ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านหว้าเหล่าโพนทอง |
สังกัด | สพป.ขอนแก่น เขต1 |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | บ้านหว้า หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 |
จำนวนนักเรียน | 260 คน |
ช่วงชั้น | ปฐมวัย,อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น |
ผู้อำนวยการ | นายบุญหลาย หวานเพราะ |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางสาวศุภาวีร์ ปิยพัศพงศ์ |
- 929945.jpg
- 929946.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_0.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_1.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_2.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_3.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_4.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_5.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_6.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_7.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_8.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_9.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_10.jpg
- LINE_ALBUM_อิ่มนี้เพื่อน้อง_220331_11.jpg
จากสถานการณ์ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนของโรงเรียนบ้านหว้าเหล่าโพนทองประชานุ-กูล พบว่านักเรียนที่มีภาวะอ้วน ผอม และเตี้ย เป็นเหตุให้เด็กวัยเรียนมีปัญหาทุพโภชนาการ เมื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยทำให้นักเรียนส่วนใหญ่รู้จักเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ และมีการออกกำลังกาย รวมไปถึงผู้ปกครองที่เอื้อต่อการทำให้นักเรียนมีน้ำหนักมาตรฐานตามเกณฑ์มากขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กได้เต็มศักยภาพ และถูกต้องตามหลักโภชนาการ
สิ่งที่เป็นข้อจำกัดในการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์ COVID 19 ทำให้จัดกิจกรรมได้ไม่เต็มรูปแบบซึ่งให้ความรู้ทางออนไลน์ การติดตามนักเรียนยังมีข้อจำกัด ทางโรงเรียนได้ดำเนินการปลูกพืชผักสวนครัวตามท้องถิ่นเพื่อที่จะนำผลผลิตทางเกษตรมาใช้ประกอบอาหารอย่างปลอดภัยและบริการในชุมชนแต่การเจริญเติบโตของพืชไม่งอกงามดีเท่าที่ควรเนื่องจากสภาพดินและน้ำเค็มจึงเป็นปัญหาในการปลูกพืช
จากผลการดำเนินงานตามโครงการการจัดการอาหารและโภชนาการเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนของโรงเรียนบ้านหว้าเหล่าโพนทองประชานุกูล พบว่านักเรียนที่มีภาวะอ้วนร้อยละ 15 ลดลงเหลือร้อยละ 6.63 นักเรียนที่มีภาวะผอมร้อยละ 8.3 ลดลงเหลือร้อยละ 2.21 และนักเรียนที่มีภาวะเตี้ยร้อยละ 1.67 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.76 ดังนั้นจึงต้องให้ความรู้นักเรียนรวมไปถึงผู้ปกครอง เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้นักเรียนมีน้ำหนักมาตรฐานตามเกณฑ์มากขึ้น เพื่อส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กได้เต็มตามศักยภาพ