็ดโดยการรดน้ำและเก็บเกี่ยวดอกเห็ด - การเลี้ยงปลาดุกนักเรียนมีการให้อาหารปลามีการวัดขนาดการเจริญเติบโตของปลาและเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อสุขอนามัยของการเลี้ยงปลาที่ดีนำปลาที่ได้ไปจำหน่าย และแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น ปลาดุกแดดเดียวปลาดุกฟูเป็นต้น - การเพาะถั่วงอกนักเรียนเพาะถั่วงอกแบบคอนโดโดยใช้ตะกร้า เข่ง และปลูกตามหลักวิธีการเพาะถั่วงอกโดยมีการรดน้ำดูแล ให้ถั่วงอกเจริญเติบโตและสามารถนำผลิตผลไปส่งต่อให้โรงอาหารเพื่อทำอาหารกลางวันป้อนให้กับโรงเรียนในลำดับต่อไป - การปลูกผักไฮโดรนักเรียน มีการคัดเลือกชนิดพันธู์ให้เหมาะสมกับฤดูกาลและสภาพอากาศโดยที่ปลูกพันธุ์ผักและดูแลผักแต่ละชนิดโดยมีการใส่ปู่ยเปลี่ยนน้ำและวัดขนาดการเจริญเติบโตของพืช ทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงเก็บเกี่ยวผลผลิต นำผักมาจัดทำเป็นสลัดโรลเพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานของเด็กมากขึ้น - การทำน้ำยาล้างจาน ใช้หัวเชื้อทำน้ำยาเอนกประสงค์ ในการทำโดยเติมส่วนผสมน้ำหมักชีวภาพ ทำให้เป็นน้ำยาเอนกประสงค์สำหรับถูบ้าน ล้างจานล้างห้องน้ำ และนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนแทนการซื้อเคมีภัณฑ์มาใช้ในโรงเรียนและมีการจำหน่ายให้กับผู้ปกครองและชุมชนที่สนใจ -การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ด้วยโรงเรียนสังกัด กทม. มีพื้นที่จำกัดจึงใช้พื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยการปลูกผักหน้าระเบียงเพื่อเพิ่มทัศนยีภาพ และ เป็นแหล่งการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
    โรงเรียนมีการจัดทำโครงงาน "เครื่องรดน้ำต้นไม้รักษ์โลก" เป็นนวัตกรรมที่ช่วยในการรดน้ำและช่วยทางการเกษตรโดยประหยัดพลังงาน

    พัฒนาด้านผลผลิตให้มีคุณภาพ และจัดจำหน่ายให้กับชุมชน และสถานที่ใกล้เคียง

    • พัฒนาเครื่องรดน้ำต้นไม้รักษ์โลก ให้มีประสิทธิภาพโดยการที่ใช้แผงพลังงานโซล่าเซลล์ในการจัดเก็บพลังงานการขับเคลื่อนรถรดน้ำต้นไม้ให้เคลื่อนที่ไปได้และจะทำการพัฒนาต่อยอดผลิตนวัตกรรมอื่นๆ
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน
    • กิจกรรมออมทรัพย์
    • กิจกรรมร้านค้า -การผลิต
      การร่วมลงทุน ในลักษณะหุ้น และจำหน่ายสินค้าที่เป็นผลผลิตที่ได้จากโครงการและการนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำยาล้างจานปลอดสารพิษ,เห็ดสวรรค์อบกรอบ,ปลาดุกแดดเดียว เป็นต้น สลับกันในการจัดจำหน่าย
    • มีการออมทรัพย์โดยการฝากเงิน และสามารถถอนเงินได้จากคุณครูประจำชั้น
    • มีการฝากเงินเข้าบัญชีของธนาคารอิสลามตามหลักการของธนาคารอิสลามซึ่งเหมาะสมกับโรงเรียนที่มีนักเรียนเป็นมุสลิม
    • สหกรณ์ร้านค้า
      ดูจากยอดผู้ร่วมหุ้น/จำนวนหุ้นทั้งหมด,ประชุมกลุ่มย่อยวางแผน,นำเสนอผลิตภัณฑ์ในการจัดจำหน่าย,ผลิต,จำหน่าย,ทำบัญชีรายรับรายจ่าย,สรุปยอด,หลักฐาน เอกสารประกอบ/รูปภาพ ดำเนินการที่โรงเรียน

    มีการจัดตั้งสหกรณ์ดรงโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และดำเนินการตามหลักการของสหกรณ์โรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการออมการซื้อขายการปันผลและการร่วมกันลงทุน

    ชักชวนผู้เข้าร่วมหุ้นให้มากขึ้น,ชี้แจงขั้นตอนและวิธีการการเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์นักเรียน/ผลประโยชน์/ข้อตกลง ให้มีความชัดเจนและพัฒนาขึ้นไปตามลำดับ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    การจัดบริการฟรี สำหรับ อาหารเช้า อาหารกลางวัน ที่มีประโยชน์ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในแต่ละวัน และมีนมโรงเรียนให้นักเรียนดื่มในทุกๆเช้าและนมกล่องในช่วงปิดเทอม

    นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ยผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมอนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) ผลไม้ (อนุบาล½ ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน - การจัดรายการอาหารของโรงเรียนโดยผสมผสานกับเมนูของTSL โดยเป็นรายการอาหารประจำเดือนโดยเน้นผลไม้เป็นหลักภายใน 5 วัน จะมีผลไม้ 4 วันขนมไทย 1 วัน

    จัดเป็นเมนูอาหารของนักเรียนมุสลิม โดยให้ TSL จัดอาหารที่เป็นเมนูอาหารอิสลามที่หลากหลายและถูกต้องตามหลักฮาลาลและเป็นเมนูอาหาร 2 อย่าง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    ไม่ควรเลี้ยงดูให้ลูกเกิดพฤติกรรมชอบกินของหวาน ลดปริมาณและความถี่ในการรับประทานอาหารแป้งและน้ำตาล
    หลีกเลี่ยงอาหารแป้งและน้ำตาลที่ใช้เวลาอยู่ในปากนานหรือติดฟันหลังหลังรับประทาน เช่นลูกอม
    จำกัดการรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้อยู่ในมื้ออาหาร เลือกรับประทานอาหารว่างที่ดีมีประโยชน์และไม่ทำลายฟัน เช่นผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ส่วนของน้ำตาลน้อย อาทิ ฝรั่ง มะละกอ หลีกเลี่ยงการกินจุบกินจิบ, ดื่มน้ำอัดลม
    อย่าหัดให้ลูกมีนิสัยจู้จี้ในการกิน หรือกินจุบจิบ โดยเฉพาะอาหารที่ไม่มี ประโยชน์ หรืออาจเป็นโทษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ใส่สีจัด น้ำอัดลม น้ำหวาน ลูกอม ควรงดกิน อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และหมักดอง

    มีกิจกรรมลดอ้วนให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย มีการเฝ้าระวังตามภาวะโภชนาการ

    1.กินอาหารครบ 5หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
    2.กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ ข้าวที่บริโภคควรเป็นข้าวซ้อมมือ 3.กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ พืชผักและผลไม้ควรกินหลาย ๆ ชนิด
    4.กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งประจำ
    5.ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัยนมจะให้โปรตีน แคลเซียม วิตามินบีสอง และแร่ธาตุต่าง ๆ 6.กินอาหารที่มีไขมันพอควร ไขมันมีความสำคัญต่อสุขภาพทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
    1. การล้างมือ 7 ขั้นตอน
    2. การแปรงฟัน
    3. ถุงสุขภาพของนักเรียน
    4. การออกกำลังกาย
    5. แก้วน้ำส่วนตัวของนักเรียน

    สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญและเป็นปัจจัยพี้นฐานที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียน มีความพร้อมในการพัฒนาตนเอง เพื่อการศึกษาในระดับสูงขึ้น และเป็นทรัพยากรบุคคลในการพัฒนาประเทศที่มีประสิทธิภาพ สุขภาพ แบ่งได้เป็นสุขภาพทางกายและทางจิต ด้านสุขภาพทางกายนั้น ปัจจัยที่แสดงออกถึงการมีสุขภาพที่ดี คือ สมรรถภาพทางกาย ซึ่งแยกเป็น 2 ประเภทได้แก่สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพคือสุขสมรรถนะ และสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับทักษะกลไกหรือการเล่นกีฬาคือทักษะสมรรถนะ สุขสมรรถนะเป็น สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นตัวบ่งชี้ถึงการมีสุขภาพดีของแต่ละคน ส่วนทักษะสมรรถนะ จะเกี่ยวข้องกับการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่ใช้กลไกการเคลื่อนไหวมากและซับซ้อนขึ้น การมีสุขภาพและสมรรถภาพทางกายที่ดี จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เรียนเป็นอย่างมาก และถูก กำหนดว่าเป็นส่วนสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และหลักสูตรแกนกลาง ของกระทรวง ศึกษาธิการทั้งยังสอดคล้องกับหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ของกระทรวงสาธารณสุข

    ดั้งนั้นผู้สอน ที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา – พลศึกษา จึงจำเป็นต้องเข้าใจและ ส่งเสริมให้นักเรียนดูแลสุขภาพด้านต่างๆ ควบคู่กับสุขสมรรถนะได้อย่างถูกต้องตรงตามจุดมุ่งหมายหลัก ของตัวชี้วัดสาระแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
    1. โครงการโรงเรียนปลอดขยะ
    2. โครงการสถานศึกษาปลอดภัยสุขภาพอนามัยดี
    3. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
    • การส่งเสริมการออกกำลังกายควรเป็นนโยบายของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนควรจัดหาครูพลศึกษาให้มีจำนวนเพียงพอตามความต้องการ
    • โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและสร้างบรรยากาศต่อการออกกำลังกาย
    • การดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพ จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงด้านโรคระบาด อุบัติเหตุ อุบัติภัย ยาเสพติด การพนัน ทำให้นักเรียนและคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เศรษฐกิจแข็งแรง มีความเป็นอยู่ได้อย่างพอเพียง สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน และสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเนื่องในระยะยาวต่อไป -มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม เช่น การทิ้งขยะให้ลงถัง แยกประเภทของขยะ และช่วยกันอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม
    1. นักเรียนจะมีความพร้อมทางการศึกษา มีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีขึ้น สร้างบรรยากาศที่ดีทางการเรียน และสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน
    2. บุคคลที่เกี่ยวข้องในชุนชนได้รับความรู้จากการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกับโรงเรียนจากนักเรียน
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    1.การตรวจสุขภาพนักเรียนประจำปี โดย ศูนย์ฯ22 วัดปากบ่อ 2.การฉีดวัคซีน 3.การบริการตรวจสุขภาพฟันของนักเรียน 4.บริการประกันภัยนักเรียนเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ

    วิธีสร้างสุขนิสัยที่ดีให้กับนักเรียนนั้น สามารถ ทำได้ง่ายๆ โดยใช้เกณฑ์สุขบัญญัติที่ดี ซึ่งบัญญัติไว้ โดยคณะกรรมการสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข 10 ประการ (คณะกรรมการสุขศึกษา, 2541) คือ 1. ดูแลรักษาร่างกายของใช้ให้สะอาด 2. รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวัน อย่างถูกต้อง 3. ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและ หลังการขับถ่าย 4. กินอาการสุก สะอาด ปราศจากสาร อันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด 5. งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และ การสำส่อนทางเพศ 6. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น 7. ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท 8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี 9. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ 10. มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม

    การสร้างให้เกิดสุขภาพทีดีสำหรับนักเรียนในโรงเรียนนั้น จำเป็นต้องสร้างให้เป็นนิสัย ซึ่งจะก่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นระบบระเบียบเป็นประจำกลายเป็น ความเคยชินและกลายเป็นนิสัยในการดูแลสุขภาพ ที่ดีในที่สุด การทำให้เกิดนิสัยในการดูแลสุขภาพที่ดีใน นักเรียนนั้น เรียกว่าสุขนิสัย (Health habit) จะก่อ ให้เกิดสุขภาพและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย จากโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุ อุบัติภัยต่างๆ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    1.การสอนเพาะเห็ด ปลูกผักชนิดต่างๆ 2.การจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์นักเรียน/คณะกรรมการ/ทีมงาน 3.การจัดอบรม อสร.นักเรียน เป็นแกนนำในการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยที่ดีให้กับเพื่อนๆ

    1.จัดทำแผนบูรณาการกับรายวิชาต่างๆเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน 2.ถ่ายทอดความรู้โดยครู/ผู้ชำนาญการในเรื่องนั้นๆ 3.นักเรียนฝึกทดลองทำ ฝึกเรียนรู้ 4.ประเมินผลที่ทำแต่ละกิจกรรม แนวทางการแก้ไข/ปรับปรุง

    นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอด ไปทำเป็นอาชีพเสริม และนำไปใช้ในด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    สำนักงานเขตประเวศ/สำนักงานฝ่ายสิ่งแวดล้อม/ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 (วัดปากบ่อ)/ชุมชนใกล้เคียง ขยายผลให้กับโรงเรียนในเครือข่าย จำนวน 3 โรงเรียน 1. โรงเรียนสุเหร่าทางควาย 2. โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ 3. โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีนุสรณ์ และโรงเรียนอื่นๆในเขต

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนสะอาดร่มรื่น มีสภาพปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนของนักเรียน มีแหล่งเรียนรู้จากธรรมชาติ และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และในชุมชนที่ใกล้เคียงก็มีแหล่งเรียนรู้ เช่น โรงเลี้ยงแพะ การทำนมแพะ เนื้อแพะจำหน่าย การปลูกผักกินเองของชาวบ้าน และการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติตามคลองหน้าบ้านโดยเลี้ยงในกะชัง เลี้ยงด้วยเศษอาหารมาจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ(กุลางกูรอุปถัมภ์)จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    มีการจัดอบรมในเรื่องต่างๆ ให้กับครู นักเรียน แม่ครัว เช่น การอบรมในด้านวิชาการต่างๆ ตรงตามสาขาให้กับครู เพื่อจะได้ถ่ายทอดให้กับผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ส่วนนักเรียนจะมีกิจกรรมต่างๆทั้งภายในโรงเรียนจัด และมีการเชิญหน่วยงานภายนอกมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักเรียน เพื่อเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจที่อยากเรียนรู้เพิ่มขึ้น เช่น กิจกรรม ครูแดร์ กิจกรรมวิชาการอื่นๆ ส่วนแม่ครัวก็มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการในการจัดอาหารแต่ละมื้อให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน การดูแลความสะอาดร่างกายให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหารแต่ละมื้อ

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    มีการจัดกิจกรรมการรณรงค์หรือการจัดโครงการร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อให้เกิดสำนึกร่วมกันอย่างแท้จริง โดยปกติแล้วผู้ปกครอง ชุนชนจะมีบุคลากรที่มีความพร้อมในการส่งเสริม สนับสนุนในกิจกรรมต่างๆที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้น และการส่งเสริมสุขภาพให้เกิดความพร้อมต่อการเรียนรู้ มีสุขภาพกาย สุขภาพใจ ที่ดี และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือโรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่างๆ สังกัดอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ที่กระจายอยู่ในชุมชนโดยตรงเช่น - เจ้าหน้าที่ อ.ส.ม. หมู่บ้าน - เจ้าหน้าที่ในสังกัดโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพประจำตำบล - เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายประจำเขตพื้นที่ การส่งเสริมสุขภาพภาพในโรงเรียนจึงไม่จำเป็นจะต้องใช้ บุคลากรของโรงเรียนเพียงอย่างเดียวเสมอไป เจ้าที่และบุคลากรจากหน่วยงานดังที่กล่าวมาแล้วจะสามารถช่วยโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมโครงการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น เช่น โครงการทูบีนัมเบอร์วัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ
    1. เห็ด2. ผักชนิดใบเขียวต่างๆ 3.ถั่วงอก 4. บวบ 5.มะระ 6. มะเขือ 7. กล้วยหอมเขียว 8. กล้วยหักมุก

    แต่มีไม่เพียงพอกับจำนวนของนักเรียนเนื่องด้วยโรงเรียนมีพื้นที่จำกัด โรงเรียน กทม.

    สถานที่ทำโรงเห็ด เพาะพันธุ์ผัก ณ โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ/รูปถ่าย

    ฝึกให้นักเรียนปลูกเอง ดูแล เก็บผลผลิต จำหน่ายเอง ครูคอยให้คำปรึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    ด้วยการที่มีพื้นที่ที่จำกัด

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)
    • มีการเลี้ยงปลาดุก
    • นำไปใช้ประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียน การเลี้ยงปลาดุก แต่ด้วยการที่มีพื้นที่ที่จำกัดก็ไม่ค่อยเพียงพอต่อการส่งต่อเข้าโรงอาหารต้องมีการซื้อเพิ่มบ้าง และมาจัดทำเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

    การทำอาหาร การแปรรูปปลาดุก ณ โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ/รูปถ่าย

    ฝึกนักเรียนให้มาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลาดุก การดูเรื่องการเจริญเติบโตแต่ละสัปดาห์ การให้อาหาร/ดูเรื่องปริมาณอาหาร/จับขาย/การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น ปลาดุกแดดเดียว ปลาดุกฟู เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    มีบริการอาหารเช้าทุกวัน

    เมนูอาหารเช้า งบประมาณของ กทม./รูปถ่าย

    มีบริการอาหารเช้าทุกวันต่อไป ด้วยเมนูที่หลากหลาย และเด็กๆเห็นความสำคัญของอาหารเช้า ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    ได้จัดทำเมนูอาหารกลางวันโดยใช้สำหรับทำอาหารตามหลักโภชนาการเพื่อเป็นการช่วยให้ เด็กวัยเรียนได้รับอาหารที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารซ้ำๆ กัน เกิดความไม่สมดุลในด้านคุณค่าสารอาหาร รสชาติ สีสันได้ ช่วยให้เด็กไม่เบื่ออาหารและกินอาหาร

    เมนูอาหารกลางวัน/รูปถ่าย

    จัดทำเมนูให้เหมาะสมกับช่วงวัย และหลากหลายน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    ได้จัดทำเมนูอาหารกลางวันโดยใช้สำหรับทำอาหารตามหลักโภชนาการเพื่อเป็นการช่วยให้ เด็กวัยเรียนได้รับอาหารที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารซ้ำๆ กัน เกิดความไม่สมดุลในด้านคุณค่าสารอาหาร รสชาติ สีสันได้ ช่วยให้เด็กไม่เบื่ออาหารและกินอาหาร

    เมนูอาหารกลางวัน/รูปถ่าย

    จัดทำเมนูให้เหมาะสมกับช่วงวัย และหลากหลายน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    ได้จัดทำเมนูอาหารกลางวันโดยใช้สำหรับทำอาหารตามหลักโภชนาการเพื่อเป็นการช่วยให้ เด็กวัยเรียนได้รับอาหารที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารซ้ำๆ กัน เกิดความไม่สมดุลในด้านคุณค่าสารอาหาร รสชาติ สีสันได้ ช่วยให้เด็กไม่เบื่ออาหารและกินอาหาร

    เมนูอาหารกลางวัน/รูปถ่าย

    จัดทำเมนูให้เหมาะสมกับช่วงวัย และหลากหลายน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    โรงเรียนสังกัด กทม.มีการจัดอบรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย ในการจัดหา คัดสรร ในการเลือกที่สะอาด ปลอดภัย มาจัดทำอาหารให้กับนักเรียน

    ใบรายการอาหาร/ซื้อร้าน/บริษัท/ที่จัดหาอาหารในการจัดทำอาหารเช้าและอาหารกลางวันให้กับนักเรียน และสามารถตรวจสอบในเรื่องของความปลอดภัยของอาหารได้ โดยจะมีหน่วยงานฝ่ายสิ่งแวดล้อมกับทางเขต มาให้บริการตรวจหาสารพิษในอาหาร

    เลือกร้าน/บริษัท ที่ส่งอาหารให้กับทางโรงเรียนอย่างมีคุณภาพในทุกๆด้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -ต้องการให้มีร้านขายผลไม้ จากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในโรงเรียน

    -

    -เพื่อให้เด็กได้รับประทานผลไม้ที่หลากหลายและเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ให้ถูกหลักโภชนาการมากยิ่งขึ้น

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    มีการจัดทำเมนูอหารโดยใช้โปรแกรม TSL ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเป็นโรงเรียน กทม. จึงทำให้การจัดจากเมนูในโปรแกรมยังไม่เหมะสมกัน

    จัดจากเมนูในโปรแกรมยังไม่สมบูรณ์

    ควรมีเมนูอาหารที่หลากหลาย และอาหารสำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนมุสลิม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    การติดตามการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของนักเรียนแต่ละระดับชั้น โดยครูประจำชั้น

    ใบสรุปการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของนักเรียน ของแต่ละห้อง และต้องส่งข้อมูลให้กับศูนย์สาธารณสุขที่ 22 เพื่อส่งรายงานต่อไป

    การการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของนักเรียน ด้วยเครื่องมือการวัดที่ได้มาตรฐาน ตามที่ได้รับการแนะนำจากผู้รู้

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/2
    เตี้ย 2.30 2.30% 2.50 2.50% 2.12 2.12% 2.15 2.15% 1.01 1.01%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 8.55 8.55% 7.76 7.76% 6.61 6.61% 6.45 6.45% 4.04 4.04%
    ผอม 3.78 3.78% 5.01 5.01% 3.49 3.49% 4.60 4.60% 2.53 2.53%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 10.09 10.09% 13.02 13.02% 10.60 10.60% 11.51 11.51% 6.94 6.94%
    อ้วน 8.83 8.83% 7.76 7.76% 7.11 7.11% 8.82 8.82% 7.07 7.07%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 15.01% 15.01% 13.14% 13.14% 12.72% 12.72% 15.86% 15.86% 12.88% 12.88%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    มีการจัดกิจกรรมรองรับและส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการตื่นตัวที่จะดูแลสุขภาพของตนเองไม่ให้เกิดภาวะโรคอ้วนกับตนเองและครอบครัว เช่น กิจกรรมลดอ้วน/แอโรบิก - ภาวะอ้วนลดลงเปรียบเทียบภาคเรียนที่ 1 ภาวะอ้วนอยู่ที่ร้อยละ 8.82 กับ ภาคเรียนที่ 2 ร้อยละ 7.07จะเห็นได้ว่ามีภาวะอ้วนที่ลดลง 1.15 ภาวะ -ภาวะเริ่มอ้วนเปรียบเทียบภาคเรียนที่ 1 และ 2 อยู่ที่ ร้อยละ 15.86 และ 12.88โดยลดลง
    2.98

    รูปถ่าย/ที่โรงเรียน และ ที่บ้านของนักเรียน จากข้อมูลสถิติ แผนภูมิแท่ง เปรียบเทียบข้างต้น

    หาวิธีการเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะโรคอ้วนให้กับเด็กวัยเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    ค่อนข้างผอม หมายถึง น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อภาวะผอม เป็นการเตือนให้ระวัง หากไม่ดูแล น้ำหนักจะไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง อยู่ในระดับผอม ผอม หมายถึง น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ขาดอาหารฉับพลัน มีน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานที่มีส่วนสูงเท่ากัน แสดงว่าได้รับอาหารไม่เพียงพอ ทางโรงเรียนและทางศูนย์ฯ22 ได้มีการดูแลเด็กกลุ่มนี้โดยการให้วิตามินเสริม กับการทานอาหารที่มีประโยชน์ - ภาวะผอมลดลงภาคเรียนที่ 1 4.6ภาคเรียนที่ 2 ร้อยละ 2.53ผลคือ ลดลงร้อยละ 2.07 - ภาวะค่อนข้างผอม ภาคเรียนที่ 1 11.51 ภาคเรียนที่ 2 ร้อยละ 6.94 ผลคือ ลดลงร้อยละ 4.57

    ผลการตรวจสุขภาพ การชั่งน้ำหนัก จากข้อมูลสถิติ แผนภูมิแท่ง เปรียบเทียบข้างต้น

    นักเรียนเกิดความตระหนักที่จะดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    ความเตี้ยของคนเราเกี่ยวข้องกับ ๒ สาเหตุหลักคือ ภาวะเตี้ยที่ตรวจพบพยาธิสภาพและภาวะเตี้ยที่ไม่ทราบสาเหตุหรือเตี้ยตามพันธุกรรมภาวะเตี้ยที่ตรวจพบพยาธิสภาพ มีสาเหตุต่างๆ มากมายบางรายอาจมีเพียงสาเหตุเดียว บางรายอาจมีหลายสาเหตุรวมกัน

    เนื่องจากการเจริญเติบโตของร่างกายเป็นผลรวมของปัจจัยต่างๆ ร่วมกัน (integrated effects) ได้แก่พันธุกรรม อาหาร ฮอร์โมน สุขภาพกายและใจและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ทำให้การเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่เหมือนภาวะปกติ ตัวอย่างโรคบางกลุ่มที่พบบ่อย ได้แก่ทารกตัวเล็กตั้งแต่เกิดกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ เป็นต้น

    ภาวะเตี้ยที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือเตี้ยตามพันธุกรรม ที่พบได้บ่อย มี ๒ ชนิดคือ ๑. ภาวะเป็นหนุ่ม สาวช้า เป็นภาวะปกติคือเด็กเข้าสู่ความเป็นหนุ่มสาวช้ากว่าเด็กปกติทั่วไป โดยที่สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนสำคัญในการกำหนดจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ความเป็นหนุ่มสาว และมักจะมีประวัติครอบครัวว่าบิดาและ/หรือมารดาเป็นหนุ่มสาวช้ากว่าปกติ มารดามักมีประจำเดือนครั้งแรกช้า (อายุ ๑๔-๑๘ ปี) บิดาเมื่อเป็นเด็กมักตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ เริ่มโตเร็วเมื่อเรียนชั้นมัธยมปลายและมีความสูงสุดท้ายปกติ ๒. ภาวะเตี้ยตามพันธุกรรมหรือไม่ทราบสาเหตุ พบได้บ่อย ส่วนมากมักมีพ่อหรือแม่เตี้ย หรือถ้าเตี้ยทั้งพ่อและแม่รวมทั้งปู่ย่าตายายเตี้ยด้วย ก็ชัดเจนมากขึ้นว่าเตี้ยจากพันธุกรรม กรณีที่พ่อแม่ไม่เตี้ย แต่ลูกเตี้ยกว่าปกติ โดยตรวจ ไม่พบความผิดปกติอัตราความสูงที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ก็ปกติคือเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติ ทางโรงเรียนได้มีการจัดบริการอาหารเสริม (นม,ไข่) ให้กับนักเรียนตามช่วงวัย - ภาวะค่อนข้างเตี้ย ลดลง 6.45 ภาคเรียนที่ 1ภาคเรียนที่ 2 ร้อยละ 4.04ผลคือ ลดลงร้อยละ 2.41 - ภาวะเตี้ย ภาคเรียนที่ 1 2.15 ภาคเรียนที่ 2 ร้อยละ 1.01 ผลคือ ลดลงร้อยละ 1.14

    ผลการตรวจสุขภาพ การชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง จากข้อมูลสถิติ แผนภูมิแท่ง เปรียบเทียบข้างต้น

    นักเรียนเกิดความตระหนักที่จะดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นและมีการออกกำลังกาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    โรงเรียนได้มีการจัดกิจกรรม เพื่อเฝ้าระวัง เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเป็นรายบุคคลซึ่งกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น ได้แก่โครงการเด็กไทยไร้พุงโครงการลดอ้วนโครงการส่งเสริมสุขภาพ

    ภาพถ่าย/ การจัดกิจกรรมของโรงเรียน

    มีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในการเฝ้าระวังที่หลากหลาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    มีส่วนร่วม และให้ความสนใจในการร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียนเป็นอย่างดี เช่น กิจกรรมลดอ้วน เป็นต้น

    รายชื่อลงทะเบียนร่วมกิจกรรม/การตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม/การตอบแบบประเมิน/รูปถ่าย

    จะมีการจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากขึ้น และเชิญชวนให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้น เพราะจะส่งผลต่อบุตรหลานของท่านในอนาคต

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    สำนักงานเขตประเวศ/สำนักงานฝ่ายสิ่งแวดล้อม/ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 (วัดปากบ่อ)/ชุมชนใกล้เคียง ขยายผลให้กับโรงเรียนในเครือข่าย จำนวน 3 โรงเรียน 1. โรงเรียนสุเหร่าทางควาย 2. โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ 3. โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีนุสรณ์ และโรงเรียนอื่นๆในเขต

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์) จังหวัด กรุงเทพมหานคร

    รหัสโครงการ ศรร. 1233-116

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสายธาร แสนแก้วทอง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด