รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านมาบตาพุด
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยอง เขต 1
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโอฬาร บุญมี
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางสุพัตราสหไชย
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางกรกนกจันทร์ศิริ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางฉันทนีย์จันทร์พล
ที่ปรึกษาโครงการ 1 ศูนย์อนามัย 6
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง
หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านมาบตาพุด ได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยใน พระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ
1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
(สรุปผลการดำเนินงาน ของโครงการฯ ปีที่ 1 พร้อมสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของเด็กนักเรียน ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จที่เห็นผลผลิต ผลลัพธ์ หรือนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ตามข้อมูลใน ใบสมัครส่วนที่3) จากการร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสปีที่ ๑ โรงเรียนของท่านได้ดำเนินกิจกรรมใดที่ประสบความสำเร็จที่เห็นผลผลิต ผลลัพธ์ หรือนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรมจากการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอบได้มากกว่า ๑ กิจกรรม) สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของโรงเรียนบ้านมาบตาพุดจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียน อายุ ๔ - 12 ปี จำนวน ๒,๐๐๓ คนพบว่านักเรียนโรงเรียนบ้านมาบตาพุดมีภาวะอ้วน ร้อยละ 5.74 เตี้ย ร้อยละ 2.50
ผอม ร้อยละ 7.24และระบุว่านักเรียนอายุ ๔-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 78.73 ซึ่งจะนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ 1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงสภาพแวดล้อม ที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารพิษและสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็ก มีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

กรอบแนวคิด
  1. ด้านการเกษตรโรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเกษตรเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้เนื่องจากโรงเรียน มีพื้นที่ในการเพาะปลูกค่อนข้างน้อยจึงจัดหาโรงปลูกผักปลอดสารพิษไร้ดิน (ผักไฮโดรโปรนิกส์) นำมาให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร อีกทั้งมีแปลงสาธิตการปลูกพืชผักสวนครัวในดินเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนอีกรูปแบบหนึ่ง และมีโรงเพาะเห็ดนางฟ้ามีการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อใช้เป็นอาหารกลางวันกับนักเรียน โรงเรียนดำเนินกิจกรรมเสียงตามสายโดยตัวแทนนักเรียนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในด้านวิธีการดูแลและการปลูกผักปลอดสารพิษไร้ดิน การเพาะเห็ด การปลูกกล้วยน้ำว้า ประโยชน์ของผักต่างๆ และสามารถเลือกซื้ออาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

  2. สหกรณ์นักเรียนโรงเรียนมีสหกรณ์โรงเรียนซึ่งมีนักเรียนเป็นสมาชิกสหกรณ์ร้อยละ ๘๐และมีตัวแทนนักเรียนทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลและดำเนินกิจการสหกรณ์ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

  3. การจัดบริการอาหารในโรงเรียน โรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับการประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาล และอาหารปลอดภัย มีการตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนของธงโภชนาการที่เหมาะสม กับวัยและใช้โปรแกรม Thai School Lunch มากำหนดรายการอาหารให้กับนักเรียนในแต่ละวันอีกทั้งส่งเสริม ให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการอาหารให้ถูกหลักโภชนาการเหมาะสมกับวัยมีคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพอาหาร

  4. การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายนักเรียน และสุขภาพโรงเรียนได้ดำเนินการใน เรื่อง ของภาวะโภชนาการโดยมีการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนแต่ละชั้นเรียนในทุก ๆ ๓ เดือนมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้านภาวะอ้วน ผอม เตี้ย โดยเฉพาะเด็กที่มีภาวะอ้วนและโรคประจำตัว เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและใช้โปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุ ๐ – ๑๘ ปี มาแปรผลน้ำหนักส่วนสูงนักเรียนที่ได้ทำการวัดและนำข้อมูลที่ได้จากการแปรผลมาแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการในด้านต่างๆ อีกทั้งได้ดำเนินการในเรื่องของการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกระดับชั้น โดยคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาและดำเนินการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนให้แข็งแรงโดยจัดกิจกรรมรักษ์สุขภาพออกกำลังกายทุกวัน กิจกรรมขยับกายสบายชีวีกิจกรรมทักษะฟุตบอล

  5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนดำเนินการจัดทำแผนกิจกรรม การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่ครอบคลุมสุขนิสัยในด้านต่างๆ โดยได้ดำเนินในเรื่องสุขนิสัย ที่พึงประสงค์ของนักเรียนเช่น การตรวจสุขภาพเบื้องต้น วิธีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง การแปรงฟัน ที่ถูกวิธีการล้างมือที่ถูกวิธีการดื่มนมการออกกำลังกายการรู้จัก กินร้อน ช้อนกลาง

  6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโรงเรียนดำเนินกิจกรรมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มีการดำเนินกิจกรรม ๕ ส. โดยความร่วมมือจากครู นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน มีน้ำดื่มที่สะอาดที่ล้างมือ ที่เหมาะสมห้องน้ำ ห้องส้วมที่สะอาดถูกสุขลักษณะมีการจัดการขยะ แมลง สัตว์นำโรค

  7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน โรงเรียนได้ดำเนินการในเรื่องภาวะสุขภาพนักเรียน เช่น ฟันผุเป็นเหาโดยดำเนินการตรวจสุขภาพฟันประจำปีให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น และกิจกรรมตรวจฆ่าเหาโดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยองอีกทั้งได้ดำเนินการ คัดกรองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการได้ยินการมองเห็นพร้อมทั้งส่งต่อตามระบบการช่วยเหลือนักเรียน

  8. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตรโภชนาการ และสุขภาพโรงเรียนดำเนินการจัดทำฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพที่เกิดจากผลงานของครู นักเรียนครอบครัว และชุมชน

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 2012
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 100
ผู้ปกครอง 426
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 25382538
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 0
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 0
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 0
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 0
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้บริหารครูนักเรียนโรงเรียนบ้านมาบตาพุดได้เจริญรอยตามพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีโดยการน้อมนำรูปแบบที่ดีด้านการจัดการอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรในโครงการพระราชดำริมาปฏิบัติและพัฒนาโรงเรียนต้นแบบแบบเด็กไทยแก้มใส
  2. นักเรียนมีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีทางการเกษตรเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
  3. โรงเรียนบ้านมาบตาพุด มีวัตถุดิบส่งให้โรงครัว สำหรับจัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการสะอาดปลอดภัยและสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารให้นักเรียนและปลูกฝังอุดมการณ์ทักษะความรู้คุณธรรมในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมโดยกิจกรรมสหกรณ์
  4. นักเรียนโรงเรียนบ้านมาบตาพุดได้รับการติดตามแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและช่วยเหลือแก้ไขการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
  5. นักเรียนโรงเรียนบ้านมาบตาพุดรู้จักอนุรักษ์ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะและสามารถ สร้างสุขนิสัยที่ดีด้วยตนเอง
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยมี

  • ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7 %
  • ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7 %
  • ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7 %

นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผักวันละประมาณ 40 – 100 กรัม อนุบาล 3 ช้อน( 50 กรัม)
ประถม 4 ช้อน( 70 กรัม) ผลไม้ (อนุบาล 1/2 ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
    เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ โรงเรียนจะมีการดำเนินการต่อเนื่องโดยจะขยายผลไปยังโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อพัฒนาสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมของนักเรียนและโรงเรียนในกลุ่มศรีเมืองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง และขยายผลไปยังกลุ่มโรงเรียนอื่นต่อไปตามลำดับ

  2. ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร การขยายผลจากการดำเนินโครงการโรงเรียนจะดำเนินการขยายผลสู่โรงเรียนอื่น ชุมชนหรือผู้ปกครองโดยจากการแจกวารสารประชาสัมพันธ์ ของโรงเรียน ( วารสารดอกแก้ว ) และนำผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เผยแพร่ลงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

พื้นที่ตั้งโรงเรียน ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
ละติจูด-ลองจิจูด 12.714844342374,101.16652965546place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 15 พ.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 15 พ.ย. 2559 48,000.00
2 16 พ.ย. 2559 28 ก.พ. 2560 16 พ.ย. 2559 7 เม.ย. 2560 66,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย

นักเรียนร้อยละ 85 มีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย

2 เพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสเป็นแหล่งเรียนรู้โดยตรงไปสู่โรงเรียนเครือข่าย

โรงเรียนเป็นต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายอย่างน้อย 3 โรงเรียน

3 เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่อง

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีฐานการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและพื้นที่เพื่อการเกษตร

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
1 ก.ค. 59 ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการศนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโชนาการ 22 0.00 0.00 more_vert
2 - 10 พ.ย. 59 ปรับปรุงโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า 51 22,000.00 22,000.00 more_vert
2 พ.ย. 59 อบรมให้ความรู้บุคลากรเกี่ยวกับโครงการเด็กไทยแก้มใส และการใช้โปรแกรม Thai School Lunch 100 22,400.00 22,424.00 more_vert
1 - 30 ธ.ค. 59 ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้โครงการเด็กไทยแก้มใส 24 25,000.00 30,035.00 more_vert
13 ธ.ค. 59 การปลูกผักสวนครัวและปรับปรุงดินในแปลงเกษตร 84 8,700.00 4,000.00 more_vert
13 ธ.ค. 59 การปลูกมะนาวในตะกร้า 48 12,200.00 16,900.00 more_vert
23 ธ.ค. 59 มาออกกำลังกายกันเถอะ 221 3,900.00 3,900.00 more_vert
20 ม.ค. 60 อบรมพัฒนานักเรียนFit & Firm 231 20,770.00 20,741.00 more_vert
20 ม.ค. 60 กิจกรรมเผยแพร่ผลงาน 54 5,030.00 - more_vert
20 ก.พ. 60 รายงานผลผลิต การเพาะเห็ด 0 0.00 0.00 more_vert
7 มี.ค. 60 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 1 0.00 43.83 more_vert
รวม 836 120,000.00 10 120,043.83

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 12:14 น.