แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)
เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator) | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต (Output) | ผลลัพธ์ (Outcome) | ผลกระทบ (Impact) | อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1) เพื่อวางระบบการดำเนินการ การจัดบริการอาหารในสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพในด้าน
1.1 พื้นที่ในการประกอบอาหารและรับประทานอาหาร
1.2 อุปกรณ์การครัว
1.3 วัตถุดิบและการประกอบอาหาร
- ผู้รับผิดชอบหลัก
- แหล่งวัตถุดิบอาหารสด
- การกำหนดอาหารและรายการอาหาร
- การประกอบอาหารที่มีคุณค่าสะอาดปลอดภัย
- บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัด : 1. มีการจัดทำรายงานอาหารหมุนเวียนอย่างน้อย 1 เดือนตามมาตรฐานโภชนาการ(โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch) ที่สอดคล้องกับผลผลิตทางการเกษตร/ปศุสัตว์/ประมงของโรงเรียนและหรือชุมชน 2. มีการปรุง ประกอบอาหารถูกหลักโภชนา การสุขาภิบาลและอาหารปลอดภัย 3. มีการตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนของธงโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย 4. อาหารกลางวันของนักเรียนมีปริมาณพลังงานและสารอาหารครบถ้วนหรืออย่างน้อยร้อยละ 70 ของความต้องการ |
||||||
2 | 2) เพื่อคัดกรองนักเรียนตามภาวะโภชนาการออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปัญหา
โดยการวางแผนกำหนดอาหารและกิจกรรมส่งเสริมสำหรับกลุ่มปกติ ป้องกันสำหรับกลุ่มเสี่ยง
การแก้ไขสำหรับกลุ่มปัญหา ตัวชี้วัด : 1. มีฐานข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง สมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพของนักเรียน 2. มีการแปลผลภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพที่ถูกต้องตามเกณฑ์ชี้วัดและมีการนำข้อมูลไปใช้ในการจัดโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาโดยครอบครัวมีส่วนร่วม 3. เด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามทุกเดือน 4. เด็กสามารถประเมินภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและสุขภาพได้ด้วยตนเอง |
||||||
3 | 3) เพื่อพัฒนานักเรียนให้เข้าสู่ค่าเป้าหมายทุกด้านของโครงการ ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนไม่เกิน 5.11 % ภาวะอ้วนไม่เกิน 7.25% ภาวะค่อนข้างผอม ไม่เกิน 7.25 % ภาวะผอมไม่เกิน 4.45% ภาวะค่อนข้างเตี้ยไม่เกิน 2.80 % ภาวะเตี้ยไม่เกิน 1.48% นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้ หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย ผักวันละประมาณ50 – 100กรัมอนุบาล 2 ช้อน ( 20 กรัม )ประถม4ช้อน ( 40กรัม ) ผลไม้ ( อนุบาล 0.5 ส่วน ประถม 1 ส่วน ) ต่อมื้อต่อคน 2. มีแผนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการด้านเกษตรอาหาร โภชนาการและสุขภาพทั้งในและนอกห้องเรียนในทุกช่วงชั้น 3. มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านเกษตร โภชนาการและสุขภาพ อย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อปี 4. มีการประเมินความรู้และทักษะนักเรียนด้านเกษตรโภชนาการและสุขภาพปีละ 2 ครั้ง 5. มีสื่อ นวัตกรรม ชุดความรู้และฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนและหรือชุมชนด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพที่เกิดจากผลงานของครู นักเรียน ครอบครัวและชุมชน |