ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

directions_run

สถานศึกษานำร่องตามมาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการ

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน สถานศึกษานำร่องตามมาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการ
สังกัด
โรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2565
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 7,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 7,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุนี ทานัน
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางสาวปวีนุช ไชยปรุง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางกีรติญา ไชยสลี
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นางสุจิตรา ยาวิไชย
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค
หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ร่างกายจะเจริญเติบโต มีสุขภาพที่สมบูรณ์ เมื่อได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ถูกลักษณะและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่มีสารพิษ หรือสิ่งเจือปนที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้น อาหารและโภชนาการจึงเป็นรากฐานของมนุษย์ ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยชรา การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ (ลัดดา เหมาะสุวรรณ, 2551) เด็กต้องได้รับสารอาหารเพื่อให้เกิดภาวะโภชนาการที่ดี โดยเฉพาะโปรตีนและพลังงาน หากขาดเป็นเวลานานจะทำให้รูปร่างเตี้ยและผอม เชาว์ปัญญาลดลง การเรียนรู้ช้า เฉื่อยชา ภูมิต้านทานโรคต่ำ (สุธี สฤษฏิ์ศิริ, 2555) ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ ความตระหนักของบิดามารดา ความเชื่อในกลุ่มเผ่า การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบิดา มารดา เป็นต้น เนื่องจากเด็กวัยเรียนเป็นกลุ่มประชากรที่จะเจริญเป็นกำลังสำคัญของชาติ จึงต้องมีสุขภาพอนมัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญาและสังคมที่ดีเพื่อช่วยให้เล่าเรียนได้ประสบผลสำเร็จเต็มที่ตามศักยภาพเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากร การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป การบริโภคอาหาร ที่มีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอกับความต้องการของร่างกายและเหมาะสม กับวัย เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของการมีสุขภาวะที่ดี ภาวะโภชนาการที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้เด็กเติบโตได้เต็มศักยภาพ หากเด็กได้รับสารอาหารที่ไม่ครบส่วน และมีพฤติกรรมการบริโภค ที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และโรคกระดูกพรุนในวัยผู้ใหญ่
โรคอ้วน และภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งนอกจากจะเกิดจากพันธุกรรมที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้แล้ว ยังเกิดจากการบริโภคอาหารที่มากเกินไป ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายผู้เป็นโรคอ้วน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
โรงเรียนบ้านบ่อหลวง เปิดทำการเรียนการสอนในระดับอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2564 ทั้งหมด 131 คน จากการสำรวจและดำเนินการชั่งน้ำหนัก – ส่วนสูงของนักเรียนเป็นประจำทุกภาคเรียน พบว่ามีนักเรียนในโรงเรียนมีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน.....คน คิดเป็นร้อยละ ....... (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2564) และผลจากการเยี่ยมบ้านของนักเรียน พบว่า นักเรียนบางคนมีปัญหาครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน ปล่อยให้นักเรียนอาศัยอยู่กับญาติ มีฐานะยากจน ขาดแคลนอาหารบริโภคตามความต้องการของร่างกาย ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของเด็กนักเรียนในวัยที่กำลังเจริญเติบโต
ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นนี้และได้คิดหาแนวทางแก้ไข จึงได้จัดทำระบบ การจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อหลวง โดยใช้การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน เพื่อสุขภาวะในเด็กวัยเรียน ที่มีเกณฑ์มาตรฐานแบบบูรณาการร่วมกัน ซึ่ง5 มาตรฐานและ 23 ตัวชี้วัด ได้แก่ มาตรฐานที่ 1 นโยบาย และการบริหารจัดการของสถานศึกษามาตรฐานที่ 2 การจัดการด้านความปลอดภัยอาหารสุขาภิบาลอาหาร และสิ่งแวดล้อม มาตรฐานที่ 3 คุณค่าทางโภชนาการสารอาหารที่เด็กควรได้รับตามวัย มาตรฐานที่ 4
การบูรณาการจัดการเรียนรู้และปัจจัยแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ และมาตรฐานที่ 5 การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอาศัยความร่วมมือของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาวะที่ดี

กรอบแนวคิด

 

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 131
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 10
ผู้ปกครอง 40
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 181181
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 4
อสม. 0
ชุมชน 4
ผู้นำศาสนา 0
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 4
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 1
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 13
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ดี

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

 

พื้นที่ตั้งโรงเรียน ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ละติจูด-ลองจิจูด place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7,000.00
รวมงบประมาณ 7,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ ในสถานศึกษา

1 โรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการ ด้านอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา     2 นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ดี     3 โรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อระบบการบริหารจัดการด้านอาหาร และโภชนาการในสถานศึกษา

0.00

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ย. 64ธ.ค. 64ม.ค. 65ก.พ. 65
รวม 0.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย โรงเรียนบ้านบ่อหลวง โรงเรียนบ้านบ่อหลวง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 15:32 น.