ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด : เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

ในภาพรวมนักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยเจรฺิญเติบโตสมวัย อ่านออกเขียนได้ทุกคนและสามารถแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัยมีข้อมูลทางภาวะโภชนาการดังนี้ - นักเรียนอ้วนร้อยละ2.7 (พันธุกรรม) - นักเรียนเริ่มอ้วน 1.83 - ท้วม 1.83 - สมส่วน 85.32 - ค่อนข้างผอม6.4 - ผอม 1.83

2 เพื่อให้โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

โรงเรียนมีความพยายามที่จะหาวิธีการแก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียน ดังนี้ 1. จัดอาหารกลางวันให้ครบ5 หมู่ ทุกวัน ทุกคน พยายามใช้โปรแกรมไทยสคูลลัน 2.ดูแลนักเรียนผอมโดยการให้อาหารเพิ่ม จากการสังเกตุพบว่านักเรียนผอมจะไม่ชอบรับประทานอาหาร จะชอบทานขนมหวานขบเคี้ยว3.ชั่งหน้ำหนักวัดส่วนสูง ทุกๆเดือน 4.จัดนักเรียนออกกำลังกายหลังเลิกเรียนทุกคนทุกวันยกเว้นคนอ้วนจะดูแลเป็นพิเศษ จนจะให้สุขภาพรวมดีขึ้น5.ส่งเสริมให้ครูนักเรียนจัดกิจกรรมเกษตรทุกห้องเรียน เพื่อนำเข้าโครงการอาหารกลางวัน ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษ กิจกรรมนี้นักเรียนนทำได้ดีมาก ทำให้เด็กมีทักษะในการทำงาน และบูรณาการสู่วิชาอื่นๆได้

3 เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด : พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือ จากชุมชนและองค์กรท้องถิ่น ได้โดยเฉพาะคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ได้สร้างความเข้าใจโดยการจัดประชุมอบรม ร่วมกับเด็กทำให้ชุมชนช่วยจัดหางบประมาณมาสนับสนุนกิจกกรรมต่างๆที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ1. จัดกิจกรรมบ้านน่าอยู่ โดยให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ทำงานพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกันกับนักเรียน2. ผู้ปกครองบริจาควัตถุดิบที่ปลอดภัยให้โรงเรียนประกอบอาหารกลางวัน3.ผู้ปกครองผลิตพืชผักส่งโครงการอาหารกลางวันทำให้ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย4. สร้างความตระหนักโดยการนำเรื่องสุขภาพเข้าสู่ที่ประชุมผู้ปกครองทุกครั้ง

4 เพื่อให้ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียน
ตัวชี้วัด : ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียน

ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัว ในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการและสุขภาพของนักเรียนพบว่าผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องสุขภาพมากขึ้น จะเห็นได้จากการให้ความร่วมมือในการดูแลอาหารกลางวันนักเรียน เดิมเด็กนักเรียนห่อกับข้าวประเภทลูกชิ้นสีแดง โครงไก่ชุปแป้งทอด หมูยอราคาถูกๆ ระยะหลังเกิดการเปลี่ยนแปลง หันมาทานไข่ ผัด ปลา และให้ความร่วมมือกับโรงเรียนมากขึ้น จากการสอบถามส่วนมากบอกว่าเป็นโครงการที่ดี ทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์โดยตรง ให้โรงเรียนทำโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง (2) เพื่อให้โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (3) เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน (4) เพื่อให้ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh