ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

โรงเรียนบ้านม่วงชุม

กิจกรรม พัฒนาคุณภาพอาหารศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ28 กุมภาพันธ์ 2017
28
กุมภาพันธ์ 2017รายงานจากพื้นที่ โดย นายสิทธิพงษ์ จันสม
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

P :1. การจัดโครงการในครั้งนี้ ทางโรงเรียนได้มีการประชุมเพื่อหาข้อยุติในการศึกษาดูงาน โดยจัดประชุม
2. จัดทำโครงการ นำเสนอต่อผู้บริหาร 3. ขออนุมัติโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3
D : 1. ใช้เงินในโครงการเด็กไทยแก้มใส ร่วมกับเงินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2. กำหนดการเดินทางในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 60-4 มีนาคม 60 3. ศึกษาดูงานในวันที่ 1 มีนาคม 60 ณ มหา"ลัยบ้านนอก วิถีชุมชนพึ่งพาตนเอง บ้านจำรุง ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การไปทัศนศึกษาในครั้งนี้  ความรู้ที่ได้รับ คือ     การศึกษาวิถีชีวิตการดำรงชีวิต แบบเรียบง่าย แต่แผงไปด้วยศาตร์ของพระราชา มหาลัยบ้านนอกเป็น พื้นที่เรียนรู้การเกษตร และวิถีชีวิตที่พึ่งพาตนเองตามธรรมชาติ ในแบบฉบับชาวบ้านแท้ๆ  ประกอบด้วยศูนย์รวมผลผลิตทางการเกษตร คือ  พืชผัก สมุนไพรพื้นบ้าน รวมทั้งผลไม้ทั้งมังคุด เงาะ สละ แก้วมังกร มะยงชิด ลองกองที่ผิวไม่สวยแต่หวานกรอบ และปราศจากสารเคมี ทั้งยังมีแหล่งผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่ชาวบ้านร่วมมือกันผลิตใช้เองในหมู่บ้าน แบ่งการศึกษา     นอกจากนี้ ยังเปิดแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ มีรถพาชมสวน ได้ทั้งการพักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ และความรู้จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบชาวบ้าน ทั้งเกษตรพื้นบ้านไร้สารเคมี เกษตรธรรมชาติกองทัพมด เป็นตัวอย่างนำกลับไปใช้ได้จริง จากการสรุปกิจกรรมในห้องประชุมพบว่า
    1.  นักเรียนแกนนำทุกคนมีความตระหนักถึงการดำรงชีวิต แบบยั่งยืน และมั่นคง โดยเริ่มจากตัวเองก่อน สนใจสุขภาพของตนเอง โดยการรับประทานอาหารที่ผลิตขึ้นเอง มีอยู่ในชุมชน และปลอดสารเคมี     2.  ผู้ประกอบการทางด้านอาหารเห็นคุณค่าของการประกอบอาหารที่ปลอดภัย สะอาด และใช้ผลผลิตของชุมชน     3.  คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นแรงผลักให้ชุมชน ปลูกพืชปลอดสารพิษ โดยส่งขายผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนมากขึ้น     4.  ครูและผู้บริหาร ตระหนักถึงพฤติกรรมการกินของนักเรียน เข้าใจถึงระบบการผลิตอาหาร     5.  มหาลัยบ้านนอก  เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครบกระบวนการ คือ การผลิต การบริโภค การแปรรูป และการจำหน่าย จนเกิดการต่อยอดที่โรงเรียน คือ     1.  จัดระบบการบริการจัดการอาหารกลางวัน โดยการรับซื้อวัตถุดิบจากตลาด มาเป็นการใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน  สร้างเครือข่ายเกษตรกรรมที่สามารถผลิตวัตถุดิบ ส่งขายให้สหกรณ์นักเรียน     2.  ระบบการปรุงอาหาร โดยผู้ประกอบการเน้นในเรื่องคุณภาพอาหาร  อาหารปลอดสารพิษ และสะอาดมีคุณภาพ     3.  สร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้ยั่งยืน  ขยายผล ในเรื่องการเลี้ยงปลา  เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงหมู และเพาะเห็ด โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ที่สนใจมีแหล่งเงินกู้ยืมให้ลงทุน


circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 92 คน
ประกอบด้วย