กิจกรรม อบรมให้ความรู้พัฒนาคุณภาพอาหารให้ผู้ประกอบการ คณะครู27 พฤษภาคม 2559
27
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสิทธิพงษ์ จันสม
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดการปฏิบัติกิจกรรม ใช้กระบวนการ PDCA ในการควบคุมคุณภาพ 1.  คณะทำงานประชุมร่วมกันวางแผนการจัด อบรมให้ความรู้พัฒนาคุณภาพอาหารให้ผู้ประกอบการ คณะครู ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 2.  จัดทำรูปแบบการทำกิจกรรม  เขียนกิจกรรม ขออนุมัติกิจกรรมจากผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านม่วงชุม 3.  คณะทำงาน  ออกหนังสือเชิญ คณะกรรมการสถานศึกษา  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านม่วงชุม ผู้ประกอบอาหาร ร้านค้า 3.  ดำเนินงานตามกิจกรรมที่วางไว้ในแผนงาน  ดังนี้     3.1  08.00 น. - 08.30 น.  ลงทะเบียน  รับเอกสาร     3.2  08.30 น. - 09.00 น.  พิธีเปิด การอบรม โดยท่าน ผอ. สิทธิพร  นันตาวงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านม่วงชุม พร้อมบรรยายพิเศษ     3.3  09.30 น. - 10.00 น.  ปัญหาทุพภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงชุม โดย นางเพ็ญนภา  สันฟู  ครูอนามัยโรงเรียน     3.4  10.00 น. - 10.30 น.  การกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็ก โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  นายประสงค์  ธิยศ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านม่วงชุม     3.5  10.30 น. - 11.00 น.  สะท้อนปัญหาการประกอบอาหาร ในรอบปีที่ผ่านมา  ผู้ประกอบอาหาร     3.6  11.00 น. - 11.30 น.  แนวทางการพัฒนา สถานที่ประกอบอาหาร  วัสดุ อุปกรณ์  และ คุณค่าทางโภชนาการ ตาม โปรแกรม Thai School Lunch  นางเพ็ญนภา  สันฟู  ครูอนามัยโรงเรียน     3.7  11.00 น. - 12.00 น.  การทำ  MOU การประกอบอาหารเพื่อเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประเด็นที่ 1 การจัดอบรมให้ความรู้พัฒนาคุณภาพอาหารให้ผู้ประกอบการ คณะครู สามารถกระตุ้นความคิดให้กับคณะครูทุกคน ไม่เพียงเฉพาะครูอนามัยโรงเรียนเท่านั้น ที่ให้ความสำคัญต่อการประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับประทานมีคุณค่าทางโภชนาการ
ประเด็นที่ 2 ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านม่วงชุม ได้เกิด องค์ความรู้ในการพัฒนาสมองของนักเรียน ไม่เฉพาะสอนแต่ในห้องเรียน แต่อาหารที่นักเรียนบริโภคเข้าไป มีผลต่อการพัฒนาการทางด้าน สติปัญญา และร่างกาย ทำให้เกิดแนวความคิดที่ว่า การรับประทานอาหารของนักเรียนต้องให้ผู้ปกครองเป็นคน คอยดูแล เพราะนักเรียนรับประทานอาหารที่โรงเรียน 1 มื้อ 5 วันเท่านั้น  นอกนั้นนักเรียนรับประทานที่บ้าน ประเด็นที่ 3 ผู้ประกอบการเกิดความตระหนักถึง เครื่องปรุงรส  ผักปลอดสารพิษ  คุณค่าทางอาหารที่นักเรียนจะได้รับ ครบ 5 หมู่ ประเด็นที่ 4 คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการ ควบคุม  กำกับ  ดูแล คุณภาพอาหาร โดยใช้ครูทุกคนเป็นผู้ประเมิน คุณค่าทางอาหาร  รสชาติ  และวัถตุดิบในการปรุงอาหาร

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 43 คน จากที่ตั้งไว้ 48 คน
ประกอบด้วย