ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านม่วงชุม |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | 248 หมู่ที่ 10 ตำบลม่อนบืน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50110 |
จำนวนนักเรียน | 753 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น |
ผู้อำนวยการ | นายสุวินทร์ อุปนันท์ |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางเพ็ญนภา สันฟู |
ถอนเงินเปิดบัญชีคืนโรงเรียน
คืนเงินดอกเบี้ยธนาคาร เพื่อปิดโครงการ
จัดฝึกอบรมการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา มะนาว จากวิทยากรท้องถิ่น ที่ประสบความสำเร็จ
นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ให้ความสนใจในการปลูกมะนาว สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการพัฒนาการปลูกมะนาวในบ่อซีเมตน์ไปปลูกที่บ้านส่งขายมายังสหกรณ์นักเรียนได้
1. วางแผนการปฏิบัติงาน
- ประชุมคณะครู
- เสนอกิจกรรมต่อผู้บริหาร
- แต่งตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์
กิจกรรมการอบรมนักเรียนแกนนำ อย.น้อยในโรงเรียน
กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพอาหารและขนมในโรงเรียน
2. ดำเนินการ
- คัดเลือกนักเรียนแกนนำ จำนวน 20 คน เป็น อย. น้อยประจำโรงเรียน
- จัดอบรมให้นักเรียนแกนนำ โดยผสานขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านม่วงชุม
- ลงภาคสนามในการตรวจสอบคุณภาพอาหารและขนมในโรงเรียน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- จัดบอร์ดให้ความรู้กับนักเรียน
4. สรุปผลการดำเนินการ
- รายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม
- นำผลการประเมินมาปรับปรุง
- เพื่อให้นักเรียนแกนนำได้อบรมมีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรม อย. น้อยในโรงเรียน
2. เพื่อลดเครื่องดื่ม น้ำอัดลม ขนมที่ไม่มีประโยชน์ในโรงเรียน
3. เพื่อตรวจสอบคุณภาพอาหารกลางวัน ให้ความรู้ในการจัดบอร์ด เรื่องการรับประทาน อาหาร
จัดกิจกรรมประชุมนักเรียนแกนนำ ผู้ปกครอง คณะครู โดยร่วมกันรับฟังการบรรยายจากวิทยากร พร้อมทั้งอภิปราแนวทางการดำเนินงาน
โดยมีแนวทางจัดกิจกรรมดังนี้
1. ผู้บริหารสถานศึกษา ประธานพิธีเปิดการอบรม พร้อมทั้ง บรรยายสรุปการจัดการอาหารกลางวัน ตามแนวทางโครงการเด็กไทยแก้มใส
2. วิทยากรบรรยายในภาคเช้าจาก สำนักงานปศุสัตว์อำเภอฝาง เกษตรกรตัวอย่าง
3. วิทยากรบรรยายในภาคบ่ายจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านม่วงชุม และจาก องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่น
4. สรุป อภิปราย แนวทางการดำเนินงานให้ยั่งยืน และเป็นผู้ผลิตอาหารที่ปลอดภัยส่งจำหน่ายผ่านระบบสหรกรณ์นักเรียน
ผู้ปกครองและนักเรียนมีความสนใจในการผลิตวัตถุดิบ พืช ผัก ปลอดสารพิษ ส่งขายผ่านระบบสหกรณ์นักเรียน
P :1. การจัดโครงการในครั้งนี้ ทางโรงเรียนได้มีการประชุมเพื่อหาข้อยุติในการศึกษาดูงาน โดยจัดประชุม
2. จัดทำโครงการ นำเสนอต่อผู้บริหาร
3. ขออนุมัติโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3
D : 1. ใช้เงินในโครงการเด็กไทยแก้มใส ร่วมกับเงินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. กำหนดการเดินทางในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 60-4 มีนาคม 60
3. ศึกษาดูงานในวันที่ 1 มีนาคม 60 ณ มหา"ลัยบ้านนอก วิถีชุมชนพึ่งพาตนเอง บ้านจำรุง ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง
การไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ความรู้ที่ได้รับ คือ
การศึกษาวิถีชีวิตการดำรงชีวิต แบบเรียบง่าย แต่แผงไปด้วยศาตร์ของพระราชา มหาลัยบ้านนอกเป็น พื้นที่เรียนรู้การเกษตร และวิถีชีวิตที่พึ่งพาตนเองตามธรรมชาติ ในแบบฉบับชาวบ้านแท้ๆ ประกอบด้วยศูนย์รวมผลผลิตทางการเกษตร คือ พืชผัก สมุนไพรพื้นบ้าน รวมทั้งผลไม้ทั้งมังคุด เงาะ สละ แก้วมังกร มะยงชิด ลองกองที่ผิวไม่สวยแต่หวานกรอบ และปราศจากสารเคมี ทั้งยังมีแหล่งผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่ชาวบ้านร่วมมือกันผลิตใช้เองในหมู่บ้าน แบ่งการศึกษา
นอกจากนี้ ยังเปิดแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ มีรถพาชมสวน ได้ทั้งการพักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ และความรู้จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบชาวบ้าน ทั้งเกษตรพื้นบ้านไร้สารเคมี เกษตรธรรมชาติกองทัพมด เป็นตัวอย่างนำกลับไปใช้ได้จริง
จากการสรุปกิจกรรมในห้องประชุมพบว่า
1. นักเรียนแกนนำทุกคนมีความตระหนักถึงการดำรงชีวิต แบบยั่งยืน และมั่นคง โดยเริ่มจากตัวเองก่อน สนใจสุขภาพของตนเอง โดยการรับประทานอาหารที่ผลิตขึ้นเอง มีอยู่ในชุมชน และปลอดสารเคมี
2. ผู้ประกอบการทางด้านอาหารเห็นคุณค่าของการประกอบอาหารที่ปลอดภัย สะอาด และใช้ผลผลิตของชุมชน
3. คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นแรงผลักให้ชุมชน ปลูกพืชปลอดสารพิษ โดยส่งขายผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนมากขึ้น
4. ครูและผู้บริหาร ตระหนักถึงพฤติกรรมการกินของนักเรียน เข้าใจถึงระบบการผลิตอาหาร
5. มหาลัยบ้านนอก เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครบกระบวนการ คือ การผลิต การบริโภค การแปรรูป และการจำหน่าย
จนเกิดการต่อยอดที่โรงเรียน คือ
1. จัดระบบการบริการจัดการอาหารกลางวัน โดยการรับซื้อวัตถุดิบจากตลาด มาเป็นการใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน สร้างเครือข่ายเกษตรกรรมที่สามารถผลิตวัตถุดิบ ส่งขายให้สหกรณ์นักเรียน
2. ระบบการปรุงอาหาร โดยผู้ประกอบการเน้นในเรื่องคุณภาพอาหาร อาหารปลอดสารพิษ และสะอาดมีคุณภาพ
3. สร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้ยั่งยืน ขยายผล ในเรื่องการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงหมู และเพาะเห็ด โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ที่สนใจมีแหล่งเงินกู้ยืมให้ลงทุน
เด็กนักเรียนแกนนำได้จัดนิทรรศการเด็กไทยแก้มใส นิทรรศการสุขภาพในโรงเรียน เช่น การแปรงฟัน การกำจัดเหา การลดพุงลดโรค การลดอาหารหวาน
เด็กนักเรียนแกนนำทุกคนได้เรียนรู้ในการจัดกิจกรรมนิทรรศการเด็กไทยแก้มใส ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- สามารถขยายการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบอาหาร
- ผู้รับผิดชอบกิจกรรมนายทรงธรรม เสรีรัตน์ ทำบันทึกข้อความขออนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการ
- บันทึกข้อความเสนอฝ่าย แผนงานและการเงินของโรงเรียน
- แต่งตั้งคณะทำงาน
- แต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียน ผู้ดูแลการให้อาหาร ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงปลาและการจำหน่ายปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ุ6. จัดทำแผนการเรียนรู้ตาม ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ึ7. จัดทำบัญชีฟาร์มควบคุมการผลิต
- จำหน่ายผ่านสหกรณ์นักเรียนเข้าสู่กระบวนการผลิตอาหารกลางวัน
- หมุนเวียนการเงิน เพื่อจัดซื้ออาหารปลาดุก
นักเรียนเครือข่าย ฐานการเรียนรู้ การเลี้ยงไก่ไข่ สามารถฝึกปฏิบัติการเลี้ยงไก่ไข่ได้ สามารถนำไปประกอบอาชีพ ต่อยอดที่บ้านได้ 2. นักเรียนสามารถทำบัญชีฟาร์มจำหน่ายสินค้าผ่านระบบสหกรณ์นักเรียน 3. ผลผลิตไข่ไก่ มีเพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ สามารถนำปลาดุกในบ่อซีเมนต์มาประกอบอาหารให้กับนักเรียนได้อย่างเพียงพอ 4. ไข่ไก่ที่นักเรียนได้บริโภคปลาดุก ปลอดภัย 100% จากสารพิษที่มาจากการเร่งโตไว 5. สามารถแก้ไขปัญหาทุพภาวะโภชนาการได้ในระดับหนึ่ง นักเรียนได้บริโภคอาหารที่สะอาด และปลอดภัย
- สามารถขยายการเลี้ยงไก่ไข่ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบอาหาร โดยการจัดซื้อไก่ไข่เพิ่มอีก 100ตัว
- ผู้รับผิดชอบกิจกรรมนายทรงธรรม เสรีรัตน์ ทำบันทึกข้อความขออนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการ
- บันทึกข้อความเสนอฝ่าย แผนงานและการเงินของโรงเรียน
- แต่งตั้งคณะทำงาน
- แต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียน ผู้ดูแล ไก่ไข่ การให้อาหาร ทำความสะอาดโรงเรือน และการจำหน่ายไข่ไก่ ุ6. จัดทำแผนการเรียนรู้ตาม ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ ึ7. จัดทำบัญชีฟาร์มควบคุมการผลิต
- จำหน่ายผ่านสหกรณ์นักเรียนเข้าสู่กระบวนการผลิตอาหารกลางวัน
- หมุนเวียนการเงิน เพื่อจัดซื้ออาหารไก่ไข่
- นักเรียนเครื่อข่าย ฐานการเรียนรู้ การเลี้ยงไก่ไข่ สามารถฝึกปฏิบัติการเลี้ยงไก่ไข่ได้ สามารถนำไปประกอบอาชีพ ต่อยอดที่บ้านได้
- นักเรียนสามารถทำบัญชีฟาร์มจำหน่ายสินค้าผ่านระบบสหกรณ์นักเรียน
- ผลผลิตไข่ไก่ มีเพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ สามารถนำไข่ไก่ มาประกอบอาหารให้กับนักเรียนได้อย่างเพียงพอ
- ไข่ไก่ที่นักเรียนได้บริโภคเป็นไข่ไก่ ปลอดภัย 100% จากสารพิษที่มาจากการเร่งไข่แดง
- สามารถแก้ไขปัญหาทุพภาวะโภชนาการได้ในระดับหนึ่ง นักเรียนได้บริโภคอาหารที่สะอาด และปลอดภัย
รายละเอียดการปฏิบัติกิจกรรม ใช้กระบวนการ PDCA ในการควบคุมคุณภาพ 1. คณะทำงานประชุมร่วมกันวางแผนการจัด อบรมให้ความรู้พัฒนาคุณภาพอาหารให้ผู้ประกอบการ คณะครู ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 2. จัดทำรูปแบบการทำกิจกรรม เขียนกิจกรรม ขออนุมัติกิจกรรมจากผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านม่วงชุม 3. คณะทำงาน ออกหนังสือเชิญ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านม่วงชุม ผู้ประกอบอาหาร ร้านค้า 3. ดำเนินงานตามกิจกรรมที่วางไว้ในแผนงาน ดังนี้ 3.1 08.00 น. - 08.30 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 3.2 08.30 น. - 09.00 น. พิธีเปิด การอบรม โดยท่าน ผอ. สิทธิพร นันตาวงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านม่วงชุม พร้อมบรรยายพิเศษ 3.3 09.30 น. - 10.00 น. ปัญหาทุพภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงชุม โดย นางเพ็ญนภา สันฟู ครูอนามัยโรงเรียน 3.4 10.00 น. - 10.30 น. การกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็ก โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นายประสงค์ ธิยศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านม่วงชุม 3.5 10.30 น. - 11.00 น. สะท้อนปัญหาการประกอบอาหาร ในรอบปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบอาหาร 3.6 11.00 น. - 11.30 น. แนวทางการพัฒนา สถานที่ประกอบอาหาร วัสดุ อุปกรณ์ และ คุณค่าทางโภชนาการ ตาม โปรแกรม Thai School Lunch นางเพ็ญนภา สันฟู ครูอนามัยโรงเรียน 3.7 11.00 น. - 12.00 น. การทำ MOU การประกอบอาหารเพื่อเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงชุม
ประเด็นที่ 1 การจัดอบรมให้ความรู้พัฒนาคุณภาพอาหารให้ผู้ประกอบการ คณะครู สามารถกระตุ้นความคิดให้กับคณะครูทุกคน ไม่เพียงเฉพาะครูอนามัยโรงเรียนเท่านั้น ที่ให้ความสำคัญต่อการประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับประทานมีคุณค่าทางโภชนาการ
ประเด็นที่ 2 ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านม่วงชุม ได้เกิด องค์ความรู้ในการพัฒนาสมองของนักเรียน ไม่เฉพาะสอนแต่ในห้องเรียน แต่อาหารที่นักเรียนบริโภคเข้าไป มีผลต่อการพัฒนาการทางด้าน สติปัญญา และร่างกาย ทำให้เกิดแนวความคิดที่ว่า การรับประทานอาหารของนักเรียนต้องให้ผู้ปกครองเป็นคน คอยดูแล เพราะนักเรียนรับประทานอาหารที่โรงเรียน 1 มื้อ 5 วันเท่านั้น นอกนั้นนักเรียนรับประทานที่บ้าน
ประเด็นที่ 3 ผู้ประกอบการเกิดความตระหนักถึง เครื่องปรุงรส ผักปลอดสารพิษ คุณค่าทางอาหารที่นักเรียนจะได้รับ ครบ 5 หมู่
ประเด็นที่ 4 คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการ ควบคุม กำกับ ดูแล คุณภาพอาหาร โดยใช้ครูทุกคนเป็นผู้ประเมิน คุณค่าทางอาหาร รสชาติ และวัถตุดิบในการปรุงอาหาร
1 จัดประชุมคณะครู กำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพอาหาร ตามโครงการเด็กไทยแก้มใส เพื่อยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้ม 2 ทวบทวนการดำเนินงานเด็กไทยแก้มใสครั้งที่ผ่านมา สรุป ปัญหา อุปสรรค์ แนวทางการแก้ปัญหา 3 จัดทำแผนปฏิบัติงาน เด็กไทยแก้มใส ปีการศึกษา 2559 4 กำหนดทิศทางการพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส 5 กำหนด การกำกับ ติดตาม การรายงานการดำเนินงาน
- การประชุมสร้างความตระหนักถึงภาระกิจการพัฒนาโครงการเด็กไทยแก้มใส ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ภายในปี 2559 ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนต้องให้ความร่วมมือกับผู้รับผิดชอบโครงการ ครูต้องเข้าใจในเรื่องภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนรายบุคคล มีความรู้ในเรื่องการจัดการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
- สามารถจัดทำแผนปฏิบัติงาน เด็กไทยแก้มใส ปีการศึกษา 2559 สามารถนำไปใช้จริงได้
- สามารถจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน เด็กไทยแก้มใส