ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านขามเปี้ย |
สังกัด | สพป. |
หน่วยงานต้นสังกัด | สพป.มหาสารคาม เขต 3 |
ที่อยู่โรงเรียน | บ้านขามเปี้ย หมู่ที่ 3 ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 44160 |
จำนวนนักเรียน | 194 คน |
ช่วงชั้น | ปฐมวัย,อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น |
ผู้อำนวยการ | นางกลิ่นแก้ว รำเพยพล |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางสาวยศวดี รัตน์มูลตรี |
อบรมให้ความรู้เรื่องพื้นฐานด้านการจัดการอาหารและภาวะโภชนาการ 1.สถานการณ์ด้านการจัดอาหารและภาวะโภชนการในปัจจุบัน 2.ความสำคัญของอาหารและภาวะโภชนการ -อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหาร -ความต้องการสารอาหารของเด็กในวัยเรียน-ปริมาณและสัดส่วนเพียงพอและมีความเหมาะสมตามวัย 3. ครูเขียนแผนการจัดประสบการณ์และนำไปใช้ในการจัดกาเรียนการสอนในห้องเรียน
1.ครูมีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารและภาวะโภชนาการ ในการส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กวัยเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.เด็กวัยเรียนได้รับการพัฒนาทุกด้านเต็มศักยภาพ และถูกต้องตามหลักวิชาการ
3. ครูมีความรู้เรื่องโภชนาการและอาหารเพื่อสุขภาพ
4. นักเรียนสามารถเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยได้ เนื่องจากได้รับการจัดประสบการณ์จากครู
5. ครูสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
- กิจกรรมการให้ความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการเลือกซื้อ/เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย และเครื่องมือแพทย์ และสามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย และเครื่องมือแพทย์ที่มีส่วนประกอบของสารปนเปื้อนในอาหารหรือสารห้ามใช้และสารอันตราย
- กิจกรรมการให้ความรู้และทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบ พิจารณาสังเกตสารปนเปื้อนหรือสารอันตรายโดยสังเกตจากลักษณะทางกายภาพของอาหารยาและเครื่องสำอางได้ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมเป็นการเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ฐานที่ 1 การตรวจสอบฉลาก ภาชนะบรรจุ และการเก็บรักษาอาหาร ยา เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ฐานที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพด้านกายภาพของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ฐานที่ 3 การตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ฐานที่ 4 การตรวจสอบโดยใช้ชุดทดสอบ เช่น อาหาร ไอโอดีนในเกลือ สารไฮโดรควิโนนในเครื่องสำอาง
- กิจกรรมสรุปตรวจสอบความตระหนัก ความรู้ ทักษะในการเลือกซื้อ/เลือกใช้อาหารยาและ เครื่องสำอางสามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารยาและเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารปนเปื้อนในอาหารหรือสารห้ามใช้และสารอันตราย
- กิจกรรมขยายผลของแกนนำส่งเสริมสุขภาพ อย.น้อยโรงเรียนบ้านขามเปี้ย
- กิจกรรมประเมินผล/ความพึงพอใจการดำเนินโครงการ
- กิจกรรมสะท้อนผลการดำเนินโครงการนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ (อย.น้อย โรงเรียนบ้านขามเปี้ย) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
- กิจกรรมเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ (อย.น้อย โรงเรียน บ้านขามเปี้ย) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
จากการเข้าร่วมโครงการ โรงเรียนได้จัดโครงการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และโรงเรียนได้ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนให้ดีขึ้น และโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมโครงการนักเรียนแกนนำใส่ใจสุขภาพ อย.น้อยขึ้นเพื่อพัฒนาส่งเสริมในการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชนของนักเรียนให้ดีขึ้น ส่งผลให้นักเรียนร้อยละ 80 ให้ความสนใจและเกิดทักษะในการเลือกซื้อเลือกใช้อาหารยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งขยายการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังเครือข่ายผู้ปกครอง และชุมชน
- กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
- กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ "การประดิษฐ์ของใช้เพื่อการประกอบอาชีพ"
- กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ "การแปรรูปผลิตภณฑิ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว ผักปลอดสารเคมี"
- กิจกรรมที่ 4 ประชุมเพื่อติดตามและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
- กิจกรรมที่ 5 ฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ "งานหัตถกรรม เช่น สานตะกร้า"
- ครู ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ
- ครู ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ครู ผู้เรียนสามารถสร้างงาน และสร้างอาชีพให้กับตนเองมรอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเองและครอบครัว
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนงานการดำเนินงานร่วมกัน 2. ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ประชาสัมพันธ์โครงการ 3. กำหนด วันเวลา สถานที่ 4. จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพและการนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกผักปลอดสารพิษที่นำมาใช้ปรุงอาหาร แก่นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน 5. กิจกรรมฝึกปฏิบัติ การทำปุ๋ยหมัก ที่จะนำมาใช้ในกิจกรรมตามโครงการ 6. กิจกรรมฝึกปฏิบัติการตามโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียน
- นักเรียนได้รับประทานพืชผักที่ปลอดสารพิษ
- นักเรียน มีสุขภาพอนามัยแข็งแรงสมบูรณ์
- นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันของโรงเรียนครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
- นักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านเกษตรอินทรีย์ ด้านอาหาร ด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพ