info
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านคลองหอยโข่ง
สังกัด ??
หน่วยงานต้นสังกัด ??
ที่อยู่โรงเรียน 78/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
จำนวนนักเรียน 156 คน
ช่วงชั้น อนุบาล,ประถม
ผู้อำนวยการ นายธัชชนันท์ จันทโกศล
ครูผู้รับผิดชอบ นางจีราวดี สิริรัตนจิตต์
restaurant_menu
ข้อมูลภาวะโภชนาการ
assignment
กิจกรรม
ถอนดอกเบี้ยโครงการจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 3 เม.ย. 60 น. @3 เม.ย. 60 13:26
รายละเอียด:

ถอนดอกเบี้ยคืนเงินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์:

คืนดอกเบี้ย  จำนวน  47.55 บาท

การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ 2จีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 27 ก.พ. 60 น. @30 มี.ค. 60 23:47
รายละเอียด:
  1. ปรับปรุงแปลงพืชผักสวนครัว
  2. จัดหาช่างในการทำแปลงผักสวนครัว
  3. จัดซื้อวัสดุในการทำแปลงผักสวนครัว
  4. จัดซื้อหน้าดินเพื่อใส่ในแปลงผัก
  5. เตรียมดิน โดยรองพื้นแปลงด้วยหญ้า 1 ใน 3  ส่วนของ  แล้วรดน้ำหมักชีวภาพ ทิ้งไว้ 1  สัปดาห์  จากนั้นผสมดินกับปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 3 : 1  แล้วรดน้ำหมักทิ้งไว้อีก 2-3 วัน  จึงทำการปลูกพืชผักสวนครัว
ผลผลิต/ผลลัพธ์:

1.โรงเรียนมีแปลงผักบุ้ง ผักเหรียง มะเขือ กระเจี๊ยบ ที่สามารถผลิตุวัตถุดิบในการปรุงอาหารกลางวันให้กับนักเรียน 2.เกิดการสร้างการเรียนรู้ให้กับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์จีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 27 ก.พ. 60 น. @30 มี.ค. 60 23:34
รายละเอียด:
  1. จัดซื้ออบพลังงานแสงอาทิตย์  เพื่อนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
  2. แปรรูปกล้วยตาก  เพื่อเป็นการถนอมอาหารไว้ใช้ในโครงการอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. นักเรียนสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยตาก  แบบถูกสุขอนามัย  เพื่อใช้ในการรับประทานอาหารกลางวัน
การแจกต้นกล้าจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 27 ก.พ. 60 น. @30 มี.ค. 60 23:23
รายละเอียด:
  1. จัดหาซื้อต้นกล้าพืชผักสวนครัว ได้แก่ มะนาว  มะละกอ  มะเขือ  พริก
  2. ประชุมชี้แจงผู้ปกครองเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการแจกต้นกล้า
  3. แจกต้นกล้าพืช  ให้ผู้ปกครองนำไปปลูกที่บ้าน เพื่อนำใช้ในการประกอบอาหารให้กับครอบครัว
ผลผลิต/ผลลัพธ์:

  ผู้ปกครองได้รับต้นกล้าพืชผักสวนครัว  นำไปปลูกที่บ้าน  เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหารให้คนในครอบครัวรับประทาน

อบรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดินจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 21 พ.ย. 59 น. @30 มี.ค. 60 23:29
รายละเอียด:
  1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน
  2. จัดเตรียมเอกสารใบความรู้ในการทำไส้เดือนดิน
  3. จัดเตรียมอาหารว่างให้ผู้เข้าอบรม
  4. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน
ผลผลิต/ผลลัพธ์:

1.นักเรียนสามารถทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดินได้ 2.นำปุ๋ยหมักทีได้ไปใส่ให้กับพืชผักสวนครัวที่ปลูก  ทำให้ได้พืชผักที่ปลอดภัย

อบรมการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 17 พ.ย. 59 น. @27 มี.ค. 60 15:32
รายละเอียด:
  • เชิญวิทยาการจากหน่วยงานที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชี เช่น  กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • เตรียมสถานที่  อาหารว่าง  เอกสารการอบรม
  • ดำเนินงานตามแผน จัดอบรมเกี่ยวกับการทำบัญชีพอเพียง  ดังนี้   1. วิทยากรอธิบายถึงข้อดี  ของการทำบัญชีพอเพียง  และข้อเสียของการทำบัญชีพอเพียง   2. ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทำตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่าย  เพื่อที่นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติจริงต่อไป  
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. นักเรียนสามารถจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน
  2. รู้จักการออม
การเพาะเห็ดนางฟ้าจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 7 พ.ย. 59 น. @27 มี.ค. 60 16:04
รายละเอียด:
  1. เตรียมโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า
  2. สั่งซื้อก้อนเชื้อเห็ดจากฟาร์มเห็ด
  3. ฝึกให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ิยวกับวิธีการดูแลเห็ดนางฟ้า  โดยลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน     3.1  การนำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามาวางในโรงเพาะเห็ด  โดยจะวางซ้อนกันในลักษณะสับหว่าง  4 - 5  ชั้น ตามความเหมาะสม     3.2  การรดน้ำเห็ดนางฟ้า  โดยจะรดวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น ซึ่งจะฉีดน้ำให้มีลักษณะเป็นละอองฝอยเล็กหน้าปากถุง  หรือใช้บัวรดน้ำรดบริเวณเห็ดด้านบนของก้อนเชื้อเห็ด  ห้ามไม่ให้เข้าปากถุงเพราะจะเป็นเชื้อราอ     3.3  การเก็บเห็ดนางฟ้า  โดยให้จับบริเวณโคนเห็ดแล้วดึงออกตรงๆ  จากปากถุง  หรืออาจจะโยกโคนเห็ดเล็กน้อยก่อนดึง  เพื่อไม่ให้รากติดในถุง  ถ้าหากรากติดในถุงให้ใช้ปลายช้อนแคะรากออกมาให้หมดก่อน
        3.4  การเตรียมเห็ดเพื่อจำหน่าย  ให้ตัดตรงบริเวณโคนเห็ดเอาส่วนที่แข็งออกก่อนจึงจะจำหน่ายได้
  4. ส่งต่อสหกรณ์นักเรียน  เพื่อจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. นักเรียนสามารถเพาะเห็ดนางฟ้า  เพื่อจำหน่ายเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
  2. เป็นแหล่งเรียนรู้  เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า  ให้กับผู้ปกครอง  หน่วยงานในชุมชน
รายงานปิดงวด 1นางสาวอาภรณ์ ปานณรงค์ เมื่อ 12 ต.ค. 59 น. @10 ก.พ. 60 15:03
รายละเอียด:

ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการรายงานกิจกรรม  ดังนี้ 1. การตรวจสอบเอกสารทางการเงินที่โรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรม  ต้องตามระเบียบการเงินและพัสดุหรือไม่ 2. ตรวจสอบการรายงานการบันทึกกิจรรมผ่านระบบออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. โรงเรียนสามารถจัดทำเอกสารทางการเงินได้ถูกต้องตามระเบียบการเงินและพัสดุ
  2. โรงเรียนสามารถรายงานกิจกรรมได้ทันตามเวลาที่กำหนด
การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้นางสาวอาภรณ์ ปานณรงค์ เมื่อ 4 ต.ค. 59 น. @7 มี.ค. 60 13:55
รายละเอียด:

เริ่มดำเนินการวันที่ 4 ตุลาคม 59 - 30 พ.ย.59 ประมาณ 2 เดือน

  1. เตรียมโรงเรือนสำหรับให้พืชเลื้อย  โดยขึ้นโครงสร้างเสาแล้วใช้ตาข่ายขึงด้านบนโรงเรือน
  2. เตรียมดิน  ใส่ใที่ปลูกภาชนะสำหรับปลูก (ล้อยางรถยนต์)
  3. นำเมล็ดพืชปลูก ได้แก่ ผักบุ้ง มะเขือ ผักเหรียง  ในภาชนะที่เตรียมไว้  จากนั้นคอยดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้พืชเจริญเติบโต
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  • นักเรียนสามารถเรียนรู้กระบวนการทำงาน  และรู้จักการแก้ไขปัญหาได้
  • สามารถนำผักที่ปลูกมาทำเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียนได้
การเลี้ยงปลาดุกในกระชังนางสาวอาภรณ์ ปานณรงค์ เมื่อ 1 ต.ค. 59 น. @10 ก.พ. 60 15:28
รายละเอียด:

กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกในกระชังมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 59 ถึง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 60 รวม 5 เดือน ที่สามารถนำปลาดุกมาทำเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียนได้

  1. สั่งซื้อกระชังปลา 2กระชังสำหรับปลาเล็ก และปลาใหญ่
  2. นำกระชังลงวางในบ่อโดยใช้เสายึดเป็นหลักทั้ง4ด้าน
  3. สั่งซื้อพันธุ์ปลาดุกขนาด3-4นิ้วจำนวน1000ตัวตัวละ1บาท
  4. นำพันธุ์ปลาดุกปล่อยในกระชังปลาเล็ก ให้อาหารปลาเล็กวันละ2ครั้งเช้า-เย็นครั้งละประมาณครึ่งกิโลกรัม (หรือสังเกตจากการกินอาหารของปลาไม่ให้มีเหลืออาหารลอยบริเวณผิวน้ำ)
  5. เมื่อปลาดุกใหญ่ได้ขนาดกลาง เปลี่ยนกระชัง และเปลี่ยนจากอาหารปลาเล็กเป็นอาหารปลาใหญ่ให้อาหารวันละ2ครั้งเช้า-เย็นโดยสังเกตจากการกินอาหารของปลาไม่ให้มีเหลืออาหารลอยบริเวณผิวน้ำ
  6. สังเกตเมือปลาได้ขนาดจึงสามารถจับมาบริโภคได้
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. โรงเรียนมีปลาดุก  เพื่อสามารถป้อนเข้าสู่โครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
  2. นักเรียนมีทักษะในการเลี้ยงปลาดุก  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเลี้ยงจริงที่บ้านได้
การปลูกพืชแบบผสมผสานครั้งที่ 2 จีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 15 ก.ย. 59 น. @28 ก.ย. 59 08:53
รายละเอียด:
  1. เตรียมพื้นที่ทำการปลูก ซึ่งเตรียมดินโดยการไถ่พรวนดิน ผสมกับปุ๋ยคอกเพื่อให้ดินร่วนซุยปรับผิวหน้าดินให้สม่ำเสมอกัน
  2. จัดหาซื้อพันธุ์ข้าวไร่จำนวน5ถัง
  3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยสาธิตวิธีการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว ในระหว่างร่องแปลงยางพาราอ่อนโดยจะต้องหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายห่างกัน ๆใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 15 กิโลกรัม
  4. ครูผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในระหว่างร่องแปลงยางพาราซึ่งเมล็ดพันธฺุ์ข้าวก็จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติต่อไป
  5. การเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 เดือนหลังจากที่ทำการหว่านข้าวไร่ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของพันธุ์ข้าวซึ่งใช้วิธีการเก็บด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า แกะ
  6. การเก็บรักษาเมื่อทำการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้นำข้าวมาตากแดดจัดๆประมาณ 2-3วันเพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าวทำให้สามารถเก็บไว้ได้นาน
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. นักเรียนได้เรียนรู้บูรณาการด้านการเกษตรเรื่องการปลูกข้าวไร่
  2. นักเรียนมีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม
  3. โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตร ข้าวไร่เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน
การปลูกต้นหอมในขวดพลาสติกจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 26 ส.ค. 59 น. @27 ก.ย. 59 16:17
รายละเอียด:

1.จัดซื้อดินชีวภาพสำหรับปลูกต้นหอม
2. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นหอมในขวดพลาสติกแก่นักเรียนโดยการวิธีการสาธิตและฝึกปฏิบัติจริงดังนี้ - การเตรียมขวดพลาสติกสำหรับปลูกโดยให้นักเรียนนำขวดพลาสติกที่เหลือใช้ นำมาตัดเป็น 2 ส่วน - นำดินมาใส่ในขวดพลาสติก ด้านที่เป็นคอขวดประมาณ 4 ใน 5 ส่วนของขวด
- ใส่น้ำในขวดด้านที่เป็นก้นขวด จากนั้นนำขวดที่ใส่ดินมาวางไว้ด้านบน แล้วจึงนำหัวหอมมาปลูกลงในขวด (หัวหอมควรปาดด้านบนสักเล็กน้อยเพื่อง่ายต่อการงอก) รดน้ำให้ชุ่ม - วางไว้บริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์สามารถตัดนำมาประกอบอาหารได้ 3. การเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ใช้มีดตัดบริเวณโค่นต้นหอม สังเกตน้ำในขวดด้านล่างถ้าน้ำลดลงให้เติมน้ำในขวดด้านล่างให้เต็มซึ่งในการปลูกแต่ละครั้งสามารถตัดนำมาประกอบอาหารได้ 3-4 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. นักเรียนสามารถปฏิบัติการปลูกต้นหอมในขวดพลาสติกไว้รับประทานเองที่บ้านได้
  2. โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตร(ต้นหอม) ที่ปลอดภัยไว้ส่งเข้าโครงการอาหารกลางวัน
การปลูกพืชแบบผสมผสานครั้งที่ 1จีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 29 ก.ค. 59 น. @27 ก.ย. 59 16:12
รายละเอียด:
  1. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและการดูแลผักเหลียง
  2. จัดซื้อต้นพันธุ์ ผักเหลียง จำนวน200ต้น
  3. การเตรียมแปลงปลูกผักเหลียงโดยภูมิปัญญาท้องเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมหลุม โดยให้ขุดลงประมาณ 1 ฟุตแล้วใส่ปุ๋ยคอกรองหลุม ประมาณ 2-3 กำมือและในแต่ละหลุมห่างกัน 1 เมตรโดยประมาณทั้ง 4 ด้าน
  4. สาธิตวิธีการปลูก ในการปลูกผักเหลียงให้ปลูกเอียงโดยลำต้นทำมุม45 องศากับพื้นดินเพื่อให้ตาที่อยู่บริเวณด้านข้างของลำต้นแตกออก ซึ่งจะปลูกในแนวเดียวกัน
  5. รดน้ำให้ชุ่มเพราะผักเหลียงเป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นโดยจะรดวันละ 1-2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศซึ่งอาจจะระบบน้ำหยดเพื่อสะดวกในการดูแล
  6. การดูแลใส่ปุ๋ย เราใช้สลับระหว่างปุ๋ยเคมีกับ ปุ๋ยชีวภาพคือเมื่อปลูกไปประมาณ 2สัปดาห์ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15เพื่อบำรุงต้นและเวลารดน้ำใช้น้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตรโดยอาจจะรดสัปดาห์ละครั้ง
  7. การเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนหลังจากปลูกจึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
  8. จัดทำป้ายนิเทศความรู้เกี่ยวกับผักเหลียง
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. นักเรียนสามารถ  นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน
  2. โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตร  เพื่อป้อนเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
อบรมเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและสารไล่แมลงชีวภาพจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 24 ส.ค. 59 น. @27 ก.ย. 59 16:26
รายละเอียด:
  1. เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับนัำหมักชีวภาพ
  2. การเตรียมวัตถุดิบในการทำน้ำหมักชีวภาพ(พืช)ดังนี้
    • จัดซื้อกากน้ำตาล อีเอ็ม(EM)ถังพลาสติกขนาด 200ลิตร
    • จัดหาวัตถุดิบในการทำน้ำหมักได้แก่ พืชอวบน้ำ เช่น ผักบุ้งลำต้นกล้วย ส่วนที่เป็นดอกของพืช รวมถึงผลด้วยโดยถ้าจะเน้นบำรุงส่วนไหนก็เตรียมส่วนนั้นให้มากหรือจะใช้ในสัดส่วนที่เท่ากันก็ได้
  3. ฝึกอบรมนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพโดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้

- การเตรียมวัตถุดิบให้นำมาหั่น/สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ - เตรียมกากน้ำตาลโดยใช้กากน้ำตาลประมาณ 5 ลิตรค้นผสมกับน้ำประมาณ 100ลิตรให้เข้ากัน - นำน้ำผสมกากน้ำตาลใส่ลงในถังขนาด 200 ลิตรลงไปประมาณครึ่งถัง ใส่ EM1 ลิตรคนให้เข้ากันแล้วจึงนำวัตถุดิบที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของถัง เพื่อให้มีพื้นที่วางสำหรับอากาศให้จุลินทรีย์หายใจแล้วกดให้วัตถุดิบจมน้ำถ้าหากไม่จมให้เติมน้ำ ให้มีลักษณะพอท่วมเศษวัตถุดิบแล้วจึงปิดฝาถังวางในบริเวณทีร่ม - ในช่วงสัปดาห์ให้มาเขย่าถังเพื่อกระตุ้นการหมัก ปิดฝาเล็กน้อยเพื่อระบายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหมัก และสังเกตการหมักของจุลินทรีย์ถ้าเกิดฟองแก๊สหลังจากเขย่าแสดงว่าเกิดการหมักแต่ถ้าไม่เกิดหมักอาจจะเป็นเพราะว่าแหล่งอาหารของจุลินทรีย์น้อยไปให้เติมน้ำผสมกากน้ำตาล หรือ EM ลงไปในกรณีที่อาจจะมีจุลินทรีย์น้อยไปหรืออาจจะเติมไปทั้งสองอย่างก็ได้ -หลังจากหมักแล้ว 15 วัน ให้นำไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตรในการรดน้ำพืชส่วนเศษวัสดุให้นำออกมาใส่ในโคนต้นไม้เพื่อเป็นปุ๋ยด้วยเช่นกันหรือ อาจจะนำไปใช้สำหรับเตรียมดินสำหรับปลูกพืชโดยนำน้ำหมักไปรดลงไปในดินที่พรวนดินทิ้งไว้ 2-3 ครั้งก่อนทำการปลูกพืช 4. น้ำหมักชีวภาพที่ได้ สามารถนำไปใช้เป็นหัวเชื้อในการทำน้ำหมักครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องซื้อ EM

ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
  2. โรงเรียนมีน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เป็นปุ๋ยในการดูแลพืชและการเตรียมดินของการเกษตรในโรงเรียน
อบรมผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลภาวะโภชนาการนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สตคลองหอยโข่งจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 14 ก.ค. 59 น. @27 ก.ย. 59 16:00
รายละเอียด:
  1. เตรียมเอกสารประกอบการอบรม
  2. ประสานความร่วมมือเชิญวิทยากรผู้ให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลภาวะโภชนาการ จากหน่วยงานรพ.สต
  3. จัดเตรียมสถานที่ อาหารและเครื่องดื่ม
  4. จัดการอบรมผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับการสุขบัญญัตินักเรียนการเลือกรับประทานอาหาร ภาวะโภชนาการ รวมถึงการดูแลนักเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขบัญญัตินักเรียนโภชนาการนักเรียน
  2. ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลสุขภาวะโภชนาการนักเรียนทั้งที่่บ้านและที่่โรงเรียน
กระดานโภชนาการจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 24 พ.ค. 59 น. @27 ก.ย. 59 15:49
รายละเอียด:

1.จัดซื้อกระดานไวท์บอร์ด  1  ป้าย  เพื่อจัดทำเป็นป้ายนิเทศเมนูอาหารกลางวัน  และสารอาหารหลัก 5 หมู่ ที่ได้รับในแต่ละวัน 2.จัดจ้าง ทำป้ายนิเทศไวนิล  เรื่อง  โภชนบัญญัติ  9  ประการ  เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ 3.จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการเรื่องอาหารและโภชนาการให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย  ในรายวิชาวิทยาศาสตร์  และสุขศึกษา 4.ฝึกปฏิบัตินักเรียนในการแยกแยะส่วนประกอบของเมนูอาหารกลางวัน  และสารอาหารที่ได้รับในเมนูอาหารกลางวันนั้น 5.ให้นักเรียนปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการเขียนเมนูอาหารกลางวันในแต่ละวัน และแยกสารอาหารที่ได้รับ  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารกลางวันของนักเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. ครูบุคลากรและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายสามารถแยกแยะสารอาหารหลัก 5 หมุู่  ที่ได้รับจากเมนูอาหารกลางวันได้
  2. ครูบุคลากรและนักเรียนสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสารอาหารสารอาหารหลัก 5 หมุู่ ที่ได้รับในเมนูอาหารกลางวันได้
  3. ครูบุคลากรและนักเรียนสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมได้
การปลูกถั่วงอกคอนโดจีราวดี สิริรัตนจิตต์ เมื่อ 23 พ.ค. 59 น. @27 ก.ย. 59 16:33
รายละเอียด:
  1. ครูให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับวิธีการเพาะถั่วงอกคอนโด  โดยการสาธิตตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะถั่วงอก  จนถึงวิธีการปฏิบัติเพาะถั่วงอกคอนโด
  2. ฝึกปฏิบัตินักเรียนเกี่ยวกับการเตรียมวัสดุอุปกรณ์  ในการเพาะถั่วงอกคอนโด ดังนี้     -  การเตรียมถังดำ  ขนาด  100  ลิตร  เจาะรูที่ก้นถัง  เพื่อระบายน้ำ     -  การเตรียมกระสอบป่าน  เพื่อทำให้ถังมีความชื้นอยู่สม่ำเสมอ  โดยตัดให้มีลักษณะเป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นถัง     -  การเตรียมตาข่ายพลาสติกสีดำ  ตัดให้มีขนาดเดียวกับกระสอบป่าน     -  จัดหาซื้อตะแกรงเหล็ก หรือ ตะกร้าที่มีลักษณะกลมเพื่อรองก้นถัง
  3. ฝึกนักเรียนปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการปลูกถั่วงอก  ดังนี้   3.1 แช่ถั่วเขียวด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อยประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดถั่วเขียวพองตัว   3.2 เตรียมถังดำโดยชั้นแรกให้นำตะแกรงหรือตะกร้ามาวางที่ก้นถัง  ตามด้วยตาข่ายพลาสติกสีดำและกระสอบป่านที่ชุ่มน้ำ  แล้วจึงนำเมล็ดถั่วเขียวมาโรยบนชั้นกระสอบป่าน  ประมาณ 3-4  กำมือ จากนั้นนำตาข่ายสีดำมาวางทับแล้วตามด้วยกระสอบป่าน  โรยเมล็ดถั่วเขียวเป็นชั้นที่สองแล้วจึงปิดด้วยตาข่ายและกระสอบป่านอีกครั้ง  โดยทำประมาณ  3-4 ชั้นสลับกัน  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม  ปิดฝาถังพลาสติก   3.3 รดน้ำให้ชุ่มอยู่ตลอดเวลา  โดยเฉลี่ย  2-3  ชั่วโมงครั้ง  หรือ รดวันละ 3 เวลา  คือ เช้า  เที่ยง  เย็น  ก็ได้   3.4 โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 วันจึงจะสามารถนำไปประกอบอาหารได้
      3.5 การเก็บเกี่ยวผลผลิต  เมื่อครบกำหนดเวลาถั่วงอกจะงอกรากติดกับกระสอบป่าน  ให้นำถั่วงอกในแต่ละชั้นมาตัดรากออก  แล้วนำไปล้างทำความสะอาดเพื่อนำไปปรุงอาหารต่อไป   3.6 ส่วนวัสดุ  อุปกรณ์  ยังคงสามารถใช้ทำต่อในคราวต่อไปได้  โดยจะต้องล้างทำความสะอาด  และตากแดดให้แห้ง
  4. นำผลผลิตที่ได้ชั่งน้ำหนักส่งขายเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน โดยในการทำแต่ละครั้งจะใช้ถั่วเขียว 1  กิโลกรัม  จะได้ถั่วงอก  5-6  กิโลกรัม  ซึ่งขึ้นอยู่กับการรดน้ำถั่วงอกในแต่ละครั้งที่ทำการเพาะ
ผลผลิต/ผลลัพธ์:
  1. นักเรียนครูบุคลากรในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมการเพาะถั่วงอกคอนโด
  2. นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะถั่วงอกทำให้สามารถเพาะถั่วงอกที่สะอาดปลอดภัย ไว้รับประทานเองได้
  3. โรงเรียนมีถั่วงอกสัปดาห์ละ  5-6  กก. ต่อครั้งในการเพาะ  เป็นผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนป้อนเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน