แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ)

ชุมชน 234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

รหัสโครงการ ศรร.1112-027 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-น.27

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา

วันที่ 19 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 -15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีการจัดประชุม ชี้แจง บุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสุขภาวะของเด็กและเยาวชนในชุมชน
  2. จัดอบรม และแหล่งเรียนรู้  สำหรับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเยาวชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับอาหาร โภชนาการ การดูแลสุขภาพและส่ิงแวดล้อม
  3. ผู้ปกครอง และนักเรียน ได้รับการฝึกทักษะการประกอบอาหารสำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และภาวะทุพโภชนาการ
  4. นักเรียนได้รับคำแนะนำ และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและเหมาะสม
  5. นักเรียนสามารถดูแลตนเองด้านการรับรับประทานอาหารที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ การออกกลังกาย และสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลชัยจุมพล ยินดี เป็นแหล่งเรียนรู้ และให้ความร่วมมือ
  2. ผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 27 คน และภาวะทุพโภชนาการจำนวน 12 คน ให้ความร่วมมือ นำบุตรหลานเข้าร่วมกิจกรรม ตามที่โรงเรียนกำหนดไว้
  3. "กลุ่มเยาวชนไทยรัฐ - พระเสด็จ" ยินดีร่วมกิจกรรม โดยทำหน้าที่เป็น "ดีเจ ทีน" ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องสุขภาวะ อาหาร ยา และหลักการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เสียงตามสายตามหมู่บ้านและในโรงเรียน โดยกำหนดเวลา เดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก เทศบาลตำบลพระเสด็จ 4.  คณะครู และ ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือด้านการดูแลเฝ้าระวังด้านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. หนังสือเชิญวิทยากร
  2. หนังสือเชิญคณะกรรมการสถานศึกษา 3.หนังสือเชิญประชุมผู้ปกครอง พร้อมหัวข้อประชุม
  3. เตรียมเอกสาร สื่อ อุปกรณ์ อาหาร เครื่องดื่ม
  4. บันทึกประชุม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. นายสนาม กอนวงษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระเสด็จ เป็น ประธานในพิธีการประชุมผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมพัฒนานักเรียนตามโครงการโรงต้นแบบเด็กไทยแก้มใส
  2. นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน ผู้อำนวยการโรงเรียน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ และขอความอนุเคราะห์ผู้ปกครองให้ความสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนด้านสุขอนามัย ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา และด้านการเรียนรู้
  3. นายวิโรจน์ ใจแน่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล และนางยุพิน ทิพปัญญาชัย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการอาหาร สุขอนามัยส่วนตัว และความสำคัญในการพัฒนาการเจริญเติบโตของบุตรหลานให้สมวัย

 

136 233

2. เพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน

วันที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00-11.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. โรงเรียนมีผักปลอดสารพิษ ประกอบเป็นอาหารกลางวัน เป็นประเภทผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง กวางตุ้ง บวบ ฟักทอง ถั่วงอก ต้นทานตะวันอ่อน เป็นต้น
  2. โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่ มีไข่ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายเป็นกองทุนหมุนเวียน
  3. โรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ เป็นอาหารประเภทโปรตีนสำหรับอาหารกลางวัน 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีนักเรียนอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 34 คน
  2. มีเยาวชนตัวแทนกลุ่ม "ไทยรัฐ-พระเสด็จ" เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 2 คน
  3. ได้ต้นทานตะวันอ่อนจำนวน 8 กิโลกรัม นำไปประกอบอาหารกลางวันแทนถั่วงอก(ก๋วยเตี๊ยว) จำนวน 5 กิโลกรัม
  4. นำไปจำหน่ายผ่านระบบสหกรณ์  3 กิโลกรัม ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ครูรับผิดชอบกิจกรรมทำบัญชีสมาชิกกลุ่มเพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน มีประธาน เลขาฯ สมาชิก
  2. ครูจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับเพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน
  3. แจกวัสดุอุปกรณ์แต่ละกลุ่ม
  4. ครูสาธิตการเพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน
  5. นักเรียนฝึกปฏิบัติ สนทนาการดูแล การรดน้ำ การเก็บผลผลิต
  6. ส่งผลผลิตผ่านสหกรณ์นักเรียน และนำไปประกอบอาหารกลางวัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ซื้อเมล็ดพันธ์ุทานตะวัน 2 ถุง ๆ ละ 150เป็นเงิน 300 บาท
  2. ซื้อปุ๋ยดิน 2 กระสอบ ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 100 บาท
  3. ซื้อตะกร้าพลาสติกสำหรับเพาะ 30 อัน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน600 บาท
  4. ซื้อเมล็ดพันธ์ุถั่วเขียว 5 ถุง ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  5. ขุยมะพร้าว 3 ถุง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท

 

25 39

3. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ

วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. โรงเรียนมีผักปลอดสารพิษ ประกอบเป็นอาหารกลางวัน เป็นประเภทผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง กวางตุ้ง บวบ ฟักทอง ถั่วงอก ต้นทานตะวันอ่อน เป็นต้น
  2. โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่ มีไข่ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายเป็นกองทุนหมุนเวียน
  3. โรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ เป็นอาหารประเภทโปรตีนสำหรับอาหารกลางวัน 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีบ่อเลี้ยงปลาขนาด 1.20 เมตร จำนวน 8 บ่อ
  2. ปล่อยปลาบ่อละ 100 ตัว
  3. ดูแล ให้อาหารตามขนาด และเวลา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมคณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
  2. แต่งตั้งคณะครู และนักเรียน ผู้ดำเนินกิจกรรม
  3. คณะครูผู้รับผิดชอบ สืบราคาพันธุ์ปลา อาหารปลาแต่ละขนาด 4.  เตรียมบ่อซีเมนต์ที่ต้องการเลี้ยงปลา
  4. คณะครูและนักเรียนศึกษาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลาตามแหล่งเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คณะครูที่รับผิดชอบวางแผนการเลี้ยงปลาดุก โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเวร ให้อาหารปลาตามปริมาณที่กำหนดให้ เปลี่ยนน้ำ ทำความสะอาดบ่อ
  2. ซื้อพันธ์ุปลาดุกรัสเซีย 800 ตัว ๆ ละ 3 บาท  เป็นเงิน 2400 บาท
  3. ซื้ออาหารปลาเล็ก 2 กระสอบ ๆ ละ 480 บาท เป็นเงิน 960 บาท
  4. ซื้ออาหารปลาโต 2 กระสอบ ๆ ละ 520 บาท เป็นเงิน 1040 บาท
  5. ซื้อตาข่ายปิดปากบ่อ 30 เมตร ๆ ละ  20 บาท เป็นเงิน 600 บาท

 

20 22

4. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( คะน้า ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง )

วันที่ 10 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00 -16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. โรงเรียนมีผักปลอดสารพิษ ประกอบเป็นอาหารกลางวัน เป็นประเภทผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง กวางตุ้ง บวบ ฟักทอง ถั่วงอก ต้นทานตะวันอ่อน เป็นต้น
  2. โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่ มีไข่ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายเป็นกองทุนหมุนเวียน
  3. โรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ เป็นอาหารประเภทโปรตีนสำหรับอาหารกลางวัน 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. นักเรียนเก็บผักบุ้งจำนวน 50 กระถาง ได้ผักบุ้ง 20 กิโลกรัม นำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  2. นำผักบุ้งไปประกอบอาหารกลางวันซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยว โดยใช้ร่วมกับถั่วงอกจำนวน 8 กิโลกรัม ที่เหลือ12 กฺิโลกรัม นำไปขาย ได้เงิน240 บาท
  3. เมล็ดผักบุ้ง 1 ถุง ยังสามารถนำไปปลูกได้อีก 1 ครั้ง โดยใช้จำนวนกระถางเท่าจำนวนเดิม
  4. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุกสนาน ภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้รับประทานปลอดสารพิษ และจะนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ค่าพันธ์ุผักพื้นบ้านตามฤดูกาล3 ชนิด ๆ ละ 150 บาท 150*3
  2. ค่าปุ๋ยคอกถุงละ 50 บาท จำนวน 10 ถุง50*10

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. การปลูกผักบุ้งในกระถาง จำนวน 60 กระถาง เป็นการประหยัดดินและปุ๋ย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล
  2. นักเรียนที่ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 27 คน มีคณะครูรับผิดชอบ 2 คน และมีผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพปลูกผักขายเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 3 คน
  3. ครูและนักเรียนร่วมกันผสมดิน ปุ๋ย ใส่กระถาง
  4. โรยเมล็ดผักบุ้งกระถางละ 20-30 เมล็ด
  5. รดน้ำ เช้า เย็น ดูแลวัชพืช เป็นเวลา 20 วัน
  6. เก็บผักบุ้ง ชั่งกิโล ขายผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน

 

66 33

5. ปลูกมัลเบอรี่

วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 14.00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. โรงเรียนมีผักปลอดสารพิษ ประกอบเป็นอาหารกลางวัน เป็นประเภทผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง กวางตุ้ง บวบ ฟักทอง ถั่วงอก ต้นทานตะวันอ่อน เป็นต้น
  2. โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่ มีไข่ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายเป็นกองทุนหมุนเวียน
  3. โรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ เป็นอาหารประเภทโปรตีนสำหรับอาหารกลางวัน 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ครูสำรวจพื้นที่ในบริเวณโรงเรียนเพื่อปลูกมัลเบอรี วัดระยะห่างต้นละ 3.5 เมตร ทำเครื่องหมายไว้ให้พอกับจำนวนต้นมัลเบอรี
  2. ครูประชาสัมพันธ์นักเรียนในโรงเรียน และขออาสาสมัครนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม และประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวชุมชน เพื่อชี้แจและเชิญชวนผู้ปกครองร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
  3. กำหนดวัน เวลา ปฏิบัติกิจกรรมที่ชัดเจน แจ้งให้นักเรียนอาสาสมัครนำอุปกรณ์ เช่น จอบ เสียม บัวรดน้ำ มาจากบ้าน
  4. นำนักเรียนและผู้สนใจ ขุดหลุม ปลูกมัลเบอรี และใส่ปุ๋ย รดน้ำ ดูแล
  5. มีนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 24 คน
  6. มีศิษย์เก่า และผู้ปกครองมาร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน
  7. มีหน่วยงานจากศูนย์วิจัยหม่อนไหม จากจังหวัดแพร่ เข้ามาสนับสนุนพันธ์ุมัลเบอรีเพิ่มเติม และสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้การแปรรูปผลผลิต และการนำไปประกอบอาหาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ครูรับผิดชอบกิจกรรม แจ้งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 จำนวน 24 คน เกี่ยวกับการปลูก มะละกอ มัลเบอรี่ กล้วย เพื่อนำผลผลิตมาประกอบอาหารรับประทานกลางวัน
  2. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนรับผิดชอบ เป็นกลุ่มมะละกอ กลุ่มมัลเบอรี่ และกลุ่มกล้วย
  3. ครูสำรวจพันธ์ุมะละกอพื้นบ้าน และกล้วยน้ำว้า ให้นักเรียนขอความอนุเคราะห์จากชุมชน ขอพันธ์ุมาปลูกที่โรงเรียน
  4. นักเรียน และครูที่รับผิดชอบ เตรียมดิน ปุ๋ย ปลูก และดูแล
  5. นำผลผลิตที่ได้มาประกอบเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ครูรับผิดชอบสำรวจราคาพันธุ์ มัลเบอรี และจัดซื้อจำนวน 50 ต้น ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4000 บาท
  2. ซื้อดินปุ๋ย 20 ถุง ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1000 บาท

 

28 36

6. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน คะน้า กวางตุ้ง )

วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. โรงเรียนมีผักปลอดสารพิษ ประกอบเป็นอาหารกลางวัน เป็นประเภทผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง กวางตุ้ง บวบ ฟักทอง ถั่วงอก ต้นทานตะวันอ่อน เป็นต้น
  2. โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่ มีไข่ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายเป็นกองทุนหมุนเวียน
  3. โรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ เป็นอาหารประเภทโปรตีนสำหรับอาหารกลางวัน 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. นักเรียนเก็บผักบุ้งจำนวน 80 กระถาง ได้ผักบุ้ง 30 กิโลกรัม นำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  2. นำผักบุ้งไปประกอบอาหารกลางวันซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยว โดยใช้ร่วมกับถั่วงอกจำนวน 10 กิโลกรัม ที่เหลือ20 กิโลกรัม นำไปขาย ได้เงิน  400 บาท
  3. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุกสนาน ภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้รับประทานปลอดสารพิษ และจะนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวต่อไป
  4. รดน้ำ เช้า เย็น ดูแลวัชพืช เป็นเวลา 20 วัน
  5. เก็บผักบุ้ง ชั่งกิโล ขายผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือนำไปจำหน่าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. การปลูกผักบุ้งในกระถาง จำนวน 80 กระถาง เป็นการประหยัดดินและปุ๋ย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล
  2. นักเรียนที่ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน มีคณะครูรับผิดชอบ 3 คน และมีผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพปลูกผักขายเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 3 คน
  3. ครูและนักเรียนร่วมกันผสมดิน ปุ๋ย ใส่กระถาง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. การปลูกผักบุ้งในกระถาง จำนวน 80 กระถาง เป็นการประหยัดดินและปุ๋ย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล
  2. นักเรียนที่ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน
  3. แบ่งนักเรียนรับผิดชอบคนละ 4 กระถาง คอยดูแลรดน้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช
  4. มีคณะครูรับผิดชอบ 3 คน คือ นางบานเที่ยง ยอดคำ นายอโนทัย สนประเทศ และนางศรีเรือน ย้ิ้มศรีเจริญกิจ
  5. มีผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพปลูกผักขายเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 3 คน
  6. ครูและนักเรียนร่วมกันผสมดิน ปุ๋ย ใส่กระถาง
  7. โรยเมล็ดผักบุ้งกระถางละ 20-30 เมล็ด
  8. นักเรียนที่ได้รับแต่งตั้งรับผิดชอบดูแล จนเก็บผลผลิต
  9. นำไปประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือ นำไปจำหน่าย

 

30 27

7. อบรมพัฒนาผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำและสูงกว่าเกณฑ์

วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีการจัดประชุม ชี้แจง บุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสุขภาวะของเด็กและเยาวชนในชุมชน
  2. จัดอบรม และแหล่งเรียนรู้  สำหรับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเยาวชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับอาหาร โภชนาการ การดูแลสุขภาพและส่ิงแวดล้อม
  3. ผู้ปกครอง และนักเรียน ได้รับการฝึกทักษะการประกอบอาหารสำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และภาวะทุพโภชนาการ
  4. นักเรียนได้รับคำแนะนำ และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและเหมาะสม
  5. นักเรียนสามารถดูแลตนเองด้านการรับรับประทานอาหารที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ การออกกลังกาย และสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาวะนักเรียนให้รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
  2. นักเรียนตระหนักในปัญหาสุขภาพของตนเอง และมีความตั้งใจแก้ไขปัญหาการรับประทานอาหารจุกจิก อาหารขยะ และอาหารที่ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วน ภาวะทุพโภชนการ
  3. นักเรียนตั้งปณิธานในการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ผู้บริหารประชุมคณะครู แต่งตั้งคณะทำงาน
  2. เชิญวิทยากรให้ความรู้
  3. กำหนดอบรมจำนวน 1 วัน
  4. เลี้ยงอาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 เวลา
  5. อบรมผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และภาวะน้ำหนักเกิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ของนักเรียน ครั้งที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
  2. วิเคราะห์น้ำหนัก ส่วนสูง เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มทุพโภชนาการ ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์  และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  3. ทำบันทึกเสนอผู้บริหารโรงเรียน ขอจัดอบรมผู้ปกครองและนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์
  4. กำหนดวันอบรม และทำหนังสือแจ้งผู้ปกครอง เชิญวิทยากร
  5. ประชุมชี้แจงคณะครูทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม ตามวัน เวลา ที่กำหนดไว้
  6. จัดอบรม ให้ความรู้ผู้ปกครอง และนักเรียน  เรื่องการดูแลสุขภาพ ความสะอาด การประกอบอาหาร การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย อาหารที่ไม่ควรรับประทาน เป็นต้น
  7. ให้นักเรียนวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก เพื่อร่วมกันแนะนำ ช่วยเหลือนักเรียน
  8. ผู้ปกครอง กับ โรงเรียน สร้างข้อตกลงว่าด้วยการร่วมมือการดูแลให้บุตรหลานของตนเองรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การส่งเสริมให้บุตรหลานออกกำลังกาย

 

110 110

8. เลี้ยงไก่พันธ์ุไข่

วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. โรงเรียนมีผักปลอดสารพิษ ประกอบเป็นอาหารกลางวัน เป็นประเภทผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง กวางตุ้ง บวบ ฟักทอง ถั่วงอก ต้นทานตะวันอ่อน เป็นต้น
  2. โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่ มีไข่ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายเป็นกองทุนหมุนเวียน
  3. โรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ เป็นอาหารประเภทโปรตีนสำหรับอาหารกลางวัน 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้ปกครองนักเรียนหมุนเวียนกันร่วมสร้างโรงเรือน จนแล้วเสร็จ โดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
  2. ได้รับงบประมาณสนับสนุนการเลี้ยงไก่เพิ่มเติมจากเงินกองทุนอาหารกลางวัน สพฐ. จัดซื้อไก่เพื่อร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส จำนวน 200 ตัว
  3. ครูผู้รับผิดชอบจัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงไก่
  4. ประสานงานผู้ค้าพันธ์ุไก่ไข่ พร้อมจัดส่งประมาณปลายเดือน กรกฎาคม 2559
  5. นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมการเลี้ยงไก่ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน34 คน มีคณะครู 5 คน ผู้ปกครองที่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่จำนวน 4 คน และบุคคลที่สนใจอีก 5 คน
  6. คณะครู และนักเรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรุู้ต่าง ๆ เช่น ศึกษาจากแหล่งเลี้ยงไก่ของผู้ประกอบการ เอกสาร และสื่อต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมเลี้ยงไก่ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดซื้อพันธ์ุไก่ไข่ 40*182  =7280
  2. จัดซื้ออาหารไก่ 14* 200  =2800

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมชี้แจงคณะครุูเพื่อทราบวัตถุประสงค์ และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบกิจกรรม
  2. คณะทำงานร่วมกันวางแผนกิจกรรม เช่น การกำหนดพื้นทีี่สร้างโรงเรือน ขนาดของโรงเรีือน การจ้างวานคณะสร้างโรงเรีอน
  3. กำหนดวัน เวลา และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับสร้างโรงเรือน
  4. ประสานงานผู้ค้าพันธ์ุไก่ไข่ สอบราคา
  5. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติม ประชุมชี้แจงนักเรียนที่ร่วมรับผิดชอบ

 

39 48

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 26 8                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,000.00 39,390.00                  
คุณภาพกิจกรรม 32 31                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. คืนเงินเปิดบัญชีโครงการ ( 18 ต.ค. 2559 )
  2. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล (กะหล่ำปลี ผักบุ้ง กวางตุ้ง ) ( 4 พ.ย. 2559 - 7 พ.ย. 2559 )
  3. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล (มะเขือ ถั่วฝักยาว บวบ ฟักทอง) ( 10 พ.ย. 2559 )
  4. เพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน ( 14 พ.ย. 2559 )
  5. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( บวบ ฟักทอง ผักบุ้งจีน ถั่วฝักยาว มะเขือ) ( 18 พ.ย. 2559 - 24 พ.ย. 2559 )
  6. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ ( 2 ธ.ค. 2559 )
  7. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน ) ( 2 ธ.ค. 2559 )
  8. เพาะถั่วงอกเพื่ออาหารกลางวัน ( 9 ธ.ค. 2559 )
  9. ดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ( 9 ธ.ค. 2559 )
  10. ปลูกผักพื้นบ้าน (มะนาว) ( 15 ธ.ค. 2559 )
  11. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วยหลัก 4 อ. ( 6 ม.ค. 2560 - 10 ม.ค. 2560 )
  12. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ รุ่นที่ 2 ( 9 ม.ค. 2560 )
  13. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ต้นหอม คะน้า) ( 2 ก.พ. 2560 )
  14. จัดมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ( 7 ก.พ. 2560 - 16 ก.พ. 2560 )
  15. เดินสายน้ำ ต้นมัลเบอร์รี่ ( 22 ก.พ. 2560 - 28 ก.พ. 2560 )
  16. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน กะเพรา) ( 1 มี.ค. 2560 )
  17. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง โหระพา) ( 6 มี.ค. 2560 )
  18. คืนดอกเบี้ยโครงการ ( 29 มี.ค. 2560 )

(................................)
นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน
ผู้รับผิดชอบโครงการ