ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนวัดศรีมหาโพธิ์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต 2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพยนต์ นาคธรรมขันธ์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางบำรุง ศรีแก้ว
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นายสุรินทร์ ปิ่นกุมภีร์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาววรรณา ประสิทธิ์วงษ์
ที่ปรึกษาโครงการ 1 ศูนย์อนามัยที่ 5
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นางสาวศรีอรุณ โตงาม
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นายชัยชาญเข็มทอง
ผู้ประสานงานภาค นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียนโดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็น การพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คนและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนวัดศรีมหาโพธิ์จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

กรอบแนวคิด

ให้เด็กเป็นคนลงมือปฏิบัติครูไม่ได้เป็นคนทำแต่เป็นคนสอนนักเรียนจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นแล้วนักเรียนเป็นคนทำ เมื่อนักเรียนลงมือทำจะเกิดการเรียนรู้และที่สำคัญที่สุดก็คือชุมชนต้องให้ชุมชนเข้ามาร่วม เพราะว่าสุดท้ายจะยั่งยืนได้ชุมชนต้องเป็นคนดูแลและเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมในโรงเรียน การดำเนินงานทั้ง 8องค์ประกอบมีเป้าหมายให้เด็กมีโภชนาการสุขภาพดี คือให้นักเรียนทำการเกษตร ผลิตอาหารเอง แล้วก็นำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันมารับประทานกันจุดเชื่อมจากกระบวนการเกษตรมายังกิจกรรมอาหารกลางวัน ส่งเสริมเรื่องสหกรณ์เพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องของการทำธุรกิจขนาดเล็ก ผลิตได้ก็ต้องขาย ขายเพื่อเป็นอาหารกลางวัน เพราะของฟรีไม่มีในโลก ใช้เรื่องของหลักการสหกรณ์เข้ามาช่วยเป็นการฝึกเด็กนักเรียนให้รู้จักการทำธุรกิจเล็กๆ และโดยหลักสหกรณ์ก็เป็นเรื่องของการฝึกคุณธรรมจริยธรรมไปด้วย ในช่วงของการรับประทานอาหารกลางวัน หรือการประกอบอาหารกลางวันเด็กก็ได้มีการพัฒนาสุขนิสัยไปด้วยประกอบกับมีการสอนไปพร้อมๆ กันก็จะเสริมกัน ซึ่งจะทำให้เด็กมีการทำพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย คือเมื่อเด็กรับประทานอาหารแล้วก็มีการติดตามภาวะโภชนาการว่าเป็นอย่างไรเด็กมีการเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ ในการเจริญเติบโตมีอะไรมันมาขัดขวางหรือไม่ จึงมีเรื่องของบริการสุขภาพเข้ามาเพิ่มเติม หรือเรื่องของการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนการปฐมพยาบาลก็เป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพะหน้าอย่างเร่งด่วนถ้าอาการหนักเกินไปก็ส่งต่อโรงพยาบาล เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าทั้ง8องค์ประกอบจะมีการเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน และทั้ง8องค์ประกอบนี้ ก็เน้นให้นักเรียนเป็นคนดำเนินกิจกรรมทั้งหมด แต่ครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นมาในโรงเรียน
ดังนั้น โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 417
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 26
ผู้ปกครอง 20
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 463463
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 5
อสม. 10
ชุมชน 20
ผู้นำศาสนา 5
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 5
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 1
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 46
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัย มีอารมณ์สติปัญญาดีขึ้น มีทักษะชีวิตสามารถนำไปใช้ได้จริง
  2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาทุพลโภชนาการ
  3. พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนม่ส่วนร่วม ในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหารมีความยั่งยืนในการดำเนินงาน
  4. โรงเรียน บ้าน และชุมชนเกิดกระแสตื่นตัว ให้ความสำคัญกับอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กวัยเรียน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนเติบโตสมวัย โดยมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ 10
  2. นักเรียนเติบโตสมวัย โดยมีภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกินร้อยละ 7
  3. นักเรียนเติบโตสมวัย โดยมีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปี
  4. นักเรียนได้กินผัก -ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

โรงเรียนจัดการด้านอาหารโภชนาการให้แก่นักเรียน ขยายองค์ความรู้ไปยังผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน เพื่อแก้ไขหรือป้องกันปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม โดยใช้กิจกรรมพัฒนา 8 องค์ประกอบ

พื้นที่ตั้งโรงเรียน ตำบลศรีมหาโพธิ์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ละติจูด-ลองจิจูด 13.868809344905,100.17046451569place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 15 พ.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 17 พ.ย. 2559 48,000.00
2 16 พ.ย. 2559 28 ก.พ. 2560 18 พ.ย. 2559 30 เม.ย. 2560 66,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาด้านสุขภาพให้นักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะจากการเรียนรู้จริงในกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน สหกรณ์นักเรียนและการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และโภชนาการเหมาะสมตามวัย
  1. นักเรียนมีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย มีการเจริญเติบโตสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. นักเรียนมีภาวะทางอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้นโดยการใช้แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก(SDQ)ของนักเรียน กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่เกินร้อยละ 5 ในแต่ละชั้นเรียน
2 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการลดปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนทุกระดับชั้น
  1. มีระบบการคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ ภาวะเริ่มอ้วน - อ้วน และผอมทุกชั้นเรียน
  2. มีการจัดรายการอาหารราย 1 เดือน ตามภาวะโภชนาการ (TSL)
  3. นักเรียนได้รับอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการในมื้อกลางวัน
  4. นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน - อ้วน และผอมได้รับการดูแลด้านการจัดบริการอาหารให้เหมาะสม
3 3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ในการดูแลสุขภาพของนักเรียน การจัดสิ่งแวดล้อมอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ และสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน
  1. ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดอาหารที่บ้านโดยเรียนรู้จากการจัดรายการอาหารของโรงเรียนตาม TSL อย่างน้อยร้อยละ 80
  2. จัดสิ่งแวดล้อมทางอาหารให้ผู้จำหน่ายอาหารหน้าโรงเรียนมีเมนูอาหารที่มีผักและผลไม้ อย่างน้อย 2 รายการต่อวัน
4 4. เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความตื่นตัวของชุมชนในการจัดการด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียน
  1. ร้านค้าหน้าโรงเรียนมีความรู้ด้านโภชนาการอาหารและจำหน่ายอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
  2. นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพเทอมละ 1 ครั้งและได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาสม

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 เกษตรในโรงเรียน 53,860.00                         more_vert
2 สหกรณ์นักเรียน 2,700.00                         more_vert
3 การจัดบริการอาหาร 9,850.00                         more_vert
4 การติดตามภาวะโภชนาการสมรรถภาพทางกายและสุขภาพนักเรียน 25,700.00                         more_vert
5 การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน 6,940.00                         more_vert
6 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 9,750.00                         more_vert
7 จัดบริการสุขภาพนักเรียน 1,200.00                         more_vert
8 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพ 10,000.00                         more_vert
9 บริหารจัดการโครงการ 0.00                         more_vert
รวม 120,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
15 พ.ค. 59 ประชุมผู้ปกครองนักเรียนนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง 159 2,600.00 2,600.00 more_vert
20 ก.ย. 59 จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก 245 1,500.00 1,040.00 more_vert
3 พ.ย. 59 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม 55 9,750.00 9,750.00 more_vert
11 พ.ย. 59 ออกกำลังกาย 449 14,000.00 14,000.00 more_vert
14 พ.ย. 59 ซื้อก้อนเชื้อเห็ด ครั้งที่1 12 10,500.00 10,500.00 more_vert
10 ม.ค. 60 โครงการพัฒนาการเรียนรู้สหกรณ์นักเรียน 37 2,700.00 2,700.00 more_vert
16 ม.ค. 60-9 ก.พ. 60 อบรมทำน้ำหมักชีวภาพ 35 9,500.00 8,420.00 more_vert
16 ม.ค. 60-10 ก.พ. 60 กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 127 4,000.00 4,600.00 more_vert
24 ม.ค. 60-8 ก.พ. 60 การพัฒนาสุขนิสัยและส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 163 6,940.00 6,685.00 more_vert
27 ม.ค. 60 จัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการอาหาร 143 4,350.00 4,350.00 more_vert
1 ก.พ. 60 จัดกิจกรรมประกวดทำอาหารเพื่อสุขภาพ 20 3,000.00 3,000.00 more_vert
6 ก.พ. 60 จัดซื้อลูกปลาดุก 11 1,500.00 1,500.00 more_vert
6 ก.พ. 60 จัดอบรมนักเรียนที่มีภาวะโรคอ้วน 75 7,700.00 6,895.00 more_vert
6 ก.พ. 60 จัดทำป้ายไวนิล 449 3,500.00 3,500.00 more_vert
6-14 ก.พ. 60 กิจกรรมการประกวดคำขวัญ 50 3,000.00 2,400.00 more_vert
7 ก.พ. 60 จัดซื้อสารทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร 18 2,000.00 3,660.00 more_vert
8 ก.พ. 60 การจัดบริการสุขภาพนักเรียน 449 1,200.00 1,200.00 more_vert
21 ก.พ. 60 จัดซื้ออาหารปลาดุก 13 17,760.00 18,020.00 more_vert
21 ก.พ. 60 เพาะเห็ดครั้งที่2 30 10,500.00 10,500.00 more_vert
3 มี.ค. 60 จัดกิจกรรมชมรม หุ่นสวย วัยใส ห่างไกลความอ้วน 85 4,000.00 4,680.00 more_vert
6 เม.ย. 60 คืนดอกเบี้ยปิดโครงการ 1 0.00 21.79 more_vert
รวม 3,527 120,000.00 21 120,021.79

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 09:18 น.