แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
โรงเรียนบ้านโนนเมือง
“ โรงเรียนบ้านโนนเมือง ”
หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
หัวหน้าโครงการ
นายเผ่า วามะลุน
ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านโนนเมือง
ที่อยู่ หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัด อำนาจเจริญ
รหัสโครงการ ศรร.1311-089 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.43
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
กิตติกรรมประกาศ
"โรงเรียนบ้านโนนเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านโนนเมือง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านโนนเมือง
บทคัดย่อ
โครงการ " โรงเรียนบ้านโนนเมือง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสโครงการ ศรร.1311-089 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านโนนเมือง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 94 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและพลศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น
จากสถานการณ์ดังกล่าวโรงเรียน บ้านโนนเมือง จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน จากผลการพัฒนาตามโครงการเด็กไทยแก้มใสปีที่ 1 ผลการดำเนินงานในบางองค์ประกอบยังไม่เป็นที่พึงพอใจ เพราะผู้ปกครอง ชุมชนที่มีหน้าที่หลักในการดูแลเรื่องอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนและนักเรียนใช้เวลาอยู่ด้วยมากกว่าที่โรงเรียนยังเป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาวะที่ดีโรงเรียนจึงจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) ในปีที่๒ด้วยหวังจะพัฒนาคุณภาพด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนแบบมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้นจนเกิดความมั่นคงด้านอาหารในโรงเรียนและทุกครอบครัวต่อไป
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัยมีอารมณ์และสติปัญญาดีขึ้นรวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
- เพื่อลดปัญหาด้านโภชนาการและด้านสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ให้มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้ผู้ปกครองชุมชนตระหนักรู้เรื่องอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยของบุตรหลานมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนตลอดจนเกิดความมั่นคงและยั่งยืน
- เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) ที่สมบูรณ์และสามารถถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการบริหารจัดการด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียนมีสุขภาพดีและมีพัฒนาการด้านร่างกายสติปัญญาอารมณ์และจิตใจสังคมสมวัย
- นักเรียนมีการเจริญเติบโตสมส่วนโดยมีภาวะผอม-อ้วน-เตี้ยอย่างละไม่เกินร้อยละ๕
- นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้เพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันที่โรงเรียนเฉลี่ยวันละ๑๕๐-๒๐๐กรัมต่อคน
4.โรงเรียนจัดทำเมนูอาหารกลางวันด้วย ThaiSchoolLunchProgram อย่างสม่ำเสมอ
- นักเรียนทุกคนได้รับประทานไข่จากโครงการอาหารกลางวันไม่น้อยกว่า๓ฟอง ต่อสัปดาห์
- โรงเรียนชุมชนร่วมมือกันในการทำกิจกรรมพัฒนาด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพแก่นักเรียน
- โรงเรียนบ้านโนนเมืองเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสที่มีศักยภาพในการให้บริการความรู้สื่อ-นวัตกรรมและเทคโนโลยีแก่ครูนักเรียนชุมชนโดยทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. การอบรมให้ความรู้นักเรียน
วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.กิจกรรมที่ทำ
ประชุมคณะณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และคณะกรรมการนักเรียน เพื่อดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) แผนการดำเนินงานที่3 สหกรณ์นักเรียน แบ่งครูรับผิดชอบกิจกรรมฐานการเรียนรู้
ฐานที่1 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยเกม
ฐานที่2 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยเพลง
ฐานที่3 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยนิทาน
ฐานที่4 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยกระบวนการคำถามให้คิด
ฐานที่5 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและวิเคราะห์ต้นทุน กำไร ขาดทุน
จัดทำหนังสือเชิญวิทยากรจากสำนักงานสหกรณ์อำเภอหัวตะพาน/สหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคมพ.ศ.2559 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่นักเรียนตามกำหนดการ คือ
08.40 น. นักเรียนลงทะเบียน
09.00-09.30 น. ผู้อำนวยการโรงเรียนทำพิธีเปิดการประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียน
09.30-10. 30น. นายมงคลศรีมงคลผู้อำนวยการส่งเสริมงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียน
10.30-10.40 น. นักเรียนหยุดพักรับประธานอาหารว่าง
10.40-11.30 น. นางอัมพรสุวรรณพันธ์ ครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนให้ความรู้เกี่ยวกับการสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์นักเรียน การซื้อสินค้าและการจำหน่ายการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายการตรวจสอบและรายงานบั ญชีประจำวันการคิดต้นทุนกำไรและขาดทุน
11.30-12.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-14.30 น. นางจิราพรศรีเมืองหัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านโนนเมืองให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรวิชาการสหกรณ์ในโรงเรียน
14.30-15.30 น. นักเรียนเข้าปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้จำนวน5ฐาน
15.30-16.00 น. นางอัมพรสุวรรณพันธ์ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสรุปความรู้จากการประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการ
16.00 น. พิธีปิด
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต(output)
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสหกรณ์นักเรียน
- นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อน ๆ นักเรียนทุกช่วงชั้น
- นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย การซื้อสินค้า การคิดต้นทุน กำไร และขาดทุน
ผลลัพธ์(outcome)
- นักเรียนมีเจตคติที่ดีกับหลักการของสหกรณ์นักเรียน
- นักเรียนเป็นสมาชิกของสหกรณ์นักเรียน100%
- นักเรียนมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รื่นเริงในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน
94
90
2. ประชุมผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่าย ครู
วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.กิจกรรมที่ทำ
- ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู เพื่อจัดกิจกรรมประชุมชี้แจงนโยบายและจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส๑วัน
- จัดทำหนังสือเชิญผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญจำนวน150คน(มีพิธีรับมอบสนามกีฬาฟุตซอล และเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสด้วย)
- ประชุมครูจัดเตรียมสถานที่ เอกสารการประชุม ป้าย และจ้างผู้ประกอบอาหารและอาหารว่าง
- วันศุกร์ที่22กรกฎาคมพ.ศ.2559
เวลา 08.45น. พิธีรับมอบสนามกีฬาฟุตซอลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญงบประมาณ 2,490,000บาท
เวลา 09.09น. พิธีเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงนโยบาย ฯ และพบปะกับผู้เข้าร่วมประชุม
- เวลา16.00น. พิธีปิดการประชุมชี้แจง ฯ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต(output)
- ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กไทย ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร เด็กอ้วน เด็กเตี้ย และเด็กผอม
- ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนเมืองและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้านอาหารให้มีความยั่งยืนแก่นักเรียน
- ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองตามข้อเสนอโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ80,000บาทจำนวน4แผนการดำเนินงาน17กิจกรรม
- ผู้ปกครองและเครือข่ายทุกภาคส่วนยืนยันที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานตามแผนการดำเนินการที่บุตรหลานเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ ศรร.ตามปฏิทินการปฏิบัติงานที่เสนอต่อผู้สนับสนุนโครงการไว้แล้ว
ผลลัพธ์(outcome)
- รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ประธานเปิดการประชุม ฯ ได้กล่าวชื่นชมที่โรงเรียนนำโครงการดี ๆ มาสู่โรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ภาวะโภชนาการดี สุขภาพดีและผลการดีในโอกาสต่อไป
- ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและเครือข่ายแสดงความชื่นชมที่โรงเรียนบ้านโนนเมือง เป็น 1 ใน 3 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญที่เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) และเป็น 1 ใน 5 โรงเรียนของ จำนวน 256 โรงเรียนในจังหวัดอำนาจเจริญที่ใช้ THAISCHOOL LUNCH PROGRAM จัดการอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ
- ผู้ปกครองแสดงความชื่นชมและขอบคุณที่ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู เอาใจใส่ดูแลนักเรียนเป็นอย่างดีทุกเรื่อง
280
181
3. การจัดทำหลักสูตร สื่อและนวัตกรรม
วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
- โรงเรียนออกคำสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการ วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559
- คณะครูจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น 10 อาชีพ เพื่อบูรณาการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) กับการขับเคลื่อนโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน(Active Learning)และโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
- คณะครูกำหนดขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น วิเคราะห์องค์ประกอบของกรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่น จัดทำสาระหลักสูตรท้องถิ่น จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อนวัตกรรมที่บูรณาการเข้ากับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
- นำหลักสูตร 10 กลุ่มอาชีพสู่การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต(Output)
- สาระหลักสูตรท้องถิ่นจำนวน 10กลุ่มอาชีพ (ประกอบด้วย การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงหมูป่า การเลี้ยงกบ การทำก้อนเห็ด การปลูกเลี้ยงเห็ด การปลูกผักกางมุ้ง การทำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์และการเลี้ยงเป็ดเทศ
- สื่อและนวัตกรรมจากสาระหลักสูตรท้องถิ่น
ผลลัพธ์(Outcome)
- นักเรียนจำนวน79 คน ได้เรียนรู้และมีทักษะในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน ทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีรายได้ระหว่างเรียน มีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพดี มีผลการเรียนดีและมีความมั่นคงทางอาหาร
- นักเรียนมีทักษะชีวิตสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประกอบอาชีพได้ หรือบูรณาการกับการดำรงชีวิตประจำวันที่บ้านได้อย่างมีความสุข
- ครูสามารถนำสาระหลักสูตรท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามโครงการการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน(Active Learning)และกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่โรงเรียนใช้โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) เป็นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ครูจัดการเรียนการสอนสาระหลักสูตรท้องถิ่นที่บูรณาการกับตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 แบบ Active Learning5 ขั้น ตอน คือ Learning to QuestionLearning to Search Learning to Construct Learning to CommunicateLearning to Serve เป็นไปตามกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- โรงเรียนดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โดยใช้กระบวนการและยุทธศาสตร์จากผลผลิตและผลลัพธ์อย่างยั่งยืน
267
10
4. การทำปุ๋ยอินทรีย์
วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูทำความเข้าใจกับนักเรียนกลุ่มอาชีพทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- ครู นักเรียนและเกษตรอำเภอเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- เกษตรอำเภอให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกสิกรรมแบบปลอดสารพิษ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- เกษตรอำเภออธิบายขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นร่วมกับครู นักเรียน นักการภารโรงลงมือปฏิบัติทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- นักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต(Output)
- กรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่นการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- ครู นักเรียน นักการภารโรง มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- สื่อ/นวัตกรรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
- ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
ผลลัพธ์(Outcome)
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเห็นคุณค่าของการทำเกษตรอินทรีย์ในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพสำหรับการเกษตรที่โรงเรียนและที่บ้าน เพื่ออาหารปลอดภัย
- นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการทำเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต
- นักเรียนเป็นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในครอบครัวและชุมชนตลอดจนสามารถนำชุมชนเพื่อผลิตเกษตรอินทรีย์สู่ความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
267
43
5. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2
วันที่ 21 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2
ตรวจเอกสารทางการเงิน และผลการดำเนินงาน และปรับกรอบแนวคิด
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ได้รับการตรวจและปรับแก้เอกสารต่างๆ ดังนี้
1. รายงานสถานการณ์ภาวะโภชนาการลงบันทึก 3 ครั้ง
2. กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้วมี 4 กิจกรรม ได้แก่การอบรมให้ความรู้นักเรียน
/ ประชุมผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่าย ครู /การจัดทำหลักสูตร สื่อและนวัตกรรม /การทำปุ๋ยอินทรีย์
ผลการดำเนินงาน เพิ่มเติมข้อมูล ดังนี้
- วันที่ 20 สิงหาคม 59 แนบไฟล์หลักสูตร 10 เล่ม
- วันที่ 15 กันยายน 2559 แนบขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์
- ทุกกิจกรรมใบเสร็จ เมื่อแก้ไขเรียบร้อยให้แนบรูปถ่ายเพิ่มเติม
- อธิบายภาพกิจกรรมเพิ่มเติม
เอกสารทางการเงิน
- แนะนำการแก้ไขใบเสร็จให้ถูกต้องตามหลักการ และแนะนำใบลงทะเบียนให้ถูกต้อง
2
2
6. การเลี้ยงไก่ไข่
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1) จำหน่ายแม่ไก่ งวดที่ 1จำนวน50ตัว
2) ประสานซื้อไก่สาวอายุ 16-20 สัปดาห์ กับลูกศิษย์ที่ทำงานอยู่ฟาร์มชลบุรี ราคาพิเศษตัวละ 185บาท
3) ปรึกษาเครือข่ายปศุสัตว์อำเภอหัวตะพานเพื่อให้ความรู้แก่ครูและกลุ่มนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่
4) เตรียมคอกไก่ อาหาร ยารักษาโรค แล้วรับไก่ลงจำนวน100ตัว โดยใช้เงินงบประมาณจาก ปีที่ 1 และเงินที่จำหน่ายไก่ เงินจำหน่ายไข่รุ่นที่ 1
5) สำนักงาน ธกส.จังหวัดอำนาจเริญ ร่วมกับ ธกส.อำเภอหัวตะพาน มอบเงินสนับสนุนกิจกรรมเพื่ออาหารกลางวันจำนวน10,000บาท
6) แพทย์สัตว์อำเภอหัวตะพานออกมาให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ การทำวัคซีนและการป้องกันโรคไก่ ตลอดจนการดำเนินเลี้ยงไก่อารมณ์ดี
7) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูาณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา 14.30 - 15.30 น. ทุกวัน
8) นักเรียนรับผิดชอบจัดทำบัญชีการรับจ่ายและซื้อขายไข่ให้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และจัดทำบัญชีจัดสรรค่าดำเนินการแก่กลุ่มนักเรียนการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) มีแม่ไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 100 ตัว
2) มีอาหาร จำนวน 26 กระสอบ(อย่างน้อย) มีเวชภัณฑ์รักษาโรค
3) ไก่ไข่วันละ 60-80 ฟอง
4) ครู นักเรียน มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การดูแลรักษาและป้องกันโรค การจำหน่ายและจัดทำบัญชีซื้อขายไข่
5) โครงการอาหารกลางวันมีเมนูอาหารกลางวันจากไข่อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
ผลลัพธ์
1) ชุมชน ผู้ปกครอง มีความคิดที่ดีต่อการจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่
2) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความคิดที่ดีต่อกระบวนการผลิตเพื่ออาหารกลางวัน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่
3) โรงเรียนบ้านโนนเมือง ชุมชน เกษตรอำเภอหัวตะพาน ปศุสัตว์อำเภอหัวตะพาน สำนักงาน ธกส.จังหวัดอำนาจเจริญ ธกส.อำเภอหัวตะพานและกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆมีความพึงพอใจต่อโครงการ ศรร.
267
0
7. การเลี้ยงปลาดุก
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมนักเรียนเพื่อแจ้งรายละเอียดของกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานที่2 เกษตรในโรงเรียน
2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพ แบ่งนักเรียนเป็น10 กลุ่มอาชีพตามความสมัครใจ
3) มอบหมายครูจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นอาชีพการเลี้ยงปลาดุกเพื่อจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
4) จัดซื้อปลาดุกด้วยทุนหมุนเวียนที่มีอยู่จำนวน1,000ตัว ช่วงเปิดภาคเรียนให้นักเรียนลงมือเลี้ยงไปก่อน
5) จัดซื้อจัดจ้างตามรายการที่กำหนดในแผนการดำเนินงานที่2เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกตามแผนปฏิบัติการ ศรร. จำนวน 3,000ตัว
ุ6) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ดำเนินการเลี้ยงปลาดุก
7) ผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ ควบคุมกำกับติดตามและดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
8) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearningจำนวน40แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา14.30-15.30 น. ทุกวัน
9) ครูและนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกจัดทำบัญชีรับ-จ่าย หรือซื้อขายปลาดุกให้แก่สหกรณ์นักเรียน และบัญชีจัดสรรค่าแรงแก่นักเรียนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกเพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน
และรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) นักเรียนมีผลผลิตปลาดุก รุ่นที่ 1 จากเงินหมุนเวียนการเลี้ยงปลาดุก จำนวน 1,000 ตัว เพื่อจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน
2) นักเรียนมีผลผลิตปลาดุกตามแผนการดำเนินงานที่ 2 กิจกรรมที่ 2.2 การเลี้ยงปลาดุก จำนวน 3,000 ตัว
3) ครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพและนักเรียนมีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงปลาดุก จำหน่ายและจัดทำบัญชีได้
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก
2) ครูและผู้ปกครอง มีความคิดที่ดีในการร่วมมือกันเสริมสร้างภาวะโภชนาการที่ดีแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดีซึ่งจะส่งผลต่อการมีผลการเรียนดี
3) ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีความคิดที่ดีต่อโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และให้ความร่วมมือต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างดี
217
0
8. การปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสานและผักกางมุ้ง
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมครู นักเรียน แจ้งรายละเอียดตามแผนการดำเนินงานที่ 2 เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2.6 การปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสานและผักกางมุ้ง
2) จัดทำโรงเรือนการปลูกผักกางมุ้งที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 18,200 บาท
3) จัดครูและนักเรียนรับผิดชอบกลุ่มอาชีพการปลูกผักกางมุ้งโดยสมัครใจและมอบเงินงบประมาณที่เหลือการดำเนินงานในปีที่ 1 จำนวน 1,700 บาท ให้ดำเนินการปลูกผักกางมุ้งและพืชผักสวนครัวอื่นๆ
4) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการปลูกผักกางมุ้งตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่ เวลา 14.30-15.30 น.ทุกวัน
5) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพปลูกผักกางมุ้ง ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันวางแผนร่วมกันในการปลูกผัก เพื่อผลิตส่งจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนสู่อาหารกลางวันต่อไป
6) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพปลูกผักกางมุ้ง จัดทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน และรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ เงินส่วนหนึ่งจัดสรรเป็นค่าแรงนักเรียนเพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียนด้วย
7) การปลูกผักกางมุ้งจะปลอดจากแมลงและสารเคมี เพราะนำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักจากกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอาหารหลักแก่พืชผักสวนครัว
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกสวนครัวแบบกางมุ้งและสามารถปลูกผัก ดูแลรักษาผักได้
2) นักเรียนมีผลผลิตเป็นผักปลอดสารพิษจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียน และโครงการอาหารกลางวันได้ตามฤดูกาล
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดที่ดีต่อการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภค
2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เข้าใจในความจำเป็นต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้านพืชผักสวนครัว
94
0
9. การเลี้ยงกบ
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมครู นักเรียน แจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) แบ่งครู นักเรียนเข้ารับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบโดยความสมัครใจ
3) จัดทำรายละเอียดตามข้อตกลงโครงการเป็นแผนปฏิบัติการ ศรร. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันในการดำเนินงาน
4) มอบงบประมาณจากการเลี้ยงกบ ปีที่ 1 ที่เหลือจากการดำเนินงาน จำนวน 1,520 บาท ให้นำไปบริหารจัดการจัดซื้อลูกกบ 4 กิโลกรัม ๆ ละ 200 บาท
5) จัดหาอาหารลูกกบและพ่อแม่กบ จำนวน 720 บาท โดยครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบแบ่งนักเรียนรับผิดชอบในแต่ละวัน
6) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เวลา 14.30-15.30 น. ทุกวัน
7) ครู นักเรียนคอยควบคุม กำกับ ติดตามและแก้ไขปัญหาที่พบแล้วรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ
8) นักเรียนนำผลผลิตกบจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันต่อไป
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) นักเรียนกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบมีกบแรกอนุบาลในบ่อ จำนวน 4 กิโลกรัม
2) นักเรียนมีกบพ่อแม่พันธ์จากการเลี้ยงใน ปีที่ 1 ราวๆ 10 ตัว
3) นักเรียนมีความรู้ในการเลี้ยงกบ การผสมพันธ์กบ การอนุบาลลูกอ๊อดและการเลี้ยงลูกกบ
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในการดำเนินงานการเลี้ยงกบในระดับดีมาก
2) นักเรียนมีความคิดที่ดีต่อการดำเนินงานอาชีพการเลี้ยงกบของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
267
0
10. การเลี้ยงหมูป่า
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานที่ 2 เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2.3 การเลี้ยงหมูป่า
2) มอบหมายครูและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูโดยความสมัครใจ
3) จัดหาวัสดุอุปกรณ์และจัดทำคอกหมูป่าเพื่อเตรียมที่ให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์
4) ครู นักเรียน มอบหมายหน้าที่และแบ่งความรับผิดชอบประจำวันในการดูแล รักษาและให้อาหารหมู
5) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูป่า ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Leatning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่ เวลา 14.30-15.30 น. ทุกวัน
6) ครู นักเรียนจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายในกิจกรรมการเลี้ยงหมูป่าและรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) ครู นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดประสบการณ์ในการเลี้ยงหมูป่า
2) ครู นักเรียนมีความสามารถและทักษะในการขยายพันธุ์และดูแลรักษาลูกหมูป่าได้
3) มีลูกหมูป่าไว้ขุน หรือจำหน่ายในโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ
2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีต่อกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูป่าและให้การสนับสนุนอย่างดี
0
299
11. การทำน้ำผลไม้ และการทำน้ำข้าวกล้องงอก
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมครู นักเรียน ผู้ปกครอง แจ้งแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียน และนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียน เพื่อดำเนินกิจกรรมการทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก
3) จัดทำหลักสูตรสหกรณ์นักเรียน อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียนแก่นักเรียนทุกคน จัดสถานที่ให้เป็นร้านค้าสหกรณ์นักเรียนที่เป็นเอกเทศ
4) จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก และจัดจ้างวิทยากรภายนอกสอนกลุ่มนักเรียนแกนนำทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก
5) ครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนและนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนดำเนินการจัดทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจำหน่ายแก่นักเรียน ครู ในสหกรณ์นักเรียนและอาหารกลางวัน
6) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบกิจกรรมทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกได้
2) ร้านค้าสหกรณ์นักเรียนมีน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจำหน่ายแก่ครู นักเรียน ให้ดื่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
3) น้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกที่ผลิตได้สะอาดถูกหลักอนามัย
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจในการให้บริการน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกในร้านสหกรณ์นักเรียน เพื่อลดการดื่มน้ำอัดลมและน้ำหวานในโรงเรียน
2) ผู้ปกครองมีความเข้าใจและเกิดความคิดที่ดีในการร่วมมือกับทางโรงเรียนในการควบคุม กำกับ ดูแล เรื่องอาหารและเครื่องดื่มของบุตรหลานเพื่อให้ห่างไกลจากอาหารขยะ
94
0
12. การเพาะถั่วงอก
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนแจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียน จัดนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนเพื่อรับผิดชอบกิจกรรมการเพาะถั่วงอก
3) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะเพาะถั่วงอก แล้วให้ความรู้แก่นักเรียนถึงคุณค่าของถั่วงอก วิธีการเพาะถั่วงอกจนเกิดความเข้าใจ
4) ครูนำนักเรียนลงมือเพาะถั่วงอก จดบันทึกขั้นตอนและการเจริญเติบโต หรือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
5) นักเรียนสรุปและนำเสนอขั้นตอนการเพาะถั่วงอก ตลอดจนจัดทำบัญชีรายรัย-รายจ่ายจากการจำหน่ายผลผลิตได้
6) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน กิจกรรมที่ 3.2 การเพาะถั่วงอก บันทึกรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) นักเรียนเพาะถั่วงอกเป็น
2) นักเรียนนำเสนอขั้นตอนและวิธีการเพาะถั่วงอกได้
3) นักเรียนมีถั่วงอกจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารตลอดจนสร้างรายได้แก่นักเรียนเอง
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกิจกรรมการเพาะถั่วงอก
2) ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีและเห็นความสำคัญของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
94
0
13. การทำขนมไทย
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนและนักเรียนแกนนำ ตามแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน กิจกรรมที่ 3.3 การทำขนมไทย
3) จัดหาวัสดุอุปกรณ์และวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นสอนการทำขนมไทยแก่นักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนตามที่นักเรียนสนใจ
4) นักเรียนแกนนำร่วมกันสรุปและจัดทำโครงงานนำเสนอองค์ความรู้การทำขนมไทยแก่เพื่อนๆนักเรียน ครูและผู้ปกครอง ตลอดจนผู้สนใจ
5) ครูและนักเรียนจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายการจำหน่ายขนมไทยแก่สหกรณ์นักเรียน โครงการอาหารกลางวัน ผู้ปกครอง หรือ ชุมชน โดยสามารถนำเสนอกำไร ขาดทุนได้
6) ครูและนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนจัดทำรายงานผลการดำเนินงานทำขนมไทยเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) นักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนสามารถทำขนมไทยได้
2) ร้านค้าสหกรณ์นักเรียนมีขนมไทยจำหน่ายแก่สมาชิกสหกรณ์นักเรียน
3) โครงการอาหารกลางวันมีขนมไทยไว้บริการแก่นักเรียนได้ตามเมนูอาหารกลางวัน
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการทำขนมไทย
2) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความคิดที่ดีต่อการสนับสนุนให้นักเรียนทำขนมไทยเพื่อสุขภาพ
94
0
14. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนแจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) มอบหมายผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่ 4 เปิดโลกทัศน์ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส กิจกรรมที่ 4.1 เผยแพร่และประชา
สัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในรูปแบบต่าง ๆ โดยจัดทำป้ายแสดงผลงานตามแผนการดำเนินงานทั้งหมดและป้ายพระบรมฉายาลักษณ์เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(เจ้าฟ้านักโภชนาการ)
3) นำผลงาน...หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม...ที่โรงเรียนบ้านโนนเมืองภาคภูมิใจ คือ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ที่บูรณาการเป็นกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้...หนึ่งกลุ่ม หนึ่งอาชีพ...แสดงในงานเปิดบ้านวิชาการ(Open house)ของอำเภอหัวตะพาน ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
4) มอบผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ไปจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์นำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 10 กลุ่มอาชีพ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(Active Learning) ที่สนองนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตลอดจนภาพกิจกรรมของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองขึ้นเวปไซต์ทั้งหมด
5) ครูผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการเสนอผลการดำเนินงานให้ทราบเป็นระยะๆ และจัดแสดงรูปแบบโครงงานผลงานที่นักเรียนแต่ละกลุ่มอาชีพนำเสนอไว้ในห้องศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง เพื่อประชาสัมพันธ์แก่สาธารณชนและเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(เจ้าฟ้านักโภชนาการ) อีกทางหนึ่งด้วย
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) มีการประชาสัมพันธ์โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองอย่างหลากหลาย
2) มีเวปไซต์แสดงผลงานของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนบ้านโนนเมือง และทั่วๆไปรู้จักโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง
2) ผู้ปกครองและชุมชนตระหนักและเห็นคุณค่าของการดูแลโภชนาการและสุขภาพบุตรหลานอย่างครบวงจรอันเนื่องมาจากความมั่นคงทางด้านอาหารของครอบครัว
3) สาธารณชนทั่วไปรู้จักผลงานและเป้าหมายโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)อย่างแพร่หลาย
267
0
15. การปลูกเห็ดขอยขาว เห็ดนางฟ้าและเห็ดนางรม
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) มอบหมายครู นักเรียนรับผิดชอบกลุ่มงานการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้าตามที่โรงเรียนได้ทำบันทึกข้อตกลงกับโครงการ
3) จัดทำโรงเรือนเห็ดตามที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 12,800 บาท
4) จัดซื้อก้อนเห็ดนางฟ้าด้วยงบประมาณที่ได้รับจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 20,000 บาท เพื่อจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารกลางวัน ตั้งแต่เริ่มเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
5) จัดซื้อ/จัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ทำเห็ดนางฟ้าและจ้างวิทยากรภายนอกสอนกระบวนการทำเห็ดนางฟ้า งบประมาณตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) จำนวน 20,000 บาท
6) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้า ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา 14.30 - 15.30 น. ทุกวัน
7) ครูและนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้า จัดจำหน่ายเห็ดแก่สหกรณ์นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและตลาดสด ตลอดจนทำบัญชีรับ-จ่ายและรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน
8) ครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและปลูกเห็ดนางฟ้าต้องสามารถนำเสนอองค์ความรู้ที่ตนเองรับผิดชอบแก่ผู้สนใจเรียนรู้ได้อย่างคล่องแคล่ว
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1) ครู นักเรียนที่รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและปลูกเห็ดมีทักษะในการทำเห็ดและปลูกเห็ด
2) นักเรียนมีก้อนเห็ด มีเห็ดจำหน่ายให้แก่โครงการอาหารกลางวัน ชุมชน
ผลลัพธ์
1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ด
2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีต่ออาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดและให้การสนับสนุนอย่างดี
3) ผู้ปกครอง ชุมชน มองเห็นคุณค่าของการทำเห็ดและปลูกเห็ดเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ครอบครัว ชุมชน
94
0
16. การถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
วันที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ประชุมผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน และภาคีเครือข่าย ถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
ขั้นตอนและกระบวนการ
1) ทบทวนความเป็นมาของโครงการ ศรร. การจัดทำข้อเสนอโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) แจ้งผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานของโครงการ ศรร.ทุกกิจกรรม ทั้งด้านโภชนาการ สุขภาพนักเรียนและผลการเรียน
3) อภิปรายจุดเด่น นวัตกรรมที่ได้จากการดำเนินงานตามโครงการ ศรร.
4) อภิปรายจุดด้อย/ปัญหาและอุปสรรค จากการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน 4 แผนการดำเนินงาน
5) อภิปรายถึงการดำเนินงานหลังปิดโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ว่าโรงเรียน ครู ชุมชน ผู้ปกครอง มีความต้องการอย่างไร
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต(Output)
1) การระดมความคิด/ความร่วมมือ ทำให้ทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน
2) ทราบปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน
3) ทราบแนวทางในการพัฒนางานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)เพื่อต่อยอดของโครงการ
ผลลัพธ์(Outcome)
1) เจตคติและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
2) นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี สุขภาพดีและผลการเรียนดีและเกิดความมั่นคงทางอาหารในชุมชน
267
0
17. คืนดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการ
วันที่ 20 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
คืนดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
คืนดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการเรียบร้อย
0
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัยมีอารมณ์และสติปัญญาดีขึ้นรวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์โดยการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและภาคีเครือข่าย
2. โรงเรียนนำ Thai School Lunch Program มาวางแผนปรุง ประกอบอาหารกลางวันถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลและปลอดภัย
3. โรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชนเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีด้านอาหารแก่นักเรียนตามหลักโภชนาการอย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
2
เพื่อลดปัญหาด้านโภชนาการและด้านสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ให้มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนพัฒนาคุณภาพงานเด็กไทยแก้มใสทุกองค์ประกอบให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2. โรงเรียนจัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3. นักเรียนทุกคนต้องมีภาวะผอม อ้วน เตี้ย ของช่วงอายุไม่เกิน ร้อยละ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย
3
เพื่อให้ผู้ปกครองชุมชนตระหนักรู้เรื่องอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยของบุตรหลานมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนตลอดจนเกิดความมั่นคงและยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1. ผู้ปกครอง ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการด้านอาหารและสุขภาพของนักเรียน
2. ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนในการเสริมสร้างภาวะโภชนาการที่ถูกต้องแก่นักเรียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
3. ผู้ปกครอง ชุมชนให้ความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงานทุกกิจกรรมจนเกิดความมั่นคงทางอาหารทั้งที่บ้านและโรงเรียน นักเรียนในศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสมีสุขภาวะที่ดี
4
เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) ที่สมบูรณ์และสามารถถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการบริหารจัดการด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร
ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนบริหารจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร
2. โรงเรียนจัดกิจกรรมแบบบูรณาการครบย๘องค์ประกอบ โรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
3. โรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ให้บริการแก่ผู้สนใจในศูนย์เรียนรู้ต้นแยยโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)อย่างมีคุณภาพ
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ
โรงเรียนบ้านโนนเมือง จังหวัด อำนาจเจริญ
รหัสโครงการ ศรร.1311-089
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( นายเผ่า วามะลุน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
โรงเรียนบ้านโนนเมือง
“ โรงเรียนบ้านโนนเมือง ”
หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญหัวหน้าโครงการ
นายเผ่า วามะลุน
ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านโนนเมือง
ที่อยู่ หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัด อำนาจเจริญ
รหัสโครงการ ศรร.1311-089 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.43
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
กิตติกรรมประกาศ
"โรงเรียนบ้านโนนเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านโนนเมือง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านโนนเมือง
บทคัดย่อ
โครงการ " โรงเรียนบ้านโนนเมือง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสโครงการ ศรร.1311-089 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านโนนเมือง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 94 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและพลศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าวโรงเรียน บ้านโนนเมือง จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน จากผลการพัฒนาตามโครงการเด็กไทยแก้มใสปีที่ 1 ผลการดำเนินงานในบางองค์ประกอบยังไม่เป็นที่พึงพอใจ เพราะผู้ปกครอง ชุมชนที่มีหน้าที่หลักในการดูแลเรื่องอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนและนักเรียนใช้เวลาอยู่ด้วยมากกว่าที่โรงเรียนยังเป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาวะที่ดีโรงเรียนจึงจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) ในปีที่๒ด้วยหวังจะพัฒนาคุณภาพด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนแบบมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้นจนเกิดความมั่นคงด้านอาหารในโรงเรียนและทุกครอบครัวต่อไป
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัยมีอารมณ์และสติปัญญาดีขึ้นรวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
- เพื่อลดปัญหาด้านโภชนาการและด้านสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ให้มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้ผู้ปกครองชุมชนตระหนักรู้เรื่องอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยของบุตรหลานมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนตลอดจนเกิดความมั่นคงและยั่งยืน
- เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) ที่สมบูรณ์และสามารถถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการบริหารจัดการด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียนมีสุขภาพดีและมีพัฒนาการด้านร่างกายสติปัญญาอารมณ์และจิตใจสังคมสมวัย
- นักเรียนมีการเจริญเติบโตสมส่วนโดยมีภาวะผอม-อ้วน-เตี้ยอย่างละไม่เกินร้อยละ๕
- นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้เพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันที่โรงเรียนเฉลี่ยวันละ๑๕๐-๒๐๐กรัมต่อคน 4.โรงเรียนจัดทำเมนูอาหารกลางวันด้วย ThaiSchoolLunchProgram อย่างสม่ำเสมอ
- นักเรียนทุกคนได้รับประทานไข่จากโครงการอาหารกลางวันไม่น้อยกว่า๓ฟอง ต่อสัปดาห์
- โรงเรียนชุมชนร่วมมือกันในการทำกิจกรรมพัฒนาด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพแก่นักเรียน
- โรงเรียนบ้านโนนเมืองเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสที่มีศักยภาพในการให้บริการความรู้สื่อ-นวัตกรรมและเทคโนโลยีแก่ครูนักเรียนชุมชนโดยทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. การอบรมให้ความรู้นักเรียน |
||
วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต(output)
ผลลัพธ์(outcome)
|
94 | 90 |
2. ประชุมผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่าย ครู |
||
วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต(output)
ผลลัพธ์(outcome)
|
280 | 181 |
3. การจัดทำหลักสูตร สื่อและนวัตกรรม |
||
วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต(Output)
ผลลัพธ์(Outcome)
|
267 | 10 |
4. การทำปุ๋ยอินทรีย์ |
||
วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต(Output)
ผลลัพธ์(Outcome)
|
267 | 43 |
5. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2 |
||
วันที่ 21 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำการประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2 ตรวจเอกสารทางการเงิน และผลการดำเนินงาน และปรับกรอบแนวคิด ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้รับการตรวจและปรับแก้เอกสารต่างๆ ดังนี้
1. รายงานสถานการณ์ภาวะโภชนาการลงบันทึก 3 ครั้ง
2. กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้วมี 4 กิจกรรม ได้แก่การอบรมให้ความรู้นักเรียน ผลการดำเนินงาน เพิ่มเติมข้อมูล ดังนี้
- วันที่ 20 สิงหาคม 59 แนบไฟล์หลักสูตร 10 เล่ม เอกสารทางการเงิน
|
2 | 2 |
6. การเลี้ยงไก่ไข่ |
||
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ1) จำหน่ายแม่ไก่ งวดที่ 1จำนวน50ตัว 2) ประสานซื้อไก่สาวอายุ 16-20 สัปดาห์ กับลูกศิษย์ที่ทำงานอยู่ฟาร์มชลบุรี ราคาพิเศษตัวละ 185บาท 3) ปรึกษาเครือข่ายปศุสัตว์อำเภอหัวตะพานเพื่อให้ความรู้แก่ครูและกลุ่มนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 4) เตรียมคอกไก่ อาหาร ยารักษาโรค แล้วรับไก่ลงจำนวน100ตัว โดยใช้เงินงบประมาณจาก ปีที่ 1 และเงินที่จำหน่ายไก่ เงินจำหน่ายไข่รุ่นที่ 1 5) สำนักงาน ธกส.จังหวัดอำนาจเริญ ร่วมกับ ธกส.อำเภอหัวตะพาน มอบเงินสนับสนุนกิจกรรมเพื่ออาหารกลางวันจำนวน10,000บาท 6) แพทย์สัตว์อำเภอหัวตะพานออกมาให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ การทำวัคซีนและการป้องกันโรคไก่ ตลอดจนการดำเนินเลี้ยงไก่อารมณ์ดี 7) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูาณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา 14.30 - 15.30 น. ทุกวัน 8) นักเรียนรับผิดชอบจัดทำบัญชีการรับจ่ายและซื้อขายไข่ให้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และจัดทำบัญชีจัดสรรค่าดำเนินการแก่กลุ่มนักเรียนการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) มีแม่ไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 100 ตัว 2) มีอาหาร จำนวน 26 กระสอบ(อย่างน้อย) มีเวชภัณฑ์รักษาโรค 3) ไก่ไข่วันละ 60-80 ฟอง 4) ครู นักเรียน มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การดูแลรักษาและป้องกันโรค การจำหน่ายและจัดทำบัญชีซื้อขายไข่ 5) โครงการอาหารกลางวันมีเมนูอาหารกลางวันจากไข่อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ผลลัพธ์ 1) ชุมชน ผู้ปกครอง มีความคิดที่ดีต่อการจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 2) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความคิดที่ดีต่อกระบวนการผลิตเพื่ออาหารกลางวัน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 3) โรงเรียนบ้านโนนเมือง ชุมชน เกษตรอำเภอหัวตะพาน ปศุสัตว์อำเภอหัวตะพาน สำนักงาน ธกส.จังหวัดอำนาจเจริญ ธกส.อำเภอหัวตะพานและกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆมีความพึงพอใจต่อโครงการ ศรร.
|
267 | 0 |
7. การเลี้ยงปลาดุก |
||
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมนักเรียนเพื่อแจ้งรายละเอียดของกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานที่2 เกษตรในโรงเรียน 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพ แบ่งนักเรียนเป็น10 กลุ่มอาชีพตามความสมัครใจ 3) มอบหมายครูจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นอาชีพการเลี้ยงปลาดุกเพื่อจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 4) จัดซื้อปลาดุกด้วยทุนหมุนเวียนที่มีอยู่จำนวน1,000ตัว ช่วงเปิดภาคเรียนให้นักเรียนลงมือเลี้ยงไปก่อน 5) จัดซื้อจัดจ้างตามรายการที่กำหนดในแผนการดำเนินงานที่2เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกตามแผนปฏิบัติการ ศรร. จำนวน 3,000ตัว ุ6) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ดำเนินการเลี้ยงปลาดุก 7) ผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ ควบคุมกำกับติดตามและดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด 8) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearningจำนวน40แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา14.30-15.30 น. ทุกวัน 9) ครูและนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกจัดทำบัญชีรับ-จ่าย หรือซื้อขายปลาดุกให้แก่สหกรณ์นักเรียน และบัญชีจัดสรรค่าแรงแก่นักเรียนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงปลาดุกเพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน และรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต
1) นักเรียนมีผลผลิตปลาดุก รุ่นที่ 1 จากเงินหมุนเวียนการเลี้ยงปลาดุก จำนวน 1,000 ตัว เพื่อจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน
2) นักเรียนมีผลผลิตปลาดุกตามแผนการดำเนินงานที่ 2 กิจกรรมที่ 2.2 การเลี้ยงปลาดุก จำนวน 3,000 ตัว
|
217 | 0 |
8. การปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสานและผักกางมุ้ง |
||
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมครู นักเรียน แจ้งรายละเอียดตามแผนการดำเนินงานที่ 2 เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2.6 การปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสานและผักกางมุ้ง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกสวนครัวแบบกางมุ้งและสามารถปลูกผัก ดูแลรักษาผักได้ 2) นักเรียนมีผลผลิตเป็นผักปลอดสารพิษจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียน และโครงการอาหารกลางวันได้ตามฤดูกาล ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดที่ดีต่อการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภค 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เข้าใจในความจำเป็นต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้านพืชผักสวนครัว
|
94 | 0 |
9. การเลี้ยงกบ |
||
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมครู นักเรียน แจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) แบ่งครู นักเรียนเข้ารับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบโดยความสมัครใจ 3) จัดทำรายละเอียดตามข้อตกลงโครงการเป็นแผนปฏิบัติการ ศรร. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันในการดำเนินงาน 4) มอบงบประมาณจากการเลี้ยงกบ ปีที่ 1 ที่เหลือจากการดำเนินงาน จำนวน 1,520 บาท ให้นำไปบริหารจัดการจัดซื้อลูกกบ 4 กิโลกรัม ๆ ละ 200 บาท 5) จัดหาอาหารลูกกบและพ่อแม่กบ จำนวน 720 บาท โดยครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบแบ่งนักเรียนรับผิดชอบในแต่ละวัน 6) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เวลา 14.30-15.30 น. ทุกวัน 7) ครู นักเรียนคอยควบคุม กำกับ ติดตามและแก้ไขปัญหาที่พบแล้วรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ 8) นักเรียนนำผลผลิตกบจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันต่อไป ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) นักเรียนกลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบมีกบแรกอนุบาลในบ่อ จำนวน 4 กิโลกรัม 2) นักเรียนมีกบพ่อแม่พันธ์จากการเลี้ยงใน ปีที่ 1 ราวๆ 10 ตัว 3) นักเรียนมีความรู้ในการเลี้ยงกบ การผสมพันธ์กบ การอนุบาลลูกอ๊อดและการเลี้ยงลูกกบ ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในการดำเนินงานการเลี้ยงกบในระดับดีมาก 2) นักเรียนมีความคิดที่ดีต่อการดำเนินงานอาชีพการเลี้ยงกบของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
|
267 | 0 |
10. การเลี้ยงหมูป่า |
||
วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานที่ 2 เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2.3 การเลี้ยงหมูป่า 2) มอบหมายครูและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูโดยความสมัครใจ 3) จัดหาวัสดุอุปกรณ์และจัดทำคอกหมูป่าเพื่อเตรียมที่ให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์ 4) ครู นักเรียน มอบหมายหน้าที่และแบ่งความรับผิดชอบประจำวันในการดูแล รักษาและให้อาหารหมู 5) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูป่า ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Leatning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่ เวลา 14.30-15.30 น. ทุกวัน 6) ครู นักเรียนจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายในกิจกรรมการเลี้ยงหมูป่าและรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) ครู นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดประสบการณ์ในการเลี้ยงหมูป่า 2) ครู นักเรียนมีความสามารถและทักษะในการขยายพันธุ์และดูแลรักษาลูกหมูป่าได้ 3) มีลูกหมูป่าไว้ขุน หรือจำหน่ายในโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีต่อกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูป่าและให้การสนับสนุนอย่างดี
|
0 | 299 |
11. การทำน้ำผลไม้ และการทำน้ำข้าวกล้องงอก |
||
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมครู นักเรียน ผู้ปกครอง แจ้งแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียน และนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียน เพื่อดำเนินกิจกรรมการทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก 3) จัดทำหลักสูตรสหกรณ์นักเรียน อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียนแก่นักเรียนทุกคน จัดสถานที่ให้เป็นร้านค้าสหกรณ์นักเรียนที่เป็นเอกเทศ 4) จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก และจัดจ้างวิทยากรภายนอกสอนกลุ่มนักเรียนแกนนำทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอก 5) ครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนและนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนดำเนินการจัดทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจำหน่ายแก่นักเรียน ครู ในสหกรณ์นักเรียนและอาหารกลางวัน 6) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบกิจกรรมทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) ครู นักเรียนผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถทำน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกได้ 2) ร้านค้าสหกรณ์นักเรียนมีน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกจำหน่ายแก่ครู นักเรียน ให้ดื่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 3) น้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกที่ผลิตได้สะอาดถูกหลักอนามัย ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจในการให้บริการน้ำผลไม้และน้ำข้าวกล้องงอกในร้านสหกรณ์นักเรียน เพื่อลดการดื่มน้ำอัดลมและน้ำหวานในโรงเรียน 2) ผู้ปกครองมีความเข้าใจและเกิดความคิดที่ดีในการร่วมมือกับทางโรงเรียนในการควบคุม กำกับ ดูแล เรื่องอาหารและเครื่องดื่มของบุตรหลานเพื่อให้ห่างไกลจากอาหารขยะ
|
94 | 0 |
12. การเพาะถั่วงอก |
||
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนแจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียน จัดนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนเพื่อรับผิดชอบกิจกรรมการเพาะถั่วงอก 3) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะเพาะถั่วงอก แล้วให้ความรู้แก่นักเรียนถึงคุณค่าของถั่วงอก วิธีการเพาะถั่วงอกจนเกิดความเข้าใจ 4) ครูนำนักเรียนลงมือเพาะถั่วงอก จดบันทึกขั้นตอนและการเจริญเติบโต หรือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 5) นักเรียนสรุปและนำเสนอขั้นตอนการเพาะถั่วงอก ตลอดจนจัดทำบัญชีรายรัย-รายจ่ายจากการจำหน่ายผลผลิตได้ 6) ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน กิจกรรมที่ 3.2 การเพาะถั่วงอก บันทึกรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) นักเรียนเพาะถั่วงอกเป็น 2) นักเรียนนำเสนอขั้นตอนและวิธีการเพาะถั่วงอกได้ 3) นักเรียนมีถั่วงอกจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารตลอดจนสร้างรายได้แก่นักเรียนเอง ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกิจกรรมการเพาะถั่วงอก 2) ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีและเห็นความสำคัญของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
|
94 | 0 |
13. การทำขนมไทย |
||
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนและนักเรียนแกนนำ ตามแผนการดำเนินงานที่ 3 สหกรณ์นักเรียน กิจกรรมที่ 3.3 การทำขนมไทย 3) จัดหาวัสดุอุปกรณ์และวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นสอนการทำขนมไทยแก่นักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนตามที่นักเรียนสนใจ 4) นักเรียนแกนนำร่วมกันสรุปและจัดทำโครงงานนำเสนอองค์ความรู้การทำขนมไทยแก่เพื่อนๆนักเรียน ครูและผู้ปกครอง ตลอดจนผู้สนใจ 5) ครูและนักเรียนจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายการจำหน่ายขนมไทยแก่สหกรณ์นักเรียน โครงการอาหารกลางวัน ผู้ปกครอง หรือ ชุมชน โดยสามารถนำเสนอกำไร ขาดทุนได้ 6) ครูและนักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนจัดทำรายงานผลการดำเนินงานทำขนมไทยเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) นักเรียนแกนนำสหกรณ์นักเรียนสามารถทำขนมไทยได้ 2) ร้านค้าสหกรณ์นักเรียนมีขนมไทยจำหน่ายแก่สมาชิกสหกรณ์นักเรียน 3) โครงการอาหารกลางวันมีขนมไทยไว้บริการแก่นักเรียนได้ตามเมนูอาหารกลางวัน ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการทำขนมไทย 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความคิดที่ดีต่อการสนับสนุนให้นักเรียนทำขนมไทยเพื่อสุขภาพ
|
94 | 0 |
14. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส |
||
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนแจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่ 4 เปิดโลกทัศน์ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส กิจกรรมที่ 4.1 เผยแพร่และประชา สัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในรูปแบบต่าง ๆ โดยจัดทำป้ายแสดงผลงานตามแผนการดำเนินงานทั้งหมดและป้ายพระบรมฉายาลักษณ์เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(เจ้าฟ้านักโภชนาการ) 3) นำผลงาน...หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม...ที่โรงเรียนบ้านโนนเมืองภาคภูมิใจ คือ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ที่บูรณาการเป็นกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้...หนึ่งกลุ่ม หนึ่งอาชีพ...แสดงในงานเปิดบ้านวิชาการ(Open house)ของอำเภอหัวตะพาน ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 4) มอบผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ไปจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์นำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 10 กลุ่มอาชีพ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(Active Learning) ที่สนองนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตลอดจนภาพกิจกรรมของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองขึ้นเวปไซต์ทั้งหมด 5) ครูผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการเสนอผลการดำเนินงานให้ทราบเป็นระยะๆ และจัดแสดงรูปแบบโครงงานผลงานที่นักเรียนแต่ละกลุ่มอาชีพนำเสนอไว้ในห้องศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง เพื่อประชาสัมพันธ์แก่สาธารณชนและเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(เจ้าฟ้านักโภชนาการ) อีกทางหนึ่งด้วย ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) มีการประชาสัมพันธ์โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองอย่างหลากหลาย 2) มีเวปไซต์แสดงผลงานของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนบ้านโนนเมือง และทั่วๆไปรู้จักโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมือง 2) ผู้ปกครองและชุมชนตระหนักและเห็นคุณค่าของการดูแลโภชนาการและสุขภาพบุตรหลานอย่างครบวงจรอันเนื่องมาจากความมั่นคงทางด้านอาหารของครอบครัว 3) สาธารณชนทั่วไปรู้จักผลงานและเป้าหมายโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)อย่างแพร่หลาย
|
267 | 0 |
15. การปลูกเห็ดขอยขาว เห็ดนางฟ้าและเห็ดนางรม |
||
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) มอบหมายครู นักเรียนรับผิดชอบกลุ่มงานการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้าตามที่โรงเรียนได้ทำบันทึกข้อตกลงกับโครงการ 3) จัดทำโรงเรือนเห็ดตามที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 12,800 บาท 4) จัดซื้อก้อนเห็ดนางฟ้าด้วยงบประมาณที่ได้รับจากกองทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 20,000 บาท เพื่อจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารกลางวัน ตั้งแต่เริ่มเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 5) จัดซื้อ/จัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ทำเห็ดนางฟ้าและจ้างวิทยากรภายนอกสอนกระบวนการทำเห็ดนางฟ้า งบประมาณตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) จำนวน 20,000 บาท 6) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้า ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา 14.30 - 15.30 น. ทุกวัน 7) ครูและนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดนางฟ้า จัดจำหน่ายเห็ดแก่สหกรณ์นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและตลาดสด ตลอดจนทำบัญชีรับ-จ่ายและรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน 8) ครูผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและปลูกเห็ดนางฟ้าต้องสามารถนำเสนอองค์ความรู้ที่ตนเองรับผิดชอบแก่ผู้สนใจเรียนรู้ได้อย่างคล่องแคล่ว ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1) ครู นักเรียนที่รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและปลูกเห็ดมีทักษะในการทำเห็ดและปลูกเห็ด 2) นักเรียนมีก้อนเห็ด มีเห็ดจำหน่ายให้แก่โครงการอาหารกลางวัน ชุมชน ผลลัพธ์ 1) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในกลุ่มอาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ด 2) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความคิดที่ดีต่ออาชีพการทำเห็ดและการปลูกเห็ดและให้การสนับสนุนอย่างดี 3) ผู้ปกครอง ชุมชน มองเห็นคุณค่าของการทำเห็ดและปลูกเห็ดเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ครอบครัว ชุมชน
|
94 | 0 |
16. การถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส |
||
วันที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำประชุมผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน และภาคีเครือข่าย ถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต(Output) 1) การระดมความคิด/ความร่วมมือ ทำให้ทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน 2) ทราบปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน 3) ทราบแนวทางในการพัฒนางานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)เพื่อต่อยอดของโครงการ ผลลัพธ์(Outcome) 1) เจตคติและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี สุขภาพดีและผลการเรียนดีและเกิดความมั่นคงทางอาหารในชุมชน
|
267 | 0 |
17. คืนดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการ |
||
วันที่ 20 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำคืนดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคืนดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการเรียบร้อย
|
0 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัยมีอารมณ์และสติปัญญาดีขึ้นรวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์โดยการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและภาคีเครือข่าย 2. โรงเรียนนำ Thai School Lunch Program มาวางแผนปรุง ประกอบอาหารกลางวันถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลและปลอดภัย 3. โรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชนเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีด้านอาหารแก่นักเรียนตามหลักโภชนาการอย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน |
||||
2 | เพื่อลดปัญหาด้านโภชนาการและด้านสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ให้มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนพัฒนาคุณภาพงานเด็กไทยแก้มใสทุกองค์ประกอบให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 2. โรงเรียนจัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 3. นักเรียนทุกคนต้องมีภาวะผอม อ้วน เตี้ย ของช่วงอายุไม่เกิน ร้อยละ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย |
||||
3 | เพื่อให้ผู้ปกครองชุมชนตระหนักรู้เรื่องอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยของบุตรหลานมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนตลอดจนเกิดความมั่นคงและยั่งยืน ตัวชี้วัด : 1. ผู้ปกครอง ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการด้านอาหารและสุขภาพของนักเรียน 2. ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนในการเสริมสร้างภาวะโภชนาการที่ถูกต้องแก่นักเรียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน 3. ผู้ปกครอง ชุมชนให้ความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงานทุกกิจกรรมจนเกิดความมั่นคงทางอาหารทั้งที่บ้านและโรงเรียน นักเรียนในศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสมีสุขภาวะที่ดี |
||||
4 | เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) ที่สมบูรณ์และสามารถถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการบริหารจัดการด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนบริหารจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร 2. โรงเรียนจัดกิจกรรมแบบบูรณาการครบย๘องค์ประกอบ โรงเรียนเด็กไทยแก้มใส 3. โรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ให้บริการแก่ผู้สนใจในศูนย์เรียนรู้ต้นแยยโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)อย่างมีคุณภาพ |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ
โรงเรียนบ้านโนนเมือง จังหวัด อำนาจเจริญ
รหัสโครงการ ศรร.1311-089
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( นายเผ่า วามะลุน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......