แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1
ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านแก้วเพชรพลอย
ชุมชน ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
รหัสโครงการ ศรร.1212-046 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ก.14
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2559
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการจัดการเรียนการสอน |
||
วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ครู 12 คน มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเกษตร โภชนาการและสุขภาพทุกชั้นเรียน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต ครูจำนวน 12คน มีแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเกษตร โภชนาการและสุขภาพทุกชั้นเรียน -นักเรียนจำนวน 183 คน ได้เรียนรู้การเกษตร โภชนาการและสุขภาพ ผลลัพธ์ -ครูมีแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเกษตร โภชนาการและสุขภาพทุกชั้นเรียนและดำเนินกการตามแผน -นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการเกษตรโภชนาการและสุขภาพ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน
กิจกรรมที่ทำจริงคุณภาพของผู้เรียนจะได้มาตรฐานตามความต้องการก็ต่อเมื่อโรงเรียนมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครอบคลุมทุกๆด้าน กระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็นหัวใจหลักสำหรับผู้เรียนซึ่งถ้าไม่มีการพัฒนาผู้เรียนแล้วนั้นการพัฒนาการเรียนการสอนย่อมไม่สำเร็จผล ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านแก้วเพชรพลอย จึงส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน และประสิทธิภาพของผู้เรียนเพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนให้มีความสามารถในการเรียนทุกกลุ่มสาระวิชาและกิจกรรมต่างๆสำหรับผู้เรียนอย่างหลากหลายและตามความสนใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพและมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขอนามัยครบทั้ง 8 ชั้นเรียน
2. ครูผู้จัดทำสื่อการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขอนามัยครบทั้ง 8 ชั้นเรียน
3. ครูผู้สอนนำแผนและสื่อมาจัดการเรียนการสอนให้ครบทั้ง 8 เรียน วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
|
195 | 195 |
2. การเพาะเห็ดนางฟ้า |
||
วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้-นักเรียนจำนวน 70 คน ได้ปลูกพืชผักสวนครัว -นักเรียนจำนวน 70 คน ได้เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า - นักเรียนจำนวน 70 คน ได้เรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง1.นักเรียนจำนวน 70 คน ได้เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า 2.นักเรียนร้อยละ 50 มีผลผลิตมาจำหน่ายให้กับสหกรณ์ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนกิจกรรมเห็ดนางฟ้าภูฐาน ผู้รับผิดชอบนายชิราวุธ คำมาตย์
ลักษณะโครงการ ( ) โครงการใหม่() โครงการต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม2559 – เมษายน2560
……………………………………………………………………………………………………………………………………
1.หลักการและเหตุผล
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11( พ.ศ. 2555- 2559)ยังคงอัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางพัฒนาอย่างจริงจังเพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความสมดุลเป็นธรรมและยั่งยืนมุ่งสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอันจะเป็นการเสริมสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนโดยถ้วนหน้าสมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภาวะการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยทำให้การดำรงชีวิตของคน ในสังคมไทยได้นำเอาสิ่งอำนวยความสะดวกในทุกๆด้านเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน แม้กระทั่งสิ่งอุปโภคและบริโภคต่างๆล้วนอำนวยความสะดวกต่อคนไทยในสังคมทั้งสิ้นด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้การใช้ชีวิตของคนไทยที่ผ่านมานั้นถึงแม้จะได้รับความสะดวกสบายในเบื้องต้นแต่สิ่งที่ตามมาโดยไม่รู้ตัวคือการดำรงชีวิตประจำวันที่ฟุ่มเฟือยทำให้คนในสังคมต้องประสบกับปัญหาการดำรงชีวิตตามมา ฉะนั้นสิ่งที่จะสามารถแก้ปัญหาการดำรงชีวิตของคนในสังคมไทย เรื่องการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะรายจ่ายในครอบครัวให้มีรายจ่ายน้อยลงได้ คือการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ดังนั้นการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏานจึงเป็นโครงการหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนโดยตรงเพราะได้ฝึกปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประกอบอาชีพแบบยั่งยืนได้อันจะเป็นประโยชน์ ต่อครอบครัวและชุมชน จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกหนึ่งที่เป็นที่นิยมบริโภคของบุคคลทั่วไป เป็นเห็ดที่เพาะง่าย มีอายุการพักเชื้อที่สั้น เพาะได้เกือบทุกฤดูยกเว้นในช่วงฤดูร้อน เพราะเห็ดชอบอากาศเย็นชื้น โรงเรียนบ้านแก้วเพชรพลอยจึงได้จัดกิจกรรม การเพาะเห็ดฟางภูฏานนี้ขึ้น
กิจกรรมที่ทำจริงวิธีดำเนินการ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏานในโรงเรือน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1ประชุมคณะครูปรึกษาหารือ
2แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
3ดำเนินการตามกิจกรรม
-สำรวจพื้นที่
-ปรับปรุงและก่อสร้างโรงเรือน
-จัดหาซื้อเชื้อและวัสดุอุปกรณ์
- แบ่งกลุ่มนักเรียนตามกลุ่มสนใจ
- ดำเนินการจัดทำและจำหน่ายผลผลิต
4ประเมินผลเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม
5สรุปวิเคราะห์รายงานผล
พ.ค. 59
พ.ค. 59
มิ.ย. 59
มิ.ย. 59
มิ.ย. 59
มิ.ย. 59
มิ.ย.55 ผู้บริหารโรงเรียน และคณะครู นายชิราวุธ
นายชิราวุธ
นายชิราวุธ
นายชิราวุธ
นายชิราวุธ
ผู้บริหารโรงเรียน
และคณะครู 4.2รายละเอียดกิจกรรมการใช้งบประมาณ
กิจกรรมและงบประมาณ งบประมาณ ลักษณะงบประมาณที่ใช้ สถานที่
ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ อื่นๆ - 13,000 รร.บ้านแก้วเพชรพลอย
รวมงบประมาณ 13,000 13,000 5.การติดตามกำกับและประเมินผล 5.1กำกับติดตามรายงานความก้าวหน้าภายในมีนาคม2560 5.2การประเมินผล ตัวบ่งชี้และสภาพความสำเร็จ วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผล -นักเรียนมีความรู้ในการเพาะเห็ดฟาง -นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการทำอาชีพ - ตรวจสอบผลผลิต -การปฏิบัติงาน - บันทึกรายงานการดำเนินงาน - ผลิตและบัญชีรับ-จ่าย - บันทึกการสังเกตพฤติกรรม
|
70 | 70 |
3. ค่าปุ๋ยคอก |
||
วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้-นักเรียนจำนวน 70 คน ได้ปลูกพืชผักสวนครัว -นักเรียนจำนวน 70 คน ได้เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า - นักเรียนจำนวน 70 คน ได้เรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ปุ๋ยคอกตามจำนวน 40 ถุง นักเรียนร้อยละ 50 มีผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายให้กับสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนค่าปุ๋ยคอก 40 ถุง X 30 บาท โรงเรียนบ้านแก้วเพชรพลอยสภาพดินยังขาดแร่ธาตุ จำเป็นต้องนำปุ๋ยคอกที่เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตมาใช้ในการปรับสภาพดิน ปุ๋ย หมายถึง วัตถุหรือสารที่ใส่ลงไปในดินหรือให้แก่พืชโดยตรง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ธาตุอาหารแก่พืช เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ ให้ผลผลิตและมีคุณภาพดีขึ้น ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยที่ได้จากอุจจาระและปัสสาวะ ทั้งของคนและของสัตว์ เช่น ขี้ไก่ หมู วัว ฯลฯ เป็นของเหลือหรือผลพลอยได้จากฟาร์มหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ การใช้ต้องระมัดระวังพอสมควร เพราะหากเป็นปุ๋ยคอกใหม่ๆเมื่อนำไปใส่ลงดินชิด,สัมผัสกับรากหรือต้นพืชอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากมีความเค็มและมีความร้อนเกิดขึ้นขณะย่อยสลาย นอกจากนั้นอาจมาปัญหาเรื่องเมล็ดวัชพืช โรคหรือแมลงที่ปะปนมากับปุ๋ยคอก หากนำมาหมักหรือปล่อยให้มีการย่อยสลาย(เก่า)ก่อนก็จะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ธาตุอาหารพืช คือ ธาตุที่พืชดูดไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ดำรงชีพ ให้ผลผลิตและขยายพันธุ์ ที่จำเป็นมีทั้งหมด 16 ธาตุ คือ ธาตุอาหารที่ได้จากน้ำและอากาศ มี 3 ธาตุ ได้แก่ ไฮโดรเจน คาร์บอนและออกซิเจน คิดเป็น 95-99% ของความต้องการธาตุอาหารของพืชทั้งหมด นอกนั้นพืชจะได้รับส่วนใหญ่จากดิน มี 13 ธาตุ แบ่งเป็น
*** การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จึงเน้นที่การปรับโครงสร้างของดิน สร้างสมดุลย์ทางเคมี มีธาตุอาหารครบ(แม้จะมีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักน้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่เนื่องจากมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย ดินจึงมีพลัง พืชเจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรงตามธรรมชาติ ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดีและรสชาติดี กิจกรรมที่ทำจริง-จัดหาซื้อปุ๋ยคอกตามจำนวน -นักเรียนนำไปลงแปลงปลูกพืชผักทางการเกษตรตามจำนวนความเหมาะสม -สังเกตุการเจริญเติบโตของพืชผักทางการเกษตร
|
70 | 73 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ
ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการ | ทั้งหมด | ทำแล้ว | 10% | 20% | 30% | 40% | 50% | 60% | 70% | 80% | 90% | 100% |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การทำกิจกรรม | 25 | 4 | ✔ | |||||||||
การใช้จ่ายงบประมาณ | 100,000.00 | 29,000.00 | ✔ | |||||||||
คุณภาพกิจกรรม | 16 | 15 | ✔ |
ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)
ประเด็นปัญหา/อุปสรรค | สาเหตุเพราะ | แนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน |
---|---|---|
|
|
|
แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป
- ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำรายงานศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2 ( 26 พ.ย. 2559 )
- กิจกรรมล้างมือ กินร้อนช้อนกลาง ( 12 ธ.ค. 2559 )
- กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ( 15 ธ.ค. 2559 )
- เลี้ยงปลาดุก ( 19 ธ.ค. 2559 )
- เมล็ดพันธุ์พืช ( 22 ธ.ค. 2559 )
- กิจกรรมอบรมณ์ระบบสหกรณ์ ( 3 ก.พ. 2560 )
- ค่าจ้างบุคคลประกอบอาหาร ( 4 ก.พ. 2560 )
- จ่ายค่าอาหารปลาดุก ( 8 ก.พ. 2560 )
- จัดประชุมชี้แจงผู้ปกครองนักเรียนสร้างความเข้าใจตระหนัก ในการจัดบริการอาหาร (ครูและบุคลากรทางการศึกษา แม่ครัว ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และนักเรียน) ( 17 ก.พ. 2560 )
- จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์จัดป้ายนิเทศ ( 20 ก.พ. 2560 )
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ( 27 ก.พ. 2560 )
- เจลล้างมือ วัสดุอุปกรณ์จัดทำสื่อ ( 28 ก.พ. 2560 )
(................................)
นายวิเชษฐ นวนแก้ว
ผู้รับผิดชอบโครงการ