ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1


“ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 ”

323 หมู่ที่ 2 ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

หัวหน้าโครงการ
นายจิรศักดิ์ เจียงจิรศักดิ์

ชื่อโครงการ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1

ที่อยู่ 323 หมู่ที่ 2 ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จังหวัด กระบี่

รหัสโครงการ ศรร.1413-093 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.10

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 จังหวัดกระบี่" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 323 หมู่ที่ 2 ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 " ดำเนินการในพื้นที่ 323 หมู่ที่ 2 ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ รหัสโครงการ ศรร.1413-093 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 1006 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

สถานการณ์ปัญหาการบริโภคอาหารและโภชนาการภายในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 ในปีการศึกษา2557 โดยภาพรวม เผชิญภาวะโภชนาการสองด้านทั้งภาวะโภชนาการขาดและภาวะโภชนาการเกิน คือประสบกับปัญหาการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ รวมทั้งผู้ปกครองของนักเรียนขาดความรู้เรื่องโภชนาการมีการส่งเสริมให้บุตรหลานรับประทานขนมกรุบกรอบ และดื่มน้ำหวาน หรือน้ำอัดลม ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงอย่างน่าเป็นห่วง คือ ดื่มน้ำอัดลม หรือดื่มน้ำหวาน (ดื่มทุกวัน) ร้อยละ 30.20 กินขนมกรุบกรอบ (ทุกวัน) ร้อยละ 30.73 และจากการสำรวจพบว่า นักเรียนระดับปฐมวัยมีอัตราการบริโภคผัก ผลไม้น้อย มีเพียงร้อยละ 10.64 ที่ชอบรับประทานผักและผลไม้ส่วนนักเรียนระดับประถมศึกษา ร้อยละ 25.75 ที่ชอบรับประทานผักและผลไม้ตามที่โรงเรียนจัดให้ในโครงการอาหารกลางวัน จากปัญหาการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 พบว่านักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 ที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ อายุ (เตี้ย) ร้อยละ 5.69 และมีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (เริ่มอ้วน และอ้วน) ร้อยละ 9.40(ผอม) ร้อยละ 9.17ด้วยเหตุนี้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการทั้งขาดและเกินของนักเรียน จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสในโรงเรียนขึ้น เพื่อลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของนักเรียน และมีความรู้ แนวทางในการจัดการส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาการของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทเรียนความสำเร็จในการจัดการปัญหาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพนักเรียนที่ผ่านมา โรงเรียนได้ดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการประกาศ และดำเนินการให้เป็นโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานทุกประเภท ขนมกรุบกรอบ พร้อมทั้งกำกับขนมและเครื่องดื่มรอบรั้วโรงเรียน รวมทั้งควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะอ้วน ผอม เตี้ย และฟันผุในเด็กวัยเรียน จัดให้นักเรียนทุกคนได้บริโภคผักมื้อกลางวันทุกวันเปิดเรียน ตามปริมาณที่แนะนำ พร้อมทั้งประสานโรงพยาบาลในเขตบริการของโรงเรียนให้มีการบริการตรวจสุขภาพ ตรวจช่องปากเด็กนักเรียนและให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ รวมถึงการส่งเสริมสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก มีโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่มีความชุกสูงหรือเป็นอันตรายในเด็กวัยเรียนได้ผลสำเร็จ และต่อเนื่อง มีระบบเฝ้าระวังและช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องยาเสพติด เพศ และความรุนแรง

เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องยั่งยืน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสขึ้น โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจร มาปฏิบัติและพัฒนาสู่โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ แก้มใส โภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อบูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหารและโภชนาการ ภายในโรงเรียน ชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน
  2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและส่งเสริมสุขภาพอนามัยการจัดบริการอาหารตามหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาลแก่นักเรียนผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  3. เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวัง การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  4. เพื่อสร้างเครือข่ายของศูนย์โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 4 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านควนต่อ, โรงเรียนบ้านไสโป๊ะ, โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่และโรงเรียนบ้านนาออก) ตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  5. เพื่อประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 แก่โรงเรียน ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาดูงานตลอดปีการศึกษา 2559

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 มีการบูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหารและโภชนาการ ภายในโรงเรียน ชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ในโครงการอาหารกลางวันเพียงพอต่อการบริโภคของนักเรียน
    2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติกิจกรรมด้านการเกษตร สหกรณ์อาหารและโภชนาการทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3. นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจและส่งเสริมสุขภาพอนามัยการจัดบริการอาหารตามหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาล(การใช้งานโปรแกรม Thai School Lunch เพื่อจัดสำรับอาหาร)
    4. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 กระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวัง การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีการใช้งาน(โปรแกรม B-Nutri ในการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน)
    5. มีการขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่ายให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 4 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านควนต่อ, โรงเรียนบ้านไสโป๊ะ, โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่, โรงเรียนบ้านท่านุ่นและโรงเรียนบ้านนาออก)

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ผู้นำตัวน้อยด้านสุขอนามัย

    วันที่ 27 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูอบรมนักเรียนแกนนำจำนวน 12 คน  เกี่ยวกับกิจกรรมดังนี้
    1.การดูแลสุขภาพฟันและขั้นตอนการแปรงฟัน 2.การล้างมือที่ถูกวิธี 3.การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          นักเรียนแกนนำสามารถอธิบายขั้นตอน และเป็นผู้นำนักเรียนในระดับชั้นปฐมวัยและประถมศึกษาทำกิจกรรม ดังนี้ 1.การดูแลสุขภาพฟันและขั้นตอนการแปรงฟัน 2.การล้างมือที่ถูกวิธี 3.การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ   ซึ่งส่งผลให้นักเรียนในระดับชั้นปฐมวัยมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทานจากกระทรวงศึกษาธิการ ในระดับก่อนประถมศึกษา อีกทั้งยังได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรและผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับรางวัลผู้อำนวยการต้นแบบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรอย่างดีเยี่ยม 2 โรงเรียน

     

    16 13

    2. ผักลูกล้อ/ผักลูกท่อ/ผักไต่ราว

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนเริ่มปฏิบัติกิจกรรรมตั้งแต่การผสมดินปลูก การเพาะเมล็ดพันธุ์ การย้ายต้นกล้าลงดิน การบำรุงดูแลรักษากำจัดวัชพืช จนกระทั่งการเก็บเกี่ยวผลผลิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ในการปฏิบัติกิจกรรม นักเรียนมีความสนใจสอบถาม หาความรู้ และกระตือรือร้น เพื่อให้ผลผลิตของตนเองเจริญเติบโตดี
    2. ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในแต่ละครั้ง นักเรียนจะนำไปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน
    3. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนการปลูกผักอย่างถูกวิธี
    4. การปลูกผักทำให้นักเรียนมีความเอาใจใส่ มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา มากขึ้น
    5. นักเรียนสามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้อื่นได้ถูกต้อง

     

    1,006 1,006

    3. อาหารดีมีประโยชน์

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2016

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมอาหารดีมีประโยชน์ให้แก่ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 3 ฐานกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมอาหารดีมีประโยชน์ ภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน และการบริการสุขภาพนักเรียน - ค่าวัสดุสำหรับการจัดทำฐานกิจกรรม จำนวน 3 ฐานกิจกรรม กิจกรรมละ 1,000 บาท - อาหารว่างสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา  จำนวน 853 คน คนละ 20 บาท จำนวน 2 มื้อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหาร

     

    1,698 1,698

    4. ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงเรียนในเครือข่ายและโรงเรียนต่างๆ ร่วมศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑ ได้ขยายความรู้ในการจัดการเกษตรในโรงเรียน  สหกรณ์นักเรียน  การจัดบริการอาหาร การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกาย และสุขภาพนักเรียน การจัดบริการด้านสุขภาพนักเรียนด้านการบริการสุขภาพ การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบูรณาการด้านการเกษตร โภชนาการและสุขภาพ

     

    0 790

    5. Big Cleaning Day ครั้งที่ 2

    วันที่ 23 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบ  โดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด 2.ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและมีการทำความสะอาดแบบปูพรม
    2.นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักความสะอาด  รู้จักการช่วยเหลือ  แบ่งปัน  แบ่งหน้าที่ มีจิตสาธารณะ 3.โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste และโรงเรียนต้นแบบสิ่งแวดล้อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ESSD

     

    952 0

    6. หนูน้อยนักสหกรณ์

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายไพรัช  อ่อนประเสริฐ สหกรณ์จังหวัดกระบี่ พร้อมคณะอบรมให้ความรู้แก่คณะครูและนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนทั้งมด จำนวน 70 คน เข้ารับการอบรม "หนูน้อยนักสหกรณ์" 

     

    33 77

    7. Big Cleaning Day ครั้งที่ 3

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบโดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด
    2. ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและมีการทำความสะอาดแบบปูพรม
    2. นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักความสะอาดรู้จักการช่วยเหลือแบ่งปันแบ่งหน้าที่ มีจิตสาธารณะ
    3. โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste และโรงเรียนต้นแบบสิ่งแวดล้อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ESSD

     

    1,043 0

    8. ปรับปรุงอ่างล้างมือ/อ่างแปรงฟัน

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปรับปรุงอ่างล้างมือ/อ่างแปรงฟัน โดยเปลี่ยนก๊อกน้ำ ขนาด 4 หุน จำนวน 30 จุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปรับปรุงอ่างล้างมือ/อ่างแปรงฟัน โดยเปลี่ยนก๊อกน้ำ ขนาด 4 หุน จำนวน 30 จุด

     

    1,057 0

    9. การตรวจสุขภาพนักเรียนประจำภาคเรียนที่ 1

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงพยาบาลเหนือคลอง ได้จัดส่งแพทย์และเจ้าหน้าที่ บริการตรวจสุขภาพนักเรียน จำนวน 989 คน ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 อันได้แก่ 1.การตรวจสุขภาพฟัน 2.การตรวจตา หูเหา 3.การฉีดวัคซีน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนในโรงเรียนได้รับการตรวจสุขภาพอย่างทั่วถึงทุกคน

     

    994 994

    10. Big Cleaning Day ครั้งที่ 1

    วันที่ 11 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบโดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด 2.ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและมีการทำความสะอาดแบบปูพรม
    2.นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักความสะอาดรู้จักการช่วยเหลือแบ่งปันแบ่งหน้าที่ มีจิตสาธารณะ 3.โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste และโรงเรียนต้นแบบสิ่งแวดล้อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ESSD

     

    1,057 1,043

    11. Big Cleaning Day ครั้งที่ 4

    วันที่ 11 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบ  โดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด 2.ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและมีการทำความสะอาดแบบปูพรม
    2.นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักความสะอาด  รู้จักการช่วยเหลือ  แบ่งปัน  แบ่งหน้าที่ มีจิตสาธารณะ 3.โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste และโรงเรียนต้นแบบสิ่งแวดล้อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ESSD

     

    0 0

    12. Big Cleaning Day ครั้งที่ 5

    วันที่ 22 กันยายน 2016 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบโดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด 2.ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและมีการทำความสะอาดแบบปูพรม
    2.นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักความสะอาดรู้จักการช่วยเหลือแบ่งปันแบ่งหน้าที่ มีจิตสาธารณะ 3.โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste และโรงเรียนต้นแบบสิ่งแวดล้อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ESSD

     

    0 0

    13. แก้มใสสัญจร

    วันที่ 12 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุมการจัดทำรายการเงินงวดที่ 1 จำนวน 1 ครั้ง จำนวน 5 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การเข้าร่วมประชุมการจัดทำรายงานการเงินงวดที่ 1 ทำให้ทราบถึงการรายละเอียดการรายงานผลการดำเนินการแบบระบบออนไลน์ การจัดทำเอกสารการเงินและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศูนย์การเรียนต้นแบบของโรงเรียนเครือข่ายศูนย์อนามัยที่ 11 และศูนย์อนามัยที่ 12

     

    5 5

    14. Big Cleaning Day ครั้งที่ 6

    วันที่ 27 ตุลาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    0 0

    15. ผักไร้ดิน

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงเรียนได้จัดทำโครงผักไร้ดิน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งอาหารสำหรับนักเรียน โดยให้นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้ทดลองปฏิบัติจริง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้านในการจัดทำโครงปลูกผักไร้ดิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้ปฏิบัติและเรียนรู้กิจกรรมปลูกผักไร้ดินและนำผลผลิตเข้าสู่สหกรณ์เพื่อนำเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน อีกทั้งยังนำไปแปรรูปเป็นสลัดม้วนสำหรับการปรับพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์

     

    1,233 1,227

    16. ปรับปรุงการจัดการเกษตรกิจกรรมผักลูกล้อ ผักลูกท่อและผักไต่ราว

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงเรียนได้จัดทำกิจกรรมผักลูกล้อ ผักลูกท่อและผักไต่ราว  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งอาหารสำหรับนักเรียน โดยให้นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้ทดลองปฏิบัติจริง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้านในการจัดทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้ปฏิบัติและเรียนรู้กิกิจกรรมผักลูกล้อ ผักลูกท่อและผักไต่ราว และนำผลผลิตเข้าสู่สหกรณ์เพื่อนำเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน อีกทั้งยังนำไปแปรรูปเป็นสลัดม้วนสำหรับการปรับพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์

     

    432 432

    17. ฐานเรียนรู้แก้มใส ราชประชานุเคราะห์ 1

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑ ร่วมกับโรงพยาบาลเหนือคลองจัดกิจกรรม 8 ฐานกิจกรรม คือ การเกษตรในโรงเรียน  สหกรณ์นักเรียน  การจัดบริการอาหาร การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกาย และสุขภาพนักเรียน การจัดบริการด้านสุขภาพนักเรียนด้านการบริการสุขภาพ การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบูรณาการด้านการเกษตร โภชนาการและสุขภาพ ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑ และโรงเรียนในเครือข่าย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑ และนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายได้ร่วมกันรียนรู้ กิจกรรม 8 ฐานกิจกรรม คือ การเกษตรในโรงเรียน  สหกรณ์นักเรียน  การจัดบริการอาหาร การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกาย และสุขภาพนักเรียน การจัดบริการด้านสุขภาพนักเรียนด้านการบริการสุขภาพ การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบูรณาการด้านการเกษตร โภชนาการและสุขภาพ

     

    1,722 972

    18. การนำข้อมูลจาก TSL มาประยุกต์ใช้งาน

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑ ให้ความรู้บุคลากรในโรงเรียนเกี่ยวกับการนำข้อมูลจากการจัดสำรับอาหารจากเมนู Thai School Lunch และการจัดบริการอาหารให้แก่นักเรียนในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑ ได้รับการบริการด้านอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับวัยของตนเอง
    • บุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ในการจัดบริการอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนที่รับบริการ

     

    55 55

    19. Big Cleaning Day ครั้งที่ 7

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2016 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบโดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด 2.ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและมีการทำความสะอาดแบบปูพรม
    2.นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักความสะอาดรู้จักการช่วยเหลือแบ่งปันแบ่งหน้าที่ มีจิตสาธารณะ 3.โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste และโรงเรียนต้นแบบสิ่งแวดล้อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ESSD

     

    0 0

    20. Big Cleaning Day ครั้งที่ 8

    วันที่ 15 ธันวาคม 2016 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบ  โดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด 2.ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบ  โดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด 2.ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

     

    0 886

    21. Big Cleaning Day ครั้งที่ 9

    วันที่ 26 มกราคม 2017 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นนำนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ทำความสะอาดแบบปูพรม ทุกบริเวณเขตบริการที่รับผิดชอบ  โดยมีนักเรียนแกนนำและครูเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำความสะอาด 2.ครูจัดบริการน้ำและอาหารว่างให้แก่นักเรียนทุกคน ในระหว่างช่วง Break Time

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและมีการทำความสะอาดแบบปูพรม
    2.นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักความสะอาด  รู้จักการช่วยเหลือ  แบ่งปัน  แบ่งหน้าที่ มีจิตสาธารณะ 3.โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste และโรงเรียนต้นแบบสิ่งแวดล้อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ESSD

     

    0 886

    22. ถอนเงินเปิดบัญชี

    วันที่ 30 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินเปิดบัญชี

     

    2 2

    23. คืนดอกเบี้ยธนาคารเพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 30 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินดอกเบี้ยเพื่อปิดโครงการ

     

    2 2

    24. แก้มใสสัญจร ครั้งที่ 2

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูและผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุมการจัดทำรายการเงินงวดที่ 2 จำนวน 1 ครั้ง จำนวน 5 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การเข้าร่วมประชุมการจัดทำรายงานการเงินงวดที่ 2 ทำให้ทราบถึงการรายละเอียดการรายงานผลการดำเนินการแบบระบบออนไลน์ การจัดทำเอกสารการเงินและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศูนย์การเรียนต้นแบบของโรงเรียนเครือข่ายศูนย์อนามัยที่ 11 และศูนย์อนามัยที่ 12

     

    5 5

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อบูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหารและโภชนาการ ภายในโรงเรียน ชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน
    ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 มีผลผลิตทางเกษตร และเลี้ยงสัตว์ โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียน ชุมชน และเครือข่ายในพื้นที่ 2. มีการนำผลผลิตทางการเกษตรไปใช้ในกิจกรรมอาหารกลางวัน 3. โรงเรียนมีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนที่มีนักเรียนเป็นสมาชิก และดำเนินการโดยนักเรียน และรับซื้อผลผลิตจากกิจกรรมเกษตรในโรงเรียนเพื่อขายให้กิจกรรมอาหารกลางวัน

    โรงเรียนมีการนำผลผลิตทางการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ของนักเรียน ชุมชนและเครือข่ายมาใช้ในกิจกรรมอาหารกลางวัน
    ในการดำเนินการสหกรณ์นักเรียนของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 พบว่า มีการดำเนินการโดยนักเรียนรับซื้อผลผลิตผ่านระบบสหกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรมอาหารกลางวัน มีการรับซื้อผลผลิตจากกิจกรรมการเกษตรที่ได้ขยายผลสู่ชุมชน ส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่ปราศจากสารเคมีตกค้างที่เจือปนอยู่ในอาหาร

    2 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและส่งเสริมสุขภาพอนามัยการจัดบริการอาหารตามหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาลแก่นักเรียนผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
    ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 มีรายการอาหารหมุนเวียนราย 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ (ใช้ Thai School Lunch Program) 2. แม่ครัวมีความเข้าใจและสามารถนำสำรับจากโปรแกรม (Thai School Lunch) ปรุงอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาล และอาหารปลอดภัย 3. นักเรียนทุกคนใช้ช้อนกลาง ล้างมือ ในช่วงเวลาการรับประทานอาหาร 4. นักเรียนได้รับประทานอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการในทุกมื้อ ร้านจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ 5. โรงเรียนมีการจัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้มาตรฐาน 6. นักเรียนได้รับบริการน้ำดื่มสะอาด และมีจุดบริการน้ำดื่มที่เพียงพอแก่ความต้องการ
    1. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 ในโปรแกรม Thai School Lunch ในการจัดสำรับอาหารกลางวันให้กับนักเรียนโดยมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียนในชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลาม
    2. แม่ครัวมีความรู้ ความเข้าใจในการนำสำรับอาหารจากปรแกรม Thai School Lunch มาใช้ในการปรุงอาหารได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ สุขาภิบาล และอาหารปลอดภัย
    3. นักเรียนในโรงเรียนทุกคนใช้ช้อนของตนเองและล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
    4. นักเรียนในโรงเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการในทุกมื้อ ร้านจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ 5.โรงเรียนจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้มาตรฐาน 6.นักเรียนทุกคนได้รับบริการน้ำดื่มสะอาด และโรงเรียนมีจุดบริการน้ำดื่มที่เพียงพอแก่ความต้องการของนักเรียน
    3 เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวัง การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ
    ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนมีการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคนและมีการรายงาน เทอมละ 1 ครั้ง โดยใช้โปรแกรม B-Nutri 2. นักเรียนมีการบันทึกสุขภาพตนเองเป็นรายบุคคลและประเมินพฤติกรรมของตนเองตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 3. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพทุกคนเทอมละ 1 ครั้ง และให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม 4. โรงเรียนมีระบบการช่วยเหลือการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายร้ายแรง จนถึงเสียชีวิต

    1.โรงเรียนมีการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคนและมีการรายงาน เทอมละ 1 ครั้ง โดยนำโปรแกรม INMU-Thaigrowth มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล 2. นักเรียนบันทึกสุขภาพตนเองเป็นรายบุคคลและประเมินพฤติกรรมของตนเองตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 3. นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลเหนือคลอง 4. โรงเรียนได้จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อช่วยเหลือนักเรียนในการเจ็บป่วยเบื้องต้น

    4 เพื่อสร้างเครือข่ายของศูนย์โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 4 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านควนต่อ, โรงเรียนบ้านไสโป๊ะ, โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่และโรงเรียนบ้านนาออก) ตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนเครือข่ายได้นำแนวทางการดำเนินงานของกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 จังหวัดกระบี่ ไปพัฒนานักเรียนและขยายผลสู่เครือข่ายชุมชนของตนเอง

    โรงเรียนเครือข่ายและโรงเรียนที่เดินทางมาศึกษาดูงานได้นำแนวทางการดำเนินงานของกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 ไปพัฒนานักเรียนและขยายผลสู่เครือข่ายชุมชนของตนเอง

    5 เพื่อประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 แก่โรงเรียน ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาดูงานตลอดปีการศึกษา 2559
    ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียน ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาดูงานตลอดปีการศึกษา 2559 ได้รับความรู้และแนวทางการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1

    โรงเรียน ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาดูงานตลอดปีการศึกษา 2559 ได้รับความรู้และแนวทางการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อบูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหารและโภชนาการ ภายในโรงเรียน ชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน (2) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและส่งเสริมสุขภาพอนามัยการจัดบริการอาหารตามหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาลแก่นักเรียนผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (3) เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวัง การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (4) เพื่อสร้างเครือข่ายของศูนย์โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 4 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านควนต่อ, โรงเรียนบ้านไสโป๊ะ, โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่และโรงเรียนบ้านนาออก) ตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (5) เพื่อประชาสัมพันธ์แนวทางการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 แก่โรงเรียน ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาดูงานตลอดปีการศึกษา 2559

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1

    รหัสโครงการ ศรร.1413-093 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.10 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    กิจกรรมผักไร้ดิน,

    ปลูกผักไร้ดินโดยใช้ท่อพีวีซี 1.จัดทำโรงเรือนผักไร้ดินด้วยท่อพีวีซี ขนาด 2*1.5 เมตร จำนวน 5 หลัง 2.นำฟองน้ำสำหรับเพาะซึ่งกรีดตรงกลางฟองน้ำเป็นสี่แฉก มาลงถาดใส่น้ำสูงประมาณ 1 ซม หลังจากนั้นกดให้ฟองน้ำอิ่มน้ำ 4.นำเมล็ดผักที่เตรียมไว้มาเขี่ยลงในฟองน้ำที่ผ่าสี่แฉกชิ้นละ 1 เมล็ด
    5. นำผ้าที่ทึบแสงมาวงคลุมไว้ 6. รดน้ำเช้าเย็น (ระวังระดับน้ำสูงเกินไปเททิ้ง) 7. ครบ 2 วันเปิดผ้าออก นำออกมารับแสงในที่สว่างแต่ไม่โดนแดด 1 วัน 8. ให้ต้นกล้าผักโดนแดดตามข้อ 6 จนครบ 7 วัน วันที่ 7 ให้นำลงปลูกในโรงเรือน 9.เมื่อผักเจริญเติบโตเต็มที่ จัดจำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน

    นำไปขยายผลสู่บ้านนักเรียนและชุมชน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    สหกรณ์ต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์

    โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นสหกรณ์ต้นแบบ อีกทั้งยังได้รับรางวัลโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์

    จัดการบริหารโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการระบบคลังสินค้าและการขายหน้าร้าน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    กระดานเศรษฐกิจและกระดานคุณค่าอาหาร

    โรงเรียนจัดให้มีการทำกระดานเศรษฐกิจและกระดานคุณค่าอาหารสำหรับบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการงานอาชีพฯ สุขศึกษา และคณิตศาสตร์

    จัดให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    การจัดกิจกรรมค่ายอ้วน และการจัดอาหารให้เหมาะสมกับภาวะโภชนาการของนักเรียนที่มีปัญหา

    จัดกิจกรรมค่ายอ้วนโดยร่วมกับโรงพยาบาลเหนือคลอง และจัดทำเมนูสุขภาพให้กับนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ

    ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    เจลล้างมือสมุนไพร

    จัดทำโครงงานเจลล้างมือสมุนไพร นำผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนนำเผยแพร่สู่ชุมชน

    ขอ อย. ผลิตภัณฑ์ นำจำหน่ายเพื่อส่งเสริมรายได้แก่นักเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    โรงเรียน zero waste

    มีการจัดทำกิจกรรมลดขยะในโรงเรียนให้เป็นศูนย์โดยมีธนาคารขยะทีรับซื้อขยะจากนักเรียนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เปลี่ยนขยะเป็นเงินตรามีการนำขยะมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อาทิเช่น ผ้ากั้นเปื้อน หมวก ตะกร้าใส่ของ ถังขยะคุณธรรม เป็นต้น

    จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีพฤติกรรมอย่างยั่งยืน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    กิจกรรรมหนูน้อยรักษ์ทันต์

    กิจกรรมหนูน้อยรักษ์ทันต์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้รักษาสุขภาพในช่องปากของตนเองโดยมีการดำเนินงานดังนี้ 1. โรงเรียนจัดทำหลักสูตรหนูน้อยรักษ์ทันต์ 2. อบรมนักเรียนแกนนำในการสอนน้องแปรงฟัน
    3. อบรมนักเรียนแกนนำย้อมสีฟันเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการแปรงฟัน 4. โมเดลฟันกระดาษเผยแพร่ความรู้ให้แก่นักเรียน 5.นักเรีนเผยแพร่ความรุู้ได้ถูกต้อง

    มีการจัดดำเนินการอย่างต่อเน่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    กิจกรรมกุ๊กน้อยละเลงครัว กิจกรรม 111 เห็ดนางฟ้ามหาสเน่ห์

    นำผลผลิตจากการเพาะปลูกในโรงเรียนมา มาจำหน่ายผ่านสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน และนำมาเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอาหาร เช่น น้ำพริกเห็ด เห็ดสวรรค์ คุกกี้เห็ด นอกจากนี้ยังนำผลผลิตมาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น สลัดม้วน ข้าวยำสมุนไพร น้ำสมุนไพร แซนวิชแก้มใส

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    ชุมชนบริเวณใกล้เคียงโรงเรียน ชมรมผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา วัด มัสยิด โรงพยาบาล วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ สถาบันพลศึกษากระบี่ ฯลฯ ให้ความร่วมมือในกาารส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมที่โรงเรียนกำหนดขึ้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    -การให้ความร่วมมือของชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่างๆ -การให้ความร่วมมือของคณะครูและนักเรียน -สถานที่มีความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจและส่งเสริมสุขภาพอนามัยการจัดบริการอาหารตามหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาลแก่นักเรียนผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวัง การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และได้รับความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    มีการประชุมครูและมีการวางแผนในการจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียน และนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีการจัดอบรมแม่ครัวเน้นการปฏบัติจริง ตั้งแต่การแต่งกายที่ถูกสุขลักษณะจนไปถึงปริมารในการตักข้าว

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    มีการจัดประชุมผู้ปกครองเพื่อบอกนโยบายการดำเนินงานจัดกิจกรรมในแต่ละภาคเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมบุตร หลานเข้าร่วมกิจกรรม และยังมีการเชิญชวนให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การจัดกิจกรรมหนูน้อยรักทันต์ของโรงพยาบาลเหนือคลอง โครงการครู D.A.R.E ของสภ.เหนือคลอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    มีการเพาะปลูกผักบนดินและผักไร้ดิน แต่ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด

    โรงเรือนผักไร้ดิน ผักในลูกล้อ ผักไต่ราว

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    โรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์จำนวน 3 บ่อ บ่อละ 500 ตัว เพื่อนำผลผลิตไปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน

    บ่อปลาดุกในโรงเรียน

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    มีการจัดจำหน่ายอาหารเช้า ผ่านสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน

    ภาพถ่าย

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    มีการจัดเมนูอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมกับวัย โดยผ่านโปรแกรม Thai school lunch

    แฟ้มเอกสาร Thai school lunch

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    มีการจัดเมนูอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมกับวัย โดยผ่านโปรแกรม Thai school lunch

    แฟ้มเอกสาร Thai school lunch ภาพถ่าย

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    มีวิทยากรปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ และพานักเรียนไปศึกษาดูงานเกียวกับการปลูกผักปลอดสารพิษภายในชุมชนใกล้เคียง

    ภาพถ่ายการจัดกิจกรรม

    มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    มีการจัดเมนูอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมกับวัย โดยมีการคำนวณปริมาณและจัดเมนูอาหารให้เหมาะสมกับวัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่เด็กอนุบาล 3-5 ปี และเด็กอายุ ุ6-12 ปี

    แฟ้มเอกสาร Thai school lunch

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วน โดยมีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเป็นประจำทุกเดือน

    สมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/22561 1/12561 1/22562 1/12562 1/2
    เตี้ย 1.66 1.66% 2.33 2.33% 1.13 1.13% 0.82 0.82% 0.51 0.51% 2.86 2.86% 2.86 2.86% 1.94 1.94% 1.81 1.81% 2.12 2.12% 2.33 2.33% 1.36 1.36%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 4.14 4.14% 4.95 4.95% 3.79 3.79% 4.52 4.52% 2.36 2.36% 8.88 8.88% 8.88 8.88% 4.91 4.91% 5.13 5.13% 7.79 7.79% 6.98 6.98% 3.40 3.40%
    ผอม 3.07 3.07% 2.63 2.63% 2.12 2.12% 2.88 2.88% 1.13 1.13% 1.88 1.88% 1.28 1.28% 0.41 0.41% 3.51 3.51% 3.07 3.07% 2.45 2.45% 1.55 1.55%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 9.21 9.21% 7.28 7.28% 4.04 4.04% 6.68 6.68% 3.40 3.40% 5.83 5.83% 4.05 4.05% 3.68 3.68% 8.06 8.06% 7.68 7.68% 8.83 8.83% 4.08 4.08%
    อ้วน 0.00 0.00% 2.22 2.22% 1.52 1.52% 1.23 1.23% 0.72 0.72% 2.37 2.37% 1.58 1.58% 0.82 0.82% 2.37 2.37% 0.96 0.96% 5.53 5.53% 2.52 2.52%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 2.54% 2.54% 4.75% 4.75% 4.95% 4.95% 3.80% 3.80% 2.16% 2.16% 5.04% 5.04% 4.15% 4.15% 3.06% 3.06% 5.59% 5.59% 4.13% 4.13% 11.28% 11.28% 5.63% 5.63%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    มีการจัดอาหาร

    สมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน ภาพถ่าย

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    มีการจัดทำเมนูอาหารสำหรับเด็กที่ค่อนข้างผอม เช่น ปุยฝ้ายสมุนไพร แซนวิชแก้มใส

    สมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน ภาพถ่าย

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    มีการดื่มนมตอนเช้าเป็นประจำทุกวันและมีการออกกำลังกายโดยการกระโดดเชือก และการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในกิจกรรมการละเล่นของไทย

    สมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน แผนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ภาพถ่าย

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    มีการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารและดูข้อมูลจากบันทึกสุขภาพนักเรียนเป็นรายบุคคล

    สมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน ภาพถ่าย

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    โดยครูมีการพูดคุยให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองที่มีบุตรอยู่ในภาวะเสี่ยง เพื่อนำกลับไปแก้ไขปัญหาร่วมกัน

    สังเกตพฤติกรรมเด็ก และสมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    ชุมชนบริเวณใกล้เคียงโรงเรียน ชมรมผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา วัด มัสยิด โรงพยาบาล วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ สถาบันพลศึกษากระบี่ ฯลฯ ให้ความร่วมมือในกาารส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมที่โรงเรียนกำหนดขึ้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 จังหวัด กระบี่

    รหัสโครงการ ศรร.1413-093

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายจิรศักดิ์ เจียงจิรศักดิ์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด