ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

directions_run

โครงการสร้างเสริมศักยภาพศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสขยายผลสู่ชุมชน

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โครงการสร้างเสริมศักยภาพศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสขยายผลสู่ชุมชน
สังกัด สำนักงานบริหารโครงการเด็กไทยแก้มใส สถาบันสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
โรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2559 - 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 19,000,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 19,000,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 น.ส.นันทยา ดอนสวัสดิ์, น.ส.วิรัตน์ดา ดวงใจ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นายธนา เวชากุล, นายสุชิน คเณสุข, น.ส.วิลาวัณย์ สวั
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางขวัญเรือน บุญคุ้ม, น.ส.ปวีณา จูโล่ห์
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายสง่า ดามาพงษ์
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นายไพโรจน์ กระโจมทอง
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค ภาคเหนือ-วิรัตน์ดา, ภาคอีสาณ-ธนา และสุชิน, ภาคกลาง
หลักการและเหตุผล

โครงการเสริมสร้างศักยภาพศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสขยายผลสู่ชุมชน เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓ ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติเด็กไทยแก้มใส (Healthy Kids Healthy Food ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ)เพื่อส่งเสริมการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานครสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และภาคีเครือข่ายของ สสส. โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จตามรูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน ดังแสดงกรอบแนวคิดตามภาพที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย 8 องค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ1 ดังนี้ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดบริการอาหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพและ 8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรงไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ จำแนกโรงเรียนตามสังกัด ได้ดังนี้ (1) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 472 โรงเรียน (2) สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 8 โรงเรียน (3) สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงมหาดไทย จำนวน 46 โรงเรียน และ (4) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 18 โรงเรียน ทั้งนี้ จากการเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าได้มีการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานตามพระราชดำริ ไปปฏิบัติตามในการพัฒนาโรงเรียนได้ในระดับหนึ่งซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาเพื่อปรับรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมและสอดคล้องตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่มีการประเมินตนเองแล้วมีความพร้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในปีที่ 2 (พ.ศ. 2558-2559) สสส.จึงได้สนับสนุนโรงเรียนที่มีพื้นฐานจากปีที่ 1จำนวน 122 โรงเรียน ได้รับการพัฒนาศักยภาพต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่โรงเรียนที่เหลือ และโรงเรียนอื่นๆในพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตามสภาพความเป็นอยู่และข้อจำกัดต่างๆโดยสร้างความเป็นเจ้าของ (Ownership) ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีการกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ทุกสังกัด ครอบคลุมทั้งขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ พื้นที่ตั้งโรงเรียนทั้งในเมืองและนอกเมือง พื้นที่สูงและชายแดน

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558)มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ จำแนกโรงเรียนตามสังกัด ได้ดังนี้ (1) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 472 โรงเรียน (2) สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 8 โรงเรียน (3) สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงมหาดไทย จำนวน 46 โรงเรียน และ (4) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 18 โรงเรียน ทั้งนี้ จากการเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าได้มีการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานตามพระราชดำริ ไปปฏิบัติตามในการพัฒนาโรงเรียนได้ในระดับหนึ่งซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาเพื่อปรับรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมและสอดคล้องตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่มีการประเมินตนเองแล้วมีความพร้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในปีที่ 2 (พ.ศ. 2558-2559) สสส.จึงได้สนับสนุนโรงเรียนที่มีพื้นฐานจากปีที่ 1จำนวน 122 โรงเรียน ได้รับการพัฒนาศักยภาพต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่โรงเรียนที่เหลือ และโรงเรียนอื่นๆในพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตามสภาพความเป็นอยู่และข้อจำกัดต่างๆโดยสร้างความเป็นเจ้าของ (Ownership) ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีการกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ทุกสังกัด ครอบคลุมทั้งขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ พื้นที่ตั้งโรงเรียนทั้งในเมืองและนอกเมือง พื้นที่สูงและชายแดน ผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ในปีที่ 1 ระยะการดำเนินงานตั้งแต่ 8 สิงหาคม 2557 – 7 ตุลาคม 2558 (ขยายการดำเนินงานถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2559) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกสังกัดใน 4 ภาค 72 จังหวัด โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณีครอบคลุมทั้ง 8 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบซึ่งจัดเรียงอันดับที่โรงเรียนเลือกพัฒนามากที่สุด5 อันดับได้แก่ อันดับที่1 การเกษตรในโรงเรียน จำนวน 479 โรงเรียนอันดับที่ 2 การจัดการเรียนรู้: เกษตร โภชนาการและสุขภาพอนามัย จำนวน 267 โรงเรียน อันดับที่ 3 การจัดบริการอาหารของโรงเรียน จำนวน 251 โรงเรียน อันดับที่ 4 สหกรณ์นักเรียน จำนวน 232 โรงเรียนและอันดับที่ 5 การติดตามภาวะโภชนาการ จำนวน 209 โรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กนักเรียนกว่า 155,200 คนที่ร่วมโครงการมีความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ พัฒนาตนเองสู่การมีโภชนาการดี สุขภาพดี และผลการเรียนดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ผลการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน มีผลลัพธ์/ผลผลิต ดังนี้ 1) การเกษตรในโรงเรียน เป็นการฝึกทักษะการทำเกษตรแบบผสมผสานและเกษตรเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีโรงเรียนที่สามารถทำได้จำนวนหนึ่ง มีเป็นส่วนน้อยที่มีพื้นที่เกษตรเพียงพอสามารถนำผลผลิตจากพืชผัก ปศุสัตว์ และประมงในโรงเรียนไปประกอบอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และยังมีเหลือจำหน่ายแก่ผู้ปกครองและผู้สนใจ โดยการนำผลผลิตหมุนเวียนผ่านการซื้อขายในกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถพึ่งการเกษตรในโรงเรียนได้ทั้งหมด และบางโรงเรียนยังติดป้ญหาทัศนคติของผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ยินยอมให้บุตรหลานมาร่วมกิจกรรมทำเกษตรนอกเหนือจากการเรียนตามปกติ 2) สหกรณ์นักเรียนมีบางโรงเรียนที่เข้าใจและสามารถจัดทำเป็นสหกรณ์นักเรียนที่มีนักเรียนบริหารจัดการเอง มีการซื้อ-ขายผลผลิตจากกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน ไปยังกิจกรรมบริการอาหารกลางวัน โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ยังทำได้ค่อนข้างจำกัด ยังคงเป็นสหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์ออมทรัพย์ของโรงเรียน 3) การจัดบริการอาหารของโรงเรียนดำเนินการจัดบริการอาหารโดยเริ่มใช้โปรแกรม Thai School Lunch จัดอาหารและเน้นการสุขาภิบาลอาหารเป็นหลัก ทั้งนี้จัดให้มีแม่ครัวประกอบอาหารเป็นส่วนใหญ่ 4) การติดตามภาวะโภชนาการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเทอมละ 2 ครั้ง และจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและการเสริมสร้างภาวะโภชนาการสำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติ และเด็กที่มีภาวะโภชนาการเสี่ยง 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียนเน้นให้นักเรียนพัฒนาสุขนิสัยตามสุขบัญญัติแห่งชาติ และมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้โดยเชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้แก่นักเรียนพร้อมจัดแกนนำนักเรียนดูแลเรื่องสุขนิสัย 6) การจัดบริการสุขภาพการตรวจสุขภาพนักเรียน การจัดห้องพยาบาลโดยมีครูอนามัยรับผิดชอบดูแลเป็นหลัก รวมถึงการจัดอุปกรณ์ออกกำลังกาย 7) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ เน้นการจัดให้มีน้ำดื่มที่สะอาดการจัดการขยะ การจัดให้มีอ่างล้างมือ และ ห้องน้ำ ห้องส้วมที่ถูกสุขอนามัย 8) การจัดการเรียนรู้เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยเน้นการจัดการแผนการเรียนรู้ บูรณาการให้เข้ากับ 8 สาระการเรียนรู้การจัดการประเมินความรู้และทักษะนักเรียน การจัดทำสื่อนวัตกรรมชุดความรู้ การจัดทำฐานการเรียนรู้ของโรงเรียน ชุมชน และการจัดกิจกรรมฝึกทักษะให้เด็กมีอาชีพ

สำหรับในปีที่ 2 (พ.ศ.2558-2559) สสส.ได้สนับสนุนการจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อเน้นการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในโครงการเด็กไทยแก้มใสจาก 544 โรงเรียนคัดเลือกที่มีความพร้อมจำนวนประมาณ 100 แห่งให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสขึ้น (มติคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเด็กไทยแก้มใส จากการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเด็กไทยแก้มใส ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ) เพื่อตอบเป้าหมายทิศทาง 10 ปีของ สสส. คือเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ และลดอัตราชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กนักเรียน สนับสนุนเป้าหมายหลักเรื่องชุมชนเข้มแข็ง และเป้าหมายปี 2559 คือ เกิดต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และองค์กรที่มีการจัดปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารสุขภาวะที่ภาคียุทธศาสตร์สามารถนำไปขยายผลต่อได้ จำนวนรวมกัน 300 แห่ง ซึ่งแผนฯได้กำหนดแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใน 3 กลุ่มวัย(วัยเด็กวัยทำงาน วัยสูงอายุ) และ 4 Setting (โรงเรียน บ้าน องค์กร ชุมชน) ทั้งนี้ในกลุ่มวัยเด็ก (เน้นปฐมวัย-วัยเรียน) ให้เน้นการสร้างระบบห่วงโซ่ผักผลไม้ปลอดภัยเข้าโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การขยายโรงแด็กไทยแก้มใส (เกษตรในโรงเรียน + โภชนาการ) และการรณรงค์สร้างทัศนคติและสื่อการเรียนรู้เรื่องการกินผักผลไม้ จึงได้มีการคัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมรุ่นที่ 1 จำนวน 122 โรงเรียนครอบคลุม 4 ภาค 3 สังกัด ได้แก่ 1) สังกัดสพฐ. จำนวน 107 โรงเรียน2)สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 โรงเรียนและ 3) สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 12 โรงเรียน จำแนกตามพื้นที่ คือ: ภาคเหนือ 30 โรงเรียนภาคอีสาน 44 โรงเรียนภาคกลาง 23 โรงเรียนภาคใต้ 25 โรงเรียนและจำแนกโรงเรียนตามขนาด คือ: ขนาดเล็ก 24 โรงเรียนขนาดกลาง 62 โรงเรียนและขนาดใหญ่ 36 โรงเรียนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและมีการดำเนินงานพัฒนาจากบทเรียนโครงการพระราชดำริใน 8 ด้านอย่างโดดเด่น มีความตั้งใจที่จะพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส และพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ในพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการต่อยอดการดำเนินงาน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในโรงเรียนด้านการจัดการอาหารกลางวันให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโภชนาการ2 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่เหมาะสมตามวัย สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ (Learning Center) ในการจัดบริการอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนให้ได้ตามมาตรฐานโภชนาการ มีความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนและการแปลผลภาวะโภชนาการของนักเรียนที่สอดคล้องตามเกณฑ์โภชนาการสมวัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แก่โรงเรียนอื่นๆได้และการพัฒนาศักยภาพด้านระบบติดตามโครงการแบบออนไลน์3 เพื่อติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมดำเนินงานและการบริหารงบประมาณ รวมถึงเป็นช่องทางสื่อสารข้อมูลต่างๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน นักเรียนและชุมชน และเพื่อให้มีระบบข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการวิเคราะห์สรุปและรายงานผลตามตัวชี้วัดและเป้าหมายของโครงการ ให้ทุกหน่วยงานต้นสังกัด ทีมพี่เลี้ยง ทีมสนับสนุน และผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปติดตามความก้าวหน้าได้สะดวก รวดเร็ว ทาง www.dekthaikamsai.com ทั้งนี้สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ประมวลองค์ความรู้จากการเจริญตามรอยพระยุคลบาทเพื่อพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส จำนวน 30 โรงเรียน4 โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะศึกษา สืบค้นกระบวนการและกลวิธีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาอาหารและโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กในโรงเรียนแบบครบวงจร ตามพระราชดำริ 8 องค์ประกอบภายใต้กรอบแนวทางการเจริญรอยตามพระยุคลบาท พัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสเผยแพร่สู่สังคม5 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานด้านต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ 422 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปีที่ 1 แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ โดยจะสนับสนุนการพัฒนาModel เครื่องมือ/นวัตกรรม เช่น คู่มือ หลักสูตร สื่อการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ พัฒนาศักยภาพและทักษะแกนนำระดับภาค สนับสนุนสื่อ และวิชาการ ควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผลและการสร้าง ทีมวิทยากร/ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ประกอบด้วย ศูนย์อนามัยที่ 1 – 13 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. 183 แห่ง) ตัวแทนจากบางมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ประกอบด้วย ตัวแทนจาก สสจ. อปท. สำนักงานจังหวัด เกษตรจังหวัด พัฒนาชุมชน ที่ปรึกษาภาคประชาชน สมัชชาสุขภาพพื้นที่ สื่อมวลชนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทีมแกนนำระดับท้องถิ่น/ชุมชน และโรงเรียน ประกอบด้วยตัวแทนจาก อปท. อสม. แม่อาสา โรงเรียน สภาเกษตรกร แกนนำชุมชน ครอบครัว ฯลฯ ในการควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ให้พร้อมต่อการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในรุ่นต่อไป

ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใส เกิดความยั่งยืน เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบที่มีความสามารถสูง สื่อสารและขยายผลแก่โรงเรียนในเครือข่าย 422 โรงเรียน และ โรงเรียนอื่นๆในชุมชนใกล้เคียง จากการน้อมนำแนวทางการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร ตามโครงการในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการขยายผลไปทั่วประเทศได้อย่างยั่งยืน จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสขยายผลสู่ชุมชนขึ้นในปี2559 – 2560 โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 15 เดือน

กรอบแนวคิด

 

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 0
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 0
ผู้ปกครอง 0
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 00
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 0
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 0
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 0
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 0
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เชิงผลลัพธ์
(1) เกิดโรงเรียนที่พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการที่มีคุณภาพ “ระดับกลาง – ระดับดีเยี่ยม“ จำนวนไม่น้อยกว่า100 แห่ง
ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ขยายผลต่อได้จำนวนไม่น้อยกว่า 500 แห่ง

(2) เกิดศูนย์เรียนรู้ระดับยอดเยี่ยมจำนวนไม่น้อยว่า 20 โรงเรียน ที่สามารถดำเนินงานในโรงเรียนได้ในระดับที่ดีมากทั้ง 8 องค์ประกอบตามกรอบแนวทางการพัฒนาอาหารและสุขภาพในโรงเรียนรวมถึงมีการขยายผลสู่ชุมชนได้อย่างโดดเด่น

(3) เกิดนโยบายท้องถิ่น หรือนโยบายชุมชน หรือนโยบายจังหวัด ไม่น้อยกว่า 10 นโยบายจากการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานสู่โรงเรียน จากผลสำเร็จของโครงการเด็กไทยแก้มใส

เป้าหมายภาวะโภชนาการ

เป้าหมายโครงการ

1) เกิดโรงเรียนที่พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการที่มีคุณภาพ *ระดับกลาง – ระดับดีเยี่ยม จำนวนไม่น้อยกว่า 100 แห่ง ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ขยายผลต่อได้จำนวนไม่น้อยกว่า 500 แห่ง 2) เกิดศูนย์เรียนรู้ระดับยอดเยี่ยมจำนวนไม่น้อยว่า 20 โรงเรียน ที่สามารถดำเนินการงานในโรงเรียนได้ในระดับที่ดีมากทั้ง 8 องค์ประกอบตามกรอบแนวทางการพัฒนาอาหารและสุขภาพในโรงเรียนรวมถึงมีการขยายผลสู่ชุมชนได้อย่างโดดเด่น 3) เกิดนโยบายท้องถิ่น หรือนโยบายชุมชน หรือนโยบายจังหวัด ไม่น้อยกว่า 10 นโยบายจากการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานสู่โรงเรียนจากผลสำเร็จของโครงการเด็กไทยแก้มใส

*นิยามศัพท์ ระดับคุณภาพศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสฯแบ่ง 4 ระดับ D.ระดับพื้นฐาน (Beginner Level) คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินจากคณะกรรมการฯ ร้อยละ 50–59 C.ระดับกลาง (Intermediate Level) คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินจากคณะกรรมการฯ ร้อยละ 60 69 B.ระดับดีเยี่ยม (Advance Level)คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินจากคณะกรรมการฯ ร้อยละ 70–79 A.ระดับยอดเยี่ยม (Excellent Level) คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินจากคณะกรรมการฯ ร้อยละ 80–100 **เครื่องมือสำหรับติดตามประเมินผลและเกณฑ์การจัดระดับคุณภาพ จากความสำเร็จของศูนย์เรียนรู้ มาจากคณะทำงานด้านวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์สูงในโครงการตามพระราชดำริฯ ผู้มีประสบการณ์จากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สถาบันโภชนาการ สมาคมโภชนาการฯ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และภาคีที่เกี่ยวข้อง

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

ปีการศึกษา 2560 1) ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบในระดับ ดีมาก-ยอดเยี่ยมจะสามารถเป็นวิทยากรด้านการจัดบริการอาหารและโภชนาการแบบครบวงจร จาก 50 โรงเรียน ต่อไปยังโรงเรียนเครือข่ายในชุมชน ได้อีกประมาณ 200 โรงเรียน 2) ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ทุกระดับได้รับการพัฒนาศักยภาพต่อเนื่อง และจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์โครงการตามพระดำริฯ ไปยังโรงเรียนเครือข่าย ประมาณ500 แห่ง เพื่อให้เกิดการขยายผลตามรูปแบบโรงเรียนเครือข่ายในระบบการศึกษาที่มีอยู่ แล้ว

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไปจะเกิดความร่วมมือเชิงนโยบายในการขยายผลออกไปทั่วประเทศ อย่างมีระบบ โดยเริ่มคัดเลือกจากโรงเรียนประถมศึกษาที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินและขาด รวมกันตั้งแต่ร้อยละ 30 ของนักเรียนทั้งโรงเรียน โดยเสนอให้มีการจัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการเด็กไทยแก้มใส ภายใต้การสนับสนุนจาก สสส.และสพฐ.ให้เป็นที่ยอมรับและทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับสำนักงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน สพฐ. และ สำนักงานการประถมศึกษาระดับเขต กระทรวงศึกษาธิการ / กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น / สำนักงานกรุงเทพมหานคร และ หน่วยงานด้านสาธารณสุข และ ด้านการเกษตร ในการพัฒนาระบบงานการติดตามและประเมินผลโรงเรียน ในระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

พื้นที่ตั้งโรงเรียน ที่ตั้งสำนักงาน : เลขที่ 126/146 อาคาร 10 ชั้นวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี (ห้อง 40405) ทางเข้ากระทรวงสาธารณสุข ซ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ละติจูด-ลองจิจูด place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2559 31 มี.ค. 2560 2,571,261.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 2,571,261.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (2,571,261.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (19,000,000.00 บาท)

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมพลังและพัฒนาศักยภาพ ยกระดับศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในระดับดีมากและดีเยี่ยม (HKHF Smart Learning Center)

เกิดโรงเรียนที่พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการที่มีคุณภาพ *ระดับดีมาก – ระดับดีเยี่ยมจำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ และนำไปขยายผลต่อได้จำนวนไม่น้อยกว่า 200 แห่ง

2 2. เพื่อขับเคลื่อนขยายผลไปสู่โรงเรียนในเครือข่ายเด็กไทยแก้มใสให้สามารถดำเนินงานที่มีความเข้มแข็งขึ้น และ ขยายผลสู่ชุมชนและโรงเรียนอื่นๆในพื้นที่

เกิดศูนย์เรียนรู้ระดับยอดเยี่ยม The Smart Learning Center จำนวนไม่น้อยว่า 20 โรงเรียน ที่สามารถดำเนินงานในโรงเรียนได้ในระดับที่ดีมากทั้ง 8 องค์ประกอบตามกรอบแนวทางการพัฒนาอาหารและสุขภาพในโรงเรียน รวมถึงมีการขยายผลสู่ชุมชนได้อย่างโดดเด่น

3 3. เพื่อสื่อสารสร้างกระแสให้เป็นที่รับรู้และเกิดความตระหนักของผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ปกครอง และ ชุมชน ในการกำหนดนโยบายด้านการบริโภคอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน

เกิดนโยบายท้องถิ่น หรือนโยบายชุมชน หรือนโยบายจังหวัด ไม่น้อยกว่า 10 นโยบายจากการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานสู่โรงเรียนจากผลสำเร็จของโครงการเด็กไทยแก้มใส

4 4. เพื่อพัฒนาการจัดอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐานโภชนาการและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ รวมทั้งการกระตุ้นติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างยั่งยืน

มีครูโภชนาการที่มีความรู้และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจากการนำโปรแกรม Thai School Lunch ไปปฏิบัติจริง สามารถทำหน้าที่เป็นวิทยากรในท้องถิ่นได้ อย่างน้อย 80 โรงเรียน และ เกิดการกระตุ้นติดตามผลการดำเนินงานโดยใช้ระบบเครือข่ายของการศึกษา อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60พ.ค. 60มิ.ย. 60ก.ค. 60ส.ค. 60ก.ย. 60ต.ค. 60พ.ย. 60
รวม 0.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย JKN JKN เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2560 15:20 น.