ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านห้วยระหงส์

รหัสโครงการ ศรร.1112-019 รหัสสัญญา 58-00-2265-น.19 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการงานอาชีพ
ชมรมยุวเกษตร ได้ลงมือปฏิบัติจริงการปลูกข้าวไร่ การปลูกผัก ผลไม้ เลี้ยงปลา เพาะเห็ด ปุ๋ยชีวภาพ

ขั้นตอนการดำเนินงาน จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนการสอน การปลูกผัก ดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ ประเมินผลกิจกรรม
เนื่องจากผลผลิตที่ได้จะนำไปใช้ในการประกอบอาหารกลางวันกับนักเรียนดั้งนั้นการดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ มีคณะนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการด้านต่างๆดังนี้ กิจกรรมย่อย
1.) การปลูกข้าวไร่ การปลูกข้าวไร่ เนื่องสภาพปัญหาชุมชนบ้านห้วยระหงส์ ผู้ปกครองมีฐานะยากจน มีอาชีพรับจ้าง หาของป่าขาย มีรายได้น้อยต้องนำเงินมาซื้อข้าวโรงเรียนจึงได้ดำเนินการปลูกข้าวไร่ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน และนำมาเป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนตลอดปี นักเรียนได้มีข้าวรับประทานกลางวันทุกคน
ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงานปลูกข้าว ไถดะ ไถพรวน เตรียมดิน ขุดหลุ่ม ใช้เมล็ดพันธ์ุที่เลือก หยอดหลุุมละ 5-8 เม็ด
ป้องกันกำจัดวัชพืชเมื่อข้าวเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ย ประมาณ 4 เดือน ข้าวแก่ เก็บเกี่ยว นำข้าวที่ได้มาแปรรูป เป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน 2.)การปลูกผักได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง กระเพา ฝักม้ง ผักกาดหอม ต้นหอม คื่นฉ่าย ตะไคร้โหระพา ขั้นตอน/วิธีการ 1.ไถดะ พรวน เตรียมแปลง ดิน เมล็ดพั่นธ์ุ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
2.เพาะต้นกล้า นำต้นกล้ามาปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยชีวภาพ 3.เก็บผลผลิต นักเรียนคิดต้นทุน ผลผลิต นำผักมาขายให้สหกรณ์ ส่งโรงอาหาร เป็นอาหารกลางงวัน 3.)การปลูกมัลเบอร์รี หม่อนรับประทานผล ขั้นตอน/วิธีการ เตรียมพันธ์ุ ต้นกล้า เตรียมดิน
ขุดหลุ่ม 50X50นำต้นกล้าปลูก 8 เดือน ได้ผลผลิต นำผลผลิตที่ได้ขายให้สหกรณ์ ส่งโรงอาหารอาหารว่างแปรรูป 4.)ปลูกมะนาวในวงท่อซีเมนต์ ขั้นตอน/วิธีการ 1.เตรียมดิน วงท่อเส้นผ่าศูนย์กลาง 120ซม. พันธ์ุมะนาว ปลูก ใส่ปุ๋ยรดนำ้ดูแลบำรุง 5.)การเพาะเห็ด ขั้นตอน/วิธีการ เตรียมโรงเห็ด ได้ผลผลิต นำผลผลิตที่ได้ขายให้สหกรณ์ ส่งโรงอาหารแปรรูป
ุ6.)การเลี้ยงปลา ขั้นตอน/วิธีการ เตรียมบ่อพันธุ์ปลาอาหาร เลี้ยงปลาบ่อซีเมนต์ได้ผลผลิต นำผลผลิตที่ได้ขายให้สหกรณ์ ส่งโรงอาหารแปรรูป 7.) การปลูกกล้วย ขั้นตอน/วิธีการ เตรียมพันธ์ุ ต้นกล้า เตรียมดิน
ขุดหลุ่ม 50X50นำต้นกล้าปลูกได้ผลผลิต นำผลผลิตที่ได้ขายให้สหกรณ์ ส่งโรงอาหารอาหารว่างแปรรูป

กิจกรรมการปลูกข้าวไร่ ขยายพื้นที่การปลูกข้าวไร่ เพื่อนักเรียนมีข้าวรับประทานตลอดปี หาพันธุ์ข้าวใหม่ๆมาปลูกเปรียบเทียบ ข้าวพันธ์ุใดได้ผลผลิตมาก เหมาะสมกับภูมิประเทศที่ปลูกอย่างไร เป้น การส่งเสริมให้นักเรีายน ผู้ปกครอง ชุมชน ได้เกิดการเรียนรู้การปลูกข้าวให้มากขึ้นและขยายผลสู่ชุมชน 2.กิจกำรรมการปลูกผัก ผลไม้ เลี้ยงปลา จะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และหมุนเวียนตลอดปี 3.โรงเรียนจัดทำฝายชะลอน้ำเพิ่มขึ้น หรือแหล่งเก็บน้ำ ไว้ใช้การเกษตรในโรงเรียน เลี้ยงสัตวฺ เพราะในฤดูแล้งน้ำจะแห้ง ไม่เพียงพอ และขยายผลสู่ชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

กิจกรรมสหกรณ์ เป็นกิจกรรมร้านค้าที่นักเรียนได้ประสบการณ์ตรง โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกลุ่มสาระการเรียนรู้

กิจกรรมสหกรณ์ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้ประสบการณ์ตรง มีการดำเนินการทางบัญชีรับ - จ่าย ตามระบบสหกรณ์ มีการนำผลผลิตเกษตรในโรงเรียน มาจำหน่ายเข้าสหกรณ์แล้วจำหน่ายเข้าโครงการอาหารกลางวัน มีการระดมทุนและปันผลเฉลี่ยคืนแก่สมาชิก ทำให้นักเรียนรู้จักการซื้อ-ขายและการเก็บออมตามระบบบัญชี

ขยายผลให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้เรียนรู้การลงบัญชีรายรับ - รายจ่าย รายวันเป็นและนำไปทำบัญชีรับ จ่าย รายวันของตนเองในครัวเรียนและขยายผลสู่ผู้ปกครอง ชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

เนื่องจากผู้ปกครองมีความเป็นอยู่ฐานะอยากจนขาดแคลนด้านอาหาร ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการ ดังนั้นโรงเรียนจึงได้ดำเนินการจัดทำกิจกรรม ตองหนึ่ง 111เพื่อแก้ปัญหา และปัจจุบันนักเรีายนมีสุขภาพดีขึ้นตามหลักภาวะโภชนาการของกรมอนามัย โรงเรียได้ดำเนินการประกอบอาหารกลางวัน ตามโปรแกรม Thai school Lunch

คัดแยกนักเรียนโดยการชั่ง นำ้หนัก ส่วนสูง อ้วน ผอม เตี้ย ค่อนข้างอ้วน โดยให้นักเรียนทุกคน ฝึกทดกราฟภาวะการเจริญเติบโตของตนเอง
ครูนำข้อมูล นำ้หนัก ส่วนสูงมาลงโปรแกรมภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียน นักเรียนผอม ภาวะทุพโภชนาการ แก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรม ตองหนึ่ง 111 วิธีการ คือ ข้าว 1 ถ้วย กล้วย 1 ใบ ไข่ 1 ฟอง โรงเรียนจัดบริการอาหารตาม โปรแกรมThai school Lunchผู้ปกครองเปลี่ยนเวรกันมาประกอบอาหาร ส่งผล ทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นตามหลักของกรมอนามัย

โรงเรียนจัดบริการอาหารตาม โปรแกรมThai school Lunchส่งผล ทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นตามหลักของกรมอนามัย

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

โรงเรียนได้ดำเนินการตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง สาธารณสุขอำเภอ ศูนย์อนามัยพิษณุโลก

จัดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้แก่คณะครูและนักเรียนเกี่ยวกับการบัทึกข้อมูล การจุดกราฟ และแปรผลสุขภาพนักเรียน เพื่อนำผลไปแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการและสุขอนามัยของนักเรียน มีการจัดทำคู่มือเพื่อให้ครู นักเรียนที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และได้จัดกลุ่มนักเรียนที่ขาดสารอาหารให้ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และแก้ปัญหานักเรียนกลุ่มที่ค่อนข้างอ้วนและอ้วน ด้วยการจัดทำโปรแกรม การออกกำลังกายทุกวัน ส่งเสริมการกินผัก เลือกรับประทานอาหาร ลดแป้ง ไขมัน

สร้างภาคีเครือข่าย ให้ความรู้แก่นักเรียนด้านภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียนในรูปของสื่อมัลติมิเดีย แผ่นป้าย ประชาสัมพันธ์ และการอบรมให้ความรู้

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

โรงเรียนจัดให้มีข้อตกลง ในการสร้างสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโดยเป็นข้อตกลงของนักเรียน ครู ชุมชน

การพัฒนาสุขนิสัย การฝึกฝนให้นักเรียนได้่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ฝึกมารยาทในการรับประทานอาหาร การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร การใช้ช้อนกลาง แก้วน้ำส่วนตัว การทำความสะอาดอุปกรณ์ การแปรงฟัน รวมถึงการรักษาดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการบูรณาการ การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาสุขศึกษาของทุกชั้นเรียน ครู นักเรียนทำกิจกรรมบันทึกสุขภาพรายบุคคล และทำแบบประเมินพฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ

ให้ความรู้ อบรม ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

โรงเรียนแบ่งกลุ่มนักเรียน ดูแลตามกลุ่มที่ได้รับมอบหมายภายในและภายนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และปลอดภัย

โรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนเพื่อให้สัมพันธ์กับการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใส คือจัดให้มีสนามเด็กเล่น สวนหย่อม มุมสบายๆ ให้นักเรียนได้พักผ่อนหย่อนใจ จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนโครงการ ได้แก่ กิจกรรม 5 ส. กิจกรรมส้วมสุขสีนต์ กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย กิจกรรมธนาคารขยะ กิจกรรมพลังใสใส่ใจสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์หลักของแต่ละกิจกรรมเพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของเด็กในอนาคต

นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม นำโดยสภานักเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

โรงเรียนได้ดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข็มแข็งเน้นการมีส่วนร่วม

การจัดบริการสุขภาพ จัดทำตาราง กำหนดการบริหารด้านสุขภาพไว้ชัดเจน เช่น การดื่มนม การตรวจเสื้อผ้า เล็บ ผม ความสะอาดร่างกาย โดยประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากช่องบ้านห้วยระหงส์ ทำการตรวจสุขภาพนักเรียน ช่องปาก ฟัน การตรวจวัดสายตา ให้ความรู้เรื่องอาหาร โภชนาการ โรคติดต่อ ในกรณีมีอุบัติเหตุ ฉุกเฉินจะส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทันที่

ให้ความรู้ ครู นักเรียน ผู้เกี่ยวข้อง ชุมชน
ด้านการจัดบริการสุขภาพนักเรียนที่ดีโดยใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

จัดทำคู่มือ และฐานการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เกษตร โภชนาการและสุขภาพ การปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตร เวลาเรียน และการวิเคราะห์หลักสูตรจะช่วยให้โครงการนี้ดำเนินการได้ดี สามารถที่นำมาบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ส่งเสริมให้นักเรียน ชุมชน ผู้เกี่ยวข้อง เข้าศึกษา เรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ ตามคู่มือการเรียนรู้ มีวิทยากรประจำฐาน แบบถอดบทเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

 

 

 

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

1โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากช่องบ้านห้วยระหงส์ 2.องคฺ์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง 3.สถานีตำรวจภูธรบ้านกลาง 4.คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยระหงส์ 5.อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากช่องบ้านห้วยระหงส์ 6.ผู้ปกครอง ชุมชน 7.ปราชญ์ชาวบ้านบ้านห้วยระหงส์ 8.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 2
9. สสส. 10.ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

แหล่งน้ำ โรงเรียนมีลำห้วยระหงส์ไหลผ่าน ทำให้สามารถนำน้ำจากลำห้วยมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร เลี้ยงปลา นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้จัดทำฝายชะลอน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนจัดทำฝายชะลอน้ำใช้ในการเกษตรเช่นกัน ส่งผลให้ชุมชนสามารถปลูกผักผักในฤดูแล้งได้

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

การสร้างภาคีเครือข่าย การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ที่เข็มแข็ง ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน สร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาพสุขภาวะของนักเรียน

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

แต่งตั้งคณะทำงาน ส่งเข้าอบรมศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพ พัฒนาความรู้ครู นักเรียน และแม่ครัว

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน ร่วมวางแผน และดำเนินงานตามแผน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

นักเรียนได้รับประทานอาหาร ผลไม้ ที่ผลิตในโรงเรียนได้แก่ กล้วยมัลเบอรี่ ผัก

โรงเรียนบ้านห้วยระหงส์ ได้ดำเนินการปลูก กล้วยจำนวน100ต้น มัลเบอรี จำนวน 100 ต้น ผักจำนวน 1 ไร่

ขยายพื้นที่และเพิ่มจำนวนมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์และบ่อดินเเ

โรงเรียนบ้านห้วยระหงส์เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์จำนวน 1,000ตัว

เพิ่มจำนวน ขยายพื้้นที่ มากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

 

 

 

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

นักเรียนรับประทานอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch

โปรแกรม Thai School Lunch ของโรงเรียนบ้านห้วยระหงส์

ให้ความรู้ครู นักเรียนทุกคน ผู้ปกครองเกี่ยวกับโปรแกรม Thai School Lunch และมีความรู้ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของผัก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

นักเรียนรับประทานอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch

โปรแกรม Thai School Lunch ของโรงเรียนบ้านห้วยระหงส์

ให้ความรู้ครู นักเรียนทุกคน ผู้ปกครองเกี่ยวกับโปรแกรม Thai School Lunch และมีความรู้ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของผัก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

นักเรียนรับประทานอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch

โปรแกรม Thai School Lunch ของโรงเรียนบ้านห้วยระหงส์

ห้ความรู้ครู นักเรียนทุกคน ผู้ปกครองเกี่ยวกับโปรแกรม Thai School Lunch และมีความรู้ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของผัก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

ส่งเสริมให้ชุมชน ภาคีเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจ ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ

กลุ่ม และภาคีเครือข่ายดำเนินการปลูกพืชปลอดสารพิษโดยใช้สารชีวภาพ

ให้ความรู้ และส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชปลอดสารพิษจำนวนมากขึ้นโดยการขยายเครือข่าย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

โรงเรียนได้จัดทำอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch ทั้งระดับชั้นอนุบาล และประถม ทุกวัน

โปรแกรม รายการอาหารแต่ละวัน

ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ชุมชน มีความรู้และนำโปรแกรม Thai School Lunch

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทดสอบสมรรถภาพทางกายทุกภาคเรียน

แบบบันทึกการชั่งนำ้หนัก วัดส่วนสูง ของกรมอนามัย

มีการใช้โปรแกรมในการตรวจสอบภาวะโภชนาการตามโปรแกรมของกรมอนามัย

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/22560 2/12560 2/2
เตี้ย 1.12 1.12% 0.56 0.56% 1.67 1.67% 1.67 1.67% 2.70 2.70% 2.70 2.70% 2.17 2.17% 1.60 1.60% 1.14 1.14% 1.17 1.17% 1.17 1.17%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 9.55 9.55% 8.99 8.99% 7.22 7.22% 8.33 8.33% 10.81 10.81% 9.19 9.19% 10.33 10.33% 9.09 9.09% 7.39 7.39% 8.19 8.19% 7.02 7.02%
ผอม 3.37 3.37% 2.25 2.25% 4.44 4.44% 4.44 4.44% 2.70 2.70% 3.24 3.24% 1.09 1.09% 1.61 1.61% 1.70 1.70% 0.58 0.58% 0.58 0.58%
ผอม+ค่อนข้างผอม 15.17 15.17% 11.80 11.80% 12.22 12.22% 12.22 12.22% 5.41 5.41% 9.73 9.73% 8.15 8.15% 7.53 7.53% 5.11 5.11% 5.26 5.26% 5.85 5.85%
อ้วน 0.56 0.56% 0.56 0.56% 2.22 2.22% 3.33 3.33% 2.70 2.70% 2.70 2.70% 2.72 2.72% 2.69 2.69% 3.41 3.41% 4.09 4.09% 3.51 3.51%
เริ่มอ้วน+อ้วน 4.49% 4.49% 3.93% 3.93% 5.56% 5.56% 7.78% 7.78% 7.03% 7.03% 5.95% 5.95% 5.43% 5.43% 5.91% 5.91% 6.82% 6.82% 7.02% 7.02% 6.43% 6.43%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

นักเรียนที่มีภาวะอ้วน ได้รับการดูแล ควบคุมอาหาร ตามโปรแกรมThai School Lunch และการออกกำลังกาบอย่างสมำ่เสมอ

แบบบันทึกนำ้หนักส่วนสูงของนักเรียนตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ปัญหาสุขภาพที่มักเกิดกับผู้มีภาวะอ้วนและส่งเสริมการออกกำลังกาย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

นักเรียนที่มีภาวะผอม ได้รับการดูแล ควบคุมอาหาร ตามโปรแกรมThai School Lunch และการออกกำลังกาบอย่างสมำ่เสมอ

แบบบันทึกนำ้หนักส่วนสูงของนักเรียนตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

ส่งเสริมให้นักเรียนรับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านและส่งเสริมการออกกำลังกาย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

นักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง ได้รับการดูแล ควบคุมอาหาร ตามโปรแกรมThai School Lunch และการออกกำลังกาบอย่างสมำ่เสมอ

แบบบันทึกนำ้หนักส่วนสูงของนักเรียนตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

ส่งเสริมให้นักเรียนรับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านและส่งเสริมการออกกำลังกาย การดื่มนม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการดูแล ควบคุมอาหารตามโปรแกรมThai School Lunch และใช้กิจกรรมตองหนึ่ง 111 คือข้าว 1ถ้วย กล้วย1 ใบ ไข่1 ฟอง

แบบบันทึกนำ้หนักส่วนสูงของนักเรียนตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

ส่งเสริมให้นักเรียนรับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านและส่งเสริมการออกกำลังกาย การดื่มนม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

ผู้ปกครองได้รับความรู้โปรแกรมThai School Lunch และร่วมประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทุกวัน

แต่งตั้งผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาหารกลางวันทุกวันวันละ 5 คน โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน

ส่งเสริมให้ผู้ปกครองนำปรแกรมThai School Lunch ไปใช้ที่บ้าน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

1โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากช่องบ้านห้วยระหงส์ 2.องคฺ์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง 3.สถานีตำรวจภูธรบ้านกลาง 4.คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยระหงส์ 5.อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากช่องบ้านห้วยระหงส์ 6.ผู้ปกครอง ชุมชน 7.ปราชญ์ชาวบ้านบ้านห้วยระหงส์ 8.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 2
9. สสส. 10.ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh