1) ประชุมนักเรียนเพื่อแจ้งรายละเอียดของกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานที่2 เกษตรในโรงเรียน 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพ แบ่งนักเรียนเป็น10 กลุ่มอาชีพตามความสมัครใจ 3) มอบหมายครูจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นอาชีพการเลี้ยงปลาดุกเพื่อจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 4) จัดซื้อปลาดุกด้วยทุนหมุนเวียนที่มีอยู่จำนวน1,000ตัว ช่วงเปิดภาคเรียนให้นักเรียนลงมือเลี้ยงไปก่อน 5) จัดซื้อจัดจ้างตามรายการที่กำหนดในแผนการดำเนินงานที่2เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกตามแผนปฏิบัติการ ศรร. จำนวน 3,000ตัว ุ6) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ดำเนินการเลี้ยงปลาดุก 7) ผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ ควบคุมกำกับติดตามและดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด 8) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearningจำนวน40แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา14.30-15.30 น. ทุกวัน 9) ครูและนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกจัดทำบัญชีรับ-จ่าย หรือซื้อขายปลาดุกให้แก่สหกรณ์นักเรียน และบัญชีจัดสรรค่าแรงแก่นักเรียนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกเพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน และรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต
1) นักเรียนมีผลผลิตปลาดุก รุ่นที่ 1 จากเงินหมุนเวียนการเลี้ยงปลาดุก จำนวน 1,000 ตัว เพื่อจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน
2) นักเรียนมีผลผลิตปลาดุกตามแผนการดำเนินงานที่ 2 กิจกรรมที่ 2.2 การเลี้ยงปลาดุก จำนวน 3,000 ตัว
3) ครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพและนักเรียนมีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงปลาดุก จำหน่ายและจัดทำบัญชีได้
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก
2) ครูและผู้ปกครอง มีความคิดที่ดีในการร่วมมือกันเสริมสร้างภาวะโภชนาการที่ดีแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดีซึ่งจะส่งผลต่อการมีผลการเรียนดี
3) ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีความคิดที่ดีต่อโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และให้ความร่วมมือต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างดี