directions_run

โรงเรียนบ้านขามเปี้ย - โครงการพัฒนาระบบการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐาน

กิจกรรมอบรมโครงการนักเรียนแกนนำใส่ใจสุขภาพ (อย.น้อย โรงเรียนบ้านขามเปี้ย ปีงบประมาณ พ.ศ.2567)12 กันยายน 2567
12
กันยายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวยศวดี รัตน์มูลตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กิจกรรมการให้ความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการเลือกซื้อ/เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ยา  เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย และเครื่องมือแพทย์ และสามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย และเครื่องมือแพทย์ที่มีส่วนประกอบของสารปนเปื้อนในอาหารหรือสารห้ามใช้และสารอันตราย
  2. กิจกรรมการให้ความรู้และทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบ พิจารณาสังเกตสารปนเปื้อนหรือสารอันตรายโดยสังเกตจากลักษณะทางกายภาพของอาหารยาและเครื่องสำอางได้ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมเป็นการเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ฐานที่ 1 การตรวจสอบฉลาก ภาชนะบรรจุ และการเก็บรักษาอาหาร ยา เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ฐานที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพด้านกายภาพของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ฐานที่ 3 การตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ฐานที่ 4 การตรวจสอบโดยใช้ชุดทดสอบ เช่น อาหาร ไอโอดีนในเกลือ สารไฮโดรควิโนนในเครื่องสำอาง
  3. กิจกรรมสรุปตรวจสอบความตระหนัก ความรู้ ทักษะในการเลือกซื้อ/เลือกใช้อาหารยาและ เครื่องสำอางสามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารยาและเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารปนเปื้อนในอาหารหรือสารห้ามใช้และสารอันตราย
  4. กิจกรรมขยายผลของแกนนำส่งเสริมสุขภาพ อย.น้อยโรงเรียนบ้านขามเปี้ย
  5. กิจกรรมประเมินผล/ความพึงพอใจการดำเนินโครงการ
  6. กิจกรรมสะท้อนผลการดำเนินโครงการนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ (อย.น้อย โรงเรียนบ้านขามเปี้ย) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
  7. กิจกรรมเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ (อย.น้อย โรงเรียน บ้านขามเปี้ย) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเข้าร่วมโครงการ โรงเรียนได้จัดโครงการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และโรงเรียนได้ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนให้ดีขึ้น และโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมโครงการนักเรียนแกนนำใส่ใจสุขภาพ อย.น้อยขึ้นเพื่อพัฒนาส่งเสริมในการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชนของนักเรียนให้ดีขึ้น ส่งผลให้นักเรียนร้อยละ 80 ให้ความสนใจและเกิดทักษะในการเลือกซื้อเลือกใช้อาหารยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งขยายการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังเครือข่ายผู้ปกครอง และชุมชน