โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
การวางแผน (P:PLAN) รายละเอียดการวางแผนการดำเนินงาน 1.1 ผู้บริหาร เชิญประชุมคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.2 นำข้อสรุปจากที่ประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยจัดทำกำหนดการและการจัดกิจกรรมตามโครงการ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ 1.3 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจัดเตรียมงานตามหน้าที่รับผิดชอบ
การดำเนินงาน (D:DO) รายละเอียดในการดำเนินงาน ลำดับขั้นตอนการดำเนินงานความร่วมมือของทีมงาน 2.1 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านเหมืองแร่รับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม
2.2 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้รับผิดชอบกิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงาน 2.3 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้รับผิดชอบมีมติให้ดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม ในวันที่ 27 มกราคม 2560 โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามคำสั่งของโรงเรียน 2.4 ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง แม่ครัว ผู้ปกครอง และนักเรียนแกนนำเรื่องการบริหารจัดการอาหารตามหลักโภชนาการสมวัย และ การใช้เมนู TSL มาจัดบริการอาหารกลางวันหมุนเวียนรายเดือน และการนำไปประยุกต์ใช้ที่บ้านของผู้ปกครองทุกคน ณ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่การตรวจสอบและประเมินผล (C:CHECK) 3.1 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลโครงการ 3.2 แบบประเมินการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จากแบบติดตามประเมินผล ปรากฏว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมประชุมคิดเป็นร้อยละ 90 ซึ่งถือว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.3 ภาพการดำเนินกิจกรรม
ขั้นปรับปรุงแก้ไขและข้อเสนอแนะ (A:ACTION) ปัญหาและอุปสรรค ผู้ปกครองไม่ค่อยเข้าในเรื่องที่อบรมเพราะส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า และไม่เข้าใจในเรื่องโปรแกรมการจัดการอาหาร
- บุคลากรที่เกี่ยวข้อง แม่ครัว ผู้ปกครองและนักเรียนแกนนำสามารถเลือกจัดเมนูหมุนเวียนที่มั่นใจว่าได้คุณค่าสารอาหารตามมาตรฐานด้วยตนเอง สามารถวางแผนเมนูหมุนเวียนที่ได้คุณค่าสารอาหารตามมาตรฐานที่สอดคล้องกับความชอบ วัตถุดิบอาหารหรือผลผลิตที่มีในท้องถิ่นและงบประมาณ สามารถทราบปริมาณวัตถุดิบอาหารที่ต้องจัดเตรียมให้ได้คุณค่าอาหารตามมาตรฐานสำหรับจำนวนผู้รับบริการที่กำหนดและสามารถตรวจสอบคุณค่าสารอาหารได้ด้วยตนเอง
- บุคลากรที่เกี่ยวข้อง แม่ครัว ผู้ปกครองและนักเรียนแกนนำ มีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของคุณค่าสารอาหาร ภาวะโภชนาการ และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็กนักเรียน
ประกอบด้วย