ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนวัดสวนส้ม(สุขประชานุกูล)
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช โพธิ์แก้ว
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางสาวอภิษดา มะกรครรภ์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นายเชษฐา เพลินจิตต์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางอุไร อิศรางกูร ณ อยุธยา
ที่ปรึกษาโครงการ 1 ศูนย์อนามัย ที่6
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นางสุวะรีย์ ดำเนินอุดร/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุ
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนวัดสวนส้ม(สุขประชานุกูล)จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นฟ

โรงเรียนวัดสวนส้ม(สุขประชานุกูล)ได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรอบแนวคิด

ในการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการ โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนมีโภชนาการสมวัย สุขภาพดี และพอประมาณได้ว่า เมื่อสุขภาพดีย่อมส่งผลต่อการเรียนรู้ คือ การเรียนดีและมีจิตสาธารณะ การสร้างความตระหนัก พร้อมกับความรู้ แก่บุคลากรหรือองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน วัด องค์กรภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ความร่วมมือ ร่วมใจ เป็นพลังสำคัญที่จะช่วยให้งานประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืน สถานศึกษาจะสร้างความรู้ ความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องและขอความร่วมมือ ช่วยเหลือในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และสำเร็จตามเป้าหมายกิจกรรมต่างๆทั้ง 8 กิจกรรม สถานศึกษาจะนำไปจัดในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หรือ นอกเวลาเรียน ดังต่อไปนี้
1. เกษตรในโรงเรียน โรงเรียนจะจัดการแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสนใจ ความถนัดในการปลูกพืชผัก เพาะเห็ด และเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาดุก ต่อยอดจากการดำเนินการที่มีอยู่ โดยเน้นอาหารปลอดภัยจัดให้มีการทำบัญชีของแต่ละกิจกรรมและเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นมาอบรม ให้ความรู้แก่นักเรียนและส่งผลผลิตขายให้กับสหกรณ์นักเรียน เพื่อจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันและชุมชนต่อไป

  1. สหกรณ์นักเรียน โรงเรียนจัดกิจกรรมต่อยอด จัดให้มีการปันผลหุ้น รับสมัคร และคัดเลือกคณะกรรมการกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนชุดใหม่ ดำเนินการประชุมคณะกรรมการโดยครูที่ปรึกษา จัดหาอุปกรณ์การเรียน เครื่องแต่งกาย สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร รับซื้อสินค้าการเกษตรของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนโดยเน้นอาหารปลอดภัยและจัดให้มีการออมทรัพย์ทุกสัปดาห์ และมีการสาธิต ผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของนักเรียน เชิญวิทยากรจากสหกรณ์จังหวัดอ่างทองมาให้ความรู้เพิ่มเติม

  2. การจัดบริการอาหารโรงเรียนจัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ภาคปฏิบัติแก่คณะครู และบุคลากรโดยเฉพาะแม่ครัว เพื่อดำเนินการตามโปรแกรม Thai school lunch การจัดการตามหลักสุขาภิบาลอาหาร อาหารปลอดภัยและการใช้เกลือเสริมไอโอดีน ใช้วัตถุดิบจากสหกรณ์ โดยการประสานงานของคุณครูผู้รับผิดชอบอาหารกลางวันและแม่ครัวโดยเน้นวัตถุดิบที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าทางโภชนาการ โรงเรียนจัดบริการอาหารกลางวันให้โรงเรียน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนปฐมวัย กลุ่มนักเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น

  3. การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและสุขภาพนักเรียน โรงเรียนดำเนินการ ดังนี้

  4. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนการสร้างนิสัยการกิน สุขนิสัยที่ดีและการออกกำลังกาย โดยมีสุขบัญญัติแห่งชาติเป็นแนวทางการจัดทำ โครงการหรือกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจและลงมือปฏิบัติตามหลักการและวิธีการรวมทั้งความสนใจ ใฝ่รู้ของนักเรียนในกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ ย่อมส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายและสุขภาพของนักเรียน
  5. การพัฒนาอนามัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การบริหารจัดการพัฒนา อาคารเรียน อาคารประกอบ
    โรงอาหาร โรงครัว ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่นและบริเวณโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ มีความสะดวก สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มีวัสดุอุปกรณ์พอเพียง มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมต่างๆ และดำเนินการร่วมโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โดยการสำรวจและพัฒนาเพิ่มเติมโดยผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบและช่างสีของโรงเรียน
  6. จัดบริการสุขภาพนักเรียน โรงเรียนจัดผู้นำอนามัยนักเรียนตรวจสุขภาพทุกเช้าช่วงเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ และบันทึกผลส่งครูประจำชั้น เพื่อติดตามและแก้ไขต่อไป นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ฝึกตรวจและประเมินสุขภาพของตนเองโรงเรียนพัฒนาห้องพยาบาลให้พร้อมสำหรับการปฐมพยาบาล ฝึกและเตรียมนักเรียนเป็นผู้ช่วยครูอนามัยในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ ในการส่งต่อและจัดบริการตรวจหนอนพยาธิสำหรับนักเรียนที่อยู่ในข่ายสงสัยและทำการรักษาต่อไป
  7. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ-เกษตร โภชนาการและสุขภาพ โรงเรียนจัดกิจกรรมเกษตรผสมผสาน กิจกรรมการเรียนรู้สหกรณ์ สุขบัญญัติ โภชนบัญญัติ สุขาภิบาลอาหาร และการออกกำลังกายโดยบูรณาการในแผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ และชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามนโยบายของกระทรวง และขยายผลสู่ชุมชนโดยการจัดนิทรรศการผลการดำเนินงานและแผ่นพับ เมื่อสิ้นสุดภาคเรียนที่ 1 หรือสิ้นสุดโครงการในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ
    สรุปในการดำเนินการ เด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ คือ เป็นผู้ลงมือทำในภาคปฏิบัติทุกกิจกรรม เพื่อให้เกิดทักษะชีวิต โดยโรงเรียนเป็นผู้จัดกิจกรรมให้กับนักเรียน คือเป็นฐานของการพัฒนาโดยความร่วมมือของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาการร่วมมือเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับนักเรียนและโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนวัดท่าชุมนุม จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ โรงเรียนท่าชุมนุม ได้วางแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน

โรงเรียนจัดให้มีการเกษตรโดยมีการปลุกผักปลอดสารพิษการเลี้ยงไก่ไข่การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบโดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและเป็นแหล่งเรียนรู้เมื่อเกิดผลผลิตจะนำมาจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันและจำหน่ายโดยสหกรณ์โรงเรียนนำเงินฝากธนาคารโรงเรียนนักเรียนได้เรียนรู้บูรณาการเรื่องการเกษตรสหกรณ์โภชนาการ(ชุดเสริมสร้างสุขภาพเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย) ปลุกฝังสุขนิสัยในการรับประทานอาหารในเรื่องการเกษตรจะช่วยให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานและรับประทานผักได้อย่างภาคภูมิใจและสามารถเผยแพร่สู่ชุมชน

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 888
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 44
ผู้ปกครอง 50
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 982982
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 2
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 1
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 3
อื่น ๆ 2
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 8
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและรู้จักเลือกรับประทานอาหาร
  2. เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรครบวงจรให้กับนักเรียนครูผู้ปกครองและชุมชน
  3. นักเรียนมีทักษะในด้านการเกษตร สหกรณ์โรงเรียน และสามารถนำทักษะไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
  4. นักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี
ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7%
ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7%
ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7%
นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย
ผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมอนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) ผลไม้ (อนุบาล½ ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. วารสารแผ่นพับเดือนละ 1 ฉบับ
  2. จัดนิทรรศการเผยแพร่ในงานต่างๆที่ได้รับเชิญ
  3. เป็นวิทยาการบรรยายการดำเนินโครงการ
  4. มีเว็บไซต์เข้าชมแหล่งเรียนรู้และดำเนินการ
  5. มีบุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนจำนวนมาก
  6. วารสารของโรงเรียนการดำเนินกิจกรรม
พื้นที่ตั้งโรงเรียน ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ละติจูด-ลองจิจูด 13.64002307778,100.57768821731place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 พ.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 31 ธ.ค. 2559 48,000.00
2 1 ธ.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 1 ม.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 66,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามเกณฑ์และรู้จักเลือกรับประทานอาหาร

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน 7 % ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 3 % ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ยไม่เกิน 4 %

2 เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในด้านการเกษตร สหกรณ์โรงเรียน ธนาคารโรงเรียน และสามารถนำทักษะไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน

นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผักวันละ (อนุบาล40กรัม ประถม60กรัม)ผลไม้(อนุบาล 4ส่วน ประถม 6 ส่วนๆละพอดีคำ) ต่อมื้อต่อคน

3 เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงในการดำเนินชีวิต

นักเรียนเกิดความรับผิดชอบโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือมีความรู้มีคุณธรรมใช้ความพอประมาณอยู่บนพื้นฐานความมีเหตุผลและมีความรอบครบจากการสร้างภูมิคุ้มกัน

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 การเกษตรในโรงเรียน 58,500.00                         more_vert
2 ติดตามภาวะโภชนาการ 0.00                         more_vert
3 เครือข่ายสุขภาพ 20,000.00                         more_vert
4 ค่ายแกนนำ 40,000.00                         more_vert
5 สหกรณ์ 1,500.00                         more_vert
รวม 120,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
31 ต.ค. 59 เลี้ยงปลาดุก 47 6,000.00 1,000.00 more_vert
2 พ.ย. 59 ให้ความารู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ 300 0.00 0.00 more_vert
2 พ.ย. 59 เพาะเห็ด 480 7,680.00 5,600.00 more_vert
7 พ.ย. 59 ส่งเอกสาร 0 0.00 30.00 more_vert
21 พ.ย. 59 การประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำรายงานโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส 2 320.00 320.00 more_vert
21 พ.ย. 59 การเลี้ยงไก่ไข่ 30 35,500.00 5,625.00 more_vert
21 พ.ย. 59 ปลูกผัก 150 1,500.00 4,080.00 more_vert
14 ธ.ค. 59 อบรมผู้นาอนามัย และอย.น้อย 174 13,600.00 13,600.00 more_vert
14 ธ.ค. 59 วัสดุการเลี้ยงไก่ 38 0.00 2,000.00 more_vert
2 ม.ค. 60 เลี้ยงกบ 150 6,000.00 2,925.00 more_vert
9-10 ม.ค. 60 การเลี้ยงไก่ไข่ 0 0.00 9,600.00 more_vert
11 ม.ค. 60 อบรม ผู้ปกครอง ครู ชุมชน 165 20,000.00 21,800.00 more_vert
20 ม.ค. 60 อาหารปลา 40 0.00 6,270.00 more_vert
25 ม.ค. 60 ค่ายแกนนำนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 140 26,400.00 26,600.00 more_vert
15 ก.พ. 60 สหกรณ์นักเรียน 52 1,500.00 1,500.00 more_vert
24 มี.ค. 60 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 1 0.00 29.43 more_vert
5 เม.ย. 60 การเลี้ยงไก่ 0 0.00 5,625.00 more_vert
5 เม.ย. 60 การเลี้ยงกบ 117 1,500.00 7,800.00 more_vert
5 เม.ย. 60 การเลี้ยงไก่ไข่ 0 0.00 5,625.00 more_vert
รวม 980 120,000.00 19 120,029.43

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 08:32 น.