ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านโนนเมือง |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ |
จำนวนนักเรียน | 83 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นายเผ่า วามะลุน |
ครูผู้รับผิดชอบ | นายฤทธิเดช ศรีเมือง |
คืนดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการ
คืนดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการเรียบร้อย
ประชุมผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน และภาคีเครือข่าย ถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
ขั้นตอนและกระบวนการ
1) ทบทวนความเป็นมาของโครงการ ศรร. การจัดทำข้อเสนอโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) แจ้งผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานของโครงการ ศรร.ทุกกิจกรรม ทั้งด้านโภชนาการ สุขภาพนักเรียนและผลการเรียน
3) อภิปรายจุดเด่น นวัตกรรมที่ได้จากการดำเนินงานตามโครงการ ศรร.
4) อภิปรายจุดด้อย/ปัญหาและอุปสรรค จากการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน 4 แผนการดำเนินงาน
5) อภิปรายถึงการดำเนินงานหลังปิดโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ว่าโรงเรียน ครู ชุมชน ผู้ปกครอง มีความต้องการอย่างไร
ผลผลิต(Output) 1) การระดมความคิด/ความร่วมมือ ทำให้ทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน 2) ทราบปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน 3) ทราบแนวทางในการพัฒนางานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)เพื่อต่อยอดของโครงการ ผลลัพธ์(Outcome) 1) เจตคติและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี สุขภาพดีและผลการเรียนดีและเกิดความมั่นคงทางอาหารในชุมชน
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนและนักเรียนแกนนำ ตามแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน กิจกรรมที่ 3.3 การทำขนมไทย 3) จัดหาวัสดุอุปกรณ์และวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นสอนการทำขนมไทยแก่นักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนตามที่นักเรียนสนใจ 4) นักเรียนแกนนำร่วมกันสรุปและจัดทำโครงงานนำเสนอองค์ความรู้การทำขนมไทยแก่เพื่อนๆนักเรียน ครูและผู้ปกครอง ตลอดจนผู้สนใจ 5) ครูและนักเรียนจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายการจำหน่ายขนมไทยแก่สหกรณ์นักเรียน โครงการอาหารกลางวัน ผู้ปกครอง หรือ ชุมชน โดยสามารถนำเสนอกำไร ขาดทุนได้ 6) ครูและนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนจัดทำรายงานผลการดำเนินงานทำขนมไทยเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต 1) นักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนสามารถทำขนมไทยได้ 2) ร้านค้าสหกรณ์นักเรียนมีขนมไทยจำหน่ายแก่สมาชิกสหกรณ์นักเรียน 3) โครงการอาหารกลางวันมีขนมไทยไว้บริการแก่นักเรียนได้ตามเมนูอาหารกลางวัน ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการทำขนมไทย 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความคิดที่ดีต่อการสนับสนุนให้นักเรียนทำขนมไทยเพื่อสุขภาพ
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายครู นักเรียนรับผิดชอบกลุ่มงานการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้าตามที่โรงเรียนได้ทำบันทึกข้อตกลงกับโครงการ 3) จัดทำโรงเรือนเห็ดตามที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 12,800 บาท 4) จัดซื้อก้อนเห็ดนางฟ้าด้วยงบประมาณที่ได้รับจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 20,000 บาท เพื่อจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารกลางวัน ตั้งแต่เริ่มเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 5) จัดซื้อ/จัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ทำเห็ดนางฟ้าและจ้างวิทยากรภายนอกสอนกระบวนการทำเห็ดนางฟ้า งบประมาณตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) จำนวน 20,000 บาท 6) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้า ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา 14.30 - 15.30 น. ทุกวัน 7) ครูและนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้า จัดจำหน่ายเห็ดแก่สหกรณ์นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและตลาดสด ตลอดจนทำบัญชีรับ-จ่ายและรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน 8) ครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและปลูกเห็ดนางฟ้าต้องสามารถนำเสนอองค์ความรู้ที่ตนเองรับผิดชอบแก่ผู้สนใจเรียนรู้ได้อย่างคล่องแคล่ว
ผลผลิต 1) ครู นักเรียนที่รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและปลูกเห็ดมีทักษะในการทำเห็ดและปลูกเห็ด 2) นักเรียนมีก้อนเห็ด มีเห็ดจำหน่ายให้แก่โครงการอาหารกลางวัน ชุมชน ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ด 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีต่ออาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดและให้การสนับสนุนอย่างดี 3) ผู้ปกครอง ชุมชน มองเห็นคุณค่าของการทำเห็ดและปลูกเห็ดเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ครอบครัว ชุมชน
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนแจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่ 4 เปิดโลกทัศน์ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส กิจกรรมที่ 4.1 เผยแพร่และประชา สัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในรูปแบบต่าง ๆ โดยจัดทำป้ายแสดงผลงานตามแผนการดำเนินงานทั้งหมดและป้ายพระบรมฉายาลักษณ์เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(เจ้าฟ้านักโภชนาการ) 3) นำผลงาน...หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม...ที่โรงเรียนบ้านโนนเมืองภาคภูมิใจ คือ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ที่บูรณาการเป็นกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้...หนึ่งกลุ่ม หนึ่งอาชีพ...แสดงในงานเปิดบ้านวิชาการ(Open house)ของอำเภอหัวตะพาน ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 4) มอบผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ไปจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์นำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 10 กลุ่มอาชีพ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(Active Learning) ที่สนองนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตลอดจนภาพกิจกรรมของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองขึ้นเวปไซต์ทั้งหมด 5) ครูผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการเสนอผลการดำเนินงานให้ทราบเป็นระยะๆ และจัดแสดงรูปแบบโครงงานผลงานที่นักเรียนแต่ละกลุ่มอาชีพนำเสนอไว้ในห้องศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง เพื่อประชาสัมพันธ์แก่สาธารณชนและเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(เจ้าฟ้านักโภชนาการ) อีกทางหนึ่งด้วย
ผลผลิต 1) มีการประชาสัมพันธ์โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองอย่างหลากหลาย 2) มีเวปไซต์แสดงผลงานของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนบ้านโนนเมือง และทั่วๆไปรู้จักโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง 2) ผู้ปกครองและชุมชนตระหนักและเห็นคุณค่าของการดูแลโภชนาการและสุขภาพบุตรหลานอย่างครบวงจรอันเนื่องมาจากความมั่นคงทางด้านอาหารของครอบครัว 3) สาธารณชนทั่วไปรู้จักผลงานและเป้าหมายโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)อย่างแพร่หลาย
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนแจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียน จัดนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนเพื่อรับผิดชอบกิจกรรมการเพาะถั่วงอก 3) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะเพาะถั่วงอก แล้วให้ความรู้แก่นักเรียนถึงคุณค่าของถั่วงอก วิธีการเพาะถั่วงอกจนเกิดความเข้าใจ 4) ครูนำนักเรียนลงมือเพาะถั่วงอก จดบันทึกขั้นตอนและการเจริญเติบโต หรือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 5) นักเรียนสรุปและนำเสนอขั้นตอนการเพาะถั่วงอก ตลอดจนจัดทำบัญชีรายรัย-รายจ่ายจากการจำหน่ายผลผลิตได้ 6) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน กิจกรรมที่ 3.2 การเพาะถั่วงอก บันทึกรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต 1) นักเรียนเพาะถั่วงอกเป็น 2) นักเรียนนำเสนอขั้นตอนและวิธีการเพาะถั่วงอกได้ 3) นักเรียนมีถั่วงอกจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารตลอดจนสร้างรายได้แก่นักเรียนเอง ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกิจกรรมการเพาะถั่วงอก 2) ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีและเห็นความสำคัญของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานที่ 2 เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2.3 การเลี้ยงหมูป่า 2) มอบหมายครูและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูโดยความสมัครใจ 3) จัดหาวัสดุอุปกรณ์และจัดทำคอกหมูป่าเพื่อเตรียมที่ให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์ 4) ครู นักเรียน มอบหมายหน้าที่และแบ่งความรับผิดชอบประจำวันในการดูแล รักษาและให้อาหารหมู 5) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูป่า ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Leatning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่ เวลา 14.30-15.30 น. ทุกวัน 6) ครู นักเรียนจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายในกิจกรรมการเลี้ยงหมูป่าและรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ผลผลิต 1) ครู นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดประสบการณ์ในการเลี้ยงหมูป่า 2) ครู นักเรียนมีความสามารถและทักษะในการขยายพันธุ์และดูแลรักษาลูกหมูป่าได้ 3) มีลูกหมูป่าไว้ขุน หรือจำหน่ายในโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีต่อกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูป่าและให้การสนับสนุนอย่างดี
1) ประชุมครู นักเรียน ผู้ปกครอง แจ้งแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียน และนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียน เพื่อดำเนินกิจกรรมการทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก 3) จัดทำหลักสูตรสหกรณ์นักเรียน อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียนแก่นักเรียนทุกคน จัดสถานที่ให้เป็นร้านค้าสหกรณ์นักเรียนที่เป็นเอกเทศ 4) จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก และจัดจ้างวิทยากรภายนอกสอนกลุ่มนักเรียนแกนนำทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก 5) ครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนและนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนดำเนินการจัดทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจำหน่ายแก่นักเรียน ครู ในสหกรณ์นักเรียนและอาหารกลางวัน 6) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบกิจกรรมทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต 1) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกได้ 2) ร้านค้าสหกรณ์นักเรียนมีน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจำหน่ายแก่ครู นักเรียน ให้ดื่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 3) น้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกที่ผลิตได้สะอาดถูกหลักอนามัย ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจในการให้บริการน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกในร้านสหกรณ์นักเรียน เพื่อลดการดื่มน้ำอัดลมและน้ำหวานในโรงเรียน 2) ผู้ปกครองมีความเข้าใจและเกิดความคิดที่ดีในการร่วมมือกับทางโรงเรียนในการควบคุม กำกับ ดูแล เรื่องอาหารและเครื่องดื่มของบุตรหลานเพื่อให้ห่างไกลจากอาหารขยะ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2 ตรวจเอกสารทางการเงิน และผลการดำเนินงาน และปรับกรอบแนวคิด
ได้รับการตรวจและปรับแก้เอกสารต่างๆ ดังนี้
1. รายงานสถานการณ์ภาวะโภชนาการลงบันทึก 3 ครั้ง
2. กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้วมี 4 กิจกรรม ได้แก่การอบรมให้ความรู้นักเรียน
/ ประชุมผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่าย ครู /การจัดทำหลักสูตร สื่อและนวัตกรรม /การทำปุ๋ยอินทรีย์
ผลการดำเนินงาน เพิ่มเติมข้อมูล ดังนี้
- วันที่ 20 สิงหาคม 59 แนบไฟล์หลักสูตร 10 เล่ม
- วันที่ 15 กันยายน 2559 แนบขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์
- ทุกกิจกรรมใบเสร็จ เมื่อแก้ไขเรียบร้อยให้แนบรูปถ่ายเพิ่มเติม
- อธิบายภาพกิจกรรมเพิ่มเติม
เอกสารทางการเงิน
- แนะนำการแก้ไขใบเสร็จให้ถูกต้องตามหลักการ และแนะนำใบลงทะเบียนให้ถูกต้อง
1) ประชุมครู นักเรียน แจ้งรายละเอียดตามแผนการดำเนินงานที่ 2 เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2.6 การปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสานและผักกางมุ้ง
2) จัดทำโรงเรือนการปลูกผักกางมุ้งที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 18,200 บาท
3) จัดครูและนักเรียนรับผิดชอบกลุ่มอาชีพการปลูกผักกางมุ้งโดยสมัครใจและมอบเงินงบประมาณที่เหลือการดำเนินงานในปีที่ 1 จำนวน 1,700 บาท ให้ดำเนินการปลูกผักกางมุ้งและพืชผักสวนครัวอื่นๆ
4) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการปลูกผักกางมุ้งตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่ เวลา 14.30-15.30 น.ทุกวัน
5) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพปลูกผักกางมุ้ง ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันวางแผนร่วมกันในการปลูกผัก เพื่อผลิตส่งจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนสู่อาหารกลางวันต่อไป
6) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพปลูกผักกางมุ้ง จัดทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน และรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ เงินส่วนหนึ่งจัดสรรเป็นค่าแรงนักเรียนเพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียนด้วย
7) การปลูกผักกางมุ้งจะปลอดจากแมลงและสารเคมี เพราะนำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักจากกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอาหารหลักแก่พืชผักสวนครัว
ผลผลิต 1) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกสวนครัวแบบกางมุ้งและสามารถปลูกผัก ดูแลรักษาผักได้ 2) นักเรียนมีผลผลิตเป็นผักปลอดสารพิษจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียน และโครงการอาหารกลางวันได้ตามฤดูกาล ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดที่ดีต่อการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภค 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เข้าใจในความจำเป็นต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้านพืชผักสวนครัว
1) ประชุมครู นักเรียน แจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) แบ่งครู นักเรียนเข้ารับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบโดยความสมัครใจ 3) จัดทำรายละเอียดตามข้อตกลงโครงการเป็นแผนปฏิบัติการ ศรร. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันในการดำเนินงาน 4) มอบงบประมาณจากการเลี้ยงกบ ปีที่ 1 ที่เหลือจากการดำเนินงาน จำนวน 1,520 บาท ให้นำไปบริหารจัดการจัดซื้อลูกกบ 4 กิโลกรัม ๆ ละ 200 บาท 5) จัดหาอาหารลูกกบและพ่อแม่กบ จำนวน 720 บาท โดยครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบแบ่งนักเรียนรับผิดชอบในแต่ละวัน 6) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เวลา 14.30-15.30 น. ทุกวัน 7) ครู นักเรียนคอยควบคุม กำกับ ติดตามและแก้ไขปัญหาที่พบแล้วรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ 8) นักเรียนนำผลผลิตกบจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันต่อไป
ผลผลิต 1) นักเรียนกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบมีกบแรกอนุบาลในบ่อ จำนวน 4 กิโลกรัม 2) นักเรียนมีกบพ่อแม่พันธ์จากการเลี้ยงใน ปีที่ 1 ราวๆ 10 ตัว 3) นักเรียนมีความรู้ในการเลี้ยงกบ การผสมพันธ์กบ การอนุบาลลูกอ๊อดและการเลี้ยงลูกกบ ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในการดำเนินงานการเลี้ยงกบในระดับดีมาก 2) นักเรียนมีความคิดที่ดีต่อการดำเนินงานอาชีพการเลี้ยงกบของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
1) ประชุมนักเรียนเพื่อแจ้งรายละเอียดของกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานที่2 เกษตรในโรงเรียน 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพ แบ่งนักเรียนเป็น10 กลุ่มอาชีพตามความสมัครใจ 3) มอบหมายครูจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นอาชีพการเลี้ยงปลาดุกเพื่อจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 4) จัดซื้อปลาดุกด้วยทุนหมุนเวียนที่มีอยู่จำนวน1,000ตัว ช่วงเปิดภาคเรียนให้นักเรียนลงมือเลี้ยงไปก่อน 5) จัดซื้อจัดจ้างตามรายการที่กำหนดในแผนการดำเนินงานที่2เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกตามแผนปฏิบัติการ ศรร. จำนวน 3,000ตัว ุ6) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ดำเนินการเลี้ยงปลาดุก 7) ผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ ควบคุมกำกับติดตามและดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด 8) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearningจำนวน40แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา14.30-15.30 น. ทุกวัน 9) ครูและนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกจัดทำบัญชีรับ-จ่าย หรือซื้อขายปลาดุกให้แก่สหกรณ์นักเรียน และบัญชีจัดสรรค่าแรงแก่นักเรียนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกเพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน และรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต
1) นักเรียนมีผลผลิตปลาดุก รุ่นที่ 1 จากเงินหมุนเวียนการเลี้ยงปลาดุก จำนวน 1,000 ตัว เพื่อจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน
2) นักเรียนมีผลผลิตปลาดุกตามแผนการดำเนินงานที่ 2 กิจกรรมที่ 2.2 การเลี้ยงปลาดุก จำนวน 3,000 ตัว
3) ครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพและนักเรียนมีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงปลาดุก จำหน่ายและจัดทำบัญชีได้
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก
2) ครูและผู้ปกครอง มีความคิดที่ดีในการร่วมมือกันเสริมสร้างภาวะโภชนาการที่ดีแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดีซึ่งจะส่งผลต่อการมีผลการเรียนดี
3) ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีความคิดที่ดีต่อโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และให้ความร่วมมือต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างดี
1) จำหน่ายแม่ไก่ งวดที่ 1จำนวน50ตัว 2) ประสานซื้อไก่สาวอายุ 16-20 สัปดาห์ กับลูกศิษย์ที่ทำงานอยู่ฟาร์มชลบุรี ราคาพิเศษตัวละ 185บาท 3) ปรึกษาเครือข่ายปศุสัตว์อำเภอหัวตะพานเพื่อให้ความรู้แก่ครูและกลุ่มนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 4) เตรียมคอกไก่ อาหาร ยารักษาโรค แล้วรับไก่ลงจำนวน100ตัว โดยใช้เงินงบประมาณจาก ปีที่ 1 และเงินที่จำหน่ายไก่ เงินจำหน่ายไข่รุ่นที่ 1 5) สำนักงาน ธกส.จังหวัดอำนาจเริญ ร่วมกับ ธกส.อำเภอหัวตะพาน มอบเงินสนับสนุนกิจกรรมเพื่ออาหารกลางวันจำนวน10,000บาท 6) แพทย์สัตว์อำเภอหัวตะพานออกมาให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ การทำวัคซีนและการป้องกันโรคไก่ ตลอดจนการดำเนินเลี้ยงไก่อารมณ์ดี 7) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูาณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา 14.30 - 15.30 น. ทุกวัน 8) นักเรียนรับผิดชอบจัดทำบัญชีการรับจ่ายและซื้อขายไข่ให้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และจัดทำบัญชีจัดสรรค่าดำเนินการแก่กลุ่มนักเรียนการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน
ผลผลิต 1) มีแม่ไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 100 ตัว 2) มีอาหาร จำนวน 26 กระสอบ(อย่างน้อย) มีเวชภัณฑ์รักษาโรค 3) ไก่ไข่วันละ 60-80 ฟอง 4) ครู นักเรียน มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การดูแลรักษาและป้องกันโรค การจำหน่ายและจัดทำบัญชีซื้อขายไข่ 5) โครงการอาหารกลางวันมีเมนูอาหารกลางวันจากไข่อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ผลลัพธ์ 1) ชุมชน ผู้ปกครอง มีความคิดที่ดีต่อการจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 2) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความคิดที่ดีต่อกระบวนการผลิตเพื่ออาหารกลางวัน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 3) โรงเรียนบ้านโนนเมือง ชุมชน เกษตรอำเภอหัวตะพาน ปศุสัตว์อำเภอหัวตะพาน สำนักงาน ธกส.จังหวัดอำนาจเจริญ ธกส.อำเภอหัวตะพานและกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆมีความพึงพอใจต่อโครงการ ศรร.
- ครูทำความเข้าใจกับนักเรียนกลุ่มอาชีพทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- ครู นักเรียนและเกษตรอำเภอเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- เกษตรอำเภอให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกสิกรรมแบบปลอดสารพิษ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- เกษตรอำเภออธิบายขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นร่วมกับครู นักเรียน นักการภารโรงลงมือปฏิบัติทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- นักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
ผลผลิต(Output)
- กรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่นการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- ครู นักเรียน นักการภารโรง มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- สื่อ/นวัตกรรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
ผลลัพธ์(Outcome)
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเห็นคุณค่าของการทำเกษตรอินทรีย์ในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพสำหรับการเกษตรที่โรงเรียนและที่บ้าน เพื่ออาหารปลอดภัย
- นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการทำเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต
- นักเรียนเป็นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในครอบครัวและชุมชนตลอดจนสามารถนำชุมชนเพื่อผลิตเกษตรอินทรีย์สู่ความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
- โรงเรียนออกคำสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการ วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559
- คณะครูจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น 10 อาชีพ เพื่อบูรณาการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) กับการขับเคลื่อนโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน(Active Learning)และโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
- คณะครูกำหนดขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น วิเคราะห์องค์ประกอบของกรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่น จัดทำสาระหลักสูตรท้องถิ่น จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อนวัตกรรมที่บูรณาการเข้ากับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
- นำหลักสูตร 10 กลุ่มอาชีพสู่การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ผลผลิต(Output)
- สาระหลักสูตรท้องถิ่นจำนวน 10กลุ่มอาชีพ (ประกอบด้วย การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงหมูป่า การเลี้ยงกบ การทำก้อนเห็ด การปลูกเลี้ยงเห็ด การปลูกผักกางมุ้ง การทำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์และการเลี้ยงเป็ดเทศ
- สื่อและนวัตกรรมจากสาระหลักสูตรท้องถิ่น
ผลลัพธ์(Outcome)
- นักเรียนจำนวน79 คน ได้เรียนรู้และมีทักษะในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน ทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีรายได้ระหว่างเรียน มีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพดี มีผลการเรียนดีและมีความมั่นคงทางอาหาร
- นักเรียนมีทักษะชีวิตสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประกอบอาชีพได้ หรือบูรณาการกับการดำรงชีวิตประจำวันที่บ้านได้อย่างมีความสุข
- ครูสามารถนำสาระหลักสูตรท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามโครงการการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน(Active Learning)และกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่โรงเรียนใช้โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) เป็นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ครูจัดการเรียนการสอนสาระหลักสูตรท้องถิ่นที่บูรณาการกับตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 แบบ Active Learning5 ขั้น ตอน คือ Learning to QuestionLearning to Search Learning to Construct Learning to CommunicateLearning to Serve เป็นไปตามกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- โรงเรียนดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โดยใช้กระบวนการและยุทธศาสตร์จากผลผลิตและผลลัพธ์อย่างยั่งยืน
- ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู เพื่อจัดกิจกรรมประชุมชี้แจงนโยบายและจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส๑วัน
- จัดทำหนังสือเชิญผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญจำนวน150คน(มีพิธีรับมอบสนามกีฬาฟุตซอล และเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสด้วย)
- ประชุมครูจัดเตรียมสถานที่ เอกสารการประชุม ป้าย และจ้างผู้ประกอบอาหารและอาหารว่าง
- วันศุกร์ที่22กรกฎาคมพ.ศ.2559
เวลา 08.45น. พิธีรับมอบสนามกีฬาฟุตซอลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญงบประมาณ 2,490,000บาท
เวลา 09.09น. พิธีเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงนโยบาย ฯ และพบปะกับผู้เข้าร่วมประชุม - เวลา16.00น. พิธีปิดการประชุมชี้แจง ฯ
ผลผลิต(output)
- ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กไทย ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร เด็กอ้วน เด็กเตี้ย และเด็กผอม
- ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนเมืองและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้านอาหารให้มีความยั่งยืนแก่นักเรียน
- ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองตามข้อเสนอโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ80,000บาทจำนวน4แผนการดำเนินงาน17กิจกรรม
- ผู้ปกครองและเครือข่ายทุกภาคส่วนยืนยันที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานตามแผนการดำเนินการที่บุตรหลานเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ ศรร.ตามปฏิทินการปฏิบัติงานที่เสนอต่อผู้สนับสนุนโครงการไว้แล้ว
ผลลัพธ์(outcome)
- รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ประธานเปิดการประชุม ฯ ได้กล่าวชื่นชมที่โรงเรียนนำโครงการดี ๆ มาสู่โรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ภาวะโภชนาการดี สุขภาพดีและผลการดีในโอกาสต่อไป
- ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและเครือข่ายแสดงความชื่นชมที่โรงเรียนบ้านโนนเมือง เป็น 1 ใน 3 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญที่เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) และเป็น 1 ใน 5 โรงเรียนของ จำนวน 256 โรงเรียนในจังหวัดอำนาจเจริญที่ใช้ THAISCHOOL LUNCH PROGRAM จัดการอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ
- ผู้ปกครองแสดงความชื่นชมและขอบคุณที่ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู เอาใจใส่ดูแลนักเรียนเป็นอย่างดีทุกเรื่อง
ประชุมคณะณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และคณะกรรมการนักเรียน เพื่อดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) แผนการดำเนินงานที่3 สหกรณ์นักเรียน แบ่งครูรับผิดชอบกิจกรรมฐานการเรียนรู้
ฐานที่1 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยเกม ฐานที่2 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยเพลง ฐานที่3 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยนิทาน ฐานที่4 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยกระบวนการคำถามให้คิด ฐานที่5 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและวิเคราะห์ต้นทุน กำไร ขาดทุนจัดทำหนังสือเชิญวิทยากรจากสำนักงานสหกรณ์อำเภอหัวตะพาน/สหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคมพ.ศ.2559 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่นักเรียนตามกำหนดการ คือ 08.40 น. นักเรียนลงทะเบียน 09.00-09.30 น. ผู้อำนวยการโรงเรียนทำพิธีเปิดการประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียน 09.30-10. 30น. นายมงคลศรีมงคลผู้อำนวยการส่งเสริมงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียน 10.30-10.40 น. นักเรียนหยุดพักรับประธานอาหารว่าง 10.40-11.30 น. นางอัมพรสุวรรณพันธ์ ครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนให้ความรู้เกี่ยวกับการสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์นักเรียน การซื้อสินค้าและการจำหน่ายการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายการตรวจสอบและรายงานบั ญชีประจำวันการคิดต้นทุนกำไรและขาดทุน 11.30-12.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.30-14.30 น. นางจิราพรศรีเมืองหัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านโนนเมืองให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรวิชาการสหกรณ์ในโรงเรียน 14.30-15.30 น. นักเรียนเข้าปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้จำนวน5ฐาน
15.30-16.00 น. นางอัมพรสุวรรณพันธ์ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสรุปความรู้จากการประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการ
16.00 น. พิธีปิด
ผลผลิต(output)
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสหกรณ์นักเรียน
- นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อน ๆ นักเรียนทุกช่วงชั้น
- นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย การซื้อสินค้า การคิดต้นทุน กำไร และขาดทุน
ผลลัพธ์(outcome)
- นักเรียนมีเจตคติที่ดีกับหลักการของสหกรณ์นักเรียน
- นักเรียนเป็นสมาชิกของสหกรณ์นักเรียน100%
- นักเรียนมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รื่นเริงในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน