แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง
“ โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง ”
78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
หัวหน้าโครงการ
นายธัชชนันท์ จันทโกศล
ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง
ที่อยู่ 78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา
รหัสโครงการ ศรร.1412-115 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.4
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
กิตติกรรมประกาศ
"โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง
บทคัดย่อ
โครงการ " โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง " ดำเนินการในพื้นที่ 78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ศรร.1412-115 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 168 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน ๘ องค์ประกอบคือ
๑) การเกษตรในโรงเรียน
๒) สหกรณ์นักเรียน
๓) การจัดการบริหารของโรงเรียน
๔) การติดตามภาวะโภชนาการ
๕) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
๖) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
๗) การจัดบริการสุขภาพ และ
๘) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน ๔ ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๘) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๕๔๔ โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี จำนวน ๑,๔๙๒,๐๘๙ คน ใน ๗๖ จังหวัด ของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๕ พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ ๑๒.๕ เตี้ยร้อยละ ๑๖.๘ และระบุว่านักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ ๕๑.๖ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี ๒๕๔๔พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑.๒ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๒๓,๒๘๘ คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน ๕๙๐,๐๘๗ คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๕๘,๑๔๙ คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ๑) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ ๖๐ กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ ๔๐๐ กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ ๖๗.๔ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย ๕-๗ ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย ๓ ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง ๑๐ ช้อนชา และ๒) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น
จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่งจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ ๑ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทักษะทางด้านการเกษตร สหกรณ์อาหารโภชนาการและสุขภาพ
- เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอและปลอดภัยในการจัดบริการอาหารกลางวัน
นักเรียนในปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ตามโปรแกรม Thai School Lunch
- เพื่อให้นักเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคมและสติปัญญา
- เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกโรงเรียน
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
- โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
- พ่อแม่ผู้ปกครองแะคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน
- ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียน
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. การปลูกถั่วงอกคอนโด
วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับวิธีการเพาะถั่วงอกคอนโด โดยการสาธิตตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะถั่วงอก จนถึงวิธีการปฏิบัติเพาะถั่วงอกคอนโด
- ฝึกปฏิบัตินักเรียนเกี่ยวกับการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการเพาะถั่วงอกคอนโด ดังนี้
- การเตรียมถังดำ ขนาด 100 ลิตร เจาะรูที่ก้นถัง เพื่อระบายน้ำ
- การเตรียมกระสอบป่าน เพื่อทำให้ถังมีความชื้นอยู่สม่ำเสมอ โดยตัดให้มีลักษณะเป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นถัง
- การเตรียมตาข่ายพลาสติกสีดำ ตัดให้มีขนาดเดียวกับกระสอบป่าน
- จัดหาซื้อตะแกรงเหล็ก หรือ ตะกร้าที่มีลักษณะกลมเพื่อรองก้นถัง
- ฝึกนักเรียนปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการปลูกถั่วงอก ดังนี้
3.1 แช่ถั่วเขียวด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อยประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดถั่วเขียวพองตัว
3.2 เตรียมถังดำโดยชั้นแรกให้นำตะแกรงหรือตะกร้ามาวางที่ก้นถัง ตามด้วยตาข่ายพลาสติกสีดำและกระสอบป่านที่ชุ่มน้ำ แล้วจึงนำเมล็ดถั่วเขียวมาโรยบนชั้นกระสอบป่าน ประมาณ 3-4 กำมือ จากนั้นนำตาข่ายสีดำมาวางทับแล้วตามด้วยกระสอบป่าน โรยเมล็ดถั่วเขียวเป็นชั้นที่สองแล้วจึงปิดด้วยตาข่ายและกระสอบป่านอีกครั้ง โดยทำประมาณ 3-4 ชั้นสลับกัน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ปิดฝาถังพลาสติก
3.3 รดน้ำให้ชุ่มอยู่ตลอดเวลา โดยเฉลี่ย 2-3 ชั่วโมงครั้ง หรือ รดวันละ 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง เย็น ก็ได้
3.4 โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 วันจึงจะสามารถนำไปประกอบอาหารได้
3.5 การเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อครบกำหนดเวลาถั่วงอกจะงอกรากติดกับกระสอบป่าน ให้นำถั่วงอกในแต่ละชั้นมาตัดรากออก แล้วนำไปล้างทำความสะอาดเพื่อนำไปปรุงอาหารต่อไป
3.6 ส่วนวัสดุ อุปกรณ์ ยังคงสามารถใช้ทำต่อในคราวต่อไปได้ โดยจะต้องล้างทำความสะอาด และตากแดดให้แห้ง
- นำผลผลิตที่ได้ชั่งน้ำหนักส่งขายเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน โดยในการทำแต่ละครั้งจะใช้ถั่วเขียว 1 กิโลกรัม จะได้ถั่วงอก 5-6 กิโลกรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับการรดน้ำถั่วงอกในแต่ละครั้งที่ทำการเพาะ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนครูบุคลากรในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมการเพาะถั่วงอกคอนโด
- นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะถั่วงอกทำให้สามารถเพาะถั่วงอกที่สะอาดปลอดภัย ไว้รับประทานเองได้
- โรงเรียนมีถั่วงอกสัปดาห์ละ 5-6 กก. ต่อครั้งในการเพาะ เป็นผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนป้อนเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
24
24
2. กระดานโภชนาการ
วันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1.จัดซื้อกระดานไวท์บอร์ด 1 ป้าย เพื่อจัดทำเป็นป้ายนิเทศเมนูอาหารกลางวัน และสารอาหารหลัก 5 หมู่ ที่ได้รับในแต่ละวัน
2.จัดจ้าง ทำป้ายนิเทศไวนิล เรื่อง โภชนบัญญัติ 9 ประการ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
3.จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการเรื่องอาหารและโภชนาการให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และสุขศึกษา
4.ฝึกปฏิบัตินักเรียนในการแยกแยะส่วนประกอบของเมนูอาหารกลางวัน และสารอาหารที่ได้รับในเมนูอาหารกลางวันนั้น
5.ให้นักเรียนปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการเขียนเมนูอาหารกลางวันในแต่ละวัน และแยกสารอาหารที่ได้รับ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารกลางวันของนักเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ครูบุคลากรและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายสามารถแยกแยะสารอาหารหลัก 5 หมุู่ ที่ได้รับจากเมนูอาหารกลางวันได้
- ครูบุคลากรและนักเรียนสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสารอาหารสารอาหารหลัก 5 หมุู่ ที่ได้รับในเมนูอาหารกลางวันได้
- ครูบุคลากรและนักเรียนสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมได้
24
112
3. อบรมผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลภาวะโภชนาการนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สตคลองหอยโข่ง
วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:30 น.กิจกรรมที่ทำ
- เตรียมเอกสารประกอบการอบรม
- ประสานความร่วมมือเชิญวิทยากรผู้ให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลภาวะโภชนาการ จากหน่วยงานรพ.สต
- จัดเตรียมสถานที่ อาหารและเครื่องดื่ม
- จัดการอบรมผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับการสุขบัญญัตินักเรียนการเลือกรับประทานอาหาร ภาวะโภชนาการ รวมถึงการดูแลนักเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขบัญญัตินักเรียนโภชนาการนักเรียน
- ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลสุขภาวะโภชนาการนักเรียนทั้งที่่บ้านและที่่โรงเรียน
212
212
4. การปลูกพืชแบบผสมผสานครั้งที่ 1
วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและการดูแลผักเหลียง
- จัดซื้อต้นพันธุ์ ผักเหลียง จำนวน200ต้น
- การเตรียมแปลงปลูกผักเหลียงโดยภูมิปัญญาท้องเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมหลุม โดยให้ขุดลงประมาณ 1 ฟุตแล้วใส่ปุ๋ยคอกรองหลุม ประมาณ 2-3 กำมือและในแต่ละหลุมห่างกัน 1 เมตรโดยประมาณทั้ง 4 ด้าน
- สาธิตวิธีการปลูก ในการปลูกผักเหลียงให้ปลูกเอียงโดยลำต้นทำมุม45 องศากับพื้นดินเพื่อให้ตาที่อยู่บริเวณด้านข้างของลำต้นแตกออก ซึ่งจะปลูกในแนวเดียวกัน
- รดน้ำให้ชุ่มเพราะผักเหลียงเป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นโดยจะรดวันละ 1-2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศซึ่งอาจจะระบบน้ำหยดเพื่อสะดวกในการดูแล
- การดูแลใส่ปุ๋ย เราใช้สลับระหว่างปุ๋ยเคมีกับ ปุ๋ยชีวภาพคือเมื่อปลูกไปประมาณ 2สัปดาห์ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15เพื่อบำรุงต้นและเวลารดน้ำใช้น้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตรโดยอาจจะรดสัปดาห์ละครั้ง
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนหลังจากปลูกจึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
- จัดทำป้ายนิเทศความรู้เกี่ยวกับผักเหลียง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนสามารถ นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน
- โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตร เพื่อป้อนเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
100
76
5. อบรมเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและสารไล่แมลงชีวภาพ
วันที่ 24 สิงหาคม 2559 เวลา 14:30 น.กิจกรรมที่ทำ
- เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับนัำหมักชีวภาพ
- การเตรียมวัตถุดิบในการทำน้ำหมักชีวภาพ(พืช)ดังนี้
- จัดซื้อกากน้ำตาล อีเอ็ม(EM)ถังพลาสติกขนาด 200ลิตร
- จัดหาวัตถุดิบในการทำน้ำหมักได้แก่ พืชอวบน้ำ เช่น ผักบุ้งลำต้นกล้วย ส่วนที่เป็นดอกของพืช รวมถึงผลด้วยโดยถ้าจะเน้นบำรุงส่วนไหนก็เตรียมส่วนนั้นให้มากหรือจะใช้ในสัดส่วนที่เท่ากันก็ได้
- ฝึกอบรมนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพโดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้
- การเตรียมวัตถุดิบให้นำมาหั่น/สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
- เตรียมกากน้ำตาลโดยใช้กากน้ำตาลประมาณ 5 ลิตรค้นผสมกับน้ำประมาณ 100ลิตรให้เข้ากัน
- นำน้ำผสมกากน้ำตาลใส่ลงในถังขนาด 200 ลิตรลงไปประมาณครึ่งถัง ใส่ EM1 ลิตรคนให้เข้ากันแล้วจึงนำวัตถุดิบที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของถัง เพื่อให้มีพื้นที่วางสำหรับอากาศให้จุลินทรีย์หายใจแล้วกดให้วัตถุดิบจมน้ำถ้าหากไม่จมให้เติมน้ำ ให้มีลักษณะพอท่วมเศษวัตถุดิบแล้วจึงปิดฝาถังวางในบริเวณทีร่ม
- ในช่วงสัปดาห์ให้มาเขย่าถังเพื่อกระตุ้นการหมัก ปิดฝาเล็กน้อยเพื่อระบายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหมัก และสังเกตการหมักของจุลินทรีย์ถ้าเกิดฟองแก๊สหลังจากเขย่าแสดงว่าเกิดการหมักแต่ถ้าไม่เกิดหมักอาจจะเป็นเพราะว่าแหล่งอาหารของจุลินทรีย์น้อยไปให้เติมน้ำผสมกากน้ำตาล หรือ EM ลงไปในกรณีที่อาจจะมีจุลินทรีย์น้อยไปหรืออาจจะเติมไปทั้งสองอย่างก็ได้
-หลังจากหมักแล้ว 15 วัน ให้นำไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตรในการรดน้ำพืชส่วนเศษวัสดุให้นำออกมาใส่ในโคนต้นไม้เพื่อเป็นปุ๋ยด้วยเช่นกันหรือ อาจจะนำไปใช้สำหรับเตรียมดินสำหรับปลูกพืชโดยนำน้ำหมักไปรดลงไปในดินที่พรวนดินทิ้งไว้ 2-3 ครั้งก่อนทำการปลูกพืช
4. น้ำหมักชีวภาพที่ได้ สามารถนำไปใช้เป็นหัวเชื้อในการทำน้ำหมักครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องซื้อ EM
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
- โรงเรียนมีน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เป็นปุ๋ยในการดูแลพืชและการเตรียมดินของการเกษตรในโรงเรียน
32
65
6. การปลูกต้นหอมในขวดพลาสติก
วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 14:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.จัดซื้อดินชีวภาพสำหรับปลูกต้นหอม
2. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นหอมในขวดพลาสติกแก่นักเรียนโดยการวิธีการสาธิตและฝึกปฏิบัติจริงดังนี้
- การเตรียมขวดพลาสติกสำหรับปลูกโดยให้นักเรียนนำขวดพลาสติกที่เหลือใช้ นำมาตัดเป็น 2 ส่วน
- นำดินมาใส่ในขวดพลาสติก ด้านที่เป็นคอขวดประมาณ 4 ใน 5 ส่วนของขวด
- ใส่น้ำในขวดด้านที่เป็นก้นขวด จากนั้นนำขวดที่ใส่ดินมาวางไว้ด้านบน แล้วจึงนำหัวหอมมาปลูกลงในขวด (หัวหอมควรปาดด้านบนสักเล็กน้อยเพื่อง่ายต่อการงอก) รดน้ำให้ชุ่ม
- วางไว้บริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์สามารถตัดนำมาประกอบอาหารได้
3. การเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ใช้มีดตัดบริเวณโค่นต้นหอม สังเกตน้ำในขวดด้านล่างถ้าน้ำลดลงให้เติมน้ำในขวดด้านล่างให้เต็มซึ่งในการปลูกแต่ละครั้งสามารถตัดนำมาประกอบอาหารได้ 3-4 ครั้ง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนสามารถปฏิบัติการปลูกต้นหอมในขวดพลาสติกไว้รับประทานเองที่บ้านได้
- โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตร(ต้นหอม) ที่ปลอดภัยไว้ส่งเข้าโครงการอาหารกลางวัน
15
24
7. การปลูกพืชแบบผสมผสานครั้งที่ 2
วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- เตรียมพื้นที่ทำการปลูก ซึ่งเตรียมดินโดยการไถ่พรวนดิน ผสมกับปุ๋ยคอกเพื่อให้ดินร่วนซุยปรับผิวหน้าดินให้สม่ำเสมอกัน
- จัดหาซื้อพันธุ์ข้าวไร่จำนวน5ถัง
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยสาธิตวิธีการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว ในระหว่างร่องแปลงยางพาราอ่อนโดยจะต้องหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายห่างกัน ๆใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 15 กิโลกรัม
- ครูผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในระหว่างร่องแปลงยางพาราซึ่งเมล็ดพันธฺุ์ข้าวก็จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติต่อไป
- การเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 เดือนหลังจากที่ทำการหว่านข้าวไร่ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของพันธุ์ข้าวซึ่งใช้วิธีการเก็บด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า แกะ
- การเก็บรักษาเมื่อทำการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้นำข้าวมาตากแดดจัดๆประมาณ 2-3วันเพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าวทำให้สามารถเก็บไว้ได้นาน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนได้เรียนรู้บูรณาการด้านการเกษตรเรื่องการปลูกข้าวไร่
- นักเรียนมีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม
- โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตร ข้าวไร่เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน
62
125
8. การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง
วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกในกระชังมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 59 ถึง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 60 รวม 5 เดือน ที่สามารถนำปลาดุกมาทำเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียนได้
- สั่งซื้อกระชังปลา 2กระชังสำหรับปลาเล็ก และปลาใหญ่
- นำกระชังลงวางในบ่อโดยใช้เสายึดเป็นหลักทั้ง4ด้าน
- สั่งซื้อพันธุ์ปลาดุกขนาด3-4นิ้วจำนวน1000ตัวตัวละ1บาท
- นำพันธุ์ปลาดุกปล่อยในกระชังปลาเล็ก ให้อาหารปลาเล็กวันละ2ครั้งเช้า-เย็นครั้งละประมาณครึ่งกิโลกรัม (หรือสังเกตจากการกินอาหารของปลาไม่ให้มีเหลืออาหารลอยบริเวณผิวน้ำ)
- เมื่อปลาดุกใหญ่ได้ขนาดกลาง เปลี่ยนกระชัง และเปลี่ยนจากอาหารปลาเล็กเป็นอาหารปลาใหญ่ให้อาหารวันละ2ครั้งเช้า-เย็นโดยสังเกตจากการกินอาหารของปลาไม่ให้มีเหลืออาหารลอยบริเวณผิวน้ำ
- สังเกตเมือปลาได้ขนาดจึงสามารถจับมาบริโภคได้
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- โรงเรียนมีปลาดุก เพื่อสามารถป้อนเข้าสู่โครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
- นักเรียนมีทักษะในการเลี้ยงปลาดุก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเลี้ยงจริงที่บ้านได้
26
81
9. การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้
วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เริ่มดำเนินการวันที่ 4 ตุลาคม 59 - 30 พ.ย.59 ประมาณ 2 เดือน
- เตรียมโรงเรือนสำหรับให้พืชเลื้อย โดยขึ้นโครงสร้างเสาแล้วใช้ตาข่ายขึงด้านบนโรงเรือน
- เตรียมดิน ใส่ใที่ปลูกภาชนะสำหรับปลูก (ล้อยางรถยนต์)
- นำเมล็ดพืชปลูก ได้แก่ ผักบุ้ง มะเขือ ผักเหรียง ในภาชนะที่เตรียมไว้ จากนั้นคอยดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พืชเจริญเติบโต
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนสามารถเรียนรู้กระบวนการทำงาน และรู้จักการแก้ไขปัญหาได้
- สามารถนำผักที่ปลูกมาทำเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียนได้
160
158
10. รายงานปิดงวด 1
วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการรายงานกิจกรรม ดังนี้
1. การตรวจสอบเอกสารทางการเงินที่โรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรม ต้องตามระเบียบการเงินและพัสดุหรือไม่
2. ตรวจสอบการรายงานการบันทึกกิจรรมผ่านระบบออนไลน์
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- โรงเรียนสามารถจัดทำเอกสารทางการเงินได้ถูกต้องตามระเบียบการเงินและพัสดุ
- โรงเรียนสามารถรายงานกิจกรรมได้ทันตามเวลาที่กำหนด
2
3
11. การเพาะเห็ดนางฟ้า
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- เตรียมโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า
- สั่งซื้อก้อนเชื้อเห็ดจากฟาร์มเห็ด
- ฝึกให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ิยวกับวิธีการดูแลเห็ดนางฟ้า โดยลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน
3.1 การนำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามาวางในโรงเพาะเห็ด โดยจะวางซ้อนกันในลักษณะสับหว่าง 4 - 5 ชั้น ตามความเหมาะสม
3.2 การรดน้ำเห็ดนางฟ้า โดยจะรดวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น ซึ่งจะฉีดน้ำให้มีลักษณะเป็นละอองฝอยเล็กหน้าปากถุง หรือใช้บัวรดน้ำรดบริเวณเห็ดด้านบนของก้อนเชื้อเห็ด ห้ามไม่ให้เข้าปากถุงเพราะจะเป็นเชื้อราอ
3.3 การเก็บเห็ดนางฟ้า โดยให้จับบริเวณโคนเห็ดแล้วดึงออกตรงๆ จากปากถุง หรืออาจจะโยกโคนเห็ดเล็กน้อยก่อนดึง เพื่อไม่ให้รากติดในถุง ถ้าหากรากติดในถุงให้ใช้ปลายช้อนแคะรากออกมาให้หมดก่อน
3.4 การเตรียมเห็ดเพื่อจำหน่าย ให้ตัดตรงบริเวณโคนเห็ดเอาส่วนที่แข็งออกก่อนจึงจะจำหน่ายได้
- ส่งต่อสหกรณ์นักเรียน เพื่อจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนสามารถเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อจำหน่ายเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
- เป็นแหล่งเรียนรู้ เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า ให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในชุมชน
60
11
12. อบรมการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- เชิญวิทยาการจากหน่วยงานที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชี เช่น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- เตรียมสถานที่ อาหารว่าง เอกสารการอบรม
- ดำเนินงานตามแผน จัดอบรมเกี่ยวกับการทำบัญชีพอเพียง ดังนี้
1. วิทยากรอธิบายถึงข้อดี ของการทำบัญชีพอเพียง และข้อเสียของการทำบัญชีพอเพียง
2. ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทำตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อที่นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติจริงต่อไป
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนสามารถจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน
- รู้จักการออม
25
67
13. อบรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา 14:30 น.กิจกรรมที่ทำ
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน
- จัดเตรียมเอกสารใบความรู้ในการทำไส้เดือนดิน
- จัดเตรียมอาหารว่างให้ผู้เข้าอบรม
- จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.นักเรียนสามารถทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดินได้
2.นำปุ๋ยหมักทีได้ไปใส่ให้กับพืชผักสวนครัวที่ปลูก ทำให้ได้พืชผักที่ปลอดภัย
33
49
14. การแจกต้นกล้า
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- จัดหาซื้อต้นกล้าพืชผักสวนครัว ได้แก่ มะนาว มะละกอ มะเขือ พริก
- ประชุมชี้แจงผู้ปกครองเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการแจกต้นกล้า
- แจกต้นกล้าพืช ให้ผู้ปกครองนำไปปลูกที่บ้าน เพื่อนำใช้ในการประกอบอาหารให้กับครอบครัว
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผู้ปกครองได้รับต้นกล้าพืชผักสวนครัว นำไปปลูกที่บ้าน เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหารให้คนในครอบครัวรับประทาน
210
262
15. ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- จัดซื้ออบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
- แปรรูปกล้วยตาก เพื่อเป็นการถนอมอาหารไว้ใช้ในโครงการอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยตาก แบบถูกสุขอนามัย เพื่อใช้ในการรับประทานอาหารกลางวัน
34
38
16. การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ 2
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ปรับปรุงแปลงพืชผักสวนครัว
- จัดหาช่างในการทำแปลงผักสวนครัว
- จัดซื้อวัสดุในการทำแปลงผักสวนครัว
- จัดซื้อหน้าดินเพื่อใส่ในแปลงผัก
- เตรียมดิน โดยรองพื้นแปลงด้วยหญ้า 1 ใน 3 ส่วนของ แล้วรดน้ำหมักชีวภาพ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นผสมดินกับปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 3 : 1 แล้วรดน้ำหมักทิ้งไว้อีก 2-3 วัน จึงทำการปลูกพืชผักสวนครัว
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.โรงเรียนมีแปลงผักบุ้ง ผักเหรียง มะเขือ กระเจี๊ยบ ที่สามารถผลิตุวัตถุดิบในการปรุงอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
2.เกิดการสร้างการเรียนรู้ให้กับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
75
53
17. ถอนดอกเบี้ยโครงการ
วันที่ 3 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ถอนดอกเบี้ยคืนเงินโครงการ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
คืนดอกเบี้ย จำนวน 47.55 บาท
2
2
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทักษะทางด้านการเกษตร สหกรณ์อาหารโภชนาการและสุขภาพ
ตัวชี้วัด : 1.ครูบุคลากรภายในโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครองมีความรู้ ความสามารถ ในการเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้ร้อยละ 70
2
เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอและปลอดภัยในการจัดบริการอาหารกลางวัน
นักเรียนในปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ตามโปรแกรม Thai School Lunch
ตัวชี้วัด : 1. การจัดบริการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch
2. โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอในการจัดบริการอาหารกลางวัน
3
เพื่อให้นักเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคมและสติปัญญา
ตัวชี้วัด : 1.นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย
2.นักเรียนมีสุขภาพกายจิตใจ อารมณ์สังคมและสติปัญญาดี
4
เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกโรงเรียน
ตัวชี้วัด : 1.โรงเรียนเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ปกครองชุมชน
หน่วยงานภายนอก
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ
โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง จังหวัด สงขลา
รหัสโครงการ ศรร.1412-115
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( นายธัชชนันท์ จันทโกศล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง
“ โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง ”
78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาหัวหน้าโครงการ
นายธัชชนันท์ จันทโกศล
ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง
ที่อยู่ 78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา
รหัสโครงการ ศรร.1412-115 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.4
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
กิตติกรรมประกาศ
"โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง
บทคัดย่อ
โครงการ " โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง " ดำเนินการในพื้นที่ 78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ศรร.1412-115 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 168 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน ๘ องค์ประกอบคือ
๑) การเกษตรในโรงเรียน
๒) สหกรณ์นักเรียน
๓) การจัดการบริหารของโรงเรียน
๔) การติดตามภาวะโภชนาการ
๕) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
๖) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
๗) การจัดบริการสุขภาพ และ
๘) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน ๔ ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๘) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๕๔๔ โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี จำนวน ๑,๔๙๒,๐๘๙ คน ใน ๗๖ จังหวัด ของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๕ พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ ๑๒.๕ เตี้ยร้อยละ ๑๖.๘ และระบุว่านักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ ๕๑.๖ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี ๒๕๔๔พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑.๒ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๒๓,๒๘๘ คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน ๕๙๐,๐๘๗ คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๕๘,๑๔๙ คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ๑) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ ๖๐ กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ ๔๐๐ กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ ๖๗.๔ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย ๕-๗ ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย ๓ ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง ๑๐ ช้อนชา และ๒) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่งจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ ๑ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทักษะทางด้านการเกษตร สหกรณ์อาหารโภชนาการและสุขภาพ
- เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอและปลอดภัยในการจัดบริการอาหารกลางวัน นักเรียนในปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ตามโปรแกรม Thai School Lunch
- เพื่อให้นักเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคมและสติปัญญา
- เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกโรงเรียน
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
- โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
- พ่อแม่ผู้ปกครองแะคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน
- ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียน
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. การปลูกถั่วงอกคอนโด |
||
วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
24 | 24 |
2. กระดานโภชนาการ |
||
วันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ1.จัดซื้อกระดานไวท์บอร์ด 1 ป้าย เพื่อจัดทำเป็นป้ายนิเทศเมนูอาหารกลางวัน และสารอาหารหลัก 5 หมู่ ที่ได้รับในแต่ละวัน 2.จัดจ้าง ทำป้ายนิเทศไวนิล เรื่อง โภชนบัญญัติ 9 ประการ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ 3.จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการเรื่องอาหารและโภชนาการให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และสุขศึกษา 4.ฝึกปฏิบัตินักเรียนในการแยกแยะส่วนประกอบของเมนูอาหารกลางวัน และสารอาหารที่ได้รับในเมนูอาหารกลางวันนั้น 5.ให้นักเรียนปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการเขียนเมนูอาหารกลางวันในแต่ละวัน และแยกสารอาหารที่ได้รับ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารกลางวันของนักเรียน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
24 | 112 |
3. อบรมผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลภาวะโภชนาการนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สตคลองหอยโข่ง |
||
วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
212 | 212 |
4. การปลูกพืชแบบผสมผสานครั้งที่ 1 |
||
วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
100 | 76 |
5. อบรมเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและสารไล่แมลงชีวภาพ |
||
วันที่ 24 สิงหาคม 2559 เวลา 14:30 น.กิจกรรมที่ทำ
- การเตรียมวัตถุดิบให้นำมาหั่น/สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ - เตรียมกากน้ำตาลโดยใช้กากน้ำตาลประมาณ 5 ลิตรค้นผสมกับน้ำประมาณ 100ลิตรให้เข้ากัน - นำน้ำผสมกากน้ำตาลใส่ลงในถังขนาด 200 ลิตรลงไปประมาณครึ่งถัง ใส่ EM1 ลิตรคนให้เข้ากันแล้วจึงนำวัตถุดิบที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของถัง เพื่อให้มีพื้นที่วางสำหรับอากาศให้จุลินทรีย์หายใจแล้วกดให้วัตถุดิบจมน้ำถ้าหากไม่จมให้เติมน้ำ ให้มีลักษณะพอท่วมเศษวัตถุดิบแล้วจึงปิดฝาถังวางในบริเวณทีร่ม - ในช่วงสัปดาห์ให้มาเขย่าถังเพื่อกระตุ้นการหมัก ปิดฝาเล็กน้อยเพื่อระบายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหมัก และสังเกตการหมักของจุลินทรีย์ถ้าเกิดฟองแก๊สหลังจากเขย่าแสดงว่าเกิดการหมักแต่ถ้าไม่เกิดหมักอาจจะเป็นเพราะว่าแหล่งอาหารของจุลินทรีย์น้อยไปให้เติมน้ำผสมกากน้ำตาล หรือ EM ลงไปในกรณีที่อาจจะมีจุลินทรีย์น้อยไปหรืออาจจะเติมไปทั้งสองอย่างก็ได้ -หลังจากหมักแล้ว 15 วัน ให้นำไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตรในการรดน้ำพืชส่วนเศษวัสดุให้นำออกมาใส่ในโคนต้นไม้เพื่อเป็นปุ๋ยด้วยเช่นกันหรือ อาจจะนำไปใช้สำหรับเตรียมดินสำหรับปลูกพืชโดยนำน้ำหมักไปรดลงไปในดินที่พรวนดินทิ้งไว้ 2-3 ครั้งก่อนทำการปลูกพืช 4. น้ำหมักชีวภาพที่ได้ สามารถนำไปใช้เป็นหัวเชื้อในการทำน้ำหมักครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องซื้อ EM ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
32 | 65 |
6. การปลูกต้นหอมในขวดพลาสติก |
||
วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 14:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.จัดซื้อดินชีวภาพสำหรับปลูกต้นหอม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
15 | 24 |
7. การปลูกพืชแบบผสมผสานครั้งที่ 2 |
||
วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
62 | 125 |
8. การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง |
||
วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำกิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกในกระชังมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 59 ถึง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 60 รวม 5 เดือน ที่สามารถนำปลาดุกมาทำเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียนได้
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
26 | 81 |
9. การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ |
||
วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำเริ่มดำเนินการวันที่ 4 ตุลาคม 59 - 30 พ.ย.59 ประมาณ 2 เดือน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
160 | 158 |
10. รายงานปิดงวด 1 |
||
วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการรายงานกิจกรรม ดังนี้ 1. การตรวจสอบเอกสารทางการเงินที่โรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรม ต้องตามระเบียบการเงินและพัสดุหรือไม่ 2. ตรวจสอบการรายงานการบันทึกกิจรรมผ่านระบบออนไลน์ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
2 | 3 |
11. การเพาะเห็ดนางฟ้า |
||
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
60 | 11 |
12. อบรมการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย |
||
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
25 | 67 |
13. อบรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน |
||
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา 14:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.นักเรียนสามารถทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดินได้ 2.นำปุ๋ยหมักทีได้ไปใส่ให้กับพืชผักสวนครัวที่ปลูก ทำให้ได้พืชผักที่ปลอดภัย
|
33 | 49 |
14. การแจกต้นกล้า |
||
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผู้ปกครองได้รับต้นกล้าพืชผักสวนครัว นำไปปลูกที่บ้าน เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหารให้คนในครอบครัวรับประทาน
|
210 | 262 |
15. ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ |
||
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
34 | 38 |
16. การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ 2 |
||
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.โรงเรียนมีแปลงผักบุ้ง ผักเหรียง มะเขือ กระเจี๊ยบ ที่สามารถผลิตุวัตถุดิบในการปรุงอาหารกลางวันให้กับนักเรียน 2.เกิดการสร้างการเรียนรู้ให้กับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
|
75 | 53 |
17. ถอนดอกเบี้ยโครงการ |
||
วันที่ 3 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำถอนดอกเบี้ยคืนเงินโครงการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคืนดอกเบี้ย จำนวน 47.55 บาท
|
2 | 2 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทักษะทางด้านการเกษตร สหกรณ์อาหารโภชนาการและสุขภาพ ตัวชี้วัด : 1.ครูบุคลากรภายในโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครองมีความรู้ ความสามารถ ในการเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้ร้อยละ 70 |
||||
2 | เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอและปลอดภัยในการจัดบริการอาหารกลางวัน
นักเรียนในปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ตามโปรแกรม Thai School Lunch ตัวชี้วัด : 1. การจัดบริการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch 2. โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอในการจัดบริการอาหารกลางวัน |
||||
3 | เพื่อให้นักเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคมและสติปัญญา ตัวชี้วัด : 1.นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย 2.นักเรียนมีสุขภาพกายจิตใจ อารมณ์สังคมและสติปัญญาดี |
||||
4 | เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกโรงเรียน ตัวชี้วัด : 1.โรงเรียนเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ปกครองชุมชน หน่วยงานภายนอก |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ
โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง จังหวัด สงขลา
รหัสโครงการ ศรร.1412-115
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( นายธัชชนันท์ จันทโกศล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......