ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง)


“ โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) ”

115/1 หมู่ 6 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

หัวหน้าโครงการ
นายเอกนิษฐ์ ปริสุทธิกุล

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง)

ที่อยู่ 115/1 หมู่ 6 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จังหวัด นครปฐม

รหัสโครงการ ศรร.1213-035 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ก.4

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) จังหวัดนครปฐม" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 115/1 หมู่ 6 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง)



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) " ดำเนินการในพื้นที่ 115/1 หมู่ 6 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รหัสโครงการ ศรร.1213-035 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 559 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
  2. เพื่อค้นหารูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมผู้ปกครองและคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน
  4. เพื่อให้นักเรียนตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดด้านอาหารและโภชนาการ
  5. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดร่างกายและดูแลพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะโดยนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพ
    2. นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เหมาะสมตามวัยมีโภชนาการสมวัย
    3. นักเรียนมีผลการเรียนดี
    4. นักเรียนมีจิตสาธารณะในการดูแลด้านการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมการใช้โปรแกรม

    วันที่ 27 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การประชุมเรื่องการใช้งานระบบติดตามโครงการเด็กไทยแก้มใส แบบออนไลน์

    • ปรับแก้โครงการ
    • ลงรายละเอียดโครงการ ผ่านเว็ป
    • วางแผนดำเนินกิจกรรม
    • ทดลอง รายงาน กิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถใช้งานนระบบติดตามโครงการเด็กไทยแก้มใสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

    2 46

    2. กิจกรรมปลูกผักปลอดสารต้านทานโรค

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจความต้องการของนักเรียนชอบรับประทานผักอะไรบ้าง
    2. ซื้อเมล็ดพันธ์ุผักและวัสดุสำหรับปลูกที่ใช้ปลูกและจัดซื้อก้อนเห็ด ซึ่งมีโรงเรือนอยู่แล้วตั้งแต่โครงการปีที่ 1
    3. นักเรียนร่วมกันปลูกผักและดูแลรดน้ำพรวนดิน กำจัดวัชพืชถอนหญ้าไปเลี้ยงไก่ไข่ที่ได็เลี้ยงไว้
    4. เมื่อผักเจริญเติบโตจนเก็บเกี่ยวได้แล้วก็นำไปจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันโดยผ่านสหกรณ์นักเรียนและจำหน่ายให้กับผู้ครู ปกครอง
    5. โรงเรียนได้จัดให้มีการปลูกผักไร้ดินขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและผู้ปกครองอีกทั้งโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายในกลุ่มโรงเรียนเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน นักเรียนมีผลไม้รับประทาน มีปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ใส่แปลงเกษตร
    2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานเกษตร สามารถปรับตัวและให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    3. โรงเรียนมีแหล่งอาหารปลอดสารพิษสำหรับนักเรียน

     

    131 179

    3. กิจกรรมเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ ครั้งที่ 1

    วันที่ 22 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เลี้ยงปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุกปลานิลเป็นต้นตามบริบทของโรงเรียนเนื่องจากมีพื้นที่น้อยต้องเลี้ยงในบ่อซีเมนต์เก่า(เดิมเป็นแทงค์น้ำปูนตัดครึ่ง)และเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนซึ่งบูรณาการกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ปลาที่ได้นำมาเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
    2. นักเรียนเกิดความรู้และทักษะในการเลี้ยงปลา
    3. ร่วมทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

    47 45

    4. การอบรมการทำน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์จากน้ำหมักมะกรูด

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญวิทยากร กำนดวันอบรม และขออนุมัติจากผู้บริหาร
    2. เริ่มอบรมนักเรียนชั้นป.4-ป.6 ในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
    3. นักเรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีวิทยากรและคุณครูลงไปช่วยคำแนะนำ
    4. นำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายโดยสหกรณ์นักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนเกิดทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีการปฏิบัติลงมือจริงและสามารถนำผลงานที่ได้มาใช้และจำหน่ายได้
    2. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนและนำความรู้ไปบอกผู้ปกครองร่วมกันทำเป็นอาชีพเสริมได้

     

    189 177

    5. กิจกรรมจัดอบรมการทำสบู่สมุนไพรเสริมสุขภาพ

    วันที่ 8 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ขออนุมัติผุ้รับผิดชอบโครงการและติดต่อประสานงานวิทยากรร่วมประชุมวางแผนงานกิจกรรม
    2. จัดกิจกรรมดำเนินกิจกรรมตามขี้นตอนที่วิทยากรวางไว้โดยวิทยากรให้ความรู้นักเรียนอย่างใกล้ชิด
    3. วิทยากรสรุปขั้นตอนและเคล็ดลับต่างๆให้นักเรียนฟัง
    4. นำผลงานที่ได้ออกจำหน่ายโดยให้เจ้าหน้าที่สหกรณืไปจำหน่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลิตที่ได้มีดังนี้คือ

    1. ได้ความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองไม่เคยทำมาก่อนในชีวิตเพิ่งเคยทำและนำไปใช้ได้จริง
    2. เกิดแรงปันดาลใจต้องการจะนำความรู้ไปบอกครอบคร้วให้ทำเป็นอาชีพเสริมและทำเพื่อใช้เอง
    3. กิจกรรมของโรงเรียนบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้

     

    99 97

    6. กิจกรรมขยับกายทุกวัน สร้างสรรค์สุขภาพ

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมนักเรียนที่เป็นแกนนำในการออกกำลังกายและให้ความรู้  แล้วมานำนักเรียนในการทำกายบริหารประกอบเพลงหน้าเสาธงในช่วงเช้า  และเป็นผู้นำการออกกำลังกายให้กับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพร่างกาย
    2. นักเรียนมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงและสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยต่าง
    3. นักเรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
    4. นักเรียนนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

     

    718 709

    7. ปลูกผักต้านทานโรค ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้นร.รับผิดชอบแบ่งพื้นที่ปลูกผัก โดยให้นร.ในแต่ละชั้นเรียนศึกษาความรู้การปลูกผัก ระดมความคิดในการเลือกชนิดผักที่จะปลูก
    และลงมือปลูกผัก รวมทั้งบำรุงรักษาแปลงผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผักปลอดสารพิษได้รับประทานในมื้อกลางวัน ได้แก่ ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาดหอม ผักสลัด เห็ดนางฟ้า และฝรั่งกิมจู

     

    548 548

    8. กิจกรรมลดอ้วน ลดโรค

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นตอนการปฎิบัติกิจกรรม

    1. สำรวจนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และนักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์
    2. รวบรวมรายชื่อและติดต่อประสานงานวิทยากรมาให้ความรู้กับนักเรียนเรื่องภาวะโภชนาการที่ดี
    3. จัดการอบรมนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และนักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์
    4. สรุปความรู้ที่ได้รับจากการอบรมโดยการสังเกตและติดตามผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการดำเนินการ

    1. นักเรียนได้รับความรู้เรื่องในการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ในสัดส่วนที่ถูกต้องการออกกำลังกายและการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันที่มีประโยชน์สามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้
    2. นักเรียนเกิดความตระหนักในเรื่องอาหารที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายและโรคภัยที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
    3. มีนักเรียนที่ลดและควบคุมน้ำหนักของตนเองได้มีจำนวนมากขึ้น

     

    89 88

    9. ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่1 และขอเบิกเงินงวดที่ 2

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความรู้และความเข้าใจในการลงระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น

     

    2 1

    10. กิจกรรมบูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพ

    วันที่ 24 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเป็นฐานแหล่งเรียนรู้การเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ดังนี้ การแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ในห้องสหกรณ์ ห้องพยาบาล โดยจัดป้ายนิเทศให้ความรู้ตามบริบทของห้องต่าง ๆ
    • คุณครูนำนักเรียนเข้าสู่ฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยจัดชั่วโมงสลับกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ เช่น การอ่าน การคิดวิเคราะห์
    • นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างมีความสุข
    • นักเรียนเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
    • นักเรียนมีความอดทน และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

     

    372 591

    11. เลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อปูนซีเมนส์ครั้งที่ 2

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ให้ความรู้กับนักเรียน เกี่ยวกับปลาน้ำจืดที่เลี้ยงง่าย โตไว ได้แก่ ปลาดุก ปลานิล
    • จัดหาแหล่งเลี้ยงปลาและแบ่งกลุ่มนักเรียนช่วยกันเลี้ยงปลาโดยเป็นเด็กชั้นมัธยม
    • สังเกตการเจริญเติบโต ดูแลให้อาหาร เปลี่ยนน้ำ ให้วัคซีน จนกระทั่งปลาเจริญเติบโตเต็มที่ และสามารถนำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนเกิดทักษะความรู้ในการเลี้ยงปลา สามารถนำไปประกอบอาชีพได้
    • โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนมีเนื้อปลาบริโภค
    • นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการเจริญเติบโตของปลา

     

    548 548

    12. กิจกรรมจัดอบรมแม่ครัว แม่ค้าและผู้สนใจในเรื่องอาหารและโภชนาการ

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ขออนุมัติจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดอาหารที่ดีถูกสุขลักษณะและสุขาภิบาล
    2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบประชุมวางแผนจัดกิจกรรมร่วมประสานงานกับวิทยากรที่มาให้ความรู้
    3. จัดกิจกรรมตามที่วางแผนไว้
    4. สรุปผสการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดอาหารให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารที่ต้องได้สารอาหารครบ5หมุ่และในสัดส่วนที่ถุกต้องตามหลักโภชนาการ
    2. นักเรียนได้รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการสารอาหารครบถ้วนโดยครูโครงการอาหารกลางวันที่ผ่านการอบรมการจัดสำรับอาหาร
    3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

     

    43 32

    13. อบรมครูเรื่องการติดตามภาวะโภชนาการและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียน

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมครูโรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม ให้ความรู้เรื่องการติดตามภาวะโภชนาการนักเรียนและการเฝ้าระวัง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครูได้ความรู้เรื่องการติดตามและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียน และนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับนักเรียนในห้องเรียนของตนที่ดูแลรับผิดชอบ

     

    35 45

    14. ประกวดวัยใส ใส่ใจสุขภาพฟันและเพลงล้างมือ

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คัดเลือกนักเรียนที่มีฟันสวยห้องละ 1 คน ประกวดสุขภาพฟัน และครูให้ความรู้การดูแลสุขภาพฟัน
    2. กิจกรรมประกวดทำท่าทางประกอบเพลงล้างมือ โดยแต่ละห้องส่งตัวแทนเป็นทีมเข้าประกวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนได้ความรู้ และทักษะ กระบวนการ ในการดูแลรักษาฟัน เกิดความตระหนักที่จะดูแลรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรงอยู่เสมอ
    • นักเรียนได้รับความรู้ในการดูแลสุขอนามัยส่วนตัวที่ถูกต้อง

     

    500 500

    15. จัดกิจกรรมโครงการขยะจ๋าบูรณาการเกษตร

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการดำเนินงานและผู้ประสานงานโครงการในช่วงชั้นต่างๆ
    2. จัดกิจกรรมโดยร่วมกันจัดเป็นช่วงชั้นเข้าชมกิจกรรมจากครูและนักเรียนชั้นอนุบาลในการนำขยะมาทำให้มีคุณค่ามากขึ้น
    3. นักเรียนเข้าร่วมงานในโครงการขยะจ้าแล้วร่วกันสรุปเป็นรายงานส่งคุณครู

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนเกิดความตระหนักในการดูแลและพัฒนาสภาพแวดล้อมต่างๆในโรงเรียนในมากยิ่งขื้น
    2. นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการนำขยะหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาทำให้เกิดมูลค่าหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้
    3. ทำให้สภาพแวดล้อมของโรงเรียนน่าอยู่ร่มรื่นแลปลอดภัย

     

    657 657

    16. ฐานการเรียนรู้สหกรณ์นักเรียน

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนวางแผนดำเนินงานจัดบรรยากาศสหกรณ์ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้และจัดรายการจัดจำหน่ายสินค้านอกสถานที่ตามโอกาส 2.จัดกลุ่มนักเรียนที่เป็นกรรมการช่วยกันปฏิบัติงานตามแผนดำเนินงาน 3.คณะครูเป็นที่ปรึกษาการทำงานของนักเรียนทั้งในและนอกสถานที่เช่นวัดหนองงูเหลือมโรงเจเป็นต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนเกิดความรู้และทักษะในการดำเนินงานรัานค้าสหกรณ์ 2.เกิดตวามสามัคคีในหมู่คณะยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 3.ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ซื่อสัตย์ และใช้ชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 4.เกิดทักษะและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพที่สุจริต

     

    18 18

    17. เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์อารมณ์ดีไข่แดง

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ซื้อแม่พันธ์ุไก่ไข่มาจำนวน 50 ตัวเพื่อให้นักเรียนฝึกเลี้ยงไก่ไข่และนำไข่มาทำเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน 2.ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาความรู้ในการเลี้ยงไก่ไข่  แล้วตั้งเป็นกลุ่มสนใจเลี้ยงไก่ 3.จัดกลุ่มหมุนเวียนการเลี้ยงไก่และเก็บไข่ไปส่งให้กับสหกรณ์เพื่อขายต่อไปยังโครงการอาหารกลางวันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้ผลผลิตที่เกิดขึ้นคือได้ไข่ไก่ที่สดสะอาด ปลอดภัยจากสารเร่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นอาหารที่ปลอดภัยต่อไป 2.นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.นักเรียนเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ให้เกียรติและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

     

    596 596

    18. กิจกรรมห้องเรียน 3 ดี

    วันที่ 16 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมเสนอแนวทางการพัฒนาห้องเรียน  ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของนักเรียนให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการดูแลสุขภาพของนักเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 2.สรุปเป็นแนวทางเดียวกันว่าควรมีการตบแต่งเป็นห้องเรียน 3 ดี 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนเกิดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพที่ดี 2.ห้องเรียนมีบบรยากาศที่ดีมีมุมสุขภาพให้ความรู้ด้านสุขภาพกับนักเรียน

     

    559 559

    19. จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย

    วันที่ 6 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนดอกเบี้ยโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้คืนดอกเบี้ยให้ สสส.จำนวน 13.73 บาท

     

    1 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
    ตัวชี้วัด : 1.ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7% ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ(กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปีมีภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7%

    .ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย เกิน 7% ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ(กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปีมีภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7%

    2 เพื่อค้นหารูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
    ตัวชี้วัด : นักเรียนลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพ โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

    นักเรียนลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพ โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

    3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมผู้ปกครองและคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน
    ตัวชี้วัด : นักเรียนได้กินผัก ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย - ผักวันละประมาณ40-100กรัม(อนุบาล 3 ช้อน(50 กรัม) ประถม 4 ช้อน(70 กรัม)และมัธยม 5 ช้อน(90 กรัม)) - ผลไม้(อนุบาล 1/2 ส่วน ประถม 1 ส่วน)ต่อมื้อต่อคน

    นักเรียนได้กินผัก ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย - ผักวันละประมาณ40-100กรัม(อนุบาล 3 ช้อน(50 กรัม) ประถม 4 ช้อน(70 กรัม)และมัธยม 5 ช้อน(90 กรัม)) - ผลไม้(อนุบาล 1/2 ส่วน ประถม 1 ส่วน)ต่อมื้อต่อคน

    4 เพื่อให้นักเรียนตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดด้านอาหารและโภชนาการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีรายการอาหารหมุนเวียนราย 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ (ใช้ Thai School Lunch Program) 2. ปรุง ประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลและอาหารปลอดภัย 3. นักเรียนได้รับประทานอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการในทุกมื้อ 4. ร้านจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ รจัดด้านอาหารและโภชนาการ

    มีรายการอาหารหมุนเวียนราย 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ (ใช้ Thai School Lunch Program) ปรุง ประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลและอาหารปลอดภัย นักเรียนได้รับประทานอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการในทุกมื้อ ร้านจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ รจัดด้านอาหารและโภชนาการ

    5 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดร่างกายและดูแลพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะโดยนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนมีสุขภาพกายที่สะอาดและแข็งแรง 2. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีสะอาด ปลอดภัยและร่มรื่น

    นักเรียนมีสุขภาพกายที่สะอาดและแข็งแรงร้อยละ80 โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีสะอาดปลอดภัยร่มรื่น

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง (2) เพื่อค้นหารูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (3) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมผู้ปกครองและคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน (4) เพื่อให้นักเรียนตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดด้านอาหารและโภชนาการ (5) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดร่างกายและดูแลพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะโดยนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง)

    รหัสโครงการ ศรร.1213-035 รหัสสัญญา 58-00-2265-ก.4 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    กิจกรรมปลูกผักและผลไม้ปลอดสารพิษ

    กิจกรรมการปลูกผักและผลไม้ปลอดสารพิษนั้เป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองลงมือทำจริงทำซ้ำๆจากเดิมพื้นฐานของนักเรียนบางคนไม่เคยทำงานเกษตรมาก่อนเลยเมื่อนักเรียนได้ทำก็ก่อให้เกิดความรู้และทักษะเป็นองค์ความรู้ที่ติดตัวนักเรียนไปเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอื่นๆในโรงเรียน

    ขยายพื้นที่ในการปลูกผักผลไม้มีการจัดแปลงหรือสถานที่ปลูกให้เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียนและประดับตบแต่งเป็นสวนผักที่ร่มรื่นนักเรียนที่มาเรียนก็มีความสุขจะทำสวนผักให้เป็นห้องเรียน แบบวิถีธรรมชาติเน้นความพอเพียงเรียบง่ายเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรแบบครบวงจรโดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการอย่างสร้างสรรค์โดยมีคุณครูเ)ป็นผู้ให้คำแนะนำและที่ปรึกษา

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    กิจกรรมสวัสดิการร้านค้า

    • ให้นักเรียนร่วมเป็นสมาชิกสวัสดิการร้านค้าของโรงเรียนทุกคน
    • จัดสวัสดิการร้านค้าโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้สหกรณ์ในโรงเรียน

    จัดกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องเพราะเป็นกิจกรรมที่ดีทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักในการใช้จ่ายอย่างประหยัด

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    การให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการอาหารกลางวันโดยมีการสำรวจรายการอาหารที่นักเรียนส่วนใหญ่ชื่นชอบแลัวนำมาจัดโดยใช้โปรแกรมThai school lunch

    ให้ครูประจำชั้นรวบรวมชื่ออาหารที่นักเรียนชอบแล้วนำมาสรุปส่งให้คุณครูด้านอาหารกลางวันเพื่อสรุปเป็นข้อมูลต่อไป

    จัดอาหารตามความต้องการของนักเรียนเป็นลำดับ และจัดกิจกรรมตอบปํญหาที่เกี่ยวกับอาหารกลางวันของโรงเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    กิจกรรมการเต้นออกกำลังกายและการเล่นกีฬาตามอัธยาศัยของนักเรียน

    จัดให้มีชมรมเต้นเพื่อสุขภาพชมรมเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพโดยมีนักเรียนที่ผ่านการอบรมมาเป็นแกนนำในการเต้นออกกำลังกาย

    จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆที่ได้รับมอบหมาย

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
    • กิจกรรมการทำท่าทางประกอบเพลงล้างมือ
    • กิจกรรมประกวดฟันสวยสุขภาพดี

    -จัดกิจกรรมโดยใหันักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยครูประจำชั้น คัดเลือกทีมที่ชนะระดับห้องเรียนมาประกวดกับห้องอื่นๆ

    จัดกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักในการพัฒนาดูแลอนามัยส่วนบุคคลและส่งเสริมสุขนิสัยที่ดีในการชีวิตประจำวันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาต่อไป

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    กิจกรรมการทำน้ำยาอเนกประสงค์และการทำสบู่เสริมสมุนไพร

    หลังจากจัดกิจกรรมอบรมไปแล้วนั้นทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักในการรักษาความสะอาดสถานที่ต่างๆเช่น ห้องน้ำห้องส้วมและได้ความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและประหยัด

    จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยให้นักเรียนที่ผ่านการอบรมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กัรุ่นน้องโดยครูเป็นที่ปรึกษาในการทำกิจกรรม

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    จัดกิจกรรมพี่สอนน้องให้ความรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานให้กับนักเรียนที่เด็กกว่ารวมถึงการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพเช่นการตรวจมือเสื้อผ้ากำจัดเหา การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

    -จัดให้มีชมรม อ.ย. น้อยให้ความรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานที่นักเรียนต้องรู้และสามารถนำไปถ่ายทอดได้ปฏิบัติได้
    -จัดให้มีการออกกำลังกาย กีฬาสี มีการบริการด้านสุขภาพ การตรวจวัดสายตา การตรวจรัษาฟัน

    พัฒนาชมรมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและสร้างขวัญกำลังใจให้การสนับสนุนอย่างใกล้ชิด

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    จัดฐานการเรียนรู้บูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    • จัดเป็นฐานเรียนรู้การแปรรูปอาหารจากผลผลิตการเกษตร ได้แก่ เห็ดสามรส เห็ดหยอง
    • ผลิตภัณฑ์จากสวนสมุนไพร ได้แก่ นำ้ยาเอนกประสงค์จากมะกรูด ยาหม่องไพล น้ำยาล้างจานจากมะกรูด สบู่เสริมสมุนไพร
    • ขยายสู่ชุมชนให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ และยังเป็นการหารายได้ของนักเรียนในระหว่างเรียน
    • สามารถฝึกนักเรียนให้เป็นแกนนำวิทยากรให้ความรู้กับคนในชุมชนได้
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

    โรงเรียนธนาคาร

    เป็นธนาคารโรงเรียนโดยประสานงานกับธนาคาร ธกส.ดังนี้

    1. ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนเปิดบัญชีออมทรัพย์กับโรงเรียน
    2. ส่งเสริมการใช้จ่ายอย่างประหยัดของนักเรียน
    3. สร้างความภาคภูมิใจให้กับนักเรียนและครอบครัว
    4. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะมีสมุดบัญชีเงินฝากทุกคน และมีสมุดบัญชีรวมของโครงการ

    จัดประกวดนักออมเงินรุ่นจิ๋ว เพื่อสร้างแรงจูงใจในการออมเงินให้กับนักเรียน

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    • องค์การบริหารส่วนตำบล เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองงูเหลือม สนับสนุนให้ความรู้การดูแลสุขภาวะ และตรวจสุขภาพนักเรียน รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมที่จัด
    • ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นวิทยาการด้านการเกษตรและเข้าร่วมกิจกรรม
    • เกษตรอำเภอให้ความรู้เรื่องการเกษตรและเข้าร่วมกิจกรรม
    • ปศุสัตว์ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลา และเข้าร่วมกิจกรรม

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    สังคมโดยรอบโรงเรียนเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชผักหลากหลายและเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    การเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกันโดยมีท่านผู้อำนวยการเป็นผู้ให้คำปรึกษาทำงานด้วยความโปร่งใสยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นไม่มีกลไกลอะไรมาก คณะทำงานต้องไว้ใจซึ่งกันและกันมีความจริงใจต่อกัน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    ครูต้องมีความรู้มากกว่านักเรียนและแม่ครัวโดยครูต้องศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆแล้วนำมาถ่ายทอดใหักับนักเรียนและแม่ครัว ให้คำปรึกษาแก่คณะตรูและผู้ปกครองอื่นๆส่วนนักเรียนในโรงเรียนเราต้องให้ความรู้และทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลายทั้งที่นักเรียนกระทำเองและที่คุณครูจัดกระบวนการให้จนกระทั่งนักเรียนเกิดองค์ความรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    จัดกิจกรรมต่างๆโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ เช่นกิจกรรมกีฬาสีกิจกรรม เปิดบ้านวิชาการ การประชุมผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชนที่เกี่ยวข้องในการจัดอาหารให้นักเรียน เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    กิจกรรมปลูกผักและผลไม้ไร้สารต้านทานโรคโดยนักเรียนทุกระดับชั้นมีการปลูกผักต่างๆตามบริบทของวัยของตน

    ปลูกผักที่เด็กๆชอบรับประทานรับประทานเช่นกวางตุ้งผักบุังคะน้าและพืชผักสวนครัว

    เพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากยิ่งขึ้นโดยขยายพื้นที่การเพาะปลูกให้มากขึ้นใช้ประโยชน์พื้นที่ให้มากที่ สุด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    มีการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์โดยจัดกลุ่มนักเรียนที่มีความสนใจและชอบเลี้ยงไก่ไข่มาเป็นผู้ดูแลโดยจะได้รับไข่เป็นค่าตอบแทน

    มีโรงเลี้ยงไก่ไข่ตั้งแต่โครงการเด็กไทยแก้มใสปีที่1โดยใช้วัสดุที่มีอยู่แล้ว ในโรงเรียน

    เลี้ยงไก่ไข่มาแล้วหนึ่งปี ปี2560 เป็นปีที่ 2

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    มีการเลี้ยงปลาชนิดเดียวที่ไม่สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันได้ทุกมื้อ จะนำมาทำเป็นอาหารได้เมื่อปลาที่เลี้ยงโตเต็มวัยเท่านั้น

    กิจกรรมเลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อในบ่อซีเมนต์

    สร้างความร่วมมือกับชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันผลิตอาหารปลอดภัยสู่ครัวโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    มีการจัดบริการอาหารกลางวันให้นักเรียนโดยจัดให้มีเมนูที่เป็นผักและผลไม้สัปดาห์ละ อย่างน้อย 3-4 วัน

    เมนูจากโปรแกรม Thai School Lunch

    ประยุกต์เมนูอาหารให้สอดคล้องผลไม้ตามฤดูกาลในท้องถิ่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    มีการจัดบริการอาหารกลางวันให้นักเรียนโดยจัดให้มีเมนูที่เป็นผักและผลไม้สัปดาห์ละ อย่างน้อย 3-4 วัน

    เมนูจากโปรแกรม Thai School Lunch

    ประยุกต์เมนูอาหารให้สอดคล้องผลไม้ตามฤดูกาลในท้องถิ่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    มีการจัดบริการอาหารกลางวันให้นักเรียนโดยจัดให้มีเมนูที่เป็นผักและผลไม้สัปดาห์ละ อย่างน้อย 3-4 วัน

    เมนูจากโปรแกรม Thai School Lunch

    ประยุกต์เมนูอาหารให้สอดคล้องผลไม้ตามฤดูกาลในท้องถิ่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    มีเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนโดยเชิญครูและนักเรียนเข้าร่วมอบรมให้ความรู้ในเรื่องการเกษตรตามรอยพระบาทยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ศุนย์เรียนรู้ปลักไม้ลาย

    รูปภาพกิจกรรม ใบประกาศนียบัตร

    ขยายความร่วมกับเกษตรกรที่ผลิดอาหารปลอดสารพิษในชุมชนเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษในโรงเรียนให้มากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    การใช้โปรแกรม Thai School Lunch จัดเมนูอาหารให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นตามหลักโภชนาการ

    รายการเมนูอาหารจากโปรแกรม Thai School Lunch

    ส่งเสริมให้นร.นำเมนูอาหารจากโปรแกรม Thai School Lunch มาใช้ที่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนร.เทอมละ 2 ครั้ง ต้นเทอมกับปลอดภัย

    รายงานการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง

    นำผลที่ได้มาสรุปและติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง และวางแผนแก้ปัญหานร.ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/2
    เตี้ย 2.48 2.48% 0.38 0.38% 1.36 1.36% 3.10 3.10% 2.89 2.89% 2.69 2.69%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 7.66 7.66% 4.40 4.40% 11.31 11.31% 7.23 7.23% 6.82 6.82% 6.40 6.40%
    ผอม 5.17 5.17% 1.15 1.15% 0.58 0.58% 9.09 9.09% 6.20 6.20% 5.99 5.99%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 14.67 14.67% 12.02 12.02% 12.67 12.67% 17.15 17.15% 13.02 13.02% 11.78 11.78%
    อ้วน 7.02 7.02% 2.48 2.48% 2.73 2.73% 6.61 6.61% 6.40 6.40% 5.99 5.99%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 14.46% 14.46% 5.34% 5.34% 6.63% 6.63% 12.81% 12.81% 10.33% 10.33% 9.92% 9.92%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักในการบริโภคอาหาร

    รายงานสถานการณ์ภาวะโภชนาการ

    ส่งเสริมนร.ในกลุ่มภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักในการบริโภคอาหารมากนัก

    รายงานสถานการณ์ภาวะโภชนาการ

    ส่งเสริมนร.ในกลุ่มภาวะค่อนข้างผอมและผอมได้รับอาหารตามหลักโภชนาการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    ภาวะเตี้ยลดลงตามภาวะการเจริญเติมโตของวัย

    รายงานสถานการณ์ภาวะโภชนาการ

    ส่งเสริมให้นร.ดื่มนมสม่ำเสมอ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ และควรออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือกระโดดอย่างสม่ำเสมอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    จ้ดกิจกรรมออกกำลังกาย และรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการแก่นักเรียน

    รูปภาพ และรายงานการดำเนินกิจกรรม มีบันทึกการเช่าร่วมกิจกรรม

    ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและให้มีอย่างสม่ำเสมอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    ประชุมปกครองแจ้งให้ทราบถึงภาวะโภชนาการของนร.

    รายงานการดำเนินกิจกรรมมีการเข้าร่วมการประชุม มีรางานการประชุม

    ส่งเสริมให้ผู้ปกครองจัดเมนูอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    • องค์การบริหารส่วนตำบล เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองงูเหลือม สนับสนุนให้ความรู้การดูแลสุขภาวะ และตรวจสุขภาพนักเรียน รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมที่จัด
    • ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นวิทยาการด้านการเกษตรและเข้าร่วมกิจกรรม
    • เกษตรอำเภอให้ความรู้เรื่องการเกษตรและเข้าร่วมกิจกรรม
    • ปศุสัตว์ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลา และเข้าร่วมกิจกรรม

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) จังหวัด นครปฐม

    รหัสโครงการ ศรร.1213-035

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายเอกนิษฐ์ ปริสุทธิกุล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด