โรงเรียนบ้านโนนเมือง

การปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสานและผักกางมุ้ง17 มกราคม 2560
17
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เผ่า วามะลุน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ประชุมครู นักเรียน แจ้งรายละเอียดตามแผนการดำเนินงานที่ 2 เกษตรในโรงเรียน  กิจกรรมที่  2.6 การปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสานและผักกางมุ้ง
2) จัดทำโรงเรือนการปลูกผักกางมุ้งที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน  จำนวน  18,200  บาท 3) จัดครูและนักเรียนรับผิดชอบกลุ่มอาชีพการปลูกผักกางมุ้งโดยสมัครใจและมอบเงินงบประมาณที่เหลือการดำเนินงานในปีที่  1 จำนวน  1,700  บาท ให้ดำเนินการปลูกผักกางมุ้งและพืชผักสวนครัวอื่นๆ
4) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการปลูกผักกางมุ้งตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active  Learning  จำนวน  40  แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้  ตั้งแต่ เวลา 14.30-15.30 น.ทุกวัน 5) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพปลูกผักกางมุ้ง ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันวางแผนร่วมกันในการปลูกผัก  เพื่อผลิตส่งจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนสู่อาหารกลางวันต่อไป 6) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพปลูกผักกางมุ้ง  จัดทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน และรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ เงินส่วนหนึ่งจัดสรรเป็นค่าแรงนักเรียนเพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียนด้วย 7) การปลูกผักกางมุ้งจะปลอดจากแมลงและสารเคมี  เพราะนำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักจากกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอาหารหลักแก่พืชผักสวนครัว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1) นักเรียนมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกสวนครัวแบบกางมุ้งและสามารถปลูกผัก  ดูแลรักษาผักได้ 2) นักเรียนมีผลผลิตเป็นผักปลอดสารพิษจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียน และโครงการอาหารกลางวันได้ตามฤดูกาล ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดที่ดีต่อการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภค 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เข้าใจในความจำเป็นต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้านพืชผักสวนครัว