รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านโคกล่าม
สังกัด สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 80,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 80,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสำราญ เสือสาวะถี
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางหนูชิด สิมาธรรม
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางมยุเรศ เทพจันทรา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นายเอกวิทย์ โมรา
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายทรงศักดิ์ แสนวงค์
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นายแสงจันทร์ ทองวิลัย
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นางแน่งน้อย ธูปแช่ม
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านโคกล่าม จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

โรงเรียนบ้านโคกล่าม ได้ดำเนินการตามโครงการเด็กไทยแก้มใสตั้งแต่วันที่1ธันวาคมพ.ศ. 2557ถึงวันที่1พฤศจิกายนพ.ศ.2558จากนั้นปีการศึกษา2557ที่โรงเรียนได้เริ่มโครงการซึ่งได้ดำเนินงานตาม8กิจกรรมหลักพบว่าผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการทำให้นักเรียนทุกคนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการได้ลงมือปฏิบัติซึ่งเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนสอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการโดยให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม

กรอบแนวคิด
  1. เกษตรในโรงเรียน โรงเรียนได้นำมาประยุกต์ใช้กับการฝึกทักษะชีวิตให้กับนักเรียน โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน 1.1 ภาคความรู้ จัดบูรณาการไว้ในหลักสูตรสาระการเรียนรู้ กลุ่มการงานอาชีพและสาระท้องถิ่น 1.2 ภาคปฏิบัติ เน้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจริง เช่นการเลี้ยงปลาดุก การเพาะเห็ด การเลี้ยงไก่ไข่
    การปลูกผักฯลฯ
  2. สหกรณ์นักเรียน โรงเรียนได้ดำเนินการในรูปแบบสหกรณ์แบบครบวงจร คือ 2.1 สหกรณ์การผลิต นำผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรในโรงเรียน ส่งเข้าสหกรณ์การผลิตเพื่อส่งต่อไปให้สหกรณ์ร้านค้า 2.2 สหกรณ์ร้านค้า รับผลผลิตจากสหกรณ์การผลิต มาจำหน่ายกับโครงการอาหารกลางวัน 2.3 สหกรณ์ออมทรัพย์ เน้นให้นักเรียนรู้จกการอดออมเงินที่เหลือจากการจ่ายรายวัน นำไปออม โดยทางโรงเรียนฝึกให้นักเรียนออมประจำวันผ่านครูประจำชั้น สิ้นเดือนครูนำเงินออมของนักเรียน ส่งคณะกรรมการของสหกรณ์ออมทรัพย์
  3. การจัดบริการอาหาร โรงเรียนได้ดำเนินการโดยการจัดหาวัตถุดิบจากเกษตรในโรงเรียนเป็นหลัก เพื่อที่จะนำมาประกอบอาหารให้นักเรียน โดยเน้นวัตถุดิบที่ปลอดสารเคมี โดยจัดอาหารกลางวันไว้สำหรับบริการนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนรับบริการอาหารอย่างอิสระ ซึ่งทางโรงเรียนได้เน้นย้ำกับผู้ประกอบอาหารด้านความสะอาดและสุกใหม่ เป็นสำคัญและเป็นอาหารที่มีคุณภาพ มีคุณค่าครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ยังได้สอดแทรกความรู้ด้านโภชนาการไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ส่วนภาคปฏิบัติก็เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงด้านการประกอบอาหารในวิชางานบ้านด้วย
  4. การติดตามภาวะโภชนาการ การติดตามภาวะโภชนาการ โรงเรียนได้ดำเนินการดูแลสุขภาพนักเรียน ในด้านการรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยร่วมมือกับชุมชนองค์กรในชุมชน และจัดตั้งนักเรียนเป็นกลุ่มเพื่อช่วยสอดส่องดูแลการบริโภคอาหารชนิดต่างๆของเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
  5. การพัฒนาสุขอนามัย 5.1 ให้ความรู้ในเรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการ 5.2 ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ 10 ประการ
    5.3 ตรวจสุขภาพนักเรียน โดย เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. และครูประจำชั้น 5.4 กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และที่บ้าน 5.5 .กิจกรรมล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย 5.6 ใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหาร 5.7 กิจกรรมทำความสะอาดตามเขตรับผิดชอบ 5.8 กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน โดยเจ้าหน้าที่ทันตกรรมจากรพ.สต.บ้านนาแก และครูประจำชั้น
  6. การพัฒนาสุขอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 6.1จัดทำที่สำหรับแปรงฟันและล้างมือ 6.2ห้องน้ำห้องส้วมแยกชาย-หญิงและเพียงพอ 6.3มีถังขยะรองรับขยะอย่างพอเพียง
  7. จัดบริการสุขภาพนักเรียน 7.1 มีครูอนามัยประจำโรงเรียน 7.2 มีห้องพยาบาล เตียงพยาบาลและอุปกรณ์ห้องพยาบาล 7.3 กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน โดยเจ้าหน้าที่ทันตกรรมจากรพ.สต.บ้านนาแก และครูประจำชั้น 7.4 ตรวจสุขภาพนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. และครูประจำชั้น 7.5 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพ 8.การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน 8.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 8.1.1กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพฯในเรื่องงานเกษตร
    8.1.2กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ฯ ในเรื่องสหกรณ์ 8.1.3กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(วิชาสุขศึกษา) ในเรื่อง อาหาร โภชนาการและสุขภาพ 8.1.4กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในเรื่อง อาหารและสารอาหาร
    8.2ประสานขอความร่วมมือหน่วยงานภายนอกให้ความรู้ด้านวิชาการ การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาดุก การเพาะเห็ด
    8.3 ให้ความรู้และฝึกให้นักเรียนทุกคนบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง
    8.4ให้ความรู้และฝึกให้นักเรียนการเลือกซื้อและเลือกรับประทานอาหารที่ดี ปลอดภัยและมีประโยชน์ส่งผลดีต่อสุขภาพ 8.5ให้ความรู้ในเรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการและ ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ 10 ประการ
    8.6ตรวจสุขภาพนักเรียน โดย เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. และครูประจำชั้น 8.7 กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันและที่บ้าน 8.8 กิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธง 8.9 กิจกรรมล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย 8.10 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
    8.11 กิจกรรมทำความสะอาดตามเวรกลุ่มสี โดยแต่ละสีจะมีพื้นที่รับผิดชอบ 8.12 กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟันโดยเจ้าหน้าที่ทันตกรรมจากรพ.สต.บ้านนาแกและครูประจำชั้น ดังนั้น โรงเรียนบ้านโคกล่ามจึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เนื่องจากสภาพปัญหาปัจจุบันผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างรายวัน จึงต้องมีการแข่งขันกับเวลา ทำให้ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลกำกับติดตามเรื่องการรับประทานอาหารเช้าบ้างก็กินอาหารง่ายๆที่ไม่ค่อยมีสารอาหารครบถ้วน ซึ่งมักจะเป็นอาหารแบบเดิมๆซึ่งร่างกายของนักเรียนไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเพียงพอ ส่งผลให้นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทางโรงเรียนบ้านโคกล่ามได้เห็นความสำคัญในส่วนนี้ จึงได้มีการดำเนินงานโครงการอาหรกลางวันขึ้นมา โดยมีการดำเนินงานแบบครบวงจร และหมุนเวียน เพื่อให้นักเรียนมีอาหารบริโภคที่เพียงพอและต่อเนื่องตลอดปี โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้ การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกผักการเลี้ยงปลาดุก การเพาะเห็ด า การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ การปลูกไม้ผลเช่น มะนาว กล้วย และแก้วมังกรเป็นต้น ทั้งนี้ทุกกิจกรรมทางโรงเรียนบ้านโคกล่ามได้มีการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนซึ่งเน้นการปฏิบัติจริงทุกกิจกรรม และให้นักเรียนได้ปฏิบัติตามขั้นตอน เช่นการเพาะเห็ด ก็จะให้นักเรียนได้เรียนรู้ การเลี้ยงดูการเปิดดอกเห็ดการขายผลผลิต และการจัดทำบัญชี ซึ่งการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้ทำให้นักเรียนสนใจและสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ การปลูกผักก็จะให้นักเรียนปลูกผักแบบผสมผสานหมุนเวียนตามสภาพ เช่น ช่วงฤดูฝนก็จะปลูกผักที่ชอบน้ำ ส่วนฤดูแล้งก็จะปลูกผักที่ต้องการน้ำน้อยนอกจากนี้ยังมีการปลูกผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ผักชี โหรพา เป็นต้นซึ่งได้ปลูกไว้ใต้ต้นไม้ผล นอกจากนี้ทางโรงเรียนนำผลผลิตที่ได้จากการดำเนินงานมาเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนได้บริโภคที่เพียงพอ และมีสารอาหารครบถ้วน และยังลดภาวะค่าใช้จ่ายของโครงการอาหารกลางวัน และมีรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายผลผลิตมาขยายโครงการอาหรกลางวันให้ดีขึ้น ทำให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจจากชุมชนได้ดี ทำให้มีผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และโรงเรียนอื่นๆ นำไปเป็นแบบอย่าง สำหรับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางผู้บริหาร คณะครู บุคลาการ ชุมชน ผู้ปกครอง ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นที่จะจัดทำทุกกิจกรรมให้หลากหลายขึ้น เช่นมีการจัดสถานที่ให้เป็นที่พักผ่อนในแปลงผัก การจัดสวนผัก และการนำเสนอผลงานสู่ภายนอก การเปิดจัดนิทรรศการตามงานต่างๆ มากขึ้น
กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 78
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 11
ผู้ปกครอง 78
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 167167
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 9
อสม. 30
ชุมชน 78
ผู้นำศาสนา 57
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 50
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 50
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 274
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนบ้านโคกล่ามได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. ในการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ
    2.นักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีโภชนาการเจริญเติบโตสมวัย โดยการรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ สะอาด ปลอดภัย
  2. บุคลากรในโรงเรียนได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพ ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ แบบครบวงจร
  3. โรงเรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ต่อไป
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี - ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7% - ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7% - ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7% นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมระดับอนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม) ระดับประถมศึกษา 4 ช้อน (70 กรัม)
ผลไม้ (อนุบาล½ ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
    โครงการเด็กไทยแก้มใสจะยังคงอยู่คู่กับโรงเรียนตลอดไป เพราะการดำเนินงานตามโครงการนี้สอดคล้องกับการดำรงตนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการฝึกนักเรียนให้สามารถพึ่งตนเองได้ ให้นักเรียนมีความเข้มแข็งขยันอดทน และได้บริโภคผลผลิตที่สะอาดปราศจากสารพิษดังนั้นการดำเนินงานของโรงเรียนคือ 1.ผู้บริหารกำหนดให้มีการวางนโยบายและแผนการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนการฝึกให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติตามฐานการเรียนรู้ 2.กำหนดให้มีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม 3.ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้ความช่วยเหลือทั้งด้านความรู อุปกรณ์และการดำเนินงาน 4.ขยายผลการดำเนินงานสู่นักเรียนในโรงเรียนทุกคน สร้างเครือข่ายผู้ปกครองในการผลิตผักปลอดสารพิษป้อนแก่โครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
    1. บริหารจัดการให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ที่สุดในการให้ความรู้ในการมาศึกษา
      ดูงานจากโรงเรียนใกล้เคียงและหน่วยงานอื่นๆ 2.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร การขยายผลที่ผู้อื่นสามารถมาใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้โดย 1.ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของโครงการให้โรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับทราบ 2.การส่งเสริมให้โรงเรียนส่งผลงานเข้าแข่งขันในโอกาสต่างๆ
พื้นที่ตั้งโรงเรียน หมู่8 ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ละติจูด-ลองจิจูด 16.048758210846,102.17033350455place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 32,000.00
2 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 44,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 4,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน

นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามมาตรฐานตามเกณฑ์ร้อยละ 80

2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ Thai School lunch ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติตนในครอบครัว

ชุมชนและหน่วยงานมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการอาหารและโภชนาการตามหลัก TSL

3 เพื่อพัฒนาโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสให้เกิดความยั่งยืน

โรงเรียนมีวัตถุดิบในการประกอบหารกลางวันเพื่อนักเรียนโดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย

4 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ด้านดำเนินการเกษตร

นักเรียน ผู้ปกครอง คณะครู สามารถปฏิบัติกิจกรรมด้านการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกผักกินเอง การเลี้ยงสัตว์

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
13 พ.ค. 59 กิจกรรมสุขนิสัยที่ดี 103 1,600.00 1,060.00 more_vert
9 มิ.ย. 59 - 30 ก.ย. 59 เลี้ยงไก่พันธ์ุไข่ 86 20,000.00 20,000.00 more_vert
11 ก.ค. 59 กิจกรรมเพาะเห็ด 103 10,000.00 9,000.00 more_vert
13 ก.ค. 59 กิจกรรมเลี้ยงปลา 103 1,800.00 3,000.00 more_vert
21 ต.ค. 59 นัดตรวจโครงการฯ ทำรายงานการเงินและรายงานกิจกรรม งวดที่ 1 2 1,000.00 - more_vert
9 พ.ย. 59 - 15 มี.ค. 60 กิจกรรมรียนรู้ถูกวิธี มีสติ 230 4,500.00 4,500.00 more_vert
9 พ.ย. 59 - 15 มี.ค. 60 กิจกรรมอ้วนผอม ทำได้ด้วยตนเอง /อาหารเสริมเพิ่มน้ำหนัก 230 2,250.00 2,250.00 more_vert
23 พ.ย. 59 - 22 ธ.ค. 59 กิจกรรมบริการสุขภาพดี ชีวีมีสุข 103 3,640.00 3,640.00 more_vert
24 พ.ย. 59 - 29 ธ.ค. 59 ลกิจกรรมสบายกาย สบายใจ ปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม 103 8,000.00 7,460.00 more_vert
28 พ.ย. 59 - 23 มี.ค. 60 เกษตรพอเพียง กิจกรรมไข่แลกผัก 225 3,310.00 4,190.00 more_vert
30 พ.ย. 59 - 10 มี.ค. 60 กิจกรรมเด็กไทยลดหวาน 203 10,600.00 10,600.00 more_vert
3 ธ.ค. 59 กิจกรรมอบรมแม่ครัว ผู้ปกครอง แกนนำนักเรียนครู 38 2,900.00 4,900.00 more_vert
24 ธ.ค. 59 กิจกรรมนักบัญชีน้อย 20 9,400.00 9,400.00 more_vert
21 มี.ค. 60 นัดตรวจโครงการฯ ทำรายงานการเงินและรายงานกิจกรรม งวดที่ 2 2 1,000.00 - more_vert
27 มี.ค. 60 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 1 0.00 23.93 more_vert
รวม 1,552 80,000.00 13 80,023.93

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 12:06 น.