แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในด้านการเกษตร ด้าน การจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร
ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนมีรูปแบบกระบวนการทำงานด้านการเกษตร ด้าน การจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรที่สามารถถ่ายทอดได้ 2. นักเรียน ครู บุคลากร ผู้ปกครองแกนนำ และโรงเรียนเครือข่ายร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง

 

 

1.มีแหล่งผลิตวัตถุดิบด้านการเกษตร เช่น ไข่ไก่ ผัก เห็ด ไก่ ปลา ผ่านสหกรณ์การเกษตรนักเรียนเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน

2.นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้เกิดการเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

2 เพื่อพัฒนาครู นักเรียน ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้เกี่ยวกับสหกรณ์และนำไปสู่การปฏิบัติได้
ตัวชี้วัด : 1. เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 40-100 กรัม ในมื้ออาหารเย็น และอาหารว่าง (ติตตามผลโดยครูและผู้ปกครอง) 2. นักเรียนประมาณ 80% มีพฤติกรรมสุขภาวะที่ดี ได้แก่ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร รวมทั้งแปรงฟันก่อนเข้านอน และมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง 3. ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ก่อนเลิกเรียน (อาจจะเน้นที่เด็กมีภาวะอ้วนเป็นพิเศษ) 4. นักเรียนประมาณ 80 % ของจำนวนเด็กในโรงเรียน ให้ความร่วมมือทำกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

 

 

1.นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ทั้งการบริโภคในโรงเรียนและที่บ้าน 2.นักเรียนมีพฤติกรรมการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร และก่อนเข้านอน ทั้งยังมีการทิ้งขยะได้ถูกประเภทตามที่ได้จัดทำถังแยกขยะไว้ให้

3.นักเรียนมีการออกกำลังกายตามกิจกรรม BBL ในตอนเช้าของทุกวัน

4.นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกคน

3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการทำงานมีทัศนคติที่ดีทางการเกษตรผสมผสาน และ สามารถผลิตวัตถุดิบสำหรับโครงการอาหารกลางวัน
ตัวชี้วัด : นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการทำงานมีทัศนคติที่ดีทางการเกษตรผสมผสาน เข้าร่วมกิจกรรมทางการเกษตรในโรงเรียน สามารถผลิตวัตถุดิบสำหรับโครงการอาหารกลางวัน และสามารถนำความรู้ไปปฎิบัติที่บ้านได้

 

 

นักเรียนมีความรู้มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน ด้านงานเกษตร และเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตรอย่างมีความสุขแล้วนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติต่อยอดที่บ้านและมีวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง
ตัวชี้วัด : จำนวนกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพิ่มขึ้น 40%

 

 

มีกิจกรรมของครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนที่ทำร่วมกันเพิ่มขึ้นหลายกิจกรรมเช่น ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร การคัดแยกขยะในโรงเรียน การเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพ ภาวะโภชนาการนักเรียน การเฝ้าระวังและร่วมขับขี่เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และการให้ความรู้เรื่องความปลอดทางน้ำ