ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนวัดท่าชุมนุม


“ โรงเรียนวัดท่าชุมนุม ”

ตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง

หัวหน้าโครงการ
นางสารี่ คงอ่อน

ชื่อโครงการ โรงเรียนวัดท่าชุมนุม

ที่อยู่ ตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง จังหวัด อ่างทอง

รหัสโครงการ ศรร.1212-119 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ก.18

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนวัดท่าชุมนุม จังหวัดอ่างทอง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนวัดท่าชุมนุม ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนวัดท่าชุมนุม



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนวัดท่าชุมนุม " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง รหัสโครงการ ศรร.1212-119 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนวัดท่าชุมนุม เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 230 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน วัดท่าชุมนุม จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพด้านโภชนาการที่มีคุณภาพ
  2. 2. เพื่อสร้างกระบวนการประเมินติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  3. 3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
  4. 4. เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายจำนวน ๓ โรงเรียน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. โรงเรียนวัดท่าชุมนุมเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    2. โรงเรียน พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ 8 กิจกรรม เป็นต้นแบบได้ทุกกิจกรรม
    3. นักเรียน มีโภชนาการสมวัย สุขภาพดี ผลการเรียนดีขึ้น และมีจิตสาธารณะ
    4. นักเรียน มีรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 80
    5. นักเรียน มีทักษะชีวิตในการจัดการตนเองให้เป็นผู้มีสุขภาพดี

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. จัดทำหลักสูตรบูรณาการเรื่องอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยนักเรียน

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -  ประชุมวางแผนการจัดทำหลักสูตรบูรณาการเพื่อใช้ในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ -  แบ่งคณะครูรับผิดชอบ -  ดำเนินการจัดทำ -  นำไปใช้ -  สรุปผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -  คณะครูผู้สอนพึงพอใจกับกิจกรรมดังกล่าว -  ได้ขยายผลให้กับโรงเียนภายในกลุ่มได้ใช้ -  โรงเรียนที่มาศึกษาดูงานนำไปเป็นต้นแบบ

     

    18 18

    2. ศึกษาดูงาน

    วันที่ 27 พฤษภาคม 2016 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.  มอบหมายผู้รับผิดชอบ 2.  ประสานงานกับโรงรเียนบ้านเขาขวาง จ.ลพบุรี เพื่อจะไปศึกษาดูงาน 3.  วางแผนการศึกษาดูงาน 4.  ดำเนินการจัดหารถ เตรียมการเรื่องอาหารกลางวัน อาหารว่าง น้ำดื่ม 5.  ศึกษาดูงาน 6.  อภิปรายสรุปผลจากการศึกษาดูงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.  คณะศึกษาดูงานให้ความสนใจในกิจกรรม 2.  คณะศึกษาดูงานมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง 3.  นักเรียนแกนนำและคณะครูกลับมาดำเนินกิจกรรมด้านเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ด้านสหกรณ์นักเรียนได้เป็นอย่างดี

     

    56 66

    3. ฐานการเรียนรู้สู่อาชีพ (เห็ด) ครั้งทีี่ 1

    วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -  แบ่งคณะครูผู้รับผิดชอบ -  แบ่งนักเรียนรับผิดชอบฐานการเรียนรู้ -  นักเรียนพัฒนาฐานการเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -  นักเรียนมีความรับปิดชอบ ขยันและตระหนักในหน้าที่ มีความรัก สามัคคี -  คณะครูนักเรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ -  เป็นต้นแบบที่ดีแก่ชุมชน

     

    15 15

    4. ฐานแหล่งเรียนรู้สู่อาชีพ (ปลาดุก)

    วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -  วิเคราะห์ความต้องการ -  คัดเลือกพันธุ์ปลา -  เตรียมพื้นที่การเลี้ยง - การเลี้ยง -  การจำหน่าย -  การสรุปผลการเลี้ยงในแต่ละรุ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -  นักเรียนมีความรับผิดชอบ ขยันและตระหนักในหน้าที่ มีความรัก สามัคคี -  คณะครูนักเรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ -  เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ชุมชน -  ได้ปลาสำหรับโครงการอาหารกลางวัน และจัดจำหน่าย -  นักเรียนเป็นบุคคลที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต -  นักเรียนถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้อื่นได้

     

    15 15

    5. ฐาน ร รวยด้วย อ ออม

    วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.  ประสานงานกับธนาคาร ธกส. เพื่อจัดตั้งธนาคารโรงเรียนวัดท่าชุมนุม 2.  อบรมครูนักเรียนแกนนำเพื่อบริหารจัดการธนาคารโรงเรียน 3.  แนะนำการฝากเงินกับธนาคาร โดยรับฝากจากนักเรียน ครู ผู้ปกครอง 4.  ดำเนินการธนาคารโรงเรียนวัดท่าชุมนุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.  มีคณะครู นักเรียน ผู้ปกครองมาใช้บริการของธนาคารโรงเรียนเป็นอย่างดี

     

    15 15

    6. จัดกิจกรรมแอโรบิก

    วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ร่วมกันออกกำลังกายแอโรบิค เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีสุขภาพร่ายการแข็งแรง

     

    0 35

    7. ฐานสวยใสด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ครั้งที่ 1

    วันที่ 5 กันยายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -  แบ่งคณะครูผู้รับผิดชอบ -  แบ่งนักเรียนรับผิดชอบฐานการเรียนรู้ -  นักเรียนพัฒนาฐานการเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -  นักเรียนมีความรับผิดชอบ ขยัน และตระหนักในหน้าที่ มีความรักสามัคคี -  คณะครูนักเรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ -  เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ชุมชน

     

    15 15

    8. ฐานพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ครั้งที่ 1

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -  แบ่งคณะครูผู้รับผิดชอบ -  แบ่งนักเรียนรับผิดชอบฐานการเรียนรู้ -  นักเรียนพัฒนาฐานการเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -  นักเรียนมีความรับผิดชอบ ขยัน และตระหนักในหน้าที่ มีความรักสามัคคี -  คณะครู นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ -  เป็นต้นแบบที่ดีแก่ชุมชน

     

    15 15

    9. ฐานสหกรณ์ก้าวหน้า ท่าชุมนุมก้าวไกล

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดซื้อวัสดุในการอบรมครูและนักเรียนแกนนำเกี่ยวกับสหกรณ์โรงเรียนโดยได้รับความร่วมมือจากสำนนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครูและนักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกันการดำเนินงานสหกรณ์ และนำมาใช้ได้จริงในโรงเรียน

     

    18 20

    10. ฐานปลอดมลพิษ พิชิตความจน

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      นักเรียนทุกคนมีเขตหรือบริเวณที่ต้องรับผิดชอบ และคัดแยกขยะเพื่อนำมาขายให้กับธนาคารขยะ มีธนาคารขยะเพื่อรับซื้อขยะจากห้องเรียน จากเขตสี และจากเด็กรายบุคคล นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้รู้จักประเภทของขยะ แยกขยะเป็น มีรายได้ระหว่างเรียน โรงเรียนสะอาด

     

    15 18

    11. ฐานแหล่งเรียนรู้สู่อาชีพ (ไก่ไข่) ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 ธันวาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่ไข่ ซื้อแม่ไก่ ซื้ออาหารไก่ ให้เด็กนักเรียนรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีไก่ไข่เพื่อที่จะนำไข่ไก่ใช้ในโครงการอาหารกลางวัน

     

    15 25

    12. ฐานร่วนซุยปุ๋ยดี

    วันที่ 9 มกราคม 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทองให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงใส้เดือน และได้นำมาปฏิบัติจริงโดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง จัดทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารที่เหลือจากโครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้มูลใส้เดือนและน้ำหมักมาใช้ในการเกษตรของโรงเรียน

     

    15 17

    13. จากโรงเรียนสู่ชุมชน โดยนักเรียนแกนนำ

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงเรียนสู่ชุมชน โดยนักเรียนแกนนำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โรงเรียนสู่ชุมชน โดยนักเรียนแกนนำ

     

    363 17

    14. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามหลักโปรแกรม TSL

    วันที่ 23 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมฒนาศักยภาพบุคลากรตามหลักโปรแกรม TSL คณะครู นักเรียนและภาคีเครือข่ายเพื่อชี้แจงรายละเอียดการจัดกิจกรรมนำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครู  นักเรียนและภาคีเครือข่ายได้รับความรู้ตามโปรแกรม TSL

     

    433 420

    15. จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย

    วันที่ 7 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 

     

    1 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพด้านโภชนาการที่มีคุณภาพ
    ตัวชี้วัด : นักเรียนร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการ

     

    2 2. เพื่อสร้างกระบวนการประเมินติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : มีกระบวนการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน

     

    3 3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
    ตัวชี้วัด : นักเรียน ชุมชน หน่วยงานทีเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร

     

    4 4. เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายจำนวน ๓ โรงเรียน
    ตัวชี้วัด : เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพด้านโภชนาการที่มีคุณภาพ (2) 2. เพื่อสร้างกระบวนการประเมินติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน (3) 3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (4) 4. เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายจำนวน ๓ โรงเรียน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนวัดท่าชุมนุม

    รหัสโครงการ ศรร.1212-119 รหัสสัญญา 58-00-2265-ก.18 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    1.กิจกรรมการเลี้ยงไก่ 2.กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก 3.กิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า 4.กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว5.การปลูกมะนาวในลองส้วม

    โรงเรียน ได้ดำเนินการกิจกรรมการเกษตรภายในโรงเรียนประกอบด้วย 5กิจกรรมคือ 1.กิจกรรมการเลี้ยงไก่ โดยทางโรงเรียนได้รับลูกไก่จากปศุสัตว์จังหวัดใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือนโดยนักเรียนเป็นผู้ดูแลผลผลิตที่ได้ส่งขายยังสหกรณ์โรงเรียนและทางโรงอาหารมารับซื้อเพื่อนำไปประกอบอาหารให้กับเด็กนักเรียน 2.กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก โดยทางโรงเรียนจะซื้อพันธ์ลูกปลาดุกจากแหล่งจำหน่ายใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือนโดยนักเรียนเป็นผู้ดูแลผลผลิตที่ได้ส่งขายยังสหกรณ์โรงเรียนและทางโรงอาหารมารับซื้อเพื่อนำไปประกอบอาหารให้กับเด็กนักเรียน 3.กิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า โดยทางโรงเรียนจะซื้อเชื้อเห็ดนางฟ้าจากแหล่งจำหน่ายโดยนักเรียนเป็นผู้ดูแลผลผลิตที่ได้ส่งขายยังสหกรณ์โรงเรียนและทางโรงอาหารมารับซื้อเพื่อนำไปประกอบอาหารให้กับเด็กนักเรียน 4.กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว นักเรียนเป็นผู้ปลูกและดูแลพืชผักสวนครัวเมื่อผลผลิตเจริญเติบโตสามารถเก็บได้นักเรียนจะเก็บผลผลิตและจำหน่ายไปยังสหกรณ์นักเรียนโดยทางโรงอาหารมารับซื้ัอเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน 5.การปลูกมะนาวในลองครัว นักเรียนเป็นผู้ปลูกและดูแลนักเรียนจะเก็บผลผลิตและจำหน่ายไปยังสหกรณ์นักเรียนโดยทางโรงอาหารมารับซื้ัอเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนและจำหน่ายให้ผู้ปกครอง

    เนื่องจากกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรมผลผลิตที่ได้สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนได้ ดังนั้นทางโรงเรียนจะยังคงดำเนินการต่อไปและจะเพิ่มปริมาณให้เพียงพอกับความต้องการของปริมาณเด็กนักเรียนภายในโรงเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ด้านการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย

    กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ด้านการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และแก้ปัญหาผลผลิตที่มีอยู่มากเกินไป ได้แก่ ไข่เป็ด โดยนำมาทำเป็นไข่เค็มสมุนไพร ไข่เค็มต้มยำใช้วัตถุดิบที่มีในโรงเรียนและท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบเตยหอม ดอกอัญชัน โดย นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ นำไข่เป็ดที่รับซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตในโรงเรียน มาทำโครงงานไข่เค็มสมุนไพร และไข่เค็มต้มยำ เสร็จแล้วจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันนักเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน ในราคาฟองละ 6 บาท ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับไข่เป็ด จากเดิมเพิ่มอีกฟองละ 2 บาท นอกจากนี้ ยังเป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน การบันทึกรายรับ-รายจ่าย การคำนวณต้นทุน กำไร ขาดทุน ทำให้นักเรียนมีทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    การพัฒนาเมนูอาหารจากไข่เค็ม สู่ชุมชน เช่น การทำไข่ดาวเค็ม ซึ่งชุมชนไม่เคยรู้มาก่อน โดยใช้ไข่เค็มที่มีอายุ 7 วัน รสชาติอร่อย นอกจากนี้ ยังขยายสูตรการทำไข่เค็มสู่ชุมชน ทำให้ผู้ปกครองที่สนใจมาอุดหนุนไข่เป็ดที่โรงเรียนเพื่อนำไปทำไข่เค็มที่บ้าน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    การจัดทำรายการอาหารตามโปรแกรมThai school lunch

    โรงเรียนมีการประชุมคณะครูและบุคลากร รวมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียน เพื่อกำหนดเมนูอาหารกลางวัน ล่วงหน้า 1 เดือน โดยคำนึงถึงวัตถุดิบที่มีอยู่ในกิจกรรมการเกษตร ปศุสัตว์ของโรงเรียนและในชุมชนเป็นหลัก เมื่อได้รายการอาหารเสร็จแล้ว นำมาคำนวณเข้ากับโปรแกรม Thai school lunch เพื่่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน จากนั้น โรงเรียนจัดรับข้าวสาร โดยโรงสีในชุมชนร่วมบริจาคข้าวสารตลอดปีการศึกษา

    ทางโรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับการจัดบริการอาหารของโรงเรียนเป็นอย่างมาก จึงมีแนวคิดที่จัดอาหารเช้าสำหรับนักเรียนที่มีความขาดแคลน โดยจะสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองในช่วงประชุมผู้ปกครอง ต้นภาคเรียนที่ 1/2560

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    1.กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน 2.กิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน

    แกนนำนักเรียนและครูอนามัย ทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนแล้วนำมาคำนวณกับโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลจากนั้นคัดกรองนักเรียออกเป็นกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม ออกจากกลุ่มนักเรียนปกติ ติดตามภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว โดยจัดรายการอาหารเสริมสำหรับกลุ่มผอมเพิ่มนมเป็นวัน 2 กล่อง สำหรับกลุ่มเตี้ย ส่วนกลุ่มอ้วนก็ควบคุมปริมาณอาหารของนักเรียน และจัดตารางการออกกำลังกายในช่วงชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และทำการชั่งนำ้หนักและวัดส่วนสูงเป็นระยะ 2. ครูประจำชั้นทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคน โดยทดสอบภาคเรียนละ 1 ครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแปรผล เพื่อหาระดับสมรรถภาพทางกายของนักเรียน สำหรับคนที่ไม่ผ่านได้รับการพัฒนา จนมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น

    1.ติดตามนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการแล้วสร้างความเข้าใจ ความตระหนักกับนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยกัน 2. โรงเรียนมีแนวทางที่จัดกิจกรรมเสริมพัฒนาสมรรถภาพทางกายก่อนทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมทางร่างกาย และทำให้มีสรรถภาพทางกายดีขึ้น

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    1.กิจกรรมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
    2.กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ

    หลังรับประทานอาหารกลางวัน นักเรียนทุกคนจะแปรงฟันตรงสถานที่แปรงฟัน มีแกนนำนักเรียนนำเป็นต้นแบบในการแปรงฟันพร้อมๆกันอย่างถูกวิธี จากนั้นก็จะมีการรายงานการตรวจการแปรงฟันของนักเรียนแต่ละชั้น มีการบันทึกผลการตรวจการแปรงฟัน สำหรับกิจกรรมการส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ โรงเรียนจัดทำป้ายสุขบัญญัติติดตามที่ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติ แกนนำนักเรียนสาธิตและให้ความรู้การปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการ โดยโรงเรียนได้รับรางวัลเครือข่ายเด็กไทยฟันดีระดับยอดเยี่ยมจากกรมอนามัย

    โรงเรียนได้ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในกิจวัตรประจำวัน ใช้ในครอบครัว และแนะนำคนในชุมชนได้

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    โรงเรียนปลอดขยะ แบ่งเขตสีดูแลพื้นที่รับผิดชอบและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

    ดำเนินการตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ได้รับรางวัลโรงเรียนปลอดขยะจากสำนักงานสิ่งแวดล้อม แบ่งเขตสีดูแลรับผิดชอบ ทำความสะอาดคลอบคลุมเขตพื้นที่โรงเรียน โดยมีนักเรียน ครูประจำชั้น ดูแลความสะอาด จัดการขยะ พัฒนาสิ่งแวดล้อม มีการรายงานผลการตรวจเขตพื้นที่รับผิดชอบทุกวัน โดยสภานักเรียน

    พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีความต่อเนื่อง ยั่งยืน เป็นต้นแบบ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และดูงาน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    กิจกรรมการตรวจสุขภาพของนักเรียนทุกคน

    1.การตรวจสุขภาพฟัน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ แลโรงพยาบาลสามก้2.การตรวจวัดสายตาโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ /นศ.ฝึกประสบการณ์ สาขาสาธารณสุข 3.การตรวจเลือดเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์

    โรงเรียนได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตรวจสุขภาพของนักเรียนในเรื่องต่างๆ ซึ่งทางโรงเรียนจะดำเนินการอย่างนี้ต่อไป

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    การถอดบทเรียนด้าน เกษตร ปศุสัตว์ อาหาร โภชนาการ สหกรณ์ตามหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง

    1. จัดทำป้ายเพื่อให้ความรู้กับนักเรียน 2. บูรณาการการเรียนรู้ในด้านต่างๆเข้ากับแต่ละวิชา โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกษตรสหกรณ์อาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยดังนี้
    2. จัดทำป้ายเพื่อให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องการเกษตรขั้นตอนการดำเนินงานสหกรณ์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ได้ 2. บูรณาการการเรียนรู้ในด้านต่างๆเข้ากับแต่ละวิชาเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ที่หลากหลาย จัดทำแหล่งเรียนรู้ในแต่ละงานเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง

    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการถอดบทเรียนความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม ด้านเกษตร ปศุสัตว์ อาหาร โภชนาการ สหกรณ์ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ โดยออกแบบลงบนกระดาษ โรงเรียนนำผลงานที่นักเรียนจัดทำ จัดแสดงไว้ในศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสของโรงเรียนที่เป็นบ้านดิน เพื่อให้ชุมชน หรือผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    โรงเรียน ได้เข้าร่วมโครงศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสและได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.ทำให้โรงเรียนได้พัฒนาระบบงานต่างๆได้อย่างครบองค์ประกอบและตอบสนองต่อเด็กนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรมโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากวิทยากรในท้องถิ่น ในการมาเป็นวิทยากร ในการจัดทำฐานการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรักและหวงแหนฐานการเรียนรู้ ก็เข้ากับบริบทของโรงเรียนที่เน้นนำวัสดุในท้องถิ่นและธรรมชาติ มาออกแบบ ตกแต่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนอยู่ในชุมชนชนบท ทำให้การจัดกิจกรรมต่างด้านการเกษตร สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่่อง มีพื้นที่โดยส่วนใหญ่รอบๆบริเวณโรงเรียน ทำให้มีผลผลิตจากการทำเกษตรในโรงเรียนทั้งปลูกผักและผลไม้ที่เพียงพอ ป้อนสู่โครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ตลอดจนทำให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตแบบพอเพียง ดังนั้นนักเรียนจึงสนใจที่จะเรียนรู้และสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง โดยการนำของท่านผู้บริหารโรงเรียนและความร่วมมือร่วมใจกันของคณะครู/บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกๆ ด้าน และเข้าใจในจุดประสงค์และรายละเอียดของโครงการเหมือนกันทุกคน จากนั้นนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติ และถ่ายทอดให้กับนักเรียนรวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม และมีการสรุป ทบทวน สะท้อนผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เพื่ทราบปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีแกนนำนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากผู้ปกครอง และชุมชน พร้อมทั้งพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในองค์ประกอบต่างๆ สู่หน่วยงานอื่นรวมทั้งหน่วยงานสสส.ได้เข้ามาให้ความรู้ถึงระบบการทำงานในกิจกรรมทั้ง 8 ด้านว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไรทำให้ทางโรงเรียนเข้าใจระบบจนสามารถดำเนินการได้อย่างสัมพันธ์กันทั้ง 8 กิจกรรม

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    โรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมทั้งทำความเข้าใจและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เด็กนักเรียนโดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทั้ง 8 องค์ประกอบ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และเกิดทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม และให้ความรู้แก่แม่ครัว โดยการอบรม ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    โรงเรียนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ปกครองและชุมชน รวมถึงสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเริ่มจากการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและชุมชน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ เช่น ระดมผู้ปกครองและชุมชนในการทำปุ๋ยหมัก เตรียมแปลงผักและร่วมกันปลูกผักสวนครัว รวมทั้งร่วมมือกันในการจัดภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้ร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียน การสนับสนุนผลผลิตของโรงเรียน ได้แก่ ไ ไข่ไก่ เห็ด ซึ่งกิจกรรมต่างๆที่ทางโรงเรียนนำเสนอได้รับความร่วมมือและได้รับความสนใจจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดี จัดให้มีการอบรมและศึกษาดูงานโดยผู้ปกครองและคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    โรงเรียนแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็นส่วน ๆ แล้วมอบหมายให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้น ม.3 รับผิดชอบปลูกผักสวนครัว เมื่อได้ผลผลิตก็นำไปจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียนเพื่อนำสู่โครงการอาหารกลางวัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ปลูกผักในชุมชน ที่ปลูกผักแล้วส่งผลิตสู่โรงเรียน

    บัญชีรายรับ-รายจ่ายการปลูกผักของนักเรียน บัญชีรายรับ-รายจ่าย สหกรณ์นักเรียน รูปภาพกิจกรรม

    โรงเรียนจะจัดหาพื้นที่เพาะปลูกผักสวนครัวเพิ่มเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการนำไปประกอบอาหารกลางวัน และประชาสัมพันธ์กิจกรรม เพื่อรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรของผู้ปกครองและคนในชุมชนเพิ่มขี้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    1.เลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 80 ตัว ให้ไข่วันละประมาณ 50 ฟอง ในหนึ่งสัปดาห์สามารถนำไปประกอบอาหารกลางวันได้ และยังแปรรูปเป็นไข่เค็มสมุนไพร ไข่เค็มต้มยำ จำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันนักเรียนและชุมชน

    1.บัญชีการเก็บไข่ในแต่ละวัน 2.บัญชีรายรับ-รายจ่ายกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ 3.บัญชีรายรับ-รายจ่ายกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 4.รูปภาพกิจกรรม

    ให้นักเรียนไปดำเนินการเลี้ยงไก่ที่บ้านควบคู่ไปกับโรงเรียนเพื่อให้มีอาหารรับประทาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเลี้ยงปลาดุกโดยนักเรียนเป็นผู้ดูแลปลาดุกเอง

    1.ภาพถ่ายกิจกรรม

    เพิ่มปริมาณการเลี้ยงปลาดุกให้มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    โรงเรียนได้จัดทำเมนูอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนโดยพยายามให้มีผักเป็นส่วนประกอบทุกมื้อทำให้นักเรียนอนุบาลได้รับผักประมาณวันละ30 กรัมนอกจากให้ยังจัดให้มีผลไม้ทุกวันโดยภายในหนึ่งอาทิตย์จะจัดหาผลไม้ที่แตกต่างกันไปเพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารและสายใยอาหาร ได้ครบถ้วน

    1.ภาพถ่ายกิจกรรม

    การจัดเมนูอาหารให้กับนักเรียนพยายามเปลี่ยนชนิดของผักให้มีความหลากหลายเพื่อนักเรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    โรงเรียนได้จัดทำเมนูอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนโดยพยายามให้มีผักเป็นส่วนประกอบทุกมื้อทำให้นักเรียนอนุบาลได้รับผักประมาณวันละ60 กรัมนอกจากให้ยังจัดให้มีผลไม้ทุกวันโดยภายในหนึ่งอาทิตย์จะจัดหาผลไม้ที่แตกต่างกันไปเพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารและสายใยอาหาร ได้ครบถ้วน

    ภาพถ่ายกิจกรรม

    การจัดเมนูอาหารให้กับนักเรียนพยายามเปลี่ยนชนิดของผักให้มีความหลากหลายเพื่อนักเรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนทุกคนชอบการรับประทานผัก โดยสอดแทรกคุณค่าของผักขณะที่นักเรียนรับประทานอาหารส่วนผักที่นำประกอบอาหารส่วนใหญ่จะเป็นผักที่กนัเรียนปลูกเอง ทำให้นักเรียนมีความภูมิใจและรักที่จะกินผัก

    ภาพถ่าย

    ให้นักเรียนไปปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานที่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    โรงเรียนได้เชิญวิทยากรจากชมรมเกษตรกรมาให้ควานรู้การปลูกพืชผักสวนครัวโดยไม่ได้ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงเลยแต่ได้ทำน้ำหมักชีวภาพขึ้นโดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเพื่อกำจัดแมลงและบำรุงพืชชนิดต่างๆ และได้ให้นักเรียนลงมือปฎิบัติจริงทางโรงเรียนได้พยายามให้ความรู้กับนักเรียนถึงอันตรายที่เกิดขึ้นหากเราใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและแนะนำให้นักเรียนนำกลับไปใช้ที่บ้านเพื่อเป็นการลดหรือเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

    1.ภาพถ่ายกิจกรรม

    ปรับปรุงสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการกำจัดแมลงโดยใช้วัตถุดิบที่มีและหาได้ภายในโรงเรียนและชุมชนและเผยแพร่วิธีการให้กับภายในชุมชนเพื่อลดหรือเลิกใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    โรงเรียนมีการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อกำหนดรายการอาหาร และจัดทำรายการอาหารล่วงหน้า 1 เดือน โดยใช้โปรแกรม Thai school lunch ซึ่งอาหารในแต่ละวันจะมีสารอาหารครบ 5 หมู่ และจะมีผักและผลไม้ในสำรับอาหารมื้อนั้นๆด้วย

    1.รายการอาหาร 1 เดือน 2.สำรับอาหารในแต่ละมื้อ 3.ภาพกิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวัน

    ครูนำความรู้เรื่องการใช้โปรแกรม Thai school lunch ถ่ายทอดให้นักเรียน ชั้น ป. 6-ม.3 เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกจัดรายการอาหารที่มีคุณค่าด้วยตนเอง โรงเรียนนำเสนอความสำเร็จของการจัดรายการอาหาร โดยใช้โปรแกรม Thai school lunch สู่โรงเรียนในเครือข่าย เพื่อให้ทุกโรงเรียนในเครือข่ายใช้โปรแกรมจัดบริการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    แกนนำนักเรียนและครูอนามัย ทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนทุกคน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง และทำการแปลผลกับโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ กลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม เพื่อเฝ้าระวังเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

    1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนรายคน/รายชั้น/ภาพรวมของโรงเรียน 2.รายงานภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม 3.ภาพการจัดบริการอาหารกลางวันให้กับเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม

    โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม ให้น้อยลง โดยการจัดบริการอาหารและจัดตารางการออกกกำลังกายให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเพื่อให้ช่วยกันดูแลเอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/1
    เตี้ย 5.88 5.88% 1.71 1.71% 1.70 1.70% 1.16 1.16% 1.16 1.16% 1.27 1.27% 3.27 3.27% 2.60 2.60% 2.60 2.60% 0.78 0.78% 0.85 0.85% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.81 0.81%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 16.04 16.04% 8.00 8.00% 10.23 10.23% 3.47 3.47% 3.47 3.47% 5.10 5.10% 3.92 3.92% 3.90 3.90% 3.25 3.25% 3.91 3.91% 4.27 4.27% 3.13 3.13% 3.13 3.13% 0.81 0.81%
    ผอม 10.16 10.16% 4.57 4.57% 1.16 1.16% 0.57 0.57% 0.00 0.00% 3.18 3.18% 1.30 1.30% 0.65 0.65% 0.65 0.65% 5.71 5.71% 1.65 1.65% 0.78 0.78% 0.00 0.00% 10.48 10.48%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 15.51 15.51% 18.29 18.29% 8.09 8.09% 3.45 3.45% 0.58 0.58% 7.01 7.01% 3.25 3.25% 1.95 1.95% 1.95 1.95% 10.48 10.48% 7.44 7.44% 3.91 3.91% 0.78 0.78% 20.16 20.16%
    อ้วน 11.76 11.76% 4.00 4.00% 4.05 4.05% 4.02 4.02% 1.73 1.73% 8.28 8.28% 5.84 5.84% 5.84 5.84% 7.14 7.14% 15.24 15.24% 6.61 6.61% 6.25 6.25% 5.47 5.47% 12.10 12.10%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 13.90% 13.90% 9.14% 9.14% 10.40% 10.40% 5.17% 5.17% 2.31% 2.31% 15.29% 15.29% 16.23% 16.23% 12.34% 12.34% 11.04% 11.04% 29.52% 29.52% 17.36% 17.36% 14.84% 14.84% 14.84% 14.84% 27.42% 27.42%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่าในภาคเรียนที่1/59 มีนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 11.70 ในภาคเรียนท่ี 2/59 มีนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วนจำนวนร้อยละ 8.79ลดลง ร้อยละ 1.91

    1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน

    โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วนให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ในภาคเรียนที่1/59มีนักเรียนค่อยข้างผอมและผอม ร้อยละ 17.02 และในภาคเรียนที่ 2/59 มีนักเรียนค่อนข้างผอมและผอม จำนวนร้อยละ 5.49ลดลง ร้อยละ 11.53

    1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม

    โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอมให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ในภาคเรียนที่1/59 มีนักเรียนค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ17.02และในภาคเรียนที่ 2/59 มีนักเรียนค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ 9.89ลดลง ร้อยละ 7.13

    1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย

    โรงเรียนมีรายชื่อนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้ง 3 กลุ่ม และมีนโยบายที่จะลดจำนวนของเด็กกลุ่มดังกล่าวลง โดยการขอความร่วมมือกับนักเรียนและผู้ปกครองให้เอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมทางโรงเรียนได้จัดบริการเพิ่มนมให้เป็นวันละ 2 กล่อง และเพิ่มการออกกำลังประเภท โหนราว กระโดดเชือก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    1.ดำเนินการคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการออกเป็นกลุ่ม คือ กลุ่มเด็กอ้วน เตี้ย และผอม 2.แยกเด็กกลุ่มดังกล่าวเพื่อจัดบริการอาหารกลางวันเป็นพิเศษ 3.จัดกิจกรรมการออกกำลังกายเพิ่มจากเด็กปกติ ในชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 4.บันทึกผลการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นรายบุคคล และฝึกให้นักเรียนดูกราฟการเจริญเติบโตของตนเอง ทำให้นักเรียนเห็นพัฒนาการด้านน้ำหนักส่วนสูงของตนเอง

    1.รายชื่อนักเรียนกลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม 2.รายงานภาวะโภชนาการเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม 3.ภาพการจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ยและผอม 4.ตารางการออกกำลังกายในชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

    โรงเรียนมีรายชื่อนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้ง 3 กลุ่ม และมีนโยบายที่จะลดจำนวนของเด็กกลุ่มดังกล่าวลง โดยการขอความร่วมมือกับนักเรียนและผู้ปกครองให้เอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมทางโรงเรียนได้จัดบริการเพิ่มนมให้เป็นวันละ 2 กล่อง และเพิ่มการออกกำลังประเภท โหนราว กระโดดเชือก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    1.มีการจัดประชุมผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเรื่องภาวะโภชนาการของลูกหลานตนเอง ซึ่งจะช่วยปรับพฤติกรรมการกินของบุตรหลานตนเองมากขึ้น 2.รับฟังปัญหาของผู้ปกครองของนักเรียนโดยคัดแยกเป็นรายกรณี 3.ให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นรายๆไป

    1.รายชื่อนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมการอบรม 2.รายชื่อนักเรียนที่มีปัญหา 3.ภาพการจัดการอบรมผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 4.ภาพการเยี่ยมบ้านเด็กและผู้ปกครองรายบุคคล

    ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กดูแลเอาใจและพยายามปรับพฤติกรรมการการกิน และการออกกำลังกายของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวเป็นพิเศษ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    โรงเรียน ได้เข้าร่วมโครงศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสและได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.ทำให้โรงเรียนได้พัฒนาระบบงานต่างๆได้อย่างครบองค์ประกอบและตอบสนองต่อเด็กนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรมโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากวิทยากรในท้องถิ่น ในการมาเป็นวิทยากร ในการจัดทำฐานการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรักและหวงแหนฐานการเรียนรู้ ก็เข้ากับบริบทของโรงเรียนที่เน้นนำวัสดุในท้องถิ่นและธรรมชาติ มาออกแบบ ตกแต่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนวัดท่าชุมนุม จังหวัด อ่างทอง

    รหัสโครงการ ศรร.1212-119

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสารี่ คงอ่อน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด