ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านดอนข่า


“ โรงเรียนบ้านดอนข่า ”

หมู่ที่ 5 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

หัวหน้าโครงการ
นางวิชุดา ชัยชาญ

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านดอนข่า

ที่อยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ

รหัสโครงการ ศรร.1311-086 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.40

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านดอนข่า จังหวัดศรีสะเกษ" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 5 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านดอนข่า ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านดอนข่า



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านดอนข่า " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสโครงการ ศรร.1311-086 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านดอนข่า เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 82 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน ๘ องค์ประกอบคือ ๑) การเกษตรในโรงเรียน ๒) สหกรณ์นักเรียน ๓) การจัดการบริหารของโรงเรียน ๔) การติดตามภาวะโภชนาการ ๕) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน ๖) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ๗) การจัดบริการสุขภาพ และ๘) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน ๔ ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๘) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๕๔๔ โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี จำนวน ๑,๔๙๒,๐๘๙ คน ใน ๗๖ จังหวัด ของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๕ พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ ๑๒.๕ เตี้ยร้อยละ ๑๖.๘ และระบุว่านักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ ๕๑.๖ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี ๒๕๔๔พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑.๒ ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๒๓.๒๘๘ คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน ๕๙๐,๐๘๗ คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๕๘,๑๔๙ คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ ๑) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ ๖๐ กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ ๔๐๐ กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ ๖๗.๔ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย ๕- ๗ ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย ๓ ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง ๑๐ ช้อนชา และ ๒) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านดอนข่าได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการปีที่ ๑ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใสใน ๑ ที่ผ่านมาทำให้โรงเรียนมีนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วน ลดลงจากเหลือ ๒ คิดเป็น ๒.๓๘ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือผอม ลดลงเหลือ ๑ คนคิดเป็นร้อยละ ๑.๑๙ และปัญหานักเรียนเป็นโรคฟันผุ ลดลงเหลือ ๑ คนคิดเป็นร้อยละ ๑.๑๙ โรงเรียนบ้านดอนข่ามีความประสงค์ที่จะพัฒนาทุกด้านโดยการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของจากชุมชนซึ่งชุมชนบ้านดอนข่าเป็นชุมชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอมา ทางโรงเรียนจะขยายผลสู่ชุมชนสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และผลที่ได้จากโครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสสามารถทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอในมื้อกลางวันอย่างน้อยวันละ ๑๕๐-๒๐๐ กรัมต่อคน และได้รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการเหมาะสมตามวัยและภาวะสุขภาพ มีภาวะทุพโภชนาการทางที่ดีมีแนวโน้มลดลงในแต่ละปีเพื่อให้นักเรียนส่วนใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กมีสัดส่วนลดลง ให้นักเรียนทุกคนได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ แก้มใส โภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
  2. เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปี การศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
  3. เพื่อติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
  4. เพื่อขยายเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียนทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
    2. นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปีการศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
    3. โรงเรียนมีการติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
    4. โรงเรียนมีเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ช่วงเช้าก่อนทำกิจกรรมหน้าเสาธงทางโรงเรียนให้นักเรียนออกกำลังกายในสนาม BBL
    • ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี จัดกิจกรรมโยคะให้แก่นักเรียน
    • จัดกิจกรรมแอโรบิก กิจกรรมฮูลาฮูพในทุกวันอังคารหลังเลิกเรียน
    • กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว จัดกิจกรรมภาคเรียนละ 2 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินโครงการนักเรียนทุกคนได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง และทดสอบสมรรถภาพกายทั้ง 3 ด้านได้แก่การไหลเวียนโลหิตความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวมีการบันทึกข้อมูลน้ำหนักส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายทั้ง 3 ด้านมีการแปลผลภาวะโภชนาการจากโปรแกรม Thai Growth และสมรรถภาพทางกายที่ถูกต้องตามเกณฑ์ชี้วัดเป็นปัจจุบัน ทำให้นักเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง โดยการสังเกตนักเรียนเป็นรายบุคคลและนำข้อมูลที่จัดกิจกรรมไปใช้ในการคำนวณ นักเรียนที่มีภาวะต่างๆ ดีขึ้นจะได้เข้ากับกลุ่มที่สมส่วน

     

    82 82

    2. ประชุมแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่คณะทำงาน

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

    กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่คณะทำงานซึ่งผู้ประชุม ประกอบไปด้วย แกนนำกลุ่ม ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน
    เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอ.ส.ม หมู่บ้าน

    ตามกำหนดการ ดังนี้

    08.30-09.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมเริ่มลงทะเบียน

    09.00-09.30 น.ผู้อำนวยการโรงเรียนทำพิธีเปิดการประชุม ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการศูนย์ การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    09.30-10. 30 น.กำหนดภาระงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

    10.30-11.45 น. แต่งตั้งคณะกรรมการแกนนำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

    11.45-12.00 น.สรุปความรู้จากการประชุม


    หมายเหตุ รับอาหารว่าง เวลา 10.00-10.45

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดกิจกรรมทางโรงเรียน มีผู้รับผิดชอบงานตามภาระหน้าที่อย่างเป็นระบบ ได้แก่

    1.1 การเกษตรในโรงเรียน ผู้รับผิดชอบ นายพันไลย ระงับภัย

    1.2 สหกรณ์นักเรียน ผู้รับผิดชอบ นางสาวนพมณี ชูเชื้อ และนายประโยชน์ ดวงพล

    1.3 การจัดบริการอาหารของโรงเรียน ผู้รับผิดชอบ นางประยงค์ ร่วมจิตร และนางสาวภัทรวดี บุญทอง

    1.4 การติดตามภาวะโภชนาการ ผู้รับผิดชอบ นางอาภรณ์ จันทร์สว่าง และนางสาวภัทรวดี บุญทอง

    1.5 การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน ผู้รับผิดชอบ นางอาภรณ์ จันทร์สว่าง และนางสาวปวินันท์ ปานทอง

    1.6 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ผู้รับผิดชอบ นางวิชุดา ชัยชาญนางอาภรณ์ จันทร์สว่าง และนายพันไลย ระงับภัย

    1.7 การจัดบริการสุขภาพ ผู้รับผิดชอบ นายธนาสันต์ จำนงค์ และนายประโยชน์ ดวงพล

    1.8 การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ผู้รับผิดชอบ นางประยงค์ ร่วมจิตร

    1.9 ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รพ.สต. บ้านดอนข่าประมงอำเภอขุนหาญเกษตรอำเภอขุนหาญองค์การบริหารส่วนตำบลพรานสาธารณสุขอำเภอขุนหาญ และกศน. อำเภอขุนหาญ

    1.10 ฝ่ายการเงิน-การบัญชี ผู้รับผิดชอบ นางสาวปวินันท์ ปานทอง

    ทางโรงเรียนมีการจัดทำแผนกิจกรรมการพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่ครอบคลุมสุขนิสัยในด้านต่างๆ นักเรียนมีการปฏิบัติตามแผนกิจกรรมที่วางไว้ครอบคลุมทุกกิจกรรม ทำให้นักเรียนแกนนำสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยมีการติดตามประเมินผลด้วยตนเอง และขยายผลให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียน

     

    82 161

    3. อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ

    วันที่ 11 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

    กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ซึ่งผู้ประชุม ประกอบไปด้วย แกนนำกลุ่ม ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน

    เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอ.ส.ม หมู่บ้าน

    ตามกำหนดการ ดังนี้

    08.30-09.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมเริ่มลงทะเบียน

    09.00-09.30 น.ประธานในพิธี (นายสมบัติ ระงับภัย) ทำพิธีเปิดการประชุม

    09.30-10. 30 น.นายธนาสันต์ จำนงค์ ให้ความรู้ เรื่อง โทษของการดื่มน้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ

    10.30-12.00 น. กิจกรรมการปฺฏิบัติร่วมกับการอบรมให้ความรู้ การลดดื่มน้ำอัดลม รับประทานลูกอม และขนมกรุบกรอบ

    11.30-12.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.30-15.30 น.นางอาภรณ์ จันทร์สว่าง ให้ความรู้ เรื่อง การเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ

    15.30-16.00 น.สรุปความรู้จากการประชุม

    16.00 น.พิธีปิด


    หมายเหตุ รับอาหารว่าง เวลา 10.00-10.45

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนและผู้ปกครองเข้ารับการอบรมได้รับความรู้ตามหลักโภชนาการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    • นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่อง โทษของการดื่มน้ำอัดลม ลูกอมและขนทกรุบกรอบ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการการบริโภคอาหารที่บ้าน
    • ผู้เข้าร่วมรับการอบรมสามารถขยายผลให้แก่ชุมชนของตนเองและชุมชนใกล้เคียงเกี่ยวกับโทษของการดื่มน้ำอัดลม ลูกอมและขนมกรุบกรอบ และสามารถผลิตอาหารที่ไร้สารพิษไว้บริโภคในครอบครัวได้

     

    207 163

    4. อบรมให้ความรู้เรื่อง อย. น้อย

    วันที่ 23 กันยายน 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

    กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่อง อย. น้อย ซึ่งผู้ประชุม ประกอบไปด้วย แกนนำกลุ่ม ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน

    เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอ.ส.ม หมู่บ้าน

    ตามกำหนดการ ดังนี้

    08.30-09.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมเริ่มลงทะเบียน

    09.00-09.30 น.ประธานในพิธี (นายสมบัติ ระงับภัย) ทำพิธีเปิดการประชุม

    09.30-12.00 น.นายพิศิษฐ์ สุภาพ ให้ความรู้ เรื่อง สารปนเปื้อนในอาหาร

    11.30-12.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.30-15.30 น.นายเลียง อุปมัย ให้ความรู้ เรื่อง -โทษของสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง ความรู้เรื่องยา
    โทษและพิษภัยของยาชุด ยาปฏิชีวนะที่จำหน่ายในร้านชำ วัตถุอันตราย ฉลากอาหาร

    15.30-16.00 น.สรุปความรู้จากการประชุม

    16.00 น.พิธีปิด

    หมายเหตุ รับอาหารว่าง เวลา 10.00-10.45

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ สารปนเปื้อนในอาหาร โทษของสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง ความรู้เรื่องยา โทษและพิษภัยของยาชุด ยาปฏิชีวนะที่จำหน่ายในร้านชำ วัตถุอันตราย ฉลากอาหาร ร่วมกันจัดทำป้ายและเดินรณรงค์การลดดื่มน้ำอัดลม รับประทานลูกอม
    • นักเรียนและผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ครอบครัวของตนและบ้านใกล้เคียงมีความตระหนักถึงผลเสียที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษ ได้เรียนรู้กรรมวิธีกาการควบคุมคุณภาพอาหารจากของจริง และยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตเกิดความตระหนักและพัฒนาปรับปรุงสถานที่ของตน และจะพัฒนาศักยภาพของ อย.น้อย ให้สามารถตรวจประเมินโรงอาหารเพื่อพัฒนาโรงอาหารภายในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะและจำหน่ายอาหารที่มีความปลอดภัย เพื่อลดการเกิดโรคอาหารเป็นพิษภายในโรงเรียน

     

    105 75

    5. ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 1

    วันที่ 24 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมการจัดประชุมรายงานการเงินงวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครูสามารถสรุปรายงานตามความเป็นจริงได้

     

    3 3

    6. ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้และการเลี้ยงหมูหลุม)

    วันที่ 28 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการ การอบรมให้ความรู้เรื่อง ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
    “การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้และการเลี้ยงหมูหลุม”

    08.00-09.00 ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน
    09.00-09.30 พิธีเปิด

    -ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย/พิธีกรนำกล่าวสวดมนต์

    -ประธานจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย และกราบที่แท่นกราบ

    -ประธานในพิธีกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายอาลัย

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช

    -ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนสงบนิ่ง 89 วินาที เพื่อไว้อาลัย

    -ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีโดยพร้อมเพรียงกัน

    -เชิญประธานที่แท่นรับกล่าวรายงานตัวแทนกล่าวรายงาน

    -ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทและเปิดงาน

    09.30-10.30บรรยายพิเศษ โดย นางวิชุดาชัยชาญผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนข่า

    10.30-10.45พักรับประทานอาหารว่าง

    10.45-12.00 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ประกอบด้วย2ฐานการเรียนรู้ได้แก่

    -ฐานการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

    -ฐานการเลี้ยงหมูหลุม

    12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00-14.30 ถอดบทเรียน

    14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    14.45-16.30 สรุปองค์ความรู้/แนวทางพัฒนา/การต่อยอด ขยายผล

    หมายเหตุวันและเวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินกิจกรรมนักเรียน ผู้ปกครอง ได้นำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน โดยการมีการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง วางแผนการปลูกผักชนิดต่างๆ ตามฤดูกาล หมุนเวียนกันเพื่อนำไปประกอบอาหาร โดยนำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน ผลผลิตที่นักเรียนดูแล และเป็นผักที่ปลอดสารพิษ รับประทานได้อย่างไม่มีความกังวล และนักเรียนได้ขยายผลให้แก่ผู้มาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

     

    105 133

    7. ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การเลี้ยงปลาดุก )

    วันที่ 4 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การอบรมให้ความรู้เรื่อง ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
    “การเลี้ยงปลาดุก”

    08.00-09.00 ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน
    09.00-09.30 พิธีเปิด

    -ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย/พิธีกรนำกล่าวสวดมนต์

    -ประธานจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย และกราบที่แท่นกราบ

    -ประธานในพิธีกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช

    -ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนสงบนิ่ง 89 วินาที เพื่อไว้อาลัย

    -ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีโดยพร้อมเพรียงกัน

    -เชิญประธานที่แท่นรับกล่าวรายงานตัวแทนกล่าวรายงาน

    -ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทและเปิดงาน

    09.30-10.30บรรยายพิเศษ โดย เกษตรอำเภอขุนหาญ

    10.30-10.45พักรับประทานอาหารว่าง

    10.45-12.00 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้“ฐานการเลี้ยงปลาดุก”

    12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00-14.30 ถอดบทเรียน

    14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    14.45-16.30 สรุปองค์ความรู้/แนวทางพัฒนา/การต่อยอด ขยายผล

    หมายเหตุวันและเวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินกิจกรรม นักเรียนทราบถึงการเลี้ยงปลาดุกของโรงเรียนเป็นการดูแลสัตว์เลี้ยง ทราบวิธีการให้อาหารปลาดุก การเปลี่ยนน้ำปลาดุก และการนำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่าย หลังจากการจัดกิจกรรม ครู นักเรียนและผู้ปกครองได้สะท้อนผลถึงการจัดกิจกรรม โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนีี้เป็นการจัดกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ และนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลให้แก่ชุมชน และคณะมาศึกษาดูงาน การจัดกิจกรรมทำให้นักเรียนทราบถึงกระบวนการคิด การวิเคราะห์ การจลงมือปฏิบัติจริง และทักษะกระบวนการกลุ่ม

     

    105 132

    8. ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน )

    วันที่ 11 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การอบรมให้ความรู้เรื่อง ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

    “การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้และการเลี้ยงหมูหลุม”


    08.00-09.00  ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน

    09.00-09.30  พิธีเปิด

    -  ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย/พิธีกรนำกล่าวสวดมนต์
    -  ประธานจุดธูปเทียน  เครื่องทองน้อย และกราบที่แท่นกราบ

    -  ประธานในพิธีกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช

    -  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนสงบนิ่ง 89 วินาที เพื่อไว้อาลัย

    -  ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี  โดยพร้อมเพรียงกัน

    -  เชิญประธานที่แท่นรับกล่าวรายงาน  ตัวแทนกล่าวรายงาน

    -  ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทและเปิดงาน

    09.30-10.30 บรรยายพิเศษ โดย นางวิชุดา  ชัยชาญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนข่า

    10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
    10.45-12.00 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้  “ฐานการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน”

    12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00-14.30 ถอดบทเรียน

    14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    14.45-16.30 สรุปองค์ความรู้/แนวทางพัฒนา/การต่อยอด ขยายผล

    หมายเหตุ วันและเวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินกิจกรรมทางโรงเรียนได้รับความรู้จากการอบรมโดยการดุแลไก่พันธุ์พื้นบ้าน และทางโรงเรียนได้ไก่พันธุ์ไข่จากชุมชนบ้านดอนข่า จำนวน 50 ตัว และทำให้โณงเรียนของเราได้มีการวางแผนการดูแลรักษาการให้อาหารการให้น้ำ และการดูแลความสะอาดโรงเรือนไก่ นักเรียนผู้รับผิดชอบได้ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เรื่มจากการจัดกิจกรรมทำให้นักเรียนทราบว่า ในแต่ละวันไก่จะได้รับปริมาณของอาหาร 1 ขีด/ตัว นักเรียนได้บูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์การคำนวณการให้อาหารไก่ในแต่ละวัน แต่การจดบันทึกปริมาณไข่ในแต่ละวัน ได้ใช้การบวนการคิดวิเคราะห์ว่าในแต่ละวันไข่ไก่มีจำนวนลดลงหรือเพิ่มขึ้น เกิดจากสาเหตุใด เป็นการฝึกให้นักเรียนได้วิเคราะห์ถึงปัญหาและผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี

     

    105 137

    9. การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร

    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การอบรมให้ความรู้เรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร

    08.00-09.00  ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน

    09.00-09.30  พิธีเปิด
    -  ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย/พิธีกรนำกล่าวสวดมนต์

    -  ประธานจุดธูปเทียน  เครื่องทองน้อย และกราบที่แท่นกราบ

    -  ประธานในพิธีกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายอาลัยพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช

    -  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนสงบนิ่ง 89 วินาที เพื่อไว้อาลัย

    -  ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี  โดยพร้อมเพรียงกัน

    -  เชิญประธานที่แท่นรับกล่าวรายงาน  ตัวแทนกล่าวรายงาน

    -  ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทและเปิดงาน

    09.30-10.30 บรรยายพิเศษ โดย นางวิชุดา  ชัยชาญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนข่า

    10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    10.45-12.00 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้  “การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร”

    12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00-14.30 ถอดบทเรียน

    14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    14.45-16.30 สรุปองค์ความรู้/แนวทางพัฒนา/การต่อยอด ขยายผล

    หมายเหตุ วันและเวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินกิจกรรมนักเรียนได้นำผลผลิตที่มีในโรงเรียนมาแปรรูป ได้แก่ การทำน้ำฟักข้าวการทำวุ้นมะพร้าว การทำกล้วยฉาบกล้วยเชื่อม จากการจัดกิจกรรมฝึกให้นักเรียนมีการวางแผนศึกษาการแปรรูปผลผลิตต่างๆ บูรณาการกับวิชาพอเพียง นักเรียนได้เรียนรู้ในการแปรรูปอาหารที่เหมาะกับวัยของผู้เรียน ผลผลิตที่นำมาใช้มรอยู่ในโรงเรียน ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่นักเรียน ลดค่าใช้จ่าย

     

    105 135

    10. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนที่ร่วมโครงการ

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนที่ร่วมโครงการ

    08.00-09.00  ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน

    09.00-09.30  พิธีเปิด
    -  ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย/พิธีกรนำกล่าวสวดมนต์

    -  ประธานจุดธูปเทียน  เครื่องทองน้อย และกราบที่แท่นกราบ

    -  ประธานในพิธีกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายอาลัยพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช

    -  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนสงบนิ่ง 89 วินาที เพื่อไว้อาลัย

    -  ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี  โดยพร้อมเพรียงกัน

    -  เชิญประธานที่แท่นรับกล่าวรายงาน  ตัวแทนกล่าวรายงาน

    -  ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทและเปิดงาน

    09.30-10.30 บรรยายพิเศษ โดย นางวิชุดา  ชัยชาญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนข่า

    10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    10.45-12.00 ชมนิทรรศการ

    12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00-14.30 ถอดบทเรียน

    14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    14.45-16.30 สรุปองค์ความรู้/แนวทางพัฒนา/การต่อยอด ขยายผล

    หมายเหตุ วันและเวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินกิจกรรม โรงเรียนจัดนิทรรศการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงเรียนบ้านดอนข่า ในวันจัดกิจกรรมมีครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโดยนักเรียนแต่ละชั้น นำผลผลิตของชั้นตนเองมาจำหน่ายให้แก่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ สร้างรายได้ให้แก่นักเรียน ปลูกฝังการรู้จักคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ในโรงเรียน ชุมชน มาแปรรูปและนำไปจำหน่ายๆ ได้

     

    207 272

    11. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมการจัดประชุมรายงานการเงินงวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินกิจกรรม ครูสามารถสรุปรายงานตามความเป็นจริงได้

     

    2 2

    12. บริหารจัดการ

    วันที่ 3 มีนาคม 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
    โครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    08.00-09.00  ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน

    09.00-09.30  พิธีเปิด

    -  ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย/พิธีกรนำกล่าวสวดมนต์
    -  ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี  โดยพร้อมเพรียงกัน

    -  เชิญประธานที่แท่นรับกล่าวรายงาน  ตัวแทนกล่าวรายงาน

    -  ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทและเปิดงาน 09.30-10.30 บรรยายพิเศษ โดย นางวิชุดา  ชัยชาญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนข่า

    10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    10.45-12.00 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

    12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00-14.30 ถอดบทเรียน

    14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

    14.45-16.30 สรุปองค์ความรู้/แนวทางพัฒนา/การต่อยอด ขยายผล

    หมายเหตุ วันและเวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินกิจกรรม ผู้เข้าร่วมรับการอบรมได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม นำความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้

     

    207 260

    13. คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 24 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

    จากการประเมินผล นักเรียนร้อยละ 95 ของนักเรียนมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

    2 เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปี การศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 95 ของนักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปีการศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

    จากการประเมินผล นักเรียนร้อยละ 95 ของนักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปีการศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

    3 เพื่อติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : โรงเรียนมีการติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

    โรงเรียนได้ดำเนินการติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

    4 เพื่อขยายเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    ตัวชี้วัด : โรงเรียนมีเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    โรงเรียนมีเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนรพ.สต. บ้านม่วงแยก ประมงอำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนตำบล เกษตรอำเภอขุนหาญ สาธารณสุขอำเภอขุนหาญ ทหารพราน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต (2) เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปี การศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร (3) เพื่อติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง (4) เพื่อขยายเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านดอนข่า

    รหัสโครงการ ศรร.1311-086 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.40 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    อยู่อย่างพอเพียง

    โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ทางโรงเรียนได้เชิญปราชญ์ชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเป็นวิทยากรและร่วมเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ นักเรียนจะได้รับประทานหมุนเวียนกันในแต่ละเดือน แต่ละฤดูกาล มีไก่พันธุ์ไข่ นำไข่ที่ได้ไปจำหน่ายให้กับโรงการอาหารกลางวัน

    การเป็นวิทยากรขยายผลการดำเนินงานให้กับสถานศึกษาหน่วยงานที่สนใจ และการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลการนำหลักการบริหารจัดการของโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสในโอกาสต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    หนึ่งคน 30 ทักษะอาชีพ

    นักเรียนที่ร่วมเป็นสมาชิก นำเงินมาออมโดยเงินที่นำมาออมได้จากการนำผลผลิตที่ได้จากโครงการเด็กไทยแก้มใสไปจำหน่ายโดยการขายให้กับโครงการอาหารกลางวันตลาดนัดผักสวนครัวและขายในสหกรณ์ของโรงเรียนนำเงินที่ได้จากการขายมาบันทึกลงในบัญชีรับ-จ่ายของกลุ่ม หลังจากการเข้าร่วมโครงการกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนทำให้นักเรียนมีเงินออมรู้จักใช้เงินอย่างประหยัดมากขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ

    การเป็นวิทยากรขยายผลการดำเนินงานให้กับสถานศึกษาหน่วยงานที่สนใจ และการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลการนำหลักการบริหารจัดการของโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสในโอกาสต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    โปรแกรม Thai School Lunch ตามมาตรฐานโภชนาการ

    จัดรายการอาหารเป็นรายเดือน ซึ่งได้มาตรฐานโภชนาการมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับวัยของนักเรียนเอง และมีปริมาณพลังงานและสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับวัยมีครูเวรคอยทำหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการตักอาหารของนักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนของธงโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย

    การเป็นวิทยากรขยายผลการดำเนินงานให้กับสถานศึกษาหน่วยงานที่สนใจ และการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลการนำหลักการบริหารจัดการของโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสในโอกาสต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    การทำกิจกรรม BBL ก่อนเคารพธงชาติ

    โรงเรียนมีโครงการที่ดำเนินการตามโครงการเด็กไทยแก้มใสและดำเนินงานตามโครงการฯโดยผู้บริหารร่วมกับครูคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้กำหนดโครงการลงในแผนปฏิบัติการ ชื่อ โครงการส่งเสริมสุขภาพ จากการดำเนินโครงการนักเรียนทุกคนได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง และทดสอบสมรรถภาพกายทั้ง 3 ด้านได้แก่การไหลเวียนโลหิตความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวมีการบันทึกข้อมูลน้ำหนักส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายทั้ง 3 ด้านมีการแปลผลภาวะโภชนาการจากโปรแกรม Thai Growth และสมรรถภาพทางกายที่ถูกต้องตามเกณฑ์ชี้วัดเป็นปัจจุบัน

    การเป็นวิทยากรขยายผลการดำเนินงานให้กับสถานศึกษาหน่วยงานที่สนใจ และการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลการนำหลักการบริหารจัดการของโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสในโอกาสต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    บูรณาการ

    มีการจัดทำแผนกิจกรรมการพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่ครอบคลุมสุขนิสัยในด้านต่างๆ นักเรียนมีการปฏิบัติตามแผนกิจกรรมที่วางไว้ครอบคลุมทุกกิจกรรม โรงเรียนมีการติดตามและประเมินผลสุขนิสัยนักเรียน จาการเข้าร่วมโครงการทำให้นักเรียนแกนนำสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยมีการติดตามประเมินผลด้วยตนเอง และขยายผลให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียน

    นักเรียนแกนนำสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยมีการติดตามประเมินผลด้วยตนเอง และขยายผลโรงเรียนอื่น

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    โครงงาน big cleaning day

    ได้รับความร่วมมือจาก ชุมชน และเครือข่ายท้องถิ่นในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและเพียงพอกับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ทุกวันตอนเช้าและหลังเลิกเรียนจะมีนักเรียนที่เป็นเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดร่วมกันตรวจเช็คความสะอาดของบริเวณต่างๆ ของโรงเรียน และมีครูคอยให้คำปรึกษานอกจากนี้ยังเชิญสาธารณสุขจากโรงพยาบาลขุนหาญและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วงแยกมาให้ความรู้เกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอย่างถูกต้อง

    การรณรงค์และขยายผลสู่ชุมชน เช่น การรณรงค์การทำความสะอาดห้องน้ำการคัดแยกขยะเป็นต้น และขยายผลโรงเรียนอื่น

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    การตรวจสุขภาพประจำเดือน

    • โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมบริการสุขภาพนักเรียนตามแนวทางที่กำหนดภายใต้ความร่วมมือกับฝ่ายสาธรณสุขที่ดูแลโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

    • มีห้องปฐมพยาบาลที่ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐาน และมีครูอนามัยดูแลตลอดเวลา

    • จัดกิจกรรมเลือกนักเรียนแกนนำร่วมรับผิดชอบในการให้บริการสุขภาพ และนักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นตามมาตรฐาน

    การเป็นวิทยากรขยายผลการดำเนินงานให้กับสถานศึกษาหน่วยงานที่สนใจ และการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลการนำหลักการบริหารจัดการของโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสในโอกาสต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    พอเพียง

    โรงเรียนมีจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในด้านการเกษตรโรงเรียนมีแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับเรื่องเกษตรสหกรณ์โภชนาการและสุขภาพครบทุกระดับชั้นในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยแหล่งเรียนรู้เป็นฐานและให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการนำไปบูรณาการกับวิชาต่างๆ

    การเป็นวิทยากรขยายผลการดำเนินงานให้กับสถานศึกษาหน่วยงานที่สนใจ และการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลการนำหลักการบริหารจัดการของโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสในโอกาสต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ
    • AAR
    • PLC

    การทำ AAR ในการสะท้อนผล การดำเนินการแต่ละกิจกรรม และการตั้งวง PLC ทำให้โรงเรียนทราบถึงสาเหตุและต่อยอดกิจกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

    ขยายผลการขับเคลื่อนโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่ภายนอกสถานศึกษา เช่น ชุมชน สถานศึกษาอื่น หน่วยงานต่างๆ เผยแพร่และเป็นที่ยอมรับระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่ และระดับประเทศ

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    ในการดำเนินกิจกรรมทางโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายช่วยเหลือ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนรพ.สต. บ้านม่วงแยก ประมงอำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนตำบล เกษตรอำเภอขุนหาญ สาธารณสุขอำเภอขุนหาญ ทหารพราน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนบ้านดอนข่า มีสภาพบริบทของโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เชิญชุมชนมาร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน เช่น แหล่งเรียนรู้ในชุมชน สวนตะไคร้ในท้องถิ่น การแปรรูปอาหาร สวนสมุนไพรท้องถิ่น เป็นต้น จากการดำเนินการร่วมกัน ส่งผลให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    1. การบริหารจัดการของโรงเรียนที่ทำอย่างเป็นระบบ
    2. การนิเทศก์ติดตามของผู้บริหาร
    3. การทำงานอย่างต่อเนื่อง

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    1.ครูเข้าใจกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยในการจัดกิจกรรมต่างๆ หลังจากการทำกิจกรรมแล้วนั้น จะมีการประชุม การทำ PLC เพื่อทำให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ เป็นองค์ความรู้

    2.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจจากการทำเกษตรในโรงเรียน นำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่ายให้กับสหกรณ์นักเรียน ซี่งผลผลิตที่ได้นำไปประกอบอาหารให้นักเรียนได้รับประทาน ซึ่งจัดรายการอาหารเป็นรายเดือน ซึ่งได้มาตรฐานโภชนาการมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับวัย

    3.แม่ครัว มีความรู้ความเข้าใจโดยการนำผลผลิตจากการเกษตรที่ได้มาใช้ในการประกอบอาหารในแต่ละวัน

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    ผู้ปกครองและชุมชนมาร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น เชิญเป็นวิทยากรด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ชุมชน และมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน เช่น แหล่งเรียนรู้ในชุมชน สวนตะไคร้ในท้องถิ่น การแปรรูปอาหาร สวนสมุนไพรท้องถิ่น เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    ทางโรงเรียนมีการวางแผนในการปลูกผักอย่างเป็นระบบ โดยการปลูกผักหมุนเวียนกันตามฤดูกาล เพื่อนำเข้าสหกรณ์นักเรียน และนำไปจำหน่ายให้แก่โครงการ

    • สมุดบันทึก

    • บัญชีโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

    • บัญชีโครงการอาหารกลางวันของแต่ละชั้น

    • บัญชีบวบ

    • บัญชีถั่ว

    การปลูกพืชอย่างต่อเนื่องและการทำงานอย่างเป็นระบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    ทางโรงเรียนมีการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน นำไข่จากการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การเลี้ยงเป็ด การเลี้ยงหมูหลุม นำไปประกอบอาหารให้แก่นักเรียน

    • สมุดบันทึก

    • บัญชีโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

    • บัญชีไก่ไข่

    การดูแลสัตว์เลี้ยงเพื่อให้นักเรียนได้รบสารอาหารที่ครบถ้วน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    ทางโรงเรียนมีการเลี้ยงปลาดุก ปลากินพืช กบ นำไปประกอบอาหารให้แก่นักเรียน

    • สมุดบันทึก

    • บัญชีโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

    การเลี้ยงสัตว์ที่หลากหลาย เพื่อใช้ในการประกอบอาหารที่หลากหลาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    ทางโรงเรียนมีการจัดบริการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

    • ข้อมูลการจัดบริหารอาหารของนักเรียน

    จัดให้นักเรียนบริโภคผักและผลไม้ที่หลากหลาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    ทางโรงเรียนมีการจัดบริการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

    • ข้อมูลการจัดบริหารอาหารของนักเรียน

    จัดให้นักเรียนบริโภคผักและผลไม้ที่หลากหลาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    ทางโรงเรียนมีการจัดบริการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

    • ข้อมูลการจัดบริหารอาหารของนักเรียน

    จัดให้นักเรียนบริโภคผักและผลไม้ที่หลากหลาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    เชิญเป็นวิทยากรด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน เช่น แหล่งเรียนรู้ในชุมชน สวนตะไคร้ในท้องถิ่น การแปรรูปอาหาร สวนสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อนำมาประกอบอาหารเป็นต้น

    • ภาพกิจกรรม

    • สมุดบันทึก

    การร่วมกันสรุปฟล รณรงค์การผลิตอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    ทางโรงเรียนมีครูผู้รับผิดชอบ จัดทำข้อมูลในการประกอบอาหารในแต่ละเดือน โดยการใช้โปรแกรม Thai School Lunch

    • ข้อมูล Thai School Lunch จัดเป็นรายเดือน
    • จากการทำบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียนโดยการใช้โปรแกรม Thai School Lunch โรงเรียนทำได้อย่างสมบูรณ์ แนวทางการต่อยอดขยายผลให้แก่ครู นักเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น

    • เนื่องจากทางโรงเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน นักเรียนบางคนได้รับประทานเฉพาะอาหารเที่ยงในการจัดบริการอาหารตามโปรแกรม โปรแกรม Thai School Lunch ในปริมาณของเนื้อสัตว์หรือผัก ควรมีปริมาณเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    ทางโรงเรียนมีการติดตามภาวะโชนาการอย่างครบถ้วน โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง นำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณในโปรแกรม Thai Growth

    • ข้อมูลที่ได้จากการคำนวณจากโปรแกรม Thai Growth

    • ข้อมูลการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

    จัดการบริโภคอาหารเสริมนม และโปรตีนให้มากขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้น

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/12562 2/22563 1/12563 1/2
    เตี้ย 10.26 10.26% 6.41 6.41% 3.85 3.85% 1.28 1.28% 7.79 7.79% 7.79 7.79% 9.46 9.46% 1.33 1.33% 3.66 3.66% 3.66 3.66% 2.47 2.47% 2.47 2.47% 4.82 4.82% 4.82 4.82% 3.57 3.57% 2.38 2.38% 1.27 1.27% 3.75 3.75% 3.80 3.80% 5.06 5.06% 2.78 2.78% 2.90 2.90%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 23.08 23.08% 20.51 20.51% 16.67 16.67% 12.82 12.82% 25.97 25.97% 20.78 20.78% 33.78 33.78% 2.67 2.67% 14.63 14.63% 7.32 7.32% 3.70 3.70% 4.94 4.94% 10.84 10.84% 15.66 15.66% 10.71 10.71% 5.95 5.95% 6.33 6.33% 7.50 7.50% 6.33 6.33% 8.86 8.86% 9.72 9.72% 8.70 8.70%
    ผอม 1.28 1.28% 1.28 1.28% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 2.60 2.60% 1.30 1.30% 2.74 2.74% 1.33 1.33% 7.32 7.32% 12.20 12.20% 9.88 9.88% 3.70 3.70% 15.66 15.66% 12.05 12.05% 8.33 8.33% 0.00 0.00% 7.59 7.59% 2.50 2.50% 1.30 1.30% 0.00 0.00% 1.39 1.39% 1.45 1.45%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 3.85 3.85% 3.85 3.85% 1.28 1.28% 1.28 1.28% 20.78 20.78% 14.29 14.29% 8.22 8.22% 6.67 6.67% 17.07 17.07% 24.39 24.39% 17.28 17.28% 9.88 9.88% 20.48 20.48% 21.69 21.69% 11.90 11.90% 8.33 8.33% 17.72 17.72% 7.50 7.50% 2.60 2.60% 7.59 7.59% 6.94 6.94% 5.80 5.80%
    อ้วน 2.56 2.56% 1.28 1.28% 1.28 1.28% 1.28 1.28% 2.60 2.60% 2.60 2.60% 1.37 1.37% 1.33 1.33% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 2.47 2.47% 2.47 2.47% 1.20 1.20% 2.41 2.41% 1.19 1.19% 1.19 1.19% 2.53 2.53% 3.75 3.75% 3.90 3.90% 5.06 5.06% 2.78 2.78% 1.45 1.45%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 7.69% 7.69% 5.13% 5.13% 3.85% 3.85% 1.28% 1.28% 6.49% 6.49% 6.49% 6.49% 5.48% 5.48% 4.00% 4.00% 4.88% 4.88% 3.66% 3.66% 3.70% 3.70% 4.94% 4.94% 4.82% 4.82% 4.82% 4.82% 3.57% 3.57% 4.76% 4.76% 5.06% 5.06% 11.25% 11.25% 14.29% 14.29% 12.66% 12.66% 8.33% 8.33% 5.80% 5.80%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    จากการจัดบริการอาหาร ทำให้นักเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง เนื่องจากทางโรงเรียนมีการแบ่งนักเรียนตามภาวะต่างๆ ในการรับประทานอาหาร เช่น กลุ่มอ้วน กลุ่มผอม กลุ่มสมส่วน หลังจากการจัดกลุ่มทำให้นักเรียนมีภาวะดีขึ้น โดยผลที่เกิดขึ้นคือ ในปีการศึกษา 2559 เด็กที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลงมีค่าร้อยละลดลง จากร้อยละ 6.49 เหลือร้อยละ 4

    • ภาพกิจกรรม
    • ข้อมูลแปลผลภาวะโภชนาการใช้โปรแกรม Thai Growth ข้อมูลการบันทึกจากโปรแกรมมหิดล

    รณรงค์ให้ความรู้ เรื่อง การรับประมานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    จากการจัดบริการอาหาร ทำให้นักเรียนมีภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง เนื่องจากทางโรงเรียนมีการแบ่งนักเรียนตามภาวะต่างๆ ในการรับประทานอาหาร เช่น กลุ่มอ้วน กลุ่มผอม กลุ่มสมส่วน หลังจากการจัดกลุ่มทำให้นักเรียนมีภาวะดีขึ้น โดยผลที่เกิดขึ้นคือ ในปีการศึกษา 2559 เด็กที่มีภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลงมีค่าร้อยละลดลง จากร้อยละ 20.78 เหลือร้อยละ 6.67

    • ภาพกิจกรรม
    • ข้อมูลแปลผลภาวะโภชนาการใช้โปรแกรม Thai Growth ข้อมูลการบันทึกจากโปรแกรมมหิดล

    รณรงค์ให้ความรู้ เรื่อง การรับประมานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ การเสริมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    จากการจัดบริการอาหาร ทำให้นักเรียนมีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง เนื่องจากทางโรงเรียนมีการแบ่งนักเรียนตามภาวะต่างๆ ในการรับประทานอาหาร เช่น กลุ่มเตี้ยกลุ่มสูง หลังจากการจัดกลุ่มทำให้นักเรียนมีภาวะดีขึ้น โดยผลที่เกิดขึ้นคือ ในปีการศึกษา 2559 เด็กที่มีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลงมีค่าร้อยละลดลง จากร้อยละ 25.97 เหลือร้อยละ 2.67

    • ภาพกิจกรรม
    • ข้อมูลแปลผลภาวะโภชนาการใช้โปรแกรม Thai Growth ข้อมูลการบันทึกจากโปรแกรมมหิดล

    รณรงค์ให้ความรู้ เรื่อง การรับประมานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ การเสริมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    หลังจากการจัดบริการอาหาร ทำให้นักเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง โดยการสังเกตนักเรียนเป็นรายบุคคลและนำข้อมูลที่จัดกิจกรรมไปใช้ในการคำนวณ นักเรียนที่มีภาวะต่างๆ ดีขึ้นจะได้เข้ากับกลุ่มที่สมส่วน

    • ภาพกิจกรรม
    • ข้อมูลแปลผลภาวะโภชนาการใช้โปรแกรม Thai Growth ข้อมูลการบันทึกจากโปรแกรมมหิดล

    การจัดบริการอาหารที่โรงเรียน โรงเรียนจัดบริการอาหารมื้อกลางวัน ส่วนมื้อเช้าและเย็นนักเรียนจะรับประทานที่บ้าน ทางโรงเรียนจึงมีก่ารรณรงค์ให้คววามรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการแก้ปัญหาโดยทางโรงเรียนจัดอบรมให้ความรู้ และการให้ผู้ปกครองสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียนในการรับประทานอาหาร

    • ภาพถ่าย

    • สมุดลงเวลาการประชุม

    สร้างความตระหนักให้แก่ผู้ปกครองในการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่างๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    ในการดำเนินกิจกรรมทางโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายช่วยเหลือ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนรพ.สต. บ้านม่วงแยก ประมงอำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนตำบล เกษตรอำเภอขุนหาญ สาธารณสุขอำเภอขุนหาญ ทหารพราน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านดอนข่า จังหวัด ศรีสะเกษ

    รหัสโครงการ ศรร.1311-086

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางวิชุดา ชัยชาญ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด