ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร


“ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร ”

หมู่ที่ 6 ถนน เขาปีบ-ปากตะโก ตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นายดุลสฤษดิ์รัตนูปกรณ์

ชื่อโครงการ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร

ที่อยู่ หมู่ที่ 6 ถนน เขาปีบ-ปากตะโก ตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ ศรร.1413-094 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.11

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 6 ถนน เขาปีบ-ปากตะโก ตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ถนน เขาปีบ-ปากตะโก ตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ ศรร.1413-094 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 727 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเกษตรไปพัฒนาต่อยอดที่บ้านได้และสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้60%
  2. 2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปราศจากสารปนเปื้อนและรู้จักประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเพื่อห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ 60 %
  3. 3.นักเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการในเรื่องสหกรณ์นักเรียนโดยสมาชิกที่เป็นนักเรียนได้ด้วยตนเอง 60%
  4. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.นักเรียนมีสุขภาวะที่ดีมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อจำนวนนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

    2.ผู้ปกครองนักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของอาหารมื้อเช้าซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของนักเรียน

    3.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติเพาะเห็ดนางฟ้าได้

    4.นักเรียนสามารถแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้าและปลาดุกได้และสามารถ ผลิตจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

    5.นักเรียนและผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันและพ้นจาการเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน

    6.นักเรียนได้รับประทานอาหารมื้อเช้าอย่างทั่วถึงทุกคน

    7.นักเรียนมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 %

    8.นักเรียนจำนวน 60 คน จากโรงเรียนภาคีเครือข่าย มีสุขภาพดีปลอดจากโรคที่เกิดจากการบริโภคและนำไปขยายผลได้

    9.โรงเรียนมีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนเป็นสมาชิกและนำเนินการโดยนักเรียน

    10.บุคคลสามารถใช้ความรู้ในการวางแผนจัดทำกิจกรรมและโครงการต่างๆ ได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม

    11.เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน โรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

    12.โรงเรียนมีการเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง และประเมินพฤติกรรมการกิน ทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. โครงการเพาะเห็ดนางฟ้า

    วันที่ 4 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เชิญวิทยากร นายชัยนนอารีเสวต ปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า เช่น การจัดทำโรงเรือน การดูแลรักษาการเก็บผลผลิตและการเพ็กกิ้งเพื่อจำหน่ายตลาด ให้กับแกนนำนักเรียนที่อยู่ในชมรมเพาะเห็ดนางฟ้า

    2.มีการซื้อก้อนเห็ดนางฟ้า จำนวน 914 ก้อน เพื่อผลิตให้กับโรงเรียนในการประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

    3.มีการแบ่งกลุ่มนักเรียน 20 คน เป็นเวรประจำวันจันทร์ถึงอาทิตย์ ในการดูแลรดน้ำเช้า เที่ยง เย็น เพื่อให้มีความชื้น ไม่ให้ก้อนแห้ง ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผลผลิตของเห็ดนางฟ้าใช้ในการประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียน

    2.เด็กนักเรียนในโรงเรียนมีความรู้ในการเพาะเห็ดนางฟ้า

    3.เด็กนักเรียนสามารถเชื่อมโยงวิชาเรียนคณิตศาสตร์ (การบันทึกรับ จ่าย ) เพื่อใช้ในการคิดคำนวนผลผลิตที่ได้จากเห็ดนางฟ้า และการจำหน่ายเห็ดนางฟ้าในชุมชน

    4.นักเรียนได้รับการปลูกผังคุณธรรม จริธรรมในการทำงานร่วมกัน

    5.นักเรียนมีความรู้ในการบริหารจัดการด้านตลาด และสหกรณ์ร้านค้า

     

    20 20

    2. การเลี้ยงหมูหลุม

    วันที่ 20 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดซื้อลูกหมู จำนวน 5 ตัว
    2. เตรียมคอกหมูโดยใช้แกลบและรดน้ำ EM เพื่อดับกลิ่นเหม็น
    3. ปล่อยลูกหมูลงคอกหมู
    4. นักเรียนหมุนเวียนกันมาดูแลโดยการให้อาหารและคอยราดน้ำ EM

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีลูกหมู จำนวน 5 ตัว

    ผลลัพธ์
    1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงหมู

    1. นักเรียนมีเนื่อหมูไว้สำหรับทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

    2. นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้กับวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคำนวณปริมาณอาหารที่ให้กับลูกหมูในแต่ละวัน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบย่อยอาหารในสัตว์ และการย่อยสลายของจุลินทรีย์ (EM) วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การเลี้ยงหมูหลุม

     

    41 43

    3. จัดอบรมนักเรียนแปรรูปอาหารโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น

    วันที่ 22 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เชิญวิทยากรในท้องถิ่น คือ นางธัญญา  วงศ์สุวัฒน์ มาให้ความรู้การทำแหนมเห็ดนางฟ้า และน้ำพริกตาแดง 2. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติการทำแหนมเห็ดนางฟ้าและน้ำพริกตาแดงจาดปลาดุก โดยใช้ผลผลิตของเห็ดนางฟ้าที่นักเรียนเพาะเอง และปลาดุกที่นักเรียนลงมือเลี้ยงเอง และมีส่วนผสมของเกลือ กระเทียม สำหรับน้ำพริกปลาดุกมีส่วนผสมของพริก กะปิ เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต คือ นักเรียน 50 คน ร่วมเรียนรู้การแปรรูปอาหารท้องโดยการนำผลผลิตในโรงเรียนมาแปรรูป ดังนี้

    1. การทำแหนมเห็ดนางฟ้า ได้ผลผลิตที่นักเรียนได้ฝึกปฎิบัติ จำนวน 2 กิโลกรัม

    2. การทำน้ำพริกตาแดงจากปลาดุก ได้ผลผลิตที่นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง จำนวน 2 กิโลกรัม

    ผลลัพธ์
    1. นักเรียนสามารถแปรรูปอาหารจากปลาดุกได้และสมารถผลิตจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

    1. นักเรียนได้เรียนรู้และเชื่อมโยงความรู้กับวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องของอัตราส่วน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีในเรื่องการแปรรูปอาหาร

    2. นักเรียนได้ฝึกการทำงานเป็นทีม

    3. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรุงอาหารให้ก้บครอบครัวของตนเอง และผลิตเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่่ง

     

    50 50

    4. ขยายแปลงเกษตรให้มีผักเพียงพอสำหรับอาหารกลางวันที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓

    วันที่ 30 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขยายแปลงผักเพิ่ม 20 ร่อง เพื่อปลูก ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว บวบ ส่งผลผลิตให้กับอาหารกลางวันโดยผ่านกิจกรรมสหกรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. มีแปลงผักเพิ่มมากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการ 2. มีผักหมุนเวียน เพียงพอกับความต้องบริโภคของนักเรียน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ 2. นักเรียนในโรงเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ 3. นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้กับวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาพื้นที่และการคำนวณรายรับ-รายจ่าย  วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเตรียมแปลงเพาะปลูก

     

    550 577

    5. จัดทำรายงานปิดงวด 1

    วันที่ 12 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานปิดงวด 1 มีการบันทึกข้อมูลโครงการผ่านระบบเว็บไซด์ ช่ือ http://www.dekthaikamsai.com/ การตรวจสอบเอกสารการเงิน  จัดทำรายงาน ง.1 ส.1 งวดที่ 1 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการจัดทำข้อมูลในระบบเว็บไซด์ได้อย่างถูกต้องและสามารถนำส่งรายงานได้ คุณครูมีความรู้ในเรื่องการใช้ระบบและการรวบรวมเอกสารเพื่อรายงานการเงินเพิ่มมากขึ้น

     

    3 3

    6. พัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเปลี่ยนก๊อกน้ำอ่างล้างหน้าแปรงฟัน

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปลี่ยนก๊อกน้ำอ่างล้างหน้า-แปรงฟันที่ชำรุดทั้งหมด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โรงเรียนมีก๊อกน้ำที่สามารถใช้งานได้อย่างครบถ้วน เพียงพอกับการใช้งาน

     

    4 4

    7. กิจกรรม Big Cleaning Day

    วันที่ 14 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะครูแต่ละระดับชั้นเรียกประชุมนักเรียนเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบบริเวณต่าง ๆ พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2.นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทำความสะอาดตามที่ได้รับมอบหมาย 3.ลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยมีคุณครูคอยดูแล ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษา 4.หลังปฏิบัติกิจกรรม นักเรียนเก็บอุปกรณ์เรียบร้อย 5.นักเรียนรับประทานอาหารว่างที่ทางโรงเรียนเตรียมไว้ให้พร้อมทั้งช่วยกันประเมินผลงานของตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บริเวณโรงเรียนมีความสะอาดครอบคลุมทุกพื้นที่  นักเรียนเกิดความรักความสามัคคี  รู้จักแบ่งหน้าความรับชอบในการทำงาน

     

    549 552

    8. โครงการอบรมผู้ปกครองและนักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน

    วันที่ 16 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมผู้ปกครองและนักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน จำนวน 60 คน ผู้ปกครอง 30 คน นักเรียน 30 คน ตั้งแต่ เวลา 9.00 - 15.30 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ปกครองและนักเรียนจำนวน 60 คน ได้เรียนรู้และเข้าใจวิธีการเลือกรับประทานอาหาร รวมถึงวิธีการการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันได้

     

    70 65

    9. โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลทุ่งตะโกและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตะไครอบรมให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียนและในเครือข่ายในเรื่องคุณค่าของอาหารและการเลือกรับประทานอาหารกับนักเรียน จำนวน 60 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนในโรงเรียนและในเครือข่ายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุณค่าทางอาหาร และการเลือกรับประทานอาหาร สามารถเลือกรับประทานอาหารได้ถูกต้อง และสามารถนำความรู้ไปแนะนำเพื่อน ๆ ในโรงเรียนให้เลือกรับประทานอาหาได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

     

    72 76

    10. อบรมขยายผลโปรมแกรม Thai School Lunch

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับ โปรแกรม Thai School Lunch  ตั้งแต่ ชั้น ป.1 - ม.3 ตั้งแต่เวลา 13.00 - 15.30 น. เป็นระยะเวลา 3 วัน ช่วงชั้นละ 1 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนสามารถนำประโยชน์จากโปรแกรม คือ สัดส่วนของอาหารแต่ละประเภทที่ควรรับประทานในแต่ละวันและแต่ละมือมาใช้การปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันได้

    • นักเรียนได้ตระหนักถึงการรับประทานผักและผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักพื้นบ้าน ผักปลูกเอง ปลอดสารพิษและมีคุณค่าทางอาหาร

    • สร้างแรงบันดาลใจ และความภาคภูมิใจให้กับนักเรียนในการปลูกผักเพื่อรับประทานเอง

     

    415 425

    11. โครงการพัฒนาสหกรณ์นักเรียน

    วันที่ 16 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำนักเรียน จำนวน 30 คน ได้เข้าอบรมเรียนรู้สหกรณ์และวิธีการดำเนินงานสหกรณ์โรงเรียนโดยวิทยากรจากสหกรณ์จังหวัดชุมพร เป็นเวลา 1 วัน และนำนักเรียนดังกล่าวไปศึกษาดูงานวิธีการดำเนินงานสหกรณ์ที่โรงเรียนประชานิคม 3 ซึ่งเป็นโรงเรียนสหกรณ์ต้นแบบ นักเรียนได้เห็นวิธีการดำเนินงานของสหกรณ์ที่ชัดเจนและสามารถนำมาปฏิบัติจริงได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้รับประสบการณ์ทั้งในภาคความรู้และภาคปฏิบัติ สามารถนำมาปฏิบัติจริงในการดำเนินงานกิจกรรมสหกรณ์ของโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

     

    34 35

    12. คืนดอกเบี้ยโครงการ

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนดอกเบี้ยโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ดอกเบี้ยโครงการ

     

    2 2

    13. ประชุมติดตามการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 2

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.รายงานการกิจกรรมและการเงิน 2.บันทึกการประเมินคุณค่าโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีรายงานการปฏิบัติกิจกรรมและผลของการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบงานอนามัยของโรงเรียนในด้านการส่งเสริมสุขภาพ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเกษตรไปพัฒนาต่อยอดที่บ้านได้และสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้60%
    ตัวชี้วัด : 1.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติเพาะเห็ดนางฟ้าได้ 2.นักเรียนสามารถแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้าและปลาดุกได้และสามารถผลิตจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

    นักเรียนสามารถลงปฏิบัติการเพาะเห็ดนางฟ้าได้ นักเรียนสามารถแปรรูปอาหารจากเห็ดนางฟ้าและปลาดุกได้

    2 2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปราศจากสารปนเปื้อนและรู้จักประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเพื่อห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ 60 %
    ตัวชี้วัด : 1.นักเรียนและผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันและพ้นจาการเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน 2.นักเรียนได้รับประทานอาหารมื้อเช้าอย่างทั่วถึงทุกคน 3.นักเรียนมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 % 4.นักเรียนมีสุขภาพดีปลอดจากโรคที่เกิดจากการบริโภค

    นักเรียนและผูู้ปกครองมีความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน นักเรียนมีสุขภาพดีปลอดภัยจากโรคที่เกิดจากการบริโภค

    3 3.นักเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการในเรื่องสหกรณ์นักเรียนโดยสมาชิกที่เป็นนักเรียนได้ด้วยตนเอง 60%
    ตัวชี้วัด : 1.โรงเรียนมีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนเป็นสมาชิกและนำเนินการโดยนักเรียน

    โรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรมสหกรณ์โดยนักเรียนเป็นแกนนำในการปฏิบัติ จัดทำบัญชีรายรายจ่ายพร้อมงานให้ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ ทราบสัปดาห์ละ1 ครั้ง

    4 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมมชน
    ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนมีระดับความสำเร็จในด้านการเชื่อมโยงอาหารและสุขภาพอยู่ในระดับ 4 2. จำนวนกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของครู นักเรียน ปกครอง และชุมชนเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์

    โรงเรียนเห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาพของผู้เรียน และจัดทำกิจกรรมในทุกๆอย่างบูรณาการเข้ากับเรื่องสุขภาพมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นทุกคนเห็นความสำคัญของสุขภาพทั้ง นักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเกษตรไปพัฒนาต่อยอดที่บ้านได้และสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้60% (2) 2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปราศจากสารปนเปื้อนและรู้จักประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเพื่อห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ 60 % (3) 3.นักเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการในเรื่องสหกรณ์นักเรียนโดยสมาชิกที่เป็นนักเรียนได้ด้วยตนเอง 60% (4) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมมชน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร

    รหัสโครงการ ศรร.1413-094 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.11 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
    กิจกรรมแปลงทดลองสตรอว์เบอร์รี่

    1)กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ(แตงกวาถั่วฝักยาวกวางตุ้ง ผักกาดขาว บวบผักบุ้ง ) เป็นการปลูกผักของนักเรียนในระดับชั้น ม.๑-ม.๓ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพในการผสมน้ำเปล่ารดเช้า เย็นและมีการใช้พืชที่มีรสขมมาทำน้ำยาไล่แมลงศัตรูพืช ทั้งนี้ น้ำหมักชีวภาพ ได้จากการนำเศษผักที่เหลือจากอาหารกลางวัน มาหมักไว้ประมาณ 3เดือนจนย่อยสลายเป็นน้ำ แล้วจึงนำมาใช้รดผัก ตามส่วนผสมนำหมัก1ส่วนต่อน้ำเปล่า 50 ส่วน คนให้เข้ากันจะช่วยให้ผักที่ปลูกโตเร็วสามารถเก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น รวมทั้งน้ำหมักดังกล่าวยังมีคุณสมบัติในการเก็บรักษาคุณภาพให้พืชผักหลังเก็บเกี่ยวคงอยู่ได้นาน (แช่ในน้ำหมักชีวภาพประมาณ ๑๐ นาที จะทำให้ผักดูสด และกรอบรสชาดดี) นอกจากนี้การทำน้ำยาไล่แมลงศัตรูพืช ก็ใช้วิธีทำอย่างเดียวกันกับน้ำหมักชีวภาพ แต่เปลี่ยนมาใช้พืชที่มีรสขมแทน 2)กิจกรรมปลูกสตรอว์เบอร์รี่ เป็นกิจกรรมที่ทดลองปลูกเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสตรอว์เบอร์รี่ซึ่งเป็นไม้เมืองหนาว ผลการทดลองปลูกมีการเจริญเติบโตเป็นที่พอใจให้ผลผลิตแปลงละ ๐.๕กก.(15ต้นต่อแปลง) แต่มีขนาดของผลเล็กกว่าที่ปลูกทางภาคเหนือ การให้ปุ๋ย เป็นการใช้น้ำหมักชีวภาพผสมในน้ำ รดเช้า-เย็นพร้อมให้โฮโมนส์เร่งการออกดอกและผลผลิต(หลักฐานภาพถ่ายในกิจกรรมข้อที่ 1 )

    เพิ่มปริมาณผักที่ปลูกและให้มีความหมากหลายเพื่อให้ประกอบอาหารให้ครอบคลุมตามเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียน (TSL : Thai School Lunch)

    ปลูกผลไม้เพิ่มเช่น ชมพู่ ฝร่ง กล้วย เพื่อเพิ่มผลไม้ให้กับนักเรียน

    -เผยแพร่ความรู้ขยายผลให้กับชุมชนเพื่อปลูกผักปลอดสารพิษส่งเข้ามายังครัวอาหารกลางวันของโรงเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    การจัดอบรมให้นักเรียนแกนนำสหกรณ์

    คัดเลือกนักเรียนที่เป็นแกนนำที่ทำหน้าที่ในร้านสหกรณ์ มาอบรมเพื่อให้ความรู้กระบวนการของสหกรณ์ การจัดทำบัญชีการคุมสินค้าการเลือกสินค้าที่มีประโยชน์มาจำหน่าย

    ควรมีการจัดทำบํชีในการเฉี่ยคืนให้กับสมาชิก

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    การบริการอาหารกลางวัน

    การบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน มีการจ้างเหมาทำอาหารเป็นรายวันเนื่องจากปริมาณของนักเรียนมีจำนวนมาก วัตถุดิบส่วนหนึ่งได้มาจากเกษตรในโรงเรียน เช่น ผัก และส่วนหนึ่งซื้อมาจากตลาดที่เป็นร้านประจำของโรงเรียนสำหรับกเมนูอาหารจะทำตามเมนู (TSL : Thai School Lunch) และการอบรมการตักอาหารให้กับ นักเรียนชั้น ป.6-ม.3

    วัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารควรเป็นของผู้ปกครองหรือได้จากชุมชน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    การชั่งน้ำหนัก- วัดส่วนสูง และหาดัชนีมวลกาย

    โรงเรียนมีการติดตามเฝ้าระวังภาวะโชนาการและทดสอบสมรถนะทางกายภาคเรียนละ 2 ครั้ง พร้อมวิเคราะห์แปรผลข้อมูล พร้อมนำนักเรียนและผู้ปกครองที่มีภาวะเสี่ยงเกิดโรคอ้วนมาอบรมและแก้ปัญหาโดยประสานกับครูพลศึกษา เพื่อจัดกิจกรรมลดอ้วนให้กับนักเรียน

    จัดกิจกรรมที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับคนเป็นโรคอ้วนเพื่อความปลอดภัย

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    กิจกรรมออกกำลังกายยามเช้า

    ในช่วงของทุกวันโรเงรียนได้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพคือการออกกำลัง(แอโรบิค )เป็นเวลา 10 นาที และหลังจากนั้นการตรวจสุขภาพกายเช่น ความสะอาดของร่างกาย เล็บ ผม เสื้อผ้า จะทำโดยครูประจำชั้นแล้วรายงานต่อผู้บริหาร ทราบสัปดาห์1 ครั้งสำหรับการตรวจสุขภาพในช่องปาก จะทำในทุกวันตอนเที่ยงหลังจากการแปรงฟัน เพื่อตรวจสอบการทำความสะอาดในช่องปากของนักเรียน

    ควรมีกิจกรรมออกกำลังกายที่มีความหลากหลาย และให้นักเรียนเป็นผู้นำในการออกกกำลังกาย และใช้แกนนำนักเรียนในการตรวจสุขภาพ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    กิจกรรมพัฒนาสิ่่งแวดล้อมในโรงเรียน

    โรงเรียนได้จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยแบ่งนักเรียนรับผิดชอบตามจุดต่าง ๆเช่น ห้องน้ำห้องเรียน และอาคารประกอบต่าง ๆ มีการจัดทำBig CleaningDay ภาคเรียนละ2 ครั้งมีการแยกขยะในแต่ละอาคารเรียนมีการประกวดแข่งขันเป็นสัญญลักษณ์ ธงขาวและธงแดงอาคารใดมีการแยกขยะได้ถูกต้องจะได้รับธงขาวและอาคารไหนไม่มีการแยกขยะจะได้รับธงแดง มีการรายงานหน้าเสาธงทุกวัน

    ควรประสานงานกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเพื่อมาให้ความรู้เกี่ยวกับอนามัยและสิ่งแวดล้อม

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    กิจกรรมบูรณาการในหน่วยการเรียน ผักปลอดสารพิษ

    -ครูได้จัดทำแผนการบูรณาการในเรื่องผักปลอดสารพิษโดยแบ่งเป็นระดับชั้น ดังนี้การปลูกถั่วฝักยาว ม.1 เป็นผู้รับผิดชอบ การปลูกแตงกวา นักเรียรชั้น ม. 2 เป็นผู้รับผิดชอบการปลูกผักกวางตุ้ง นักเรียน ม.3 เป็นผู้รับผิดชอบซึ่งพอได้ผลผลิตนักเรียนจะนำผลไปส่งสหกรณ์ ครูก็ให้ความรู้เรื่องสหกรณ์ กับนักเรียนพร้อมให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง ในการจัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย หลังจากนั้น ผักของโรงเรียนจะนำเข้าสู่โรงอาหารเพื่อประกอบ อาหารกลางวันให้กับนักเรียน กระบวนการเรียนรูัเกี่ยวกับโภชนาการครูในวิชาสุขศึกษา ก็ได้จัดการเรียนการสอนในสาระนี้และวิทยาศาสตร์ก็ทดลองหาสารอาหารเช่น หาโปรตีนหาคาร์โบไฮเดรตหาน้ำตาลในอาหารสามารถเชื่อมโยงสู่ตัวชี้วัดของกลุ่มสาระในหลักสูตรได้ -กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ให้นักเรียนได้เลือกทำกิจกรรมเกี่ยวกับเกษตร เช่นการจัทำน้ำหมักไล่แมลง การปลูกสตรอว์เบอร์รี่การเลี้ยงหมูหลุมการเลี้ยงปลาในกระชังเป็นต้น

    การวัดและประเมินผลให้มีหลากหลายและดำเนินการจัดหน่วยบูรณาการในหน่วยที่นักเรียนสนใจท้าทายและตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    1.1เทศบาลตำบลทุ่งตะไคร 1.2 โรงพยาบาลทุ่งตะโก 1.3 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งตะโก 1.4 ภูมิปัญญาท้องถิ่น สวนนายดำ
    1.5 ภูมิปัญญาท้องถิ่น สวนลุงนิล 1.6 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดชุมพร 1.7 ผู้ปกครองนักเรียน

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    2.1 โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เน้นการเกษตรทำให้เอื้อต่อการทำการเกษตร 2.2 โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เน้นเรื่องสุขภาพและสุขาน่าใช้ของสวนนายดำ 2.3 บริบทของโรงเรียนและสภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมในการเพาะปลูก เช่น มีสระน้ำไว้เลี้ยงปลา มีวัสดุจากธรรมชาติมาเป็นอาหารหมู 2.4 ผู้ปกครอง และนักเรียนเกิดความเข้าใจในการกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเกษตรในโรงเรียนและสุขภาพ

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    โรงเรียนใช้กระบวนการ PDCAในการทำงาน ซึ่งพอจะสรุปได้ ตามขั้นตอนดังนี้ 3.1 มีการประชุมวางแผนโดยเน้นกระบวนการ การมีส่วนร่วมของทุกคน 3.2 จัดทำแผนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมในโครงการ 3.3 ประสานงานกับภาคีเครือข่าย 3.4 ลงมือดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด 3.5 ใช้กระบวนการนิเทศติดตามงานเพื่อให้เป็นไปวัตถุประสงค์ของโครงการ 3.6 ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    4.1 ศึกษาจากเอกสาร และสื่ออินเทอร์เน็ต 4.2 อบรมให้กับแม่ครัวเกี่ยวกับการประกอบอาหาร Thai School Lunch 4.3 อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูเกี่ยวกับโปรแกรม Thai School Lunch 4.4 จัดกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆเช่นการงานอาชีพและเทคโนโลยี พลศึกษาและสุขศึกษา 4.5จัดอบรมให้กับนักเรียนในเรื่อง อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ 4.6 นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เกิดความชำนาญ และเกิดความรู้ในเรื่องนั้นจริงๆ

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    5.1ได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่น เทศบาลตำบลทุ่งตะไคร เข้ามาจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย 5.2ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขลักษณะของนักเรียน โดยการประชุมผู้ปกครอง 5.3ร้านค้าและตลาดบริเวณโรงเรียนได้ร่วมกันสนับสนุน โดยซื้อ ผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนที่เหลือจากการปรุงอาหารกลางวันแล้ว 5.4ชุมชนได้เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูป อาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.5ได้รับการสนับสนุน การร่วมคิด ร่วมวางแผนจากผู้นำหมู่บ้านชุมชน และจากคณะกรรมการสถานศึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    มีการปลูกผักปลอดสารพิษ มีการเพาะเห็ดนางฟ้า มีการปลูกสตรอว์เบอร์รี่

    กิจกรรมที่ 1,4

    เพิ่มผักและผลไม้ให้มีความหลากหลาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    มีการเลี้ยงหมูหลุม เพื่อจำหน่าย

    กิจกรรมที่ 3

    เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อนำไข่มาบริโภค

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    เลี้ยงปลาดุก ปลาสวายในกระชัง

    กิจกรรมที่ 2

    ใช้วิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์แทนในกระชัง เนื่องจากต้นทุนน้อย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    อาหารกลางวันของโรงเรียนจะมีผักเป็นส่วนประกอบทุกมื้อและมีผลไม้หลังทานข้าว

    กิจกรรมที่ 11

    ควรประสานความร่วมมือไปยังผู้ปกครองให้นักเรียนได้รับประทานผักและผลไม้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    อาหารกลางวันของโรงเรียนจะมีผักเป็นส่วนประกอบทุกมื้อและมีผลไม้หลังทานข้าว

    กิจกรรมที่ 11

    ควรประสานความร่วมมือไปยังผู้ปกครองให้นักเรียนได้รับประทานผักและผลไม้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    อาหารกลางวันของโรงเรียนจะมีผักเป็นส่วนประกอบทุกมื้อและมีผลไม้หลังทานข้าว

    กิจกรรมที่ 11

    ควรประสานความร่วมมือไปยังผู้ปกครองให้นักเรียนได้รับประทานผักและผลไม้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และแปรรูปอาหาร

    กิจกรรมที่ 1

    เปิดโอกาสให้ชุมชน เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    โรงเรียนจัดเมนูอาหารตามโปรแกรมหมุนเวียน 1 เดือน แต่มีรายการอาหารบางรายการที่ทางโรงเรียนจัดแล้วไม่สามารถลงในโปรแกรมได้ ใช้วิธีการเทียบเคียงในการเทียบสารอาหารแทน (แต่ในโปรแกรมที่จัดทุกเมนูมีสารอาหารผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดี)

    รายการเมนูอาหารของโรงเรียน ภาพถ่าย กิจกรรมที่ 9 , 11

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ในแต่ละระดับชั้น และมีการประมวลโดยครูประจำชั้น ภาคเรียนละ 2 ครั้ง

    กิจกรรมที่ 10

    นำข้อมูลที่ได้ มาพัฒนาและจัดกิจกรรมเสริมให้กับนักเรียน

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/2
    เตี้ย 3.49 3.49% 4.73 4.73% 4.00 4.00% 1.33 1.33% 1.33 1.33%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 4.26 4.26% 9.09 9.09% 8.91 8.91% 4.57 4.57% 4.19 4.19%
    ผอม 3.47 3.47% 2.18 2.18% 2.00 2.00% 1.52 1.52% 1.52 1.52%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 5.20 5.20% 2.73 2.73% 2.36 2.36% 4.76 4.76% 4.57 4.57%
    อ้วน 9.63 9.63% 11.27 11.27% 8.91 8.91% 4.57 4.57% 4.76 4.76%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 14.64% 14.64% 13.45% 13.45% 11.64% 11.64% 10.29% 10.29% 10.29% 10.29%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    ควบคุมอาหารเที่ยงให้ความรู้และภาวะเสี่ยงเรื่องโรคอ้วน

    กิจกรรมที่10

    ควบคุมอาหาร และสนับสนุนการออกกำลังกาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    ควบคุมอาหารเที่ยงให้ความรู้และภาวะเสี่ยงเรื่องโรคอ้วน

    กิจกรรมที่ 10

    ควบคุมอาหาร และสนับสนุนการออกกำลังกาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    ให้นักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลงได้ดื่มนมพร้อม ออกกำลังกายใน

    กิจกรรมที่ 10

    สนับสนุนให้มีการกระโดดเชือกเพื่อเพิ่มความสูง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    มีการอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน

    กิจกรรมที่10

    ควรให้ผู้ปกครอง ควบคุมการรับประทานอาหารตอนอยู่ที่บ้าน ของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    1.1เทศบาลตำบลทุ่งตะไคร 1.2 โรงพยาบาลทุ่งตะโก 1.3 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งตะโก 1.4 ภูมิปัญญาท้องถิ่น สวนนายดำ
    1.5 ภูมิปัญญาท้องถิ่น สวนลุงนิล 1.6 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดชุมพร 1.7 ผู้ปกครองนักเรียน

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ ศรร.1413-094

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายดุลสฤษดิ์รัตนูปกรณ์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด