รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านโป่งสวองคีรีวรรณ์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิมิตร โลหะเวช
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางสาววรรณกร มาอินทร์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสาวละมัย ปิดทอง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาววิศนี พองพรหม
ที่ปรึกษาโครงการ 1 ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านโป่งสวองคีรีวรรณ์ จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดหลักของโรงเรียนที่จะประยุกต์ใช้ดังนี้ จัดกิจกรรมที่หลากหลายในโรงเรียนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรวิธีใหม่โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาความรู้และทักษะการทำงานพร้อมทั้งใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความร่วมมือของชุมชนบนพื้นฐานของ ”เด็กไทยสุขภาพดี มีปัญญาแจ่มใสใส่ใจสุขภาพ” และ “หลักโภชนาการอาหารปลอดภัย” 1.การเกษตรในโรงเรียน -การเลี้ยงไก่ไข่ -การเลี้ยงไก่เนื้อ -การเลี้ยงเป็ดไข่ -การเลี้ยงเป็ดเนื้อ -การเลี้ยงปลา -การปลุกผัก -การทำน้ำหมัก -การเพาะทานตะวันอ่อน/ถั่วงอก -การเลี้ยงไส้เดือน -การทำปุ๋ยหมัก -การเพาะเห้ดนางฟ้า 2.สหกรณ์นักเรียน
-สหกรณ์ร้านค้า -สหกรณ์ออมทรัพย์ 3.การจัดบริการอาหารกลางวัน -ใช้โปรแกรม TSL 4.จัดบริการสุขภาพอนามัย -รพ.สต. -สสจ. -รพ. 5.การติดตามภาวะโภชนาการ -การทดสอบสมรรถภาพ -การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง 6.การพัฒนาด้านสุขนิสัย -ข้อปฏิบัติที่เป็นสุขนิสัย สุขบัญญัติ10ประการ 7.การพัฒนาสุขภาพอนามัย -ความสะอาดของสถานที่ต่างๆ 8.การพัฒนาสิ่งแวดล้อม -ความสะอาดของสถานที่ต่างๆ -การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 126
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 13
ผู้ปกครอง 20
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 159159
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 20
ผู้นำศาสนา 0
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 10
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 10
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 40
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนลดน้อยลง
  2. นักเรียนมีสุขภาวะที่ดี มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงและเติบโตสมวัย
  3. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันครบทุกคน มีความสะอาด ปลอดภัยและถูกหลักอนามัย
  4. น้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์
  5. นักเรียนได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่
  6. พัฒนาการทางสติปัญญาทางการเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
  7. นักเรียนปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติได้
  8. การจัดการระบบสุขาภิบาลอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี
    • ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน 7 %
    • ภาวะค่อนข้างผอมและผอมไม่เกิน 7 %
    • ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ยไม่เกิน 7 %
  2. นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย

- ผักวันละ ประมาณ 40 - 100 กรัม (อนุบาล 3 ช้อน ( 50 กรัม)ประถม 4 ช้อน (70 กรัม)
- ผลไม้(อนุบาล 1/2 ส่วน ประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน 3. ระดับความสำเร็จของโรงเรียนในการพัฒนาด้านการจัดการอาหาร - โภชนาการ
- สุขภาพ

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

นักเรียนสามารถนำไปขยายผลต่อที่บ้านได้ โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนและบุคคลภายนอกหรือหน่วยงานอื่นๆที่สนใจในกิจกรรม

พื้นที่ตั้งโรงเรียน ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 15.022763948731,101.24034404755place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 1 ต.ค. 2559 30 เม.ย. 2560 55,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะในการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้

นักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดี มีทักษะและสามารถนำไปใช้ในชิวิตประจำวันได้ ร้อยละ 80

2 เพื่อค้นหารูปแบบและลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของนักเรียน ให้มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาทางด้านสุขภาพและโภชนาการลดน้อยลง นักเรียนมีความรู้ในการดูและส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ80

3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและคนในชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน

ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพร้อยละ 80

4 เพื่อสร้างความตระหนักและความตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภขนาการ และสุขภาพของนักเรียน

นักเรียนมีความตระหนักและตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ ร้อยละ80

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
18 พ.ค. 59 ประชุมชี้แจงโครงการ 258 13,000.00 13,000.00 more_vert
7 ก.ค. 59 อบรมการจัดการสหกรณ์นักเรียน 55 1,650.00 1,650.00 more_vert
3 ก.ย. 59 กิจกรรมการพัฒนาระบบสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน(ถังดักไขมันพร้อมอุปกรณ์) 138 2,000.00 1,950.00 more_vert
12 ก.ย. 59 กิจกรรมการเสริมสร้างภาวะโภชนาการ(เติบโตสมวัย) เครื่องชั่งน้ำหนัก 144 3,000.00 2,580.00 more_vert
16 ก.ย. 59 เวชภัณฑ์ยาและการดูแลเบื้องต้น 30 1,500.00 1,305.00 more_vert
20 ก.ย. 59 เลี้ยงไก่ไข่เพิ่ม 80 19,000.00 11,190.00 more_vert
15 - 17 พ.ย. 59 การประเมินภาวะโภชนาการนักเรียนทุกช่วงชั้น โดยใช้โปรแกรม............ ช่วงต้นเทอม 1 139 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ย. 59 ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกเงินงวดที่ 2 2 0.00 1,600.00 more_vert
16 พ.ย. 59 - 31 ต.ค. 60 ซื้อกระดาษ A4 สำหรับบันทึกภาวะโภชนาการและะสมรรถภาพนักเรียนรายบุคคล 139 550.00 560.00 more_vert
21 พ.ย. 59 ซื้ออาหารไก่ไข่เพิ่ม(จากกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่เพิ่ม) 139 0.00 3,360.00 more_vert
28 พ.ย. 59 - 28 ก.พ. 60 ซื้อ ฮูล่าฮูป จานทวิสและเชือกกระโดด 139 10,000.00 10,695.00 more_vert
31 ธ.ค. 59 - 27 ม.ค. 60 การประเมินภาวะโภชนาการนักเรียนทุกช่วงชั้น โดยใช้โปรแกรม............ ช่วงต้นเทอม 2 ครั้งที่ 3 139 0.00 0.00 more_vert
10 ม.ค. 60 อบรมภาวะโภชนาการ 259 13,000.00 13,300.00 more_vert
10 ม.ค. 60 ทำไวนิลธงโภชนาการและสุขบัญญัติ 10 ประการ 136 1,000.00 930.90 more_vert
1 - 28 ก.พ. 60 การประเมินภาวะโภชนาการนักเรียนทุกช่วงชั้น โดยใช้โปรแกรม............ ช่วงปลายเทอม 2 ครั้งที่ 4 126 0.00 0.00 more_vert
27 ก.พ. 60 อบรมการเกษตรในโรงเรียน 125 31,800.00 32,878.50 more_vert
6 มี.ค. 60 ซื้ออาหารไก่ไข่เพิ่ม 146 0.00 1,680.00 more_vert
6 มี.ค. 60 ป้ายประชาสัมพันธ์มารยาทในการรับประทานอาหาร 130 500.00 481.50 more_vert
28 มี.ค. 60 การอบรมการสุขาภิบาลอาหาร 45 3,000.00 3,000.00 more_vert
7 เม.ย. 60 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 1 0.00 33.25 more_vert
รวม 2,370 100,000.00 20 100,194.15

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 08:39 น.