ศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส
ชื่อชุดโครงการ | ศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส |
รหัสชุดโครงการ | ศรร.000 |
ปีงบประมาณ | 2559 (เฉพาะแอดมิน) |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2559 - 31 ธันวาคม 2560 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.0060860963293,100.49863815308place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 2 พ.ค. 2559 | 30 ก.ย. 2559 | 0.00 | |||
2 | 1 ต.ค. 2559 | 28 ก.พ. 2560 | 0.00 | |||
3 | 1 มี.ค. 2560 | 30 เม.ย. 2560 | 0.00 | |||
รวมงบประมาณ | 0.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โครงการเด็กไทยแก้มใส (Healthy Kids Healthy Food ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ) เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘
ของรัฐบาล ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการและกิจกรรมงานเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ร่วมขับเคลื่อนโครงการ ฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร จากโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้โครงการเด็กไทยแก้มใส ในปีที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๗ – พ.ศ.๒๕๕๘) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๕๔๔ โรงเรียนจากทั่วประเทศ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน จึงได้สนับสนุนให้โรงเรียนเด็กไทยแก้มใส พัฒนายกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบแก่โรงเรียนอื่นๆขึ้นใน ปีที่ ๒ และ ปีที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐) จำนวน ๒ รุ่นๆละ ๑๒๒ โรงเรียน เพื่อนำไปสู่การขยายผลไปยังโรงเรียนทั่วประเทศได้อย่างยั่งยืน การดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต้องอาศัยระบบติดตามและประเมินผลโครงการที่ดี
การทบทวนระบบติดตามโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่า ระบบติดตามส่วนใหญ่เน้นการประเมินผลลัพธ์โครงการ โดยไม่เน้นกระบวนการ นำเสนอการรายงานเป็นภาพรวมของทั้งโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ ไม่สามารถดูข้อมูลการติดตามกิจกรรมในขณะดำเนินการ ไม่มีการรายงานผลการดำเนินงานในรายกิจกรรม ไม่ได้ดึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะใช้ระบบดังกล่าวมาร่วมในการออกแบบ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลหรือระบบมีความซับซ้อน เข้าถึงได้ยาก กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการหรือผู้ที่สนใจไม่สามารถที่จะเข้าไปศึกษา หรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้
การพัฒนาระบบติดตามโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสแบบออนไลน์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์ประสานงานโครงการเด็กไทยแก้มใส ซึ่งได้พัฒนาและจัดตั้งขึ้นภายใต้บทบาทและภารกิจหลักในการเป็นหน่วยจัดการเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการเด็กไทยแก้มใส (Healthy Kids Healthy Food ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ) บริหารจัดการโดย
นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี หัวหน้าคณะทำงานโครงการเด็กไทยแก้มใส มีบทบาทหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานและติดตามการดำเนินงานให้เกิดการขับเคลื่อนงานตามทิศทางของโครงการฯ สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีผู้รับทุนสสส.และองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง กับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ (สจรส.ม.อ.) หนึ่งในภาคีของ สสส. ภายใต้ยุทธศาสตร์แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ ที่มีทีมงานที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบติดตามโครงการ เช่น ระบบติดตามโครงการของ ศอ.บต. ที่เป็นการพัฒนาระบบติดตามโครงการภายใต้หน่วยงานที่เสนอของบประมาณแผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน ๑๕ กระทรวง ๕๖ หน่วยงาน รวมกว่า ๕,๐๐๐ โครงการ โดยมีสำนักนโยบายและแผน ศอ.บต. มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการติดตามและประเมินผล รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตาม ประเมินผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เว็บไซต์คนใต้สร้างสุข (htttp://happynetwork.org) ซึ่งเป็นระบบการติดตามโครงการของ สสส. ภายใต้สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก ๖)ที่ออกแบบการรายงานผลการทำกิจกรรม รายงานการเงิน อย่างเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ผ่านทางระบบได้ทันที
การพัฒนาระบบติดตามเด็กไทยแก้มใสออนไลน์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานดังกล่าว จะดำเนินการพัฒนาโดยใช้ความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ระบบ ทีมจัดทำโครงการทีมติดตามโครงการ ทีมบริหาร และทีมจัดทำระบบ ฯ เพื่อให้ระบบสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือการกิจกรรมในพื้นที่ในการรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน การบันทึกภาพกิจกรรม การทำรายงานสรุปโครงการ ผ่านระบบติดตาม ฯ ลดความซ้ำซ้อนในการทำข้อมูลและสามารถติดตามการทำกิจกรรมได้เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพของทีมผู้รับผิดชอบโครงการในการใช้งานระบบติดตาม ฯ โดยทาง สจรส. จะมีทีมสนับสนุนคอยให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือการใช้งานระบบตลอดระยะเวลาโครงการ
ระบบติดตามโครงการเด็กไทยแก้มใสแบบออนไลน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ นอกจากจะทำให้เกิดระบบการติดตามและประเมินผลโครงการอย่างเป็นระบบและมีทิศทางไปในแนวเดียวกันทั้ง ๒๔๔ โรงเรียน แล้ว ศูนย์เรียนรู้ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามรายงาน กิจกรรมการดำเนินงานและการเงิน ที่เป็นปัจจุบันของแต่ละโรงเรียน โดยในการดำเนินงานจะมีการติดตาม ประเมินผล ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการฯ และการสื่อสารเผยแพร่ผลงานและองค์ความรู้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในโครงการเด็กไทยแก้มใสและโรงเรียนอื่นๆ รวมทั้งการเผยแพร่สู่สาธารณะทั้งในภาพรวมและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินกิจกรรมสำคัญในเวลาที่ต้องการ สามารถจัดเก็บข้อมูล และมีรูปแบบรายงานที่สอดคล้องกันทั้งระบบ ซึ่งจะทำให้ระบบติดตามโครงการเด็กไทยแก้มใสแบบออนไลน์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนการทำงานของศูนย์ประสานงานโครงการเด็กไทยแก้มใส ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลโครงการจากข้อมูลที่มีในระบบ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกพื้นที่ทุกเวลา และเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน พร้อมกันนี้ข้อมูลดังกล่าวยังสามารถเผยแพร่เพื่อให้กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าไปศึกษา และใช้ประโยชน์จากข้อมูล พร้อมทั้งนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 14:09 น.