ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

assignment
บันทึกกิจกรรม
ตรวจโครงการฯ รายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงิน งวด 221 มีนาคม 2560
21
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการ (ง.2) และรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการ เดินทางเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการ (ง.2) และรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3) ณ โรงแรมเจริญธานี  จังหวัดขอนแก่น  ในวันอังคาร ที่ 21 มีนาคม 2560 ผลผลิต ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของโครงการเด็กไทยแก้มใส ผลลัพธ์ โรงเรียนมีรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ที่ถูกต้อง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
ุถอนเงินคืน/ดอกเบี้ยธนาคาร20 มีนาคม 2560
20
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้อำนวยการประสงค์ ชูใจ และคณะครูจำนวนน 3 คน ไปถอนเงินดอกเบี้ยจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ นครราชสีมา เพื่อนำดอกเบี้ยคืน สสส.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ถอนเงินดอกเบี้ยจากบัญชี ศรร.ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส (โรงเรียนชุมชนวัดรวงจังหวัดนครราชสีมา) จำนวน  41.43 บาท

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
ค่ายรักษ์สุขภาพ (นักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ)8 มีนาคม 2560
8
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมค่ายสุขภาพ สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ (อ้วน เริ่มอ้วน เตี้ย และผอม) โดยเชิญผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มดังกล่าวมาเข้าร่วมกิจกรรมกับนักเรียน โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ด้านสุขภาพอนามัย พฤติกรรม สุขนิสัย และการสร้างวิถีสุขภาพ โดยการให้ความรู้ของคณะวิทยากร จากความร่วมมือของโรงเรียน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.)  หลังจากการรับความรู้ด้านสุขภาพ มีการแบ่งฐานการเรียนรู้ออกเป็นฐาน การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การประเมินภาวะโภชนาการได้ด้วยตนอง  ฐานการจัดและบริการอาหาร ที่พอเหมาะ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ฐานอ่อนหวาน น้ำตาลน้อย  และสุดท้ายเป็นการทำสัญญาใจว่าจะพัฒนาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง ไม่มีภาวะทุโภชนาการ 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรม  สามารถดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด  นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ด้านสุขภาพอนามัย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของตนเอง และของนักเรียนในปกครองให้มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น คือ มีน้ำหนัก และส่วนสูงสัมพันธ์กับอายุ 

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
รายงานสถานการณ์ด้านภาวะโภชนาการของนักเรียน27 กุมภาพันธ์ 2560
27
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของนักเรียนทุกคน ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 และครั้งที่ 2 ภายใน 28 กุมภาพันธ์ 2560
  2. ลงข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง ในโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. บันทึกในโปรแกรมภาวะโภชนาการ รายงานออนไลน์ในโครงการศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส โรงเรียนชุมชนวัดรวง
  4. ร่วมกันวิเคราะห์ผลการติดตามการเฝ้าระวังน้ำหนัก ส่วนสูง เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
  5. ประชุมชี้แจงนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเพื่อเฝ้าระวัง ร่วมกับผู้ปกครอง
  6. จัดกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาแก้ปัญหาภาวะโภชนาการให้กับนักเรียนที่มีปัญหา โดยการ ออกกำลังกายเดินเร็ว  เต้นแอโรบิก 
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนมีภาวะโภชนาการ ดังนี้     - นักเรียนมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (<-2 SD) จำนวน 2 คน  คิดเป็นร้อยละ 0.74     - นักเรียนเตี้ย  จำนวน 4 คน คิิดเป็นร้อยละ 1.48     -  นักเรียนอ้วน และเริ่มอ้วน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 6.65     -  นักเรียนผอม  จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.11 2.  นักเรียนตระหนักในปัญหาภาวะโภชนาการของตนเอง และสามารถเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
  2. ผู้ปกครองและโรงเรียนเกิดความร่วมมือกันอันดี ในการเฝ้าระวังปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน 
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 283 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการอาหาร9 กุมภาพันธ์ 2560
9
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา08.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม ทั้งครู ผู้ปกครอง ชุมชน อสม. ฯลฯ  จากนั้นเปิดการอบรม โดยผู้รับผิดชอบกิจกรรม นางสาวดาวเรือง  ขึงโพธิ์ กล่าวรายงาน ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดรวง  นายประสงค์  ชูใจ กล่าวเปิดการอบรม พร้อมทั้งบรรยายพิเศษให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการคุณภาพอาหารกลางวันของทางโรงเรียน  พร้อมทั้งแนะนำวิธีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรง จากนั้น รับชมวีดิทัศน์แนะนำโครงการเด็กไทยแก้มใส ของ สสส. และนางสาวดาวเรือง  ขึงโพธิ์  บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำโปรแกรมจัดเมนูอาหาร Thai  school  Lunch  เวลา 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง  จากนั้น ผู้เข้ารับการอบรม  ฝึกปฏิบัติการจัดบริการอาหารโดยใช้โปรแกรม เพื่อศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารที่จัด  12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน  13.00น.แบ่งกลุ่มย่อย ฝึกปฏิบัติการจัดบริการอาหาร  การตักอาหารให้ถูกส่วน  อาหารปลอดภัยในร้านสหกรณ์นักเรียน และฝึกปฏิบัติคิดค่าดัชนีมวลกาย โดยทีม อสม. โดยเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติจริงในแต่ละฐานการเรียนรู้  14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง  และเข้ากลุ่มฐานการเรียนรู้ต่อเนื่อง  15.30 น. เป็นการอภิปราย สรุป ซักถาม และเน้นย้ำให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการพัฒนาการจัดบริการอาหารให้แก่นักเรียนเมื่ออยู่ที่บ้าน 16.00 น. พิธีปิดการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการจัดบริการอาหารที่มีคุณภาพ การตักอาหารที่ถูกส่วน อาหารปลอดภัย
  2. ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักและเห็นความสำคัญของอาหารที่ดี มีคุณภาพ ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุตรหลาน
  3. โรงเรียน  ชุมชน และภาคีเครือข่ายมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 168 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย
อบรมให้ความรู้นักเรียน เกี่ยวกับการสังเกตและการเลือกซื้ออาหารปลอดภัย10 มกราคม 2560
10
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นักเรียนลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
  2. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของกิจกรรม รวมทั้งวิธีดำเนินการต่อ ผู้อำนวยการประสงค์  ชูใจ  ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดรวง
  3. ผู้อำนวยการกล่าวเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษ เรื่อง อาหารปลอดภัยในโรงเรียน 4.  นักเรียนดูวิดีทัศน์เรื่อง อาหารปลอดภัย การ์ตูนภัยร้ายน้ำอัดลมพร้อมทั้งให้สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับน้ำอัดลม
  4. แบ่งกลุ่มนักเรียนให้ศึกษาใบความรู้ และศึกษาเรื่องอาหารปลอดภัย จากฐานการเรียนรู้
  5. นักเรียนฝึกปฏิบัติการอ่านฉลากโภชนาการ โดยครูเน้นย้ำให้นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของฉลากโภชนาการและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  6. นักเรียนเชื่อมโยงประสบการณ์จากองค์ความรู้ที่ได้รับในรูปแบบ การจัดนิทรรศการผลงาน การออกอากาศเสียงตามสาย การแสดงบทบาทสมมติ 8.  อภิปรายสรุป ซักถาม
  7. ปิดการอบรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัตจริงเรื่องการอ่านฉลากโภชนาการ การเลือกซื้อขนม นม และอาหารปลอดภัย 2.  นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในเลือกรับประทานอาหารปลอดภัยในชีวิตประจำวัน 3. นักเรียนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์โดยการจัดป้ายนิเทศ ออกอากาศเสียงตามสาย การแสดงบทบาทสมมติได้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 165 คน
ประกอบด้วย
อบรมให้ความรู้เรื่องการบริการอาหารแก่โรงเรียนภาคีเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส จำนวน 8 โรงเรียน6 ธันวาคม 2559
6
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุม ชี้แจง วัตถุประสงค์ เป้าหมายของกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส
  2. ชมวิดีทัศน์ แนะนำโครงการ และวิดิทัศน์การดำเนินงานของโรงเรียน
  3. ให้ความรู้เรื่องการจัดบริการอาหารกลางวันที่มีคุณค่า แนวทางการจัดอาหารหมุนเวียนที่ได้มาตรฐานอาหารกลางวัน
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการโปรแกรม TSL ฝึกปฏิบัติจริง
  5. ให้กรอบแนวทางที่ถูกวิธีในการประเมินภาวะโภชนการนักเรียน (การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ที่ถูกวิธี)
  6. สรุป ซักถาม และเน้นย้่ำการนำไปปฏิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. โรงเรียนเครือข่ายแก้มใส ทั้ง 7 โรงเรียน ได้รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้โครงการเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนชุมชนวัดรวง และเป็นเครือข่ายด้วยความสมัครใจ
  2. โรงเรียนเครือข่าย สามารถนำแนวทางของโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส ไปปฏิบัติจริงในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการจัดบริการอาหารกลางวันที่มีคุณค่าต่อไป
  3. โรงเรียนมีการขยายเครือข่ายด้านการจัดบริการอาหารกลางวันตามแนวทางของศูนย์เรียนรู้โรงเรียนเด็กไทยแก้มใส เพิ่มมากขึ้น
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย
เครือข่ายเกษตรชุมชน ปลูกผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ15 พฤศจิกายน 2559
15
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. โรงเรียนชี้แจงการดำเนินงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทราบ
    2.ร่วมกันวางแผนผลผลิต โดยใช้เมล็ดพันธุ์ผักส่วนหนึ่งที่ได้รับแจกจาก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ แจกจ่ายให้นักเรียนไปปลูกที่บ้าน
    3.วางแผนการผลิตร่วมกับชุมชนเกษตรอินทรีย์ หมู่บ้านโนนด่านหมู่ที่ 11 ต.โตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
  2. ออกเยี่ยมแปลงเกษตรในชุมชน และที่บ้านของนักเรียน
  3. รับซื้อผลผลิตเกษตรจากครอบครัวของนักเรียน ชุมชน สู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน
  4. ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.โรงเรียนได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษจากชุมชน จากครอบครัวของนักเรียน มาใช้ประกอบปรุงอาหารในโครงการอาหารกลางวัน 2. ชุมชนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการเด็กไทยแก้มใส ด้านเกษตรในโรงเรียน เพราะโรงเรียนมีพื้นที่จำกัดและขาดทักษะในการเกษตร
3. โรงเรียนและชุมชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ร่วมพัฒนาโครงการให้มีความยั่งยืน และเกิดความภาคภูมิใจร่วมกันในการพัฒนาสุขภาพของนักเรียนด้านอาหารและโภชนาการปลอดภัย

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 176 คน จากที่ตั้งไว้ 255 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน11 พฤศจิกายน 2559
11
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. แบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็นระดับชั้น
  2. ผู้ปกครองร่วมกันทำแปลงเกษตรในแต่ละชั้น
  3. นักเรียน และครูร่วมกันปลูกพืชผักที่ได้รับสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา
  4. นำผลผลิตส่งจำหน่ายร้านค้าสหกรณ์นักเรียนเพื่อส่งต่อโครงการอาหารกลางวันต่อไป  
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนเกิดความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีต่องานด้านการเกษตร เกิดประสบการณ์ตรง และมีความภาคภูมิใจในผลผลิตของตนเอง และเพื่อนร่วมชั้นเรียน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 260 คน จากที่ตั้งไว้ 262 คน
ประกอบด้วย
ถอนเงินคืน/เปิดบัญชี21 กันยายน 2559
21
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงินคืนเปิดบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ จังหวัดนครราชสีมา 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โรงเรียนได้ถอนเงินคืนเปิดบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ จังหวัดนครราชสีมา 

เยี่ยมบ้านนักเรียน30 สิงหาคม 2559
30
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมชี้แจงคณะครู บุคลากรเกี่ยวกับความสำคัญ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนวิธีการ หลักในการเยี่ยมบ้าน บทบาทของผู้เยี่ยมบ้านที่ดี ฯลฯ
  2. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน แบบสอบถามเพื่อประเมินสถานการณ์การรับประทานอาหารและการออกกำลังกายเมื่อนักเรียนอยู่ที่บ้าน
  3. นัดหมายกับผู้ปกครองนักเรียนออกเยี่ยมบ้านตามวันและเวลาที่กำหนด
  4. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ คัดกรองกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ
  5. ประชุมสรุปร่วมกับระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่จะมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหา
  6. สรุปรายงานผล
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนทุกคนได้รับการเยียมบ้าน ได้รับการประเมินสถานการณ์ด้านอาหารและการออกกำลังกายเมื่ออยู่ที่บ้าน
  2. นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงสภาพปัญหา
  3. ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และให้ความร่วมมือทำให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านสุขภาพอนามัย มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  4. โรงเรียนได้ข้อมูลพื้นฐานเชิงประจักษ์ จากการพูดคุย สัมภาษณ์ สอบถาม ผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งเห็นสภาพจริงในการดำเนินชีวิตของนักเรียนเมื่ออยู่ที่บ้าน และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 547 คน จากที่ตั้งไว้ 547 คน
ประกอบด้วย
การเกษตรและสร้างเครือข่าย29 สิงหาคม 2559
29
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ปรับปรุงโรงเรือนการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน โดยจัดทำระบบน้ำ เพิ่มเติมจากโรงเรือนเดิมที่มีอยู่
  2. จัดซื้อก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน และเห็ดนางฟ้าฮังการี
  3. เพิ่มจำนวนแปลงเพื่อปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อนำมาเป็นอาหารกลางวัน
  4. ปรับปรุงดิน จัดซื้อปุ๋ยมูลสัตว์ เพื่อบำรุงดิน
  5. จัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวที่จะใช้ปลูก
  6. เพาะเห็ดนางฟ้า และปลูกพืชผักสวนครัวหมุนเวียนนำไปจำหน่ายที่ร้านค้าสหกรณ์นักเรียน และจำหน่ายให้ชุมชน
  7. จัดกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ในชุมชนบ้านโนนด่าน หมู่ 11 ต.โตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ และประสบการณ์ตรงด้านการทำเกษตรปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ครูและนักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการเกษตร ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยว การจำหน่าย และการกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค
  2. นักเรียนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ รักการบริโภคผักมากขึ้น
  3. นักเรียนมีความรู้ ทักษะ ด้านการเกษตร และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพกสิกรรม และการทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง
  4. นักเรียนภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถ่ินด้านการเกษตร
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 291 คน จากที่ตั้งไว้ 169 คน
ประกอบด้วย
อบรมให้ความรู้และทักษะเรื่อง เกษตรปลอดภัย24 กรกฎาคม 2559
24
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เกษตรกร ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร และผู้ปกครองนักเรียนที่ทำการเกษตร จำนวน 60 คนลงทะเบียนเข้ารับการอบรม รับเอกสารประกอบการอบรม จากนั้นเป็นการกล่าวเปิดการอบรม โดยนายประสงค์ชูใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดรวง ได้กล่าวเปิดการอบรม ชี้แจงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการอบรมผู้เข้ารับการอบรมรับฟังการบรรยายเรื่องเกษตรปลอดภัย จากนางสาวผกากรองกุลงูเหลือม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือมและชมการสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.2 จากวิทยากรภูมิปัญญา หมอดิน ในชุมชน นายดี พิณศิริและได้ฝึกปฏิบัติจริงในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ่โดย ละลายสารเร่ง พด.2 ในน้ำ 30 ลิตร ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที จากนั้นผสมเศษผักและเปลือกผลไม้ที่เตรียมไว้และกากน้ำตาลลงในถังหมักแล้วเทสารละลาย พด.2 ในข้อ 1 ผสมลงในถังหมัก คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันอีกครั้งและตั้งในอยู่ที่ร่ม ใช้เวลาประมาณ 7 วัน จากนั้นนำไปใช้ผสมในอัตราส่วนที่กำหนด รดน้ำผักและผลไม้ได้ตามต้องการ หลังจากทดลองทำปุ๋ยเสร็จแล้ว เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรม ซักถาม ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปรายสรุป และเน้นย้ำให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ไปใช้ในการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย และร่วมเป็นเครือข่ายในการส่งเสริมผลผลิตด้านการเกษตรสู่สหกรณ์นักเรียน และโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกษตรกร ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร และผู้ปกครองนักเรียนที่ทำการเกษตร ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรที่ปลอดภัย สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการผลิต ผลผลิตทางด้านการเกษตรใช้บริโภคในครัวเรือน และสามารถนำมาจำหน่ายให้ร้านค้าสหกรณ์นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดรวงได้
  2. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายในการส่งเสริมผลผลิตด้านการเกษตรที่ปลอดสารพิษสู่สหกรณ์นักเรียนได้
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีเจตคติที่ดีต่อการเพิ่มผลผลิตเกษตรปลอดภัยโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ที่ทำได้ง่ายและปลอดภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 95 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
ประชุมชี้แจงนโยบาย ความเป็นมา และความสำคัญของโครงการเด็กไทยแก้มใส19 พฤษภาคม 2559
19
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายประสงค์ ชูใจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นายประสงค์ชูใจ กล่าวเปิดการประชุม
  2. แนะนำผู้มีส่วนร่วม ผู้สนับสนุนโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส จากชุมชน อสม. อบต.หนองงูเหลือม รพ.สต.นาตาวงษ์
  3. แนะนำโครงการ และความสำคัญของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ
  4. ชี้แจงวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงานของโครงการ
  5. ชมนิทรรศการอาหารปลอดภัย การจัดบริการอาหารของโรงเรียน
  6. เยี่ยมชมกิจกรรม การประกอบ ปรุงอาหารจากโรงอาหารของโรงเรียน
  7. ปิดการประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีภาคีเครือข่าย ผู้มีส่วนร่วม ผู้สนับสนุน โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสได้รับฟัง รับรู้ และมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้
  2. ภาคีเครือข่าย ผู้มีส่วนร่วม ผู้สนับสนุน โครงการฯ ได้รับทราบนโยบาย ความเป็นมา และความสำคัญของโครงการ และพร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 19 คน
ประกอบด้วย