directions_run

โรงเรียนบ้านห้วยแดงดงสำโรง - โครงการพัฒนาระบบการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐาน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านห้วยแดงดงสำโรง - โครงการพัฒนาระบบการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐาน
ภายใต้โครงการ โครงการพัฒนากลไกชุมชนและท้องถิ่นขับเคลื่อนระบบอาหารและโภชนาการเพื่อคุณภาพเด็กวัยเรียน ปีการศึกษา 2567
ภายใต้องค์กร โรงเรียนบ้านห้วยแดงดงสำโรง
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 20 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 15 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านห้วยแดงดงสำโรง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทองอินทร์ จาระงับ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เลขที่ 24 หมู่ที่ 17 ตำบลคำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ข้อมูลโรงเรียน
school
ข้อมูลโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านห้วยแดงดงสำโรง
สังกัด สพป.
หน่วยงานต้นสังกัด สพป.อุบลราชธานี เขต ๓
ที่อยู่โรงเรียน เลขที่ 24 หมู่ที่ 17 ตำบลคำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี 34250
จำนวนนักเรียน 213 คน
ช่วงชั้น อนุบาล,ประถม
ผู้อำนวยการ นายทองอินทร์ จาระงับ
ครูผู้รับผิดชอบ นางธันยธรณ์ อวยพร
stars
3. กิจกรรม
assignment
กิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโภชนาการอาหารที่ปลอดภัยกับสุขอนามัยที่ดี/การสุขาภิบาลโรงอาหารและสิ่งแวดล้อม6 กันยายน 2567
6
กันยายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นางธันยธรณ์ อวยพร
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แผนการดำเนินกิจกรรม (ศึกษาจากคู่มือมาตรฐานฯ และ/หรือ นวัตกรรม ของโรงเรียน) ชื่อกิจกรรม รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1) นโยบายและการบริหารจัดการของสถานศึกษา ส่งเสริมนโยบายด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของของนักเรียน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ มีกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการในปีปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับอาหารโภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกระดับชั้น มีแกนนำนักเรียนด้านสุขภาพมีการจัดอบรมและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพ ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพเด็กวัยเรียน มีการบริหารจัดการงบประมาณได้ถูกต้องตามแผนงาน 2) การจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม มีสถานที่เตรียม ปรุงประกอบอาหารได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารตามเกณฑ์ มีการจัดซื้อ/จัดหาวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์มาใช้ในโครงการอาหารกลางวัน 3) การจัดบริการอาหารในโรงเรียนให้มีคุณค่าทางโภชนาการ จัดเมนูอาหารตาม Thai School Lunch อาหารกลางวันที่จัดบริการนักเรียนมีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการจำเป็นต่อการพัฒนาร่างกายตามวัยของนักเรียนในแต่ละวัน นักเรียนได้บริโภคผักปลอดภัย การตักอาหารให้นักเรียนตักตามปริมาณที่แนะนำเหมาะสมตามวัยของนักเรียน มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารโดยคณะกรรมการ พร้อมทั้งมีแบบสอบภามความพึงพอใจของนักเรียน
4) การบูรณาการจัดการเรียนรู้ และปัจจัยแวดล้อม ถอดบทเรียนเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนมีการจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เหมาะสมส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย โภชนาการดี งดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่หวานจัด  เค็มจัด ไขมันสูงและอาหารหมักดอง 5) การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ มีการถ่ายทอดความรู้สุขบัญญัติ 10 ข้อ ดังนี้ 1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด 2.รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันอย่างถูกวิธี 3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย 4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด 5.งดบุหรี่ สุรา สารเสพย์ติด การพนันและการสำส่อนทางเพศ 6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น 7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท 8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี 9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ 10.มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม มีการชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงนักเรียนเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของร่างกายและคัดกรองภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน 6) Best Practice School ด้านโภชนาการและความปลอดภัยอาหาร ส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพสี่ดี โดยใช้กระบวนการ 8H Model นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดี โดยใช้กระบวนการ 8H Model H = Head (ร่วมคิด) ครูกำหนดนโยบายการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ4ดี(อาหารดี กายดี ฟันดี สิ่งแวดล้อมดี)ผู้เรียนรับทราบนโยบายความรอบรู้ด้านสุขภาพ4ดี ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้านสุขภาพ4ดี H = Hand (ร่วมทำ)  ครูกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมความรอบรู้สุขภาพ4ดี(อาหารดี กายดี ฟันดี สิ่งแวดล้อมดี) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดกิจกรรมความรอบรู้สุขภาพ4ดี ผู้เรียนเกิดทักษะในการออกแบบการจัดกิจกรรมความรอบรู้สุขภาพ4ดี H = Heart (ร่วมใจ) ครูนำรูปแบบการจัดกิจกรรมความรอบรู้สุขภาพ4ดีไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมตามรูปแบบความรอบรู้สุขภาพ4ดี  ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการมีความรอบรู้สุขภาพ4ดี(อาหารดี กายดี ฟันดี สิ่งแวดล้อมดี) H = Health(มีสุขภาพดี) ครูกำหนดปัญหา ตั้งคำถาม ให้ความรู้ ออกแบบกิจกรรมเกี่ยวกับความรอบรู้สุขภาพ4ดี และสรุปความสรุปความสำคัญของการมีสุขภาพดี  ผู้เรียนเข้าถึง เข้าใจ โต้ตอบ ซักถาม แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลความรอบรู้สุขภาพ4ดี และปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ความรอบรู้สุขภาพ4ดี  ผู้เรียนตัดสินใจนำข้อมูลความรอบรู้สุขภาพ4ดีที่น่าเชื่อถือได้มาเป็นทางเลือกในการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง H = Happy (มีความสุข) ครูกำหนดปัญหา ตั้งคำถาม ให้ความรู้ ออกแบบกิจกรรมเกี่ยวกับความรอบรู้สุขภาพ4ดีกับการมีความสุข และสรุปความสรุปความสัมพันธ์ของสุขภาพ4ดีกับความสุข ผู้เรียนระบุสถานการณ์ปัญหา ตอบคำถาม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดี ฝึกปฏิบัติ และเลือกกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดีที่เหมาะสมกับตนเองอย่างมีความสุข ผู้เรียนมีความสุขจากการตัดสินในเลือกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเองและบอกต่อผลลัพธ์ที่ดีให้กับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง H = Harmony (มีความรักสามัคคี) ครูกำหนดปฏิทินการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภา4ดี คัดเลือกแกนนำ รวบรวมข้อมูล นิเทศติดตามผล ประเมิน และสรุปผล ผู้เรียนร่วมและปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขสุขภาพ4ดี ทุกกิจกรรมและทุกครั้งตามปฏิทิน ผู้เรียนทุกคนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดีทุกกิจกรรมทุกครั้งด้วยความสามัคคี
H = Habbit (ทำเป็นนิสัย) ครูนำพานักเรียนทำกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดี จัดเก็บข้อมูล นิเทศติดตามผล ประเมินผล และสรุปผลการทำกิจกรรม ผู้เรียนร่วมและปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  ผู้เรียนปฏิบัติตนตามกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยตามลำดับขั้นตอน H = Harmless(ไม่เป็นอันตราย) ครูตรวจสอบ ดูแล วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ในการทำกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดี เก็บรวบรวมข้อมูล นิเทศติดตามผล ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ผู้เรียนเลือกปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดีที่เหมาะสมกับตนเองและนำพาผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง  ผู้เรียนเลือกกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ4ดีได้เหมาะสมกับตนเองและตระหนักถึงความปลอดภัย มีความรอบคอบ ไม่ประมาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ผู้เรียนร้อยละ95  ตระหนักถึงความสำคัญด้านโภชนาการอาหารและการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม   2) ผู้เรียนร้อยละ95  มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกษตรอินทรีย์และการมีสุขอนามัยสุขอนามัยที่ดี   3) ผู้เรียนร้อยละ95 ปฏิบัติตน เลือก และบอกต่อการมีโภชนาการอาหารที่ปลอดภัย สุขอนามัยที่ดี การทำเกษตรอินทรีย์
      และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม   4) ผู้เรียนมีภาวะทุพโภชนาการลดลง

stars
4. ข้อมูลภาวะโภชนาการ
restaurant_menu
รายการบันทึก
ปีการศึกษา 2566 เทอม 1/1โดย นางธันยธรณ์ อวยพร @19 พ.ค. 2566
stars
5. ไฟล์โครงการ
stars
6. ไฟล์รายงาน

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2567 12:09 น.