ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)

รหัสโครงการ ศรร.1233-117 รหัสสัญญา 58-00-2265-ก.16 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

ผักออแคนิคบนอาคารเรียนที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เนื่องจากโรงเรียนมีพื้นที่น้อยจึงใช้บริเวณหน้าระเบียงอาคารเรียนในการปลูกผักออ์แคนิค โดยใช้ท่อพีวีซีในการเพาะปลูกและมีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรในโรงเรียน จัดเป็นฐานการเรียนรู้จำนวน 8 ฐานได้แก่ - ฐานเรียนรู้การเพาะถั่วงอก -ฐานเรียนรู้เพาะต้นอ่อนทานตะวัน - ฐานเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ - ฐานเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ - ฐานเรียนรู้พืชสมุนไพร -ฐานเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก -ฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ -ฐานเรียนรู้การทำนาข้าว - ฐานเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษ 2. แบ่งนักเรียนแต่ละสายชั้นรับผิดชอบ ดูแลผลิตของแต่ละฐาน 3. นักเรียนนำผลผลิตที่ได้ของแต่ละฐานเรียนรู้ส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน 4.นักเรียนนำผลิตบางส่วนจำหน่ายแก่ครู บุคคลากรและผู้ปกครองในช่วงเย็น 5. เป็นแหล่งเรียนบูรณาการทักษะชีวิตลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาเรียนรู้ 5หลักฐานจากรูปภาพและบัญชีรายรับจ่ายกิจกรรมด้านเกษครในโรงเรียน หลักฐาน เอกสารแนวทางการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม/ภาพประกอบ

  1. ขยายผลเครือข่ายโรงเรียนและชุมชน
  2. นำผลิตบางส่วนส่งร้านค้าในชุมชน
  3. จัดตลาดนัดจำหน่ายแก่ผู้ปกครองช่วงหลังเลิกเรียน
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

สหกรณ์โรงเรียนส่งเสริมการขาย

กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมสหกรณืและมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพเสริมด้วยการทำขนมที่มีประโยชน์ส่งสหกรณ์ในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้การเลือกขนมเข้าสหกรณ์และมีทักษะการบริหารจัดการสหกรณ์ นอกจากนี้มีการขายผลิตผลทางการเกษตรและส่งต่อโครงการอาหารกลางวัน จากการระดมทุน หุ้นสหกรณ์ ของนักเรียน ครูและบุคคลากรในโรงเรียน โดยมีนักเรียนเป็นคณะกรรมการรับผิดขอบหน้าที่ต่าง ๆลงปฏิบัติจริงมีครูเป็นที่ปรึกษาบริหารจัดการในทุกเรื่องร่วมกันเช่นปันผลกำไรให้แก่สมาชิกเมื่อสิ้นปีการศึกษา และพัฒนาความรู้ด้านสหกรณ์แปรรูปผลผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความรู้นักเรียนในการแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร ได้แก่ การทำกล้วยฉายทำสลัดโรล หลักฐานผลผลิตของนักเรียน บัญชีรายบรั-รายจ่ายของสหกรณ์ รูปภาพ

  1. ให้ผู้ปกครองนักเรียนทำขนมมาส่งให้กับสหกรณ์โรงเรียน
  2. ให้ผู้ปกครองนำผลผลิตด้านการเกษตรมาส่งให้กับสหกรณโรงเรียน 3.สร้างขนม OTOP ของโรงเรียนขยายผลสู่ชุมชนในประเพณีงานต่าง ๆ เช่นงานแต่งงาน งานทำบุญ
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

เรียนรู้ความต้องการอาหารแต่ละวัยจากอาหารกลางวัน(นักเรียนป.5-ม.3)

กระบวนการสร้างการเรียนรู้ด้านโภชนาการให้กับนักเรียนเรื่องความต้องการและการรับประทานอาหารแต่ละมื้อที่เหมาะสมกับช่วงวัย และให้รู้จักควบคุมปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองโดยไม่ต้องใช้มาตรการบังคับในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ให้นักเรียนตักข้าวและกับข้าวด้วยตนเองในระยะแรกจะมีครูคอยแนะนำการตักจนนักเรียนสามารถตักได้ตามมาตรฐานครูจะคอยดูแลให้นักเรียนตักเอง ซึ่งรายการอาหารครูโภชนาการดำเนินการลงข้อมูลรายการอาหารกลางวันหมุนเวียนรายเดือนโดยใช้โปรแกรมTSL(Thai school lunch)และ จัดทำอาหารตามรายการอาหาร และใช้วัตถุดิบของเกษตรในโรงเรียนและท้องถิ่นตลอดจนมีการอบรมแม่ครัวเรื่องสุขาภิบาลอาหาร อบรมนักเรียน อย.น้อยในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและอบรมนักเรียน แม่ครัว ครู ในการตักอาหารตามปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการทั้งนี้รายการอาหารเน้นผักเนื้อสัตวืไม่ติดมันและผลไม้ หลักฐาน รายการอาหาร รูปภาพ

  1. บูรณาการกับครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์แนะนำให้นักเรียนจัดรายการอาหารหมุนเวียน
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

จักรยานเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและลดอ้วนลดพุง

นำจักรยานเก่าๆที่ไม่ใช้แล้วซ่อมและพ่วงสายพานกับมอเตอร์แล้วต่อสายยางเข้าแปลงเกษตรให้นักเรียนที่มีภาวะอ้วนปั่นออกกำลังกายและรดน้ำผักควบคู่เป็นแรงจูงใจให้นักเรียนออกกำลังกายส่วนหนึ่งนอกเหนือกิจกรรมทางกายอย่างอื่นที่ทางโรงเรียนจัดให้ซึ่งการเฝ้าระวังทางโภชนาการมีการ จัดทำฐานข้อมูลน้ำหนักส่วนสุงสมรรถภาพทางกายของนักเรียนและการแปรผลภาวะโภชนาการและนำข้อมูลไปใช้ในการแก้ปัญหาเด็กอ้วนโดยจัดกิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน และทำกิจกรรมโครงการเด็กไทยไร้พุง ติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มเสี่่ยงอย่างต่อเนื่อง หลักฐาน รูปภาพเอกสารโครงการ/สรุปผลการดำเนินงาน

จัดกิจกรรมการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ๆ เพื่อลดจำนวนเด็กกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

น้ำยาจากพี่ใจสู่น้องป้องกันโรค

จากปัญหาของโรคติดต่อบางชนิดที่สามารถป้องกันได้เพียงการล้างมือบ่อยๆ ล้างมืออย่างถูกวิธี จึงได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัยโดยใช้น้ำยาเอกนประสงค์และให้นักเรียนรุ่นพี่เป็นแกนนำสื่อสารให้น้องและลงมือปฏิบัติจริงในการการทำน้ำยาล้างมือ ล้างจานอเนกประสงค์ จากสมุนไพรมะนาวและสับปะรด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้คือ หั่นสับปะรดหรือมะนาวเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่หม้อตั้งไฟต้มให้เละจากนั้น กรองน้ำสับปะรดหรือน้ำมะนาวด้วยผ้าขาวบางหรือตะแกรงตาถี่ ๆแล้วนำมาผสมเกลือกับเอ็น 70 ในถังกวนไปทางเดียวกันให้เข้ากันจนขาวข้น ค่อย ๆ เติมน้ำสับปะรดหรือน้ำมะนาวคนให้เข้ากัน เติมแต่งสีสรรด้วยสีผสมอาหารคนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้ฟองยุบ กรองใส่ขวดนำไปล้างจานได้และล้างมือมีการรณรงค์และใช้ล้างมือโดยรุ่นพี่มัธยมศึกษาจัดกิจกรรมและดูแลให้น้องๆได้ใช้ หลักฐานเอกสารการจัดทำน้ำยา กิจกรรมรณรงค์/ภาพประกอบ

  1. จัดตลาดนัดจำหน่ายแก่ผู้ปกครองช่วงหลังเลิกเรียน
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

โรงเรียนปลอดขยะ

ให้นักรียนคัดแยกขยะจากในห้องเรียนเช่นกระดาษขาว กระดาษสี ขวดน้ำ นำมาส่งขายที่ธนาคารขยะและเงินที่ได้ก็จะนำไปพัฒนาห้องเรียน และด้านล่างของอาคารก็จะมีถังสำหรับแยกขยะสำหรับขยะ 4 ประเภทใด้แก่ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การคัดแยกและการใช้ประโยชน์จากขยะที่ไม่ใช้แล้วซึ่งธนาคารขยะดำเนินการโดยนักเรียนส่วนขยะอินทรีย์นำไปทำน้ำหมักชีวะภาพ

  1. จัดตลาดนัดจำหน่ายปุ๋ยน้ำชีวภาพจากมะนาว และสับปะรด มะกรูดแก่ผู้ปกครองช่วงหลังเลิกเรียน 2.ทำแกสชีวะภาพจากขยะอินทรีย์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

การทำน้ำยากำจัดเหาสมุนไพร มะกรูด ใบน้อนหน่า

นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงในการทำน้ำยากำจัดเหาสมุนไพร มะกรูด ใบน้อนหน่าซึ่งมีฃั้นตอนการทำน้ำยากำจัดเหาสมุนไพร มะกรูด ใบน้อนหน่ามีดังนี้ 1. ผ่าครึ่งมะกรูดแล้วบีเอาแต่น้ำ 2. กรองน้ำมะกรูดกระชอนตาถี่ ๆ 3. นำเปลือกมะกรูดและใน้อยหน้าหั่นนิ้นเล็ก ๆ 4. นำน้ำมะกรูดและเปลือกมะกรูดและใน้อยหน้าหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆใส่ในโถปั่นให้ละเอียด 5. กรองเอาแต่ตัวยากำจัดเหาแล้กรอกใส่ขวด 6. นำตัวยากำจัดเหาไปหมักผมนักเรียนที่เป็นเหาให้ทั่ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมงแล้วสระผมให้สะอาด 7. หลักฐานรูปภาพและผลิตภัณฑ์กำจัดเหา

จัดตลาดนัดจำหน่ายแก่ผู้ปกครองช่วงหลังเลิกเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการด้านเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยทุกช่วงชั้นบูรณาการชุมชน

คณะครูแต่ละสายศึกษาหลักสูตร เนื้อหา คำอธิบายรายวิชา เพื่อวางผังโครงสร้างบูรณาการ 8 กลุ่มสาระเน้นการจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยโดย แบ่งเนื้อหาในแต่ละสายชั้นโดยให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน - สายป.1-2 เรียนเรื่อง ถั่วงอก
- สายป.3-4 เรียนเรื่อง ต้นอ่านทานตะวัน - สายป.5-6 เรียนเรื่อง ผักไฮโดรโปรนิกส์ น้ำสมุนไพร - สายมัธยม เรียนเรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ผักสวนครัว และ ครูแต่สายจัดทำแผนกจัดการเรียนรู้บูรณาการพร้อมแบบฝึกจุดเด่นสำคัญมีการบูรณาการแผนการเรียนการสอนเชื่อมโยงกับชุมชนและสำนักงานเขต หลักฐาน แฟ้มแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการด้านเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

ขยายเครือข่ายโรงเรียนด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการด้านเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

 

 

 

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

oภาคีเครือข่ายที่เข็มแข็ง ที่สำคัญได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชนเป็นอย่างดีความร่วมมือในการจัดทำโครงการจากเครือข่ายมีการร่วมในการจัดกิจกรรมและเป็นวิทยากรให้กับกิจกรรมต่างๆตลอดจนสนับสนุนด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณซึ่งเครื่อข่ายที่ร่วมสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมมีดังนี้ 1. ชุมชนหวังหนับอุทิศ 2. ชุมชนสุเหร่าซีรอ หมู 8 3. ฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง 4. ฝ่ายสิงแวดล้อม เขตสะพานสูง 5. กรมประมง 6. ศูนย์ยริการสาธารณสูข 68 สะพานสูง 7. ตณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสุเหร่าซีรอ(ราษฎร์สามัคคี) 8. ผู้ปกครองเครือข่ายโรงเรียนสุเหร่าซีรอ(ราษฎร์สามัคคี) 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

ภายนอก - โรงเรียนอยู่ในเขตเมืองการคมนาคมสะดวก ทำให้การประสานงานรวดเร็ว ภายใน - โรงเรียนมีพื้นที่ อาคาร บุคคลากร เพียงพอ ในการดำเนินงาน ชุมชน/ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเป็นปัจจัยเอื้อให้นักเรียนได้เรียนรู้

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

ผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่นตั้งแต่ระดับเขต ผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมีการจัดทำเป็นนโยบายและมอบหมายให้บุคลากรรับผิดชอบชัดเจนและสนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีการติดตามการดำเนินงานที่ให้กำลังใจในการทำงานเป็นการเสริมพลังมากกว่าการประเมินผล

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

กระบวนการเรียนรู้ระหว่างครู นักเรียน แม่ครัว เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริง โดยครูจะเป็นพี่เลี้ยงและนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมและความรู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาขยายผลให้แก่นักเรียนและแม่ครัว อย่างเป็นระบบและถูกต้องตามกระบวนการ และมีการอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมจากวิทยากรภายนอกในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

กระบวนผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมเกิดจากการที่โรงเรียนมีการชี้แจงวัตถุประสงค์และความสำคัญตลอดจนแนวทางการดำเนินงานในการจัดทำโครงการให้ชุมชนผู้ปกครองทราบ จากนั้นในการจัดกิจกรรมผู้ปกครองและชุมชนจะสนับสนุนตามที่มีความรู้ความสามารถและความถนัดตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมดำเนินการประเมินผลรวมทั้งถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับนักเรียนและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันบางกิจกรรมโรงเรียนได้จัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักเกิน(อ้วน) ให้ความรู้เรื่องโรคอ้วน และการปฏิบัติในชีวิตประจำวันโดยพลาบาลอนามัยศูนย์สาธารณสุข 68 สะพานสูงและ โรงเรียนเชิญวิทยากรภูมปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้นักเรียนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ทำกล้วยฉาบ และสลัดโรล

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

โรงเรียนนำผักในชุมชนมีนบุรี,ร่มเกล้าจากกลุ่มเกษตรกรที่ปลอดสารพิษและทางโรงเรียนได้จัดฐานการเรียนรู้การเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาปรุงอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนืซึ่งปลูกผักหลายชนิดหมุนเวียนกันไป เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง มะเขือ ถั่วงอก ต้นอ่อนทานตัน ผักไฮโดรโปรนิกส์ ชะอม กล้วย โดยใช้คาบเรียนเกษตร และคาบบูรณาการทักษะชีวิตลอดเวลาเรียนเพิ่มเวลาเรียนรู้ ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง โดยนักเรียนดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนได้เกิดทักษะการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงและผลผลิตดังกล่าวส่งเข้าสหกรณ์

บัญชีรายรัย-รายจ่ายของกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน

นักเรียนเรียนรู้การเกษตรในการปลูกผักเพื่อให้นักเรียนได้ดำเนินการทุกขั้นตอนและพัฒนาเกี่ยวกับการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

เลี้ยงไก่ไข่25ตัว เป็นฐานเรียนรู้เรื่องอาหารโปรตีนที่มีราครถูกให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ทางโรงเรียนจึงและนำผลิตผลมาใช้ปรุงอาหารกลางวันให้นักเรียนบริโภคการบริหารจัดการเพื่อให้นักเรียนได้อาหารโปรตีนจะซื้อจากตลาดมีนบุรี

บัญชีรายรัย-รายจ่ายของกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน

นักเรียนเรียนรู้การดำเนินการเพื่อให้นักเรียนได้ดำเนินการทุกขั้นตอนและพัฒนาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ จนถึงเก็บผลผลิตส่งสหกรณ์โดยนักเรียนต้องบันทึกการเก็บผลผลิตและคำนวนกำไร ขาดทุน ในการดำเนินการ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในกระบวนการจัดการผลิต

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ 500 ตัว เนื้อปลานับว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ทีคุณภาพเหมาะต่อการนำมาประกอบอาหารให้แก่นัดเรียนบริโภคทางโรงเรียนจึงได้ดำเนินจัดให้มีฐานการเรียนรู้ แก่นักเรียนแต่หลักๆจะซื้อจากตลาดมีนบุรี

บัญชีรายรับ - รายจ่ายของกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน

นักเรียนเรียนรู้การดำเนินการเพื่อให้นักเรียนได้ดำเนินการทุกขั้นตอนและพัฒนาเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุก ให้นักเรียนสามารถคำนวนกำไร ขาดทุน ในการดำเนินการ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในกระบวนการจัดการผลิต

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

อาหารเช้าเป็นมื้อท่ีสำคัญเป็นอย่างยิ่งทางโรงเรียนจัดอาหารเช้าโดยมีรายการอาหารหมุนเวียนกันไปซึ่งมีราคาคนละ 5 บาทบริการแก่นักเรียนทุกคน

โปรแกรมจัดอาหารเช้า

โรงเรียนจะดำเนินการให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าทุกคน

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

ในการจัดโปรแกรมอาหารกลางวันแก่นักเรียน ทุกมื้อจะเน้นจัดให้มีผัก และผลไม้ตามปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน

โปรแรมการจัดอาหารกลางวัน

รายการอาหารเน้นผักทุกวัน เน้นผลไม้ 4 วัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

ในการจัดโปรแกรมอาหารกลางวันแก่นักเรียน ทุกมื้อจะจัดให้มี ผัก และผลไม้ทุกมื้อตามปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน

โปรแกรมอาหารกลางวัน

รายการอาหารเน้นผักทุกวัน เน้นผลไม้ 4 วัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

ในการจัดโปรแกรมอาหารกลางวันแก่นักเรียน ทุกมื้อจะจัดให้มี ผัก และผลไม้ทุกมื้อตามปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน

โปรแกรมอาหารกลางวัน

รายการอาหารเน้นผักทุกวัน เน้นผลไม้ 4 วัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

โรงเรียนมีความร่วมมือกับโรงเรียนเครือข่ายและชุมชนให้ความรู้ในการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน การเพาะถั่วงอก

กิจกรรมอบรมภาคีเครือข่าย

ทางโรงเรียนส่งเสริมให้ผู้ปกครองการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน การเพาะถั่วงอก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

ทางโรงเรียนใช้โปรแกรม TSL ในการคำนวณอาหารกลางวันของโรงเรียนเป็นรายเดือน

โปรแกรมอาหารกลางวันของโรงเรียน

นำโปรแกรม TSL เผยแพร่ต่อผู้ปกครองเพื่อนำไปใช้ในครอบครัว

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

การเฝ้าระวังและประเมินการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน โดยใช้วิธีการชั่งน้ำหนัก และการวัดส่วนสูง แล้วนำค่าที่ได้มาแปลผลด้วยโปรแกรมเฝ้าระวังภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็กอายุ 0 – 18 ปี ในแต่ละเทอม ๆ ละ 2 ครั้ง

กราฟสถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา2559 )

มีการให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการบริโภคอาหารเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน เด็กขาดอาหารเด็กอ้วนและกลุ่มเสี่ยงเป็นรายบุคคล

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/1
เตี้ย 2.08 2.08% 3.46 3.46% 2.51 2.51% 2.64 2.64% 2.42 2.42% 3.45 3.45%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 6.81 6.81% 9.44 9.44% 7.88 7.88% 9.01 9.01% 6.52 6.52% 9.12 9.12%
ผอม 1.96 1.96% 3.46 3.46% 2.63 2.63% 3.97 3.97% 3.26 3.26% 4.81 4.81%
ผอม+ค่อนข้างผอม 5.54 5.54% 10.27 10.27% 10.02 10.02% 9.13 9.13% 7.85 7.85% 11.36 11.36%
อ้วน 3.70 3.70% 6.57 6.57% 6.80 6.80% 5.65 5.65% 6.88 6.88% 7.65 7.65%
เริ่มอ้วน+อ้วน 7.39% 7.39% 11.23% 11.23% 11.22% 11.22% 9.62% 9.62% 10.99% 10.99% 13.83% 13.83%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

ปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน-อ้วน ของภาคเรียนที่ 1/ 2 ; 11.22และภาคเรียนที่ 2 / 2 ; 10.99 พบว่าลดลง 0.28ส่วนนักเรียนที่มีภาวะอ้วนของภาคเรียนที่ 1/ 2 ; 5.65 และภาคเรียนที่ 2 / 2 ; 6.88ปีการศึกษา 2559 พบว่าเพิ่มขึ้น 0.08 โรงเรียนมีการจัดการโดยอรรมผู้ปกครองและนักเรียนแนวทางแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติตนด้านการบริโภคและออกกำลังกายและมีการควบคุมอาหารและอาหารว่างสำหรับนักเรียนที่โรงเรียน

แบบรายงานผลภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนรายบุคคล

มีการอบรมเรื่องธงโภชนาการโดยใช้หุ่นจำลองอาหารหรืออาหารจริงประกอบการสอน แล้วอธิบายแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้นักเรียนเข้าใจและสามารถประเมินตนเองได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

ปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนที่ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง ของภาคเรียนที่ 1/ 2 ; 9.01และภาคเรียนที่ 2 / 2 ; 6.52พบว่าลดลง2.49 ส่วนนักเรียนที่มีภาวะผอมของภาคเรียนที่ 1/ 2 ; 2.63 และภาคเรียนที่ 2 / 2 ; 3.26พบว่าลดลง 0.63 โรงเรียนมีการจัดการโดยอรรมผู้ปกครองและนักเรียนแนวทางแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติตนด้านการบริโภคและออกกำลังกายและมีการควบคุมอาหารและอาหารว่างสำหรับนักเรียนที่โรงเรียน

แบบรายงานผลภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนรายบุคคล

มีการอบรมเรื่องธงโภชนาการโดยใช้หุ่นจำลองอาหารหรืออาหารจริงประกอบการสอน แล้วอธิบายแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้นักเรียนเข้าใจและสามารถประเมินตนเองได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

ปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนที่ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยของภาคเรียนที่ 1/ 2 ; 9.44 และภาคเรียนที่ 2 / 2 ; 6.52 พบว่าลดลง 2.92 ส่วนนักเรียนที่มีภาวะเตี้ยของภาคเรียนที่ 1/ 2 ; 2.51และภาคเรียนที่ 2 / 2 ;2.42 พบ ว่าลดลง 0.09 โรงเรียนมีการจัดการโดยอรรมผู้ปกครองและนักเรียนแนวทางแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติตนด้านการบริโภคและออกกำลังกายและมีการควบคุมอาหารและอาหารว่างสำหรับนักเรียนที่โรงเรียน

แบบรายงานผลภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนรายบุคคล

มีการอบรมเรื่องธงโภชนาการโดยใช้หุ่นจำลองอาหารหรืออาหารจริงประกอบการสอน แล้วอธิบายแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้นักเรียนเข้าใจและสามารถประเมินตนเองได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและประเมินการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน โดยใช้วิธีการชั่งน้ำหนัก และการวัดส่วนสูง แล้วนำค่าที่ได้มาแปลผลด้วยโปรแกรมเฝ้าระวังภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็กอายุ 0 – 18 ปี ในแต่ละเทอมและจัดการส่งเสริมสุขภาพโดยการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนเด็กอ้วนทำกิจกรรมโครงการเด็กไทยไร้พุง ถ้าผอมดื่มนมเสริมคนละ 1 ถุง ทุกวัน

แบบเปรียบเทียบการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนและแบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูงรายบุคคล

จัดกิจกรรมดำเนินงานส่งเสริมการเจริญเติบโต ป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยจัดอบรมพร้อมทั้งมีการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการเลือกซื้ออาหารอีกทั้งจัดอบรมโภชนาการให้แก่ผู้แม่ครัวในโรงเรียน และจัดการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

จัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) ให้ความรู้เรื่องโรคอ้วน การปฏิบัติ ในการเลือกซื้ออาหาร จากวิทยากรพยาบาลอนามัยศูนย์สาธารณสุข 68 สะพานสูง สำนักงานเขตสะพานสูง กทม.

แบบรายงานการเฝ้าระวังและประเมินการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน

จัดอบรมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การเลือกซื้ออาหาร โดยเชิญวิทยากรมาอบรมให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

oภาคีเครือข่ายที่เข็มแข็ง ที่สำคัญได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชนเป็นอย่างดีความร่วมมือในการจัดทำโครงการจากเครือข่ายมีการร่วมในการจัดกิจกรรมและเป็นวิทยากรให้กับกิจกรรมต่างๆตลอดจนสนับสนุนด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณซึ่งเครื่อข่ายที่ร่วมสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมมีดังนี้ 1. ชุมชนหวังหนับอุทิศ 2. ชุมชนสุเหร่าซีรอ หมู 8 3. ฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง 4. ฝ่ายสิงแวดล้อม เขตสะพานสูง 5. กรมประมง 6. ศูนย์ยริการสาธารณสูข 68 สะพานสูง 7. ตณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสุเหร่าซีรอ(ราษฎร์สามัคคี) 8. ผู้ปกครองเครือข่ายโรงเรียนสุเหร่าซีรอ(ราษฎร์สามัคคี) 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh