ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์


“ โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ ”

30 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

หัวหน้าโครงการ
นางแสงเดือน วรรณรัตน์

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์

ที่อยู่ 30 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จังหวัด พังงา

รหัสโครงการ ศรร.1412-099 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.25

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ จังหวัดพังงา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 30 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ " ดำเนินการในพื้นที่ 30 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา รหัสโครงการ ศรร.1412-099 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 169 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา พลศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมรากุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ
  2. เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย สุขภาพดี แข็งแรง
  3. เพื่อพัฒนานักเรียน บุคลากร ผู้ปกครองในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายในด้านอาหารโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและสุขอนามัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัย มีอารมณ์สติปัญญาที่ดีขึ้น มีทักษะชีวิตสามารถนำไปใช้ได้จริง
    2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียน
    3. พ่อแม่/ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหาร
    4. เกิดกระแสตื่นตัวในชุมชน / สังคม ให้ความสำคัญกับอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กวัยเรียน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ขุมพอเพียงเลี้ยงชีพได้

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ขุดลอกสระน้ำที่รกร้าง
    2.ปลูกพืชผสมผสาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ขยายพื้นที่เกษตรในการทำเกษตรแบบผสมผสานเพิ่มขึ้น นักเรียนและชุมชนมีอาหารปลอดภัยรับประทาน มีการนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ กับกิจกรรมอาหารกลางวัน และขายให้ชุมชน มีความรู้ ทักษะ ในงานเกษตร นักเรียนมีโภชนาการสมวัยและสุขภาพดี

     

    330 330

    2. ประชุมชี้แจงโครงการครั้งที่ 1

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปการประชุม

     

    263 95

    3. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร โปรแกรม Thai School Lunch

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เรียนรู้การจัดเมนูอาหารด้วยโปรแกรม Thai School Lunch
    2. ฝึกการจัดเมนูอาหารด้วยโปรแกรม Thai School Lunch

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดเมนูอาหารด้วยโปรแกรม Thai School Lunch ให้กับนักเรียน ตามปริมาณที่เหมาะสม มีการจัดเป็นรายเดือนและยังช่วยแก้ปัญหาภาะโภชนาการของนักเรียน

     

    2 2

    4. พัฒนาบุคลากรการเขียนแผนบูรณาการ

    วันที่ 10 มิถุนายน 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แต่งตั้งคณะทำงาน เสนอโครงการ ขั้นตอนการดำเนินการ จัดอบรมครู ประเมินผลกิจกรรม รวบรวมข้อมูลความบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขรายงานผลโครงการ เผยแพร่ผลการดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครูผู้สอนเกิดความรู้ความเข้าใจการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูสามารถวัดผลประเมินผลได้ตรมสภาพจริง ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานด้านการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

    30 31

    5. พ่อแม่ปลูกลูกรักษา

    วันที่ 12 สิงหาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม
    2. ดำเนินกิจกรรมโดย พ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมทำพิธีกิจกรรมวันแม่
    3. ร่วมกันปลูกต้นไม้ได้แก่ กล้วย มะละกอ ข้าว ขนุน มะนาว
    4. รับประทานอาหารร่วมกัน
    5. นักเรียนดูแลรักษาต้นไม้ และเก็บผลผลิตมาใช้ในโครงการต่อไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ทางโรงเรียนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติในวันแม่ และสานสัมพันธ์ของพ่อแม่ ผู้แกครอง ชุมชน ร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อโครงการอาหารกลางของนักเรียน

     

    330 324

    6. การเรียนรู้ฐานเห็ดน่ารู้

    วันที่ 18 สิงหาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นักเรียนได้เรียนรู้ส่วนประกอบและการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
    2. นักเรียนได้ปฏิบัติการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
    3. การใช้เครื่องอัดก้อนเชื้อเห็ด
    4. ข้อแนะนำต่างๆในการทำก้อนเชื้อเห็ด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เนื้อหาที่นักเรียนได้รับมีดังนี้
    1. นักเรียนได้เรียนรู้ส่วนประกอบและการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
    2. นักเรียนได้ปฏิบัติการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
    3. การใช้เครื่องอัดก้อนเชื้อเห็ด
    4. ข้อแนะนำต่างๆในการทำก้อนเชื้อเห็ด
    นักเรียนได้นำก้อนเชื้อเห็ดที่ได้ฝึกอัดก้อนเชื้อด้วยตนเอง นำมาศึกษาการออกดอกของก้อนเชื้อเห็ด ได้ทราบปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้น ในการเพาะเห็ด นอกจากสิ่งแวดล้อมต่างๆขณะทำก้อนเชื้อแล้ว ยังมีผลต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะที่เห็ดกำลังออกดอกด้วย การได้เจอสถานการณ์จริงนี้ ทำให้นักเรียนได้รู้จักการแก้ปัญหา และหากนักเรียนนำไปทำเป็นอาชีพเสริมที่บ้านก็จะสามารถทำได้ โดยไม่ขาดทุน

     

    100 100

    7. ประชุมสัญจร ครั้งที่1

    วันที่ 13 ตุลาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การรายงานติดตามโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสในรายงานการเงินงวดที่1 ปรับปรุงแก้ไขแผนงาน การเงินและการทำเอกสารให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    4 4

    8. กิจกรรมเรียนรู้สหกรณ์

    วันที่ 13 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบWalk Rally งานกิจกรรมต่างๆของสหกรณ์นักเรียน ให้กับนักเรียนในเครือข่ายของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส - ฐานบัญชี - ฐานนิทาน - ฐานร้องเพลง - ฐานการบันทึกการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รับความรู้จากการเข้าฐานต่างๆ การทำบัญชี การทำหนังสือเล่มเล็กในฐานนิทาน การร้องเพลงประกอบท่าทาง และการบึนทึกการประชุม 2.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

     

    324 160

    9. ธนาคารขยะ

    วันที่ 6 มีนาคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.วิทยากรให้ความรู้และสร้างความตระหนักเรื่องขยะรวมทั้งการบริหารจัดการธนาคารขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนคัดแยกขยะได้ถูกต้อง มีรายรับจากการขายขยะ

     

    157 137

    10. โภชนาการสมวัย

    วันที่ 9 มีนาคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน 2.วิทยากรเกริ่นนำเข้าเรื่อง โภชนาการสมวัย และเชิญวิทยากร 3.วิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง โภชนาการสมวัย 4.กิจกรรมนันทนาการ 5.รับประทานอาหารเที่ยงพร้อมทั้งสาธิต เรื่องโภชนาการ 6.รายงานผลโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง 2.นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและครอบครัวในชีวิตประจำวันได้ 3.ครูได้รับความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการโภชนาการ 4.แม่ึครัวรู้เรื่องสุขลักษณะ การแต่งกายการทำความสะอาดภาชนะในครัวและบริเวณโรงอาหาร 5.นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีสมวัย

     

    129 135

    11. ปรับปรุงแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ

    วันที่ 10 มีนาคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา 2.จ้างออกแบบและควบคุมงาน 3.จ้างเหมาก่อสร้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการอนุรักษแ์ละพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์
    2. สามารถสร้างจัดบรรยากาศในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนได้หลากหลาย และเกิดประโยชน์สูงสุด
    3. สามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบๆบริเวณโรงเรียน โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

     

    308 308

    12. กิจกรรมการบริโภคอย่างชาญฉลาด

    วันที่ 10 มีนาคม 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.วิทยาให้ความรู้เรื่องการบริโภคอย่างชาญฉลาด
    2.กิจกรรมนันทนาการ 3.สาธิตการรับประทานอาหารเที่ยง ว่าควรบริโภคเท่าไหร่อย่างไร 4.ให้ความรู้เพิ่มเติม 5.ปิดการอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหาร เปรียนเทียบดัชณีมวลกายว่าบริโภคเท่าไหร่อย่างไร 2.ครูได้รับความรู้เพิ่มเติม และนำความรู้ที่ได้รับขยายผลไปสู่นักเรียน 3.โรงเรียนมีนักเรียนที่มีสุขภาวะเจริญเติบโตสมวัย

     

    124 137

    13. สหกรณ์น่ารู้

    วันที่ 13 มีนาคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. การจัดทำบัญชี
    2. การประชุมคณะกรรมการ
    3. การดำเนินงานและปัญหาต่างๆของงานสหกรณ์นักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนสามารถจัดทำบัญชี การประชุมคณะกรรมการ การดำเนินงานและปัญหาต่างๆของงานสหกรณ์นักเรียน

     

    144 143

    14. ค่ายสหกรณ์

    วันที่ 14 มีนาคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบWalk Rally งานกิจกรรมต่างๆของสหกรณ์นักเรียน ให้กับนักเรียนในเครือข่ายของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส - ฐานบัญชี - ฐานนิทาน - ฐานร้องเพลง - ฐานการบันทึกการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รับความรู้จากการเข้าฐานต่างๆ การทำบัญชี การทำหนังสือเล่มเล็กในฐานนิทาน การร้องเพลงประกอบท่าทาง และการบึนทึกการประชุม 2.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

     

    158 143

    15. ปุ๋ยชีวภาพ

    วันที่ 15 มีนาคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดอบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยชีวภาพ 2.ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติปุ๋ยชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

     

    162 136

    16. คืนดอกเบี้ยธนาคาร

    วันที่ 4 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนดอกเบี้ยธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนดอกเบี้ยธนาคาร

     

    2 0

    17. ถอนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 4 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถอนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

     

    2 2

    18. ประชุมสัญจร ครั้งที่2

    วันที่ 4 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การรายงานติดตามโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสในรายงานการเงินงวดที่2 ปรับปรุงแก้ไขแผนงาน การเงินและการทำเอกสารให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    0 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ ร้อยละ80

    ได้นำผลผลิตจาการปลูกผักปลอดสารพิษ ไข่ไก่ ปลาดุก ที่นักเรียนร่วมกันผลิต มาใช้ในการประกอบอาหารกลางวันได้จริงโดยผ่านสหกรณ์โรงเรียน ร้อยละ 80 % มีบางส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายชุมชน

    2 เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย สุขภาพดี แข็งแรง
    ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี • ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนไม่เกิน ร้อยละ 5 • ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน ร้อยละ 5 • ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน ร้อยละ 5 ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ 2. มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ร้อยละ 100 ของนักเรียนปกติ
    1. ภาวะโภชนาการของนักเรียนผอมลดลง เหลือร้อยละ 3 โดยมีการส่งเสริมให้นักเรียนที่ผอมเพิ่มปริมาณอาหาร และเพิ่มอาหารเสริมนม 2.มีการส่งเสริมการออกกำลังกายทุกวันหลังเลิกเรียน
    3 เพื่อพัฒนานักเรียน บุคลากร ผู้ปกครองในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายในด้านอาหารโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและสุขอนามัย
    ตัวชี้วัด : นักเรียน บุคลากร และผู้ปกครองในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่าย มีการพัฒนาในด้านอาหารโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและสุขอนามัย ร้อยละ 80 ของเป้าหมายการพัฒนา

    1.สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตร ด้านสหกรณ์ ด้านโภชนาการและสุขภาพในโรงเรียนเครือข่ายและหน่วยงานในอำเภอคุระบุรี 2.สามารถนำผลผลิตของโรงเรียนออกสู่ชุมชน เช่นการส่งออกพืชสมุนไพรให้ชุมชนผลิตเป็นเครื่องแกง แล้วส่งขายสหกรณ์โรงเรียนเพื่อนำมาทำอาหารกลางวัน 3.มีผู้ปกครองที่มีจิตอาสาหมุนเวียนมาประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในวันสำคัญต่างๆ เช่นวันเด็ก วันแม่ ฯลฯ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ (2) เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย สุขภาพดี แข็งแรง (3) เพื่อพัฒนานักเรียน บุคลากร ผู้ปกครองในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายในด้านอาหารโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและสุขอนามัย

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์

    รหัสโครงการ ศรร.1412-099 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.25 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    1.กิจกรรม STEM ศึกษา

    คัดเลือกจากพืชที่ปลูกและสัตว์ที่เลี้ยงในโรงเรียนเพื่อนำมาศึกษา หลังจากนั้นร่วมกันจ้ดทำแผนการจัดการเรียนรู้STEM ศึกษา โดยครูทุกคนร่วมกันจัดทำทั้งในส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาเทคโนโลยีวิชาวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งได้เลือกการเลี้ยงไก่ไข่ แล้วนำมา บูรณาการการเรียนการสอนเรื่องไก่ไข่กับ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาเทคโนโลยี วิชาวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ในห้องเรียน ให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง และบันทึกผลการเรียนรู้ และเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

    จะมีการจัดการเรียนรู้STEMศึกษา ให้ครบทุกกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ดังนี้ คือ ฐานไก่ไข่หรรษา ฐานเห็ดน่ารู้ ฐานปลาดุก ฐานพืชผักผสมผสาน ฐานสหกรณ์ ฐานธนาคารขยะและปุ๋ยหมัก

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    สหกรณ์นักเรียน

    การดำเนินการสหกรณ์นักเรียนให้ดำเนินการโดยนักเรียนทั้งหมดมีครูเป็นที่ปรึกษา และมีการจัดการเรียนการสอน เป็นฐานกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ได้รับรางวัลโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 โครงการประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทาน ประจำปี 2559

    มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้นักเรียนรุ่นต่อๆไป

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    เมนูอาหารตามโปรแกรม Thai schoollunch

    ดำเนินการโดยส่งครูเข้าอบรมThai schoollunch แล้วนำความรู้มาขยายผลต่อครู นักเรียน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดเมนูอาหาร แล้วให้ฝึกคำนวนคุณค่าทางโภชนาการ แต่ต้องคำนึงถึงวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น นำเมนูอาหารที่ได้มาจัดทำเป็นรายเดือน ให้โครงการอาหารกลางวันจัดทำอาหารกลางวันตามเมนูโรงเรียนมีการจัดเรื่องของการรบริการอาหารของนักเรียนโดยใช้โปรแกรม Thaischool luch และมีกลุ่มแม่บ้านอาสาหมุนเวียนมาประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียนในวันสำคัญต่างๆ

    จัดทำเมนูอาหารกลางวันล่วงหน้าให้ครบทั้งภาคเรียนและให้ความรู้แม่ครัว และผู้ปกครองนักเรียนเรื่อง โปรแกรม Thai schoolluch

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน
    1. ชุมนุมรักสุขภาพ 2.ชุมชุมเด็กไทยทำได้
    1. ชุมนุมรักสุขภาพ ติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนทั้งโรงเรียน คัดแยกนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมรักสุขภาพ โดยให้นักเรียนได้ออกำลังกายและสมรรถภาพทางกายสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง โดยบันทึกน้ำหนักก่อนร่วมกิจกรรมและ ระหว่างการทำกิจกรรมทุกๆเดือนปรากฏว่าน้ำหนักของนักเรียนลดลง
    2. เด็กไทยทำได้
      1)ส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกายทุกวันตอนเย็นหลังเลิกเรียน วันละ 30 นาที 2)ให้ความรู้การตักอาหารตามธงโภชนาการ

    นำการเรียนรู้ในโรงเรียนไปช่วยเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกาย ให้กับบุคคลในครอบครัวและชุมชน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    ชุมชุมเด็กไทยทำได้

    ชุมนุมเด็กไทยทำได้ ประกอบด้วย 4กิจกรรม คือ ส้วมสุขสันต์ ผมสวยไร้เหา อ.ย.น้อย และฟันสวยยิ้มใส
    นักเรียนแกนนำจะให้ความรู้ แนะนำ บันทึกข้อมูลบันทึกสุขภาพต่างๆ โดยมีครูคอยให้คำแนะนำ

    ดำเนินการให้กิจกรรมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    โรงเรียนปลอดขยะ และชุมนุมเด็กไทยทำได้

    เนื่องจากทางโรงเรียนมีนโยบายไม่จำหน่ายอาหาร ขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมในโรงเรียนซึ่งขยะส่วนใหญ่มาจากถุงนมโรงเรียน จึงมีการนำถุงนมไปประยุกต์เป็นสิ่งของต่างๆในฐานการเรียนรู้ธนาคารขยะด้วย รวมทั้งมีการนำถุงนมเหล่านั้นเป็นถุงเพาะต้นกล้าของพืชที่จะนำไปปลุกต่อไป ชุมนุมเด็กไทยทำได้ ในกิจกรรมส้วมสุขสันต์ จะส่งเสริมในนักเรียนรู้จักวิธีการใช้และดูแลห้องน้ำห้องส้วม และบริเวณข้างเคียงให้ดูสะอาดและถูกสุขลักษณะ

    ดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    ชุมนมเด็กไทยทำได้

    ชุมนุมเด็กไทยทำได้ ประกอบด้วย 4กิจกรรม คือ ส้วมสุขสันต์ ผมสวยไร้เหา อ.ย.น้อย และฟันสวยยิ้มใส
    นักเรียนแกนนำจะให้ความรู้ แนะนำ บันทึกข้อมูลบันทึกสุขภาพต่างๆ โดยมีครูคอยให้คำแนะนำ และในแต่ละปีการศึกษาจะได้รับการบริการจากสาธารณสุข โรงพยาบาลในด้านของสุขภาพและทัณตสุขภาพ

    ดำเนินการกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนสามารถนำไปปรับใช้กับครอบครัว และชุมชนได้

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    ศูนย์เรียนรู้โรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    มีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย เข้าสู่การเรียนการสอนและกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

    ขยายผลสู่ชุมชน โรงเรียนและหน่วยงานต่างๆได้ นักเรียนสามารถนำสื่งที่เรียนรู้จากศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างเป็นอาชีพได้โดยมีผู้ปกครองให้การสนับสนุน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    1.โรงพยาบาลคุระบุรี ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพอนามัยให้กับนักเรียน 2.สำนักงานเกษตรอำเภอคุระบุรี ให้ความร่วมมือและสนับสนุน พันธ์ุผักและให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ด 3.สำนักงานเทศบาลตำบลคุระบุรีสนับสนุนเรื่องการกำจัดขยะที่ถูกวิธี 4.ประมงอำเภอคุระบุรีให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลา 5.ปศุสัตว์อำเภอคุระบุรี ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ 6.สาธารณสุขอำเภอคุระบุรี ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพอนามัยและโภชาการที่ถูกวิธีให้กับนักเรียน 7. รพ.สต.บ้านทุ่งรัก ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพอนามัยและโภชาการที่ถูกวิธีให้กับนักเรียน 8. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นางขาว 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ความรู้การจัดทำหลักสูตรSTEM ศึกษาในเรื่องไก่ไข่ 10. โรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม ให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดและการทำก้อนเชื้อเห็ด 11. สหกรณ์จังหวัดพังงา

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    1. ชุมชนให้ความร่วมมื่อ
    2. มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำการเกษตร
    3. โรงเรียนมีนโยบาย ไม่ขาย น้ำอัดลม ของหวาน และขนมกรุบกรอบ ทำให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพฟันดี

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    1.ผู้บริหารเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนกิจกรรมตลอดการดำเนินงาน 2.ครูและบุคลากรในโรงเรียนให้ความร่วมมือ
    3.นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง
    4.สร้างแนวร่วมและเครือข่ายต่างๆ

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    ครู นักเรียนและแม่ครัวได้รับการอบรมเติมเสริมความรู้อย่างต่อเนื่อง นำความรู้ที่ได้รับมาขยายสู่บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติได้ถูกต้องและทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    ผู้ปกครองและชุมชนได้รับความรู้จากการขยายผลของครู นักเรียนและแม่ครัว และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆกับนักเรียน ตลอดจนให้การสนับสนุนด้านทรัพยากร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    ผักที่ผลิตไม่เพียงพอต่อโครงการอาหารกลางวันทางโรงเรียนจะนำมาจาก ชุมชนเครือข่าย ใกล้เคียง ซึ่งมีวิธีการเลือกซื้อมาจากมาจากพ่อค้าแม่ค้าที่เชื่อถือได้ ว่า สะอาด ปลอดภัย

    ชุมชนที่เชื่อถือได้ ตลาดในชุมชน

    ปลูกผักและผลไม้ในโรงเรียนหลากหลายชนิดขึ้น และขยายเครือข่ายผู้ปกครองในการปลูกผัก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    โรงเรียนได้เลี้ยงไก่ไข่และนำไข่มาประกอบอาหารกลางวันได้เพียงพอกับนักเรียน และจำหน่ายแก่ชุมชน

    เมนูอาหารกลางวันที่มีไข่เป็นวัตถุดิบ และภาพถ่ายการเลี้ยงไก่

    ดำเนินการเลี้ยงไก่ไข่ในทุกปีการศึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    เลี้ยงปลาดุกเพื่อประกอบอาหารและจำหน่ายให้กับชุมชน

    เมนูอาหารกลางวันที่มีปลาดุกเป็นวัตถุดิบ และภาพถ่ายการเลี้ยงปลาดุก

    ดำเนินการเลี้ยงปลาดุกและเพิ่มเติมปลาชนิดอื่นๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    โรงเรียนมีการบริการอาหารเช้าใช้กับนักเรียนทุกคน

    ภาพถ่าย สัมภาษณ์จากนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง

    ดำเนินการต่อในปีการศึกษาต่อไป

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    แม่ครัวมีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมการกำหนดเมนูอาหารกลางวันและสามารถจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมให้แก่เด็ก เมนูอาหารของทุกวันจะประกอบด้วยเมนูผักทุกวัน และมีผลไม้สำหรับนักเรียนทุกวัน

    เมนูอาหาร และภาพถ่ายการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน

    ดำเนินการต่อในปีการศึกษาต่อไป ให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองในการรับประทานผัก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    แม่ครัวมีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมการกำหนดเมนูอาหารกลางวันและสามารถจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมให้แก่เด็ก เมนูอาหารของทุกวันจะประกอบด้วยเมนูผักทุกวัน และมีผลไม้สำหรับนักเรียนทุกวัน

    เมนูอาหาร และภาพถ่ายการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน

    ดำเนินการต่อในปีการศึกษาต่อไป ให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองในการรับประทานผัก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    โครงการอาหารกลางวันมีการซื้อผักและผลไม้จากผู้ผลิตโดยตรงบ้างตามโอกาส

    ภาพถ่าย /ชุมชน

    ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยปลอดสารพิษจากหลายๆแหล่ง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    โรงเรียนใช้โปรแกรม Thai School Lunch ในการจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนหมุนเวียนใน 1 เดือน แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามวุตถุดิบในท้องถิ่น

    เมนูรายการอาหาร

    ดำเนินการจัดเมนูหมุนเวียนใน1 ภาคเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการติดตามการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ในทุกๆเดือน มีแบบบันทึกมีการส่งเสริมเด็กเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาสุขภาวะ และโภชนาการของเด็กและเยาวชน เมื่อพบเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาวะ เราจะมีการส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกาย เด็กที่มีปัญหาที่เริ่มผอมเราจะมีการส่งเสริมโดยการเพิ่มปริมาณอาหารกลางวันและดื่มนมวันละ2ถุง ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย

    บันทึกภาวะโภชนาการ

    ดำเนินการต่อในปีการศึกษาต่อไป

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/12562 2/22563 1/1
    เตี้ย 6.62 6.62% 9.93 9.93% 7.95 7.95% 5.96 5.96% 10.27 10.27% 10.07 10.07% 8.72 8.72% 9.33 9.33% 11.43 11.43% 8.63 8.63% 9.86 9.86% 8.33 8.33% 7.75 7.75% 8.55 8.55% 7.63 7.63% 7.94 7.94% 6.84 6.84% 8.57 8.57% 10.08 10.08% 9.02 9.02% 9.65 9.65%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 14.57 14.57% 17.88 17.88% 17.22 17.22% 11.26 11.26% 15.75 15.75% 14.09 14.09% 14.09 14.09% 13.33 13.33% 19.29 19.29% 15.11 15.11% 12.68 12.68% 13.89 13.89% 13.95 13.95% 16.24 16.24% 13.74 13.74% 14.29 14.29% 41.03 41.03% 17.14 17.14% 15.13 15.13% 14.75 14.75% 20.18 20.18%
    ผอม 11.26 11.26% 4.64 4.64% 7.28 7.28% 3.97 3.97% 0.68 0.68% 3.36 3.36% 3.36 3.36% 4.00 4.00% 2.86 2.86% 4.32 4.32% 4.23 4.23% 3.47 3.47% 2.33 2.33% 3.88 3.88% 4.72 4.72% 4.76 4.76% 3.42 3.42% 0.83 0.83% 1.68 1.68% 0.82 0.82% 0.88 0.88%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 13.25 13.25% 11.92 11.92% 13.91 13.91% 9.93 9.93% 4.11 4.11% 8.05 8.05% 8.05 8.05% 6.67 6.67% 7.86 7.86% 12.95 12.95% 11.97 11.97% 9.72 9.72% 12.40 12.40% 9.30 9.30% 11.02 11.02% 11.90 11.90% 8.55 8.55% 10.00 10.00% 9.24 9.24% 8.20 8.20% 12.28 12.28%
    อ้วน 6.62 6.62% 4.64 4.64% 0.00 0.00% 4.64 4.64% 4.11 4.11% 4.03 4.03% 4.03 4.03% 3.33 3.33% 2.86 2.86% 3.60 3.60% 2.82 2.82% 2.78 2.78% 3.10 3.10% 3.88 3.88% 3.15 3.15% 3.97 3.97% 2.56 2.56% 5.00 5.00% 5.88 5.88% 5.74 5.74% 6.14 6.14%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 11.92% 11.92% 9.27% 9.27% 5.30% 5.30% 9.27% 9.27% 10.96% 10.96% 8.72% 8.72% 8.72% 8.72% 9.33% 9.33% 7.14% 7.14% 6.47% 6.47% 6.34% 6.34% 6.25% 6.25% 6.98% 6.98% 6.98% 6.98% 9.45% 9.45% 8.73% 8.73% 9.40% 9.40% 10.83% 10.83% 10.92% 10.92% 9.84% 9.84% 10.53% 10.53%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง
    1. ส่งเสริมการออกกำลังกายหลังเลิกเรียนทุกวันอย่างน้อยวันละ30 นาที
    2. ชุมนุมรักสุขภาพ จัจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนที่อ้วน และเริ่มอ้วนให้มีลักษณะสมส่วน ดดยจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ1ครั้งๆละ1ชั่วโมง
      3.ให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านทุ่งรัก,โรงพยาบาลคุระบุรีและสาธารณสุขอำเภอคุระบุรี
      4.จัดระบบข้อมูลพัฒนาการนักเรียน - ประเมินภาวะโภชนาการ(น้ำหนัก,ส่วนสูง) - ติดตามเด็กเริ่มอ้วน (บันทึก) กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง ค่อยๆลดจำกัดอาหารแป้ง หวาน และไขมัน เพิ่ม ผักและผลไม้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหวใช้พลังงาน ออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาทีไม่ซื้อยาลดความอ้วนกินเองอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต ขอความร่วมมือจากคนในครอบครัวในเรื่องอาหารที่บ้าน เช่น ไม่ซื้อขนมเข้าบ้านปลูกผักรับประทานเอง

    รูปภาพ รายชื่อนักเรียนภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน กราฟเปรียบเทียบสถานการณ์ภาวะโภชนาการ

    จัดกิจกรรมที่ช่วยแก้ไขภาวะอ้วนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558- ปีการศึกษา 2559 ภาวะผอมและค่อนข้างผอมลดลง แต่ที่เพิ่มขึ้นอีกในช่วงภาคเรียนที่ 2 /1 เนื่องจากมีการย้ายเข้าย้ายออกและตรงกับช่วงนักเรียนปิดเทอมบางคนได้รับอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากผู้ปกครองต้องออกไปทำงาน จึงทำให้เด็กเหล่านี้มีภาวะค่อนข้างผอมและผอมแม้ช่วงภาคเรียนที่2/2 จะมีภาวะค่อนข้างผอมลดลง แต่ก็ลดลงเพียงเล้กน้อยเท่านั้น

    รูปภาพ รายชื่อนักเรียนภาวะค่อนข้างผอมและผอม กราฟเปรียบเทียบสถานการณ์ภาวะโภชนาการ

    ครูดูแลนักเรียนรับประทานอาหารกลางวันเป็นพิเศษ เยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีน้ำหนักน้อย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    ออกกำลังอาย จัดอาหารเพิ่มปริมาณ ครูให้ดื่มนมวันละ 2 ถุง ส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน สำหรับหมวดหมู่ไขมัน ให้รับประทานตามพลังงานในแต่ละวัน ไม่ควรให้รับประทานมากจนเกินไป เพราะอาจเกิดภาวะโรคอ้วนตามมาได้

    รูปภาพ รายชื่อนักเรียนภาวะค่อนข้างผอมและผอม กราฟเปรียบเทียบสถานการณ์ภาวะโภชนาการ

    จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย และส่งเสริมการดื่มนม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน ไม่ส่งเสริมให้กินอาหารขยะ รับประทานผักผลไม้ตั้งแต่เด็กๆ ดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว เป็นนมจืดออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที
    2.แนะนำผู้ปกครองควรเข้านอนเร็วๆ ไม่ควรเกิน 22.00 น. เพราะฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต ขณะนอนหลับสนิทนอนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง 3.หุงข้าวโดยไม่เช็ดน้ำเพื่อให้แร่ธาตุและวิตามินที่ละลายน้ำยังอยู่ในข้าวสวย ควรกินข้าวกล้องซึ่งมีวิตามินและแร่ธาตุมากกว่าข้าวขัดขาวเพื่อลดปัญหาขาดวิตามินบีหนึ่งและบีสอง 4.ใช้เกลือและน้ำปลาที่เสริมไอโอดีนเพื่อช่วยลดการเป็นโรคคอพอก 5.ให้นักเรียนกินนมในโรงเรียนโดยไม่ต้องเสียเงินเพื่อแก้ปัญหาขาดโปรตีนและส่งเสริมให้โรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวัน 6.โรงเรียนและที่บ้านปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้นักเรียนได้สารอาหารที่่ปลอดสารเคมี โดยเฉพาะสารอาหาร ที่ให้พลังงาน และช่วยการเจริญเติบโต ุ7.ให้ลดอาหารหวาน อาหารมันจัด และออกกำลังกายเพื่อลดปัญหาไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน 8.ให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ประชาชน เช่น จัดทำแผ่นพับ เอกสาร หนังสือ ข่าวสาร ตามสื่อต่างๆ

    ภาพกิจกรรม

    ดำเนินการต่อในปีการศึกษาต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    การจัดบริการอาหารตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย ชุมชนมีส่วนร่วมในการอาสามาประกอบอาหารให้กับนักเรียนในวันสำคัญ และมาร่วมประชุมรับความรู้ใหม่ - ดูและสุขภาพของนักเรียนที่บ้าน - ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ในครัวเรือนและที่โรงเรียนตามความเหมาะสม

    ภาพถ่าย กิจกรรมพ่อแม่ปลูกลูกรักษา

    โรงเรียนรับซื้อผักและสัตว์เลี้ยงที่ชุมชนผลิต นำมาประกอบอาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    1.โรงพยาบาลคุระบุรี ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพอนามัยให้กับนักเรียน 2.สำนักงานเกษตรอำเภอคุระบุรี ให้ความร่วมมือและสนับสนุน พันธ์ุผักและให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ด 3.สำนักงานเทศบาลตำบลคุระบุรีสนับสนุนเรื่องการกำจัดขยะที่ถูกวิธี 4.ประมงอำเภอคุระบุรีให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลา 5.ปศุสัตว์อำเภอคุระบุรี ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ 6.สาธารณสุขอำเภอคุระบุรี ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพอนามัยและโภชาการที่ถูกวิธีให้กับนักเรียน 7. รพ.สต.บ้านทุ่งรัก ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพอนามัยและโภชาการที่ถูกวิธีให้กับนักเรียน 8. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นางขาว 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ความรู้การจัดทำหลักสูตรSTEM ศึกษาในเรื่องไก่ไข่ 10. โรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม ให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดและการทำก้อนเชื้อเห็ด 11. สหกรณ์จังหวัดพังงา

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ จังหวัด พังงา

    รหัสโครงการ ศรร.1412-099

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางแสงเดือน วรรณรัตน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด