ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์


“ โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์ ”

หมู่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางพรรณชนกชลเจริญ

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์

ที่อยู่ หมู่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ ศรร.1412-108 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.17

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์ " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ ศรร.1412-108 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 363 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านควนพระสาครินทร์ จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. พื่อพัฒนาต่อยอดการจัดกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนจำนวน 14 ฐานการเรียนรู้ (การปลูกพืชผัก การปลูกไม้ผล การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเลี้ยงเป็ดเทศ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงด้วงสาคู การเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะถั่วงอก การเลี้ยงสุกร การเลี้ยงกบ การทำปุ๋ยชีวภาพ และการปลูกพืชเศรษฐกิจ) ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
  2. เพื่อเป็นศูนย์ต้นแบบแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 10 โรงเรียน
  3. เพื่อพัฒนาบุคลากร ชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่าย และภาคีเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. โรงเรียนได้ดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยการน้อมนำรูปแบบที่ดี ด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพนักเรียน อย่างครบวงจรในโครงการพระราชดำริ มาปฏิบัติและพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ ที่เป็นแบบอย่างโรงเรียนอื่นๆได้
    2. บุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ให้การสนับสนุน เอาใจใส่ ดูแลพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน และพัฒนาศักยภาพของตนเอง
    3. นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
    4. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตระหนักเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง และพัฒนาภาวะโภชนาการ และดูแลสุขภาพของนักเรียน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. กิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2016 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นตอนที่ 1 รับสมัตรเป็นสมาชิก ด้วยความสมัครใจ ขั้นตอนที่ 2 ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนมาดำเนินกิจการสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน เดือนละครั้งเพื่อวางแผนการปฎิบัติงาน การซื้อ - ขาย ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการ มีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนให้นักเรียนทดลองปฎิบัติ ขั้นตอนที่ 5 การทำบัญชีประจำวัน มีทั้งบัญชีรายรับ - รายจ่าย บัญชีสินค้า บัญชีสมาชิก ขั้นตอนที่ 6 สรุปผล การดำเนินงานตามวาระของคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน จัดสรรผลกำไรเป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิก บางส่วนสะสมให้ไว้เป็นเงินทุนของสหกรณ์และเป็นเงินบริจาค สำหรับทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำกิจกรรมต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา

     

    456 456

    2. กิจกรรมกายบริหาร

    วันที่ 1 มิถุนายน 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นักเรียนออกกำลังกายเต้นแอโรบิค ทุกวันพุธ
    2. นักเรียนกายบริหารค่านิยม 12 ประการ ทุกวันตอนเช้า หน้าเสาธง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      - นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง - นักเรียนมีสุขภาพจิตดี

     

    247 247

    3. กิจกรรมเสียงตามสาย

    วันที่ 1 มิถุนายน 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้นำอนามัยนักเรียนให้ความรู้เสียงตามสายตอนเที่ยงทุกวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนมีความรู้ด้านอนามัย
    • นักเรียนมีทักษะการใช้ชีวิต
    • นักเรียนมีสุขภาพกาย ใจ ที่ดี

     

    446 446

    4. กิจกรรมเด็กอ้วนบ้าย บาย ไขมัน

    วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แต่งตั้งผู้นำอนามัย จำนวน 6 คน เพื่อดูแลนักเรียนที่ออกกำลังกาย
    2. ประชุมผู้ปกครองนักเรียน
    3. ประชุมนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
    4. จัดป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน
    5. ผู้นำนักเรียนออกกำลังกายตอนเที่ยงและตอนเย็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนมีร่างกายสมส่วน
    • นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง

     

    46 46

    5. กิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียนสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพนักเรียน

    วันที่ 20 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน
    2. สร้างความเข้าใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผูัปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของนักเรียน
    • ผู้ปกครองนักเรียน มีสุขภาพดี ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

     

    451 441

    6. กิจกรรมปลูกกล้วยน้ำว้า

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จำนวน 37 คน ปลูกและดูแลรักษากล้วยน้ำว้าที่ปลูก คนละ 1 ต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : นักเรียนมีกล้วยน้ำว้าบริโภค

    ผลลัพธ์ : นักเรียนสุขภาพแข็งแรง ระบบขับถ่ายดี

    นักเรียนมีความรับผิดชอบ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ที่บ้าน

     

    56 56

    7. กิจกรรมกำจัดเหา

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจนักเรียนที่เป็นเหา
    2. ประชุมนักเรียนที่เป็นเหา
    3. ให้ความรู้วิธีการกำจัดเหา ให้นักเรียนหวีเหาทุกวัน ทุกวันตอนเที่ยงเป็นเวลา 1 สัปดาห์
    4. กำจัดเหาโดยใช้สมุนไพรกำจัดเหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      - นักเรียนไม่เป็นเหา - นักเรียนมีสุขภาพดี

     

    456 451

    8. กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า

    วันที่ 3 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร
    2. จัดเตรียมโรงเรือน
    3. สอนนักเรียนให้เข้าใจวิธีการดูแลรักษา
    4. นำก้อนเห็ดเข้าโรงเรือน
    5. ดูแลรักษาโดยการรดน้ำที่พื้นเพื่อให้โรงเรือนมีความเย็นอยู่ตลอด
    6. เก็บเกี่ยว
    7. ดูแลว่ามีเชื้อราที่ก้อนเห็ดหรือไม่ถ้ามีให้นำไปทิ้ง
    8. นำส่งสหกรณ์โรงเรียน จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน (นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ร่วมกันเพาะเห็ดและแบ่งเวรรับผิดชอบในการดูแล เก็บ จำหน่าย)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : นักเรียนได้รับสารอาหาร โปรตีนเพิ่มเติมจากเนื้อสัตว์ ผลลัพธ์ : นักเรียนสุขภาพแข็งแรง

     

    120 120

    9. กิจกรรมพ่อลูกปลูกผักลูกรักได้กิน

    วันที่ 11 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนพร้อมด้วยผู้ปกครองร่วมกันปลูกผักและนักเรียนเป็นผู้ดูแลจนได้ผลผลิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : มีผักให้นักเรียนรับประทานทั้งที่บ้านและโรงเรียน

    ผลลัพธ์ : นักเรียนได้รับประทานผักทุกคน

    นักเรียนมีความรับผิดชอบ และนำความรู้ที่ได้รับกลับไปใช้ที่บ้านและชุมชน

     

    451 451

    10. กิจกรรมเลี้ยงเป็ดเนื้อ

    วันที่ 2 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร
    2. จัดเตรียมโรงเรือน วัสดุอุปกรณ์
    3. สอนนักเรียนให้เข้าใจวิธีการเลี้ยงการดูแลให้อาหารน้ำ
    4. นำลูกเป็ดมาปล่อย
    5. ให้น้ำ อาหาร
    6. อายุประมาณ 4 เดือน จัดจำหน่าย
    7. นำส่งสหกรณ์โรงเรียนจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : เลี้ยงเป็ดเนื้อประมาณ 30 ตัว เพื่อเพิ่มสารอาหารโปรตีน

    ผลลัพธ์ : นักเรียนสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์

    นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้และขยายผลต่อที่บ้านและชุมชน

     

    122 122

    11. กิจกรรมเด็กไทยฟันดี

    วันที่ 5 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แต่งตั้งผู้นำนักเรียนด้านทันตสุขภาพ จำนวน 24 คน เพื่อดูแลนักเรียนแปรงฟัน หลังอาหารกลางวัน
    2. นักเรียนแปรงฟัน หลังอาหารกลางวันทุกวัน
    3. ผู้นำ/ ครูประจำชั้น ตรวจสุขภาพปากและฟันนักเรียนทุกวันอังคาร
    4. จัดกิจกรรมประกวดนักเรียนฟันสวย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียน ฟันไม่ผุ
    • นักเรียนมุสุขภาพดี

     

    459 459

    12. กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก

    วันที่ 5 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร
    2. จัดเตรียมบ่อปลา ใส่ปูนขาว ใส่น้ำและมูลสัตว์ปล่อยทิ้งไว้
    3. สอนให้นักเรียนเข้าใจวิธีการให้อาหารดูแลรักษา
    4. ปล่อยลูกปลาลงในบ่อ
    5. ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง
    6. สังเกตุน้ำว่าเสียหรือยังและเปลี่ยนน้ำสัปดาห์ละครั้ง
    7. เมื่ออายุครบ 4 เดือนก็จับปลาได้
    8. นำส่งสหกรณ์โรงเรียน จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน

    (เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ขนาด 2*3 เมตร 3 บ่อ จำนวน 3,000 ตัว แบ่งเวรให้นักเรียนรับผิดชอบในการดูแลและให้อาหารปลาดุก)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : มีปลาดุกใช้เป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

    ผลลัพธ์ : นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง สมส่วน

    นักเรียนสามารถปฎิบัติได้จริงและนำความรู้ไปใช้ที่บ้านและชุมชนได้ 

     

    121 0

    13. กิจกรรม อย.น้อย

    วันที่ 6 ตุลาคม 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สมัครสมาชิกชมรมอย.น้อย
    2. ประชุมนักเรียน
    3. แบ่งหน้าที่กันตรวจ     - ตรวจโรงอาหาร     - ตรวจห้องพยาบาล     - ตรวจห้องน้ำ     - ตรวจผลิตภัณฑ์ สุขภาพ
    4. ให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยหน้าเสาธง
    5. จัดบอร์ดให้ความรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      - นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ - นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดี

     

    451 451

    14. กิจกรรมออมทรัพย์

    วันที่ 6 ตุลาคม 2016 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นตอนการปฎิบัติงาน ขั้นตอนที่ 1 แจกแบบฟอร์มการฝากเงินแก่ครูประจำชั้น ขั้นตอนที่ 2 ครูประจำชั้นดำเนินการและแจ้งผู้ปกครองทราบโดยใช้สมุดเล่มเล็ก ขั้นตอนที่ 3 ครูประจำชั้นดำเนินการฝากกับธนาคาร เดือนละครั้ง ขั้นตอนที่ 4 สรุปผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้ความรู้ และรู้จักการออม

     

    246 246

    15. กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

    วันที่ 6 ตุลาคม 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ตรวจสุขภาพนักเรียน
          - วันจันทร์ ตรวจเสื้อผ้า
          - วันอังคาร ตรวจฟัน     - วันพุธ ตรวจเล็บ     - วันพฤหัสบดี ตรวจผิวหนัง     - วันศุกร์ ตรวจผม
    2. ชั่งน้ำหนักนักเรียน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง เดือนพฤษภาคม เดือนสิงหาคม เดือนพฤศจิกายน เดือนกุมภาพันธ์
    3. ทดสอบสมรรถภาพนักเรียน ปีละ 1 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      - นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดี - นักเรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพ

     

    436 436

    16. กิจกรรมปลูกผัก ครั้งที่1

    วันที่ 6 ตุลาคม 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร
    2. จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์
    3. สอนนักเรียนให้เข้าใจวิธีการเตรียม ปลูก การดูแลรักษา
    4. เตรียมดิน ตากดิน 7 วัน
    5. ใส่ปุ๋ยคอก
    6. การปลูก ปลูกโดยวิธีโรยเมล็ด
    7. ดูแลรักษาโดยการรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช เก็บเกี่ยว
    8. นำส่งสหกรณ์โรงเรียน จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน (นักเรียนเตรียมแปลงปลูกผักแปลงละ 3 คน โดยปลูก ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว สลับหมุนเวียนกัน)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : มีผักปลอดสารพิษสนัยสนุนอาหารกลางวันอย่างเพียงพอ

    ผลลัพธ์ : นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง สมส่วน

    นักเรียนมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สามารถนำความรู้ไปขยายผลสู่ที่บ้านและชุมชนได้

     

    125 26

    17. กิจกรรมเพาะถั่วงอก ครั้งที่ 1

    วันที่ 6 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร
    2. จัดเตรียมอุปกรณ์ เมล็ดถั่วเขียว
    3. สอนนักเรียนให้เข้าใจวิธีการเตรียมเพาะการดูแลรักษา
    4. แช่ถั่วเขียวไว้ 12 ชั่วโมง
    5. นำถั่วเขียวไปเพาะในวัตถุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้
    6. ดูแล รดน้ำ
    7. ประมาณ 3 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิต
    8. นำส่งสหกรณ์โรงเรียน จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : - เพาะถั่วงอกเป็นอาหารกลางวัน
                - เพาะถั่วงอกที่บ้านเพื่อเป็นอาหารและแนะนำผู้ปกครอง

    ผลลัพธ์ : - นักเรียนมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภค             - ผู้ปกครองรู้วิธีเพาะถั่วงอกที่หลากหลายวิธี

    นักเรียนได้ความรู้และนำความรู้ได้ไปทำที่บ้าน

     

    220 220

    18. กิจกรรมทำปุ๋ยหมัก , ปุ๋ยชีวภาพ

    วันที่ 6 ตุลาคม 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดเตรียมโรงเรือน มูลสัตว์ เศษพืช อีเอ็ม วัสดุอุปกรณ์
    2. สอนนักเรียนให้เข้าใจการเตรียม การดูแล ขั้นตอนการทำการนำไปใช้
    3. นำวัสดุที่เตรียมไว้มาผสมรวมกันเก็บหมักไว้ในโรงเรือน
    4. กลับกองปุ๋ยสัปดาห์ละครั้ง
    5. ประมาณ 1 เดือน นำไปใส่ผัก ผลไม้ไ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : ได้ปุ๋ยหมักเพื่อใช้สำหรับการเกษตรในโรงเรียน

    ผลลัพธ์ : ได้ผัก ผลไม้ สนับสนุน อาหารกลางวัน โรงเรียนอย่างเพียงพอ

    นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปทำที่บ้านและชุมชน

     

    129 129

    19. การจัดบริการอาหาร (ให้ความรู้)

    วันที่ 7 ตุลาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดป้ายให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
    2. ครูอธิบายความสำคัญของอาหารแต่ละประเภท คุณค่าของสารอาหารแต่ละชนิดควบคู่กับภาพประกอบ
    3. นักเรียนร่วมกันสรุปการเลือกซื้ออาารที่มีปรโยชน์ต่อร่างกาย
    4. ครูนำภาพอาหารแต่ละชนิดให้นักเรียนเลือกว่าอาหารชนิดใดมีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
    5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปอีกครั้ง
    6. แบ่งกลุ่มให้นักเรียนเขียนชื่ออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
    7. ครูตรวจความถูกต้องของการเขียนรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กให้ความร่วมือ สนใจในงานกิจกรรมที่จัดขึ้น

     

    246 356

    20. กิจกรรมปลูกแก้วมังกร

    วันที่ 7 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร
    2. จัดเตรียมเสาคอนกรีต พันธุ์แก้วมังกร ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
    3. สอนนักเรียนให้เข้าใจวิธีการเตรียม ปลูก การดูแลรักษา
    4. ขุดหลุมปลูก ฝังเสาคอนกรีต ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปลูก มัดเชือก
    5. ดูแลรักษารดน้ำ 2 - 3 วัน/ครั้ง กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย
    6. อายุประมาณ 2 ปี เก็บเกี่ยวผลผลิต ึ7. นำส่งสหกรณ์โรงเรียน จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : นักเรียนมีแก้วมังกรรับประทาน

    ผลลัพธ์ : นักเรียนได้รับสารอาหารเพิ่ม

    นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปปฎิบัติที่บ้านและชุมชน

     

    124 124

    21. เลี้ยงเป็ดเนื้อ ครั้งที่2

    วันที่ 12 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร จัดเตรียมโรงเรือน วัสดุอุปกรณ์ สอนนักเรียนให้เข้าใจวิธีการเลี้ยงการดูแลให้อาหารน้ำ นำลูกเป็ดมาปล่อย ให้น้ำ อาหาร อายุประมาณ 4 เดือน จัดจำหน่าย นำส่งสหกรณ์โรงเรียนจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : เลี้ยงเป็ดเนื้อประมาณ 30 ตัว เพื่อเพิ่มสารอาหารโปรตีน ผลลัพธ์ : นักเรียนสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้และขยายผลต่อที่บ้านและชุมชน

     

    318 0

    22. ประชุมจัดทำรายงานงวด1

    วันที่ 13 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปโครงการ ค่าใช้จ่ายงวดที่1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

     

    2 2

    23. ศึกษาดูงาน

    วันที่ 13 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะครูประชุม เลือกนักเรียน เลือกผู้ปกครอง เพื่อไปศึกษาดูงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความรู้ นอกเหนือจากที่โรงเรียนมีอยู่ ได้มีข้อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างโรงเรียน ศึกษาแนวทางเพื่อสานต่อ

     

    36 36

    24. กำจัดเหาครั้งที่2

    วันที่ 14 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สำรวจนักเรียนที่เป็นเหา
    • ประชุมนักเรียนที่เป็นเหา
    • ให้ความรู้วิธีการกำจัดเหา ให้นักเรียนหวีเหาทุกวัน ทุกวันตอนเที่ยงเป็นเวลา 1 สัปดาห์
    • กำจัดเหาโดยใช้สมุนไพรกำจัดเหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนไม่เป็นเหา
      • นักเรียนมีสุขภาพดี

     

    0 60

    25. กิจกรรมเพาะถั่วงอก ครั้งที่ 2

    วันที่ 18 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขึ้นตอนที่ 1 นำเมล็ดถั่วเขียวตามจำนวนที่ต้องการ นำมาแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 55-60 องศา แช่ไว้ประมาณ ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดถั่วเขียวมาล้างให้สะอาด คัดเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปให้หมดเช่น กรวด หิน ดิน ทราย เศษหญ้า  และเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ เช่นเมล็ดที่ถูกแมลงเจาะ กิน และเมล็ดที่เสื่อมคุณภาพ ออกทั้งหมด เพราะอาจจะทำให้ถั่วงอกไม่มีคุณภาพและอาจเน่าเสียที่หลังได้  ต่อไปให้แช่น้ำต่อไปอีกประมาณ 8-10 ชั่วโมง หรือแช่ไว้ 1 คืน

    ขั้นตอนที่ 2 เมื่อแช่น้ำครบชั่วโมงหรือเช้าวันรุ่งขึ้น ให้เราล้างเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำทั้งหมด แล้วนำขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ อาจจะใช้ตะแกรง หรือกระด้งที่มีความสะอาด สักครู่เมล็ดถั่วเขียว ก็จะพองตัวขึ้นปริมาณก็จะเพิ่ม ประมาณ 2 เท่าจากในตอนแรก แล้วเอาเมล็ดในภาชนะเพาะปิดทับเมล็ดด้วยผ้า ขนหนูที่เราเตรียมไว้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มทุก 2-3 ชั่วโมง

    ขั้นตอนที่ 3  ใช้ถุงพลาสติกสีดำปิดคลุมภาชนะเอาไว้ เพื่อไม่ให้โดนแสง จากนั้นหาที่ร่มเย็นนำไปวางไว้เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นและการงอกของเมล็ดถั่ว

    ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนนี้ก็จะใช้เวลาถึง 3 วัน ประมาณ 65-72 ชั่วโมง นำถั่วงอกออกมาล้าง แล้วเอาเปลือกถั่วเขียวออกเพราะจะมีเลือกหล่นหรือปะปนอยู่กับ ถั่วงอก ก็จะได้ถั่วงอกที่ปลอดภัย สำหรับการบริโภค หรือนำไปขายในตลาดได้ ระยะเวลาในการเพาะถั่วงอกทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และฤดูกาลด้วย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ถั่วงอกตามต้องการและเพียงต่อโครงการอาหารกลางวัน

     

    219 219

    26. กิจกรรมปลูกผัก ครั้งที่ 2

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นักเรียนเตรียมแปลงผักนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมาใส่
    • เตรียมอุปกรณ์ เช่น จอบ คราด บัวรดน้ำ เมล็ดผัก
    • นักเรียนรับผิดชอบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  แปลงละ 3 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการ

     

    124 124

    27. ประชุมเครือข่าย

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เตรียมการ 2.กำหนดวันประชุม 3.เตรียมการประชุม 4.ดำเนินการประชุม 5.ผลการประชุม 6.นำผลประชุมไปปฏิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการทำกิจกรรมต่อเนื่อง ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานเป็นอย่างดี

     

    46 42

    28. กิจกรรมจัดประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 18 พฤศจิกายน 2016 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดทำหนังสือเชิญประชุม 2.จัดวาระการจัดเตรียมเอกสาร 3.ประชุม 4.สรุป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การมีส่วนร่วมกับชุมชนและการให้ความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับโรงเรียน เพื่อให้งานออกมาสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

     

    319 313

    29. กิจกรรมทำปุ๋ยหมัก , ปุ๋ยชีวภาพ ครั้งที่2

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเตรียมโรงเรือน มูลสัตว์ เศษพืช อีเอ็ม วัสดุอุปกรณ์
    • สอนนักเรียนให้เข้าใจการเตรียม การดูแล ขั้นตอนการทำการนำไปใช้
    • นำวัสดุที่เตรียมไว้มาผสมรวมกันเก็บหมักไว้ในโรงเรือน
    • กลับกองปุ๋ยสัปดาห์ละครั้ง
    • ประมาณ 1 เดือน นำไปใส่ผัก ผลไม้ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : ได้ปุ๋ยหมักเพื่อใช้สำหรับการเกษตรในโรงเรียน ผลลัพธ์ : ได้ผัก ผลไม้ สนับสนุน อาหารกลางวัน โรงเรียนอย่างเพียงพอ นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปทำที่บ้านและชุมชน

     

    0 0

    30. เลี้ยงปลาดุก ครั้งที่2

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร 2.จัดเตรียมบ่อปลา ใส่ปูนขาว ใส่น้ำและมูลสัตว์ปล่อยทิ้งไว้ 3.สอนให้นักเรียนเข้าใจวิธีการให้อาหารดูแลรักษา 4.ปล่อยลูกปลาลงในบ่อ 5.ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง 6.สังเกตุน้ำว่าเสียหรือยังและเปลี่ยนน้ำสัปดาห์ละครั้ง 7.เมื่ออายุครบ 4 เดือนก็จับปลาได้ 8.นำส่งสหกรณ์โรงเรียน จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน (เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ขนาด 2*3 เมตร 3 บ่อ จำนวน 3,000 ตัว แบ่งเวรให้นักเรียนรับผิดชอบในการดูแลและให้อาหารปลาดุก)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : มีปลาดุกใช้เป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ผลลัพธ์ : นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง สมส่วน นักเรียนสามารถปฎิบัติได้จริงและนำความรู้ไปใช้ที่บ้านและชุมชนได้ 

     

    0 120

    31. กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า ครั้งที่2

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมกับครูโภชนาการ กำหนดเมนูอาหาร 2.จัดเตรียมโรงเรือน 3.สอนนักเรียนให้เข้าใจวิธีการดูแลรักษา 4.นำก้อนเห็ดเข้าโรงเรือน 5.ดูแลรักษาโดยการรดน้ำที่พื้นเพื่อให้โรงเรือนมีความเย็นอยู่ตลอด เก็บเกี่ยว 6.ดูแลว่ามีเชื้อราที่ก้อนเห็ดหรือไม่ถ้ามีให้นำไปทิ้ง 7.นำส่งสหกรณ์โรงเรียน จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : นักเรียนได้รับสารอาหาร โปรตีนเพิ่มเติมจากเนื้อสัตว์ ผลลัพธ์ : นักเรียนสุขภาพแข็งแรง

     

    0 120

    32. เลี้ยงไก่ไข่

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ให้ควาารู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่
    2. อธิบายความสำคัญของการเลี้ยงไก่ไข่
    3. นักเรียนร่วมกันสรุปการเลี้ยงไก่ไข่
    4. แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อรับผิดชอบในการเลี้ยงไก่ไข่
    5. นำผลผลิตขายร้านสหกรณ์โรงเรียน
    6. โครงการอาหารกลางวันมาซื้อที่ร้านสหกรณ์โรงเรียน
    7. สรุปประเมินผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : มีไข่ไก่ปลอดสารพิษสนับสนุนอาหารกลางวัน ผลลัพธ์ : นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง สมส่วน

    นักเรียนมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สามารถนำความรู้ไปขยายผลสู่ที่บ้านและชุมชนได้

     

    25 25

    33. คืนเงินดอกเบี้ย

    วันที่ 4 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำโครงการ
    • รายงานการเงินปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินดอกเบี้ย

     

    0 2

    34. ประชุมปิดงวด2

    วันที่ 4 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำโครงการ
    • รายงานการเงิน ปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บรรลุตามเป้าหมาย

     

    0 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 พื่อพัฒนาต่อยอดการจัดกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนจำนวน 14 ฐานการเรียนรู้ (การปลูกพืชผัก การปลูกไม้ผล การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเลี้ยงเป็ดเทศ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงด้วงสาคู การเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะถั่วงอก การเลี้ยงสุกร การเลี้ยงกบ การทำปุ๋ยชีวภาพ และการปลูกพืชเศรษฐกิจ) ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    ตัวชี้วัด : นักเรียนครูบุคลากรในโรงเรียน มีเจตคติที่ดีในการทำเกษคร มีสุขภาพและมีพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัยมีอารมณ์ดีและสติปัญญาดีขึ้นมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

     

    2 เพื่อเป็นศูนย์ต้นแบบแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 10 โรงเรียน
    ตัวชี้วัด : นักเรียนชุมชนผู้ปกครอง และในโรงเรียนเครือข่ายมีเจตคติที่ดี มีความรู้ ในการทำเกษคร มีสุขภาพและมีพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัยมีอารมณ์ดีและสติปัญญาดีขึ้นมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

     

    3 เพื่อพัฒนาบุคลากร ชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่าย และภาคีเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    ตัวชี้วัด : มีความรู้ความสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่ายได้

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พื่อพัฒนาต่อยอดการจัดกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนจำนวน 14 ฐานการเรียนรู้ (การปลูกพืชผัก การปลูกไม้ผล การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเลี้ยงเป็ดเทศ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงด้วงสาคู การเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะถั่วงอก การเลี้ยงสุกร การเลี้ยงกบ การทำปุ๋ยชีวภาพ และการปลูกพืชเศรษฐกิจ) ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (2) เพื่อเป็นศูนย์ต้นแบบแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 10 โรงเรียน (3) เพื่อพัฒนาบุคลากร ชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่าย และภาคีเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์

    รหัสโครงการ ศรร.1412-108 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.17 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    กิจกรรมปลูกผักบุ้ง

    การปลูกผักบุ้ง ปลูกผักบุ้งครั้งเดียว เก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง โดยวิธีการตัดเว้นต้นตอไว้ แล้วใส่ปุ๋ยหมัก (รูปภาพ)

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์

    แต่ละชั้นเรียนจะมีเจ้าหน้าที่การเงินรับฝากทุกวัน พอถึงสิ้นเดือนเจ้าหน้าที่การเงินก็รวบรวมยอดเงินลงสมุดออมทรัพย์ แล้วเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ธกส. จะมาบริการรับฝากที่โรงเรียน (รูปภาพ สมุดออมทรัพย์ สมุดรับฝากเงิน)

    มีการทำบัญชี ฝากต่อเนื่องจนกว่าจะจบการศึกษา่ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    โครงการอาหารกลางวัน

    จัดเมนูอาหารโดยการใช้โปรแกรม Thai School Lunch

    ใช้โปรแกรม Thai School Lunch

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    ส่งเสริมสุขภาพ

    ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง นักเรียน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง แล้วนำข้อมูลลงระบบ (แบบบันทึกชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รูปภาพ)

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    กิจกรรมสุขาน่าใช้

    ทีมสภานักเรียนตรวจและดูแลความสะอาด เป็นประจำทุกวัน

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บ้านควนพระ
    • องค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี
    • วัดควนพระ

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    สภาพแวดล้อมสมบูรณ์

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    คณะทำงานและทีมงาม มีความสามัคคีในการทำงาน ชุมชนให้ความร่วมมือกับโรงเรียน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    มีการวางแผนในการทำงาน และทุกส่วนทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    ผู้ปกครองและชุมชน ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนเป็นอย่างดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    กิจกรรมลี้ยงปลาดุก เลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์ เมื่อครบระยะเวลาตามกำหนด ก็จะจัดจำหน่าย เป็นอาหารกลางของนักเรียน ส่งตลาด ขายในชุมชน จัดโชว์ผลงาน ขายสินค้าในวันวิชาการ เป็นที่ต้องการและยอมรับของชุมชน

    รูปถ่าย

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    โครงการอาหารกลางวัน จัดเมนูอาหาร โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch

    รูปถ่าย

    จัดกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    โครงการอาหารกลางวัน จัดเมนูอาหาร โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch

    รูปถ่าย

    จัดกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่
    • การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง นักเรียนภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    • จัดเมนูอาหารตามโปรแกรม

    มีการบันทึกข้อมูลในระบบ

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการติดตามแบบต่อเนื่อง

    มีการบันทึกข้อมูลในระบบและมีแบบบันทึก

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 2/12561 1/12561 2/1
    เตี้ย 0.42 0.42% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.41 0.41% 4.19 4.19% 4.80 4.80% 2.18 2.18% 0.50 0.50% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 0.42 0.42% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 2.47 2.47% 8.38 8.38% 7.42 7.42% 5.68 5.68% 5.53 5.53% 1.67 1.67% 1.26 1.26% 0.92 0.92% 0.92 0.92%
    ผอม 0.42 0.42% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.41 0.41% 5.24 5.24% 6.11 6.11% 3.49 3.49% 2.18 2.18% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 2.92 2.92% 1.67 1.67% 0.42 0.42% 1.65 1.65% 9.61 9.61% 13.10 13.10% 6.99 6.99% 5.68 5.68% 3.77 3.77% 3.35 3.35% 0.44 0.44% 0.44 0.44%
    อ้วน 1.67 1.67% 0.42 0.42% 2.52 2.52% 2.47 2.47% 9.17 9.17% 6.99 6.99% 8.30 8.30% 8.30 8.30% 4.18 4.18% 3.77 3.77% 0.88 0.88% 0.88 0.88%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 4.58% 4.58% 2.50% 2.50% 5.04% 5.04% 6.17% 6.17% 13.10% 13.10% 12.23% 12.23% 12.66% 12.66% 11.35% 11.35% 9.21% 9.21% 9.21% 9.21% 2.64% 2.64% 3.51% 3.51%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง
    • มีการติดตามนักเรียนและชั่งน้ำหนัก วัดส่วนของสูงภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    • การจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch
    • มีกิจกรรมการออกกำลังกาย ทุกวันพุธ

    แบบบันทึก และการบันทึกข้อมูลในระบบ

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง
    • มีการติดตามนักเรียนและชั่งน้ำหนัก วัดส่วนของสูงภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    • การจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch

    แบบบันทึก และการบันทึกข้อมูลในระบบ

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง
    • มีการติดตามนักเรียนและชั่งน้ำหนัก วัดส่วนของสูงภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    • การจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch

    แบบบันทึก และการบันทึกข้อมูลในระบบ

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร
    • มีการประชุมผู้ปกครอง แนะนำการรับประทานอาหารและ ดูแลอาหารให้แก่นักเรียน
    • มีการเยี่ยมบ้าน
    • แบบบันทึกการประชุม
    • รูปถ่าย

    ทำกิจกรรมแบบต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บ้านควนพระ
    • องค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี
    • วัดควนพระ

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านควนพระสาครินทร์ จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ ศรร.1412-108

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางพรรณชนกชลเจริญ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด