แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง)

ชุมชน 115/1 หมู่ 6 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

รหัสโครงการ ศรร.1213-035 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ก.4

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมปลูกผักปลอดสารต้านทานโรค

วันที่ 18 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผักต่างๆ  ผลไม้ รวมทั้งเห็ดนางฟ้า  เห็ดภูฐาน ปลา  ไข่ไก่

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. นักเรียนนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน นักเรียนมีผลไม้รับประทาน มีปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ใส่แปลงเกษตร
  2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานเกษตร สามารถปรับตัวและให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. โรงเรียนมีแหล่งอาหารปลอดสารพิษสำหรับนักเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมมีการจัดอบรมการผสมดินหมักดิน โดยวิทยากรที่มีความรู้ และยังมีการปลูกผักปลอดสารต้านทานโรคจัดขึ้นเพื่อนำผลผลิตที่ดีมีประโยชน์ปลอดภัยจากสารเคมี นำมาส่งให้กับโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนอีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมีประโยชน์ที่เด็กนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยจัดให้มี การปลูกผักต่างๆและยังมีโรงเรือนเพาะเห็ดที่ให้เด็กได้ดูแลรดน้ำและเก็บเกี่ยวผลผลิต เด็กได้เรียนรู้นอกห้องเรียนเกิดความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆรู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าการทำงานเป็นกลุ่มมีความรับผิดชอบได้ออกกำลังกาย เด็กบางคนอยู่ที่บ้านของตนไม่เคยปลูกผักถางหญ้าเมื่อโรงเรียนจัดกิจกรรมนี้ขึ้นนักเรียนได้ปฏิบัติงานด้วยตัวเองทำให้ได้รู้ศักยภาพของตนเองด้วยมี

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สำรวจความต้องการของนักเรียนชอบรับประทานผักอะไรบ้าง
  2. ซื้อเมล็ดพันธ์ุผักและวัสดุสำหรับปลูกที่ใช้ปลูกและจัดซื้อก้อนเห็ด ซึ่งมีโรงเรือนอยู่แล้วตั้งแต่โครงการปีที่ 1
  3. นักเรียนร่วมกันปลูกผักและดูแลรดน้ำพรวนดิน กำจัดวัชพืชถอนหญ้าไปเลี้ยงไก่ไข่ที่ได็เลี้ยงไว้
  4. เมื่อผักเจริญเติบโตจนเก็บเกี่ยวได้แล้วก็นำไปจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันโดยผ่านสหกรณ์นักเรียนและจำหน่ายให้กับผู้ครู ปกครอง
  5. โรงเรียนได้จัดให้มีการปลูกผักไร้ดินขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและผู้ปกครองอีกทั้งโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายในกลุ่มโรงเรียนเดียวกัน

 

131 179

2. กิจกรรมเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ ครั้งที่ 1

วันที่ 22 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผักต่างๆ  ผลไม้ รวมทั้งเห็ดนางฟ้า  เห็ดภูฐาน ปลา  ไข่ไก่

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ปลาที่ได้นำมาเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
  2. นักเรียนเกิดความรู้และทักษะในการเลี้ยงปลา
  3. ร่วมทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมวางแผนกำหนดการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์และจัดหาซื้อพันธุ์ปลาคือปลาดุก
  2. จัดตั้งกลุ่มผู้สนใจในการเลี้ยงปลาโดยศึกษาข้อมูลจากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลา
  3. เมื่อปล่อยพันธุ์ปลาแล้วเลี้ยงไปแล้วเลี้ยงไปประมาณ5เดือนก็เริ่มจับมาจำหน่ายให้กับสหกรณ์เพื่อไปใช้ในกิจกรรมอาหารกิจกรรม
  4. สรุปความรู้และทักษะที่ได้จากการเลี้ยงปลามีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

กิจกรรมที่ทำจริง

เลี้ยงปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุกปลานิลเป็นต้นตามบริบทของโรงเรียนเนื่องจากมีพื้นที่น้อยต้องเลี้ยงในบ่อซีเมนต์เก่า(เดิมเป็นแทงค์น้ำปูนตัดครึ่ง)และเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนซึ่งบูรณาการกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน

 

47 45

3. การอบรมการทำน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์จากน้ำหมักมะกรูด

วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองและดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาดด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 2.นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัยแลนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา  ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของนักเรียน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. นักเรียนเกิดทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีการปฏิบัติลงมือจริงและสามารถนำผลงานที่ได้มาใช้และจำหน่ายได้
  2. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนและนำความรู้ไปบอกผู้ปกครองร่วมกันทำเป็นอาชีพเสริมได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นักเรียนชั้นป.4-6เข้ารับการอบรมการทำน้ำยาอเนกประสงค์จากน้ำหมักมะกรูด  เพื่อโรงเรียนได้นำไปให้นักเรียนทำความสะอาดห้องน้ำได้อย่างปลอดภัยโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียน  และนักเรียนสามารถนำไปต่อยอดในการประกอบเป็อาชีพหลักและอาชีพเสริมได้

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เชิญวิทยากร กำนดวันอบรม และขออนุมัติจากผู้บริหาร
  2. เริ่มอบรมนักเรียนชั้นป.4-ป.6 ในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
  3. นักเรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีวิทยากรและคุณครูลงไปช่วยคำแนะนำ
  4. นำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายโดยสหกรณ์นักเรียน

 

189 177

4. กิจกรรมจัดอบรมการทำสบู่สมุนไพรเสริมสุขภาพ

วันที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองและดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาดด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 2.นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัยแลนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา  ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของนักเรียน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลิตที่ได้มีดังนี้คือ

  1. ได้ความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองไม่เคยทำมาก่อนในชีวิตเพิ่งเคยทำและนำไปใช้ได้จริง
  2. เกิดแรงปันดาลใจต้องการจะนำความรู้ไปบอกครอบคร้วให้ทำเป็นอาชีพเสริมและทำเพื่อใช้เอง
  3. กิจกรรมของโรงเรียนบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมการทำสบู่สมุนไพรนี้เพื่อตอมสนองความต้องการของนักเรียนนี้เนื่องจากในชุมชน  มีศูนย์เรียนเศรษฐกิจพอเพียงมีการปลูกพืชสมุนไพร ปลูกฟักข้าว เลี้ยงแพะฯลฯ ซึ่งสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่ได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ขออนุมัติผุ้รับผิดชอบโครงการและติดต่อประสานงานวิทยากรร่วมประชุมวางแผนงานกิจกรรม
  2. จัดกิจกรรมดำเนินกิจกรรมตามขี้นตอนที่วิทยากรวางไว้โดยวิทยากรให้ความรู้นักเรียนอย่างใกล้ชิด
  3. วิทยากรสรุปขั้นตอนและเคล็ดลับต่างๆให้นักเรียนฟัง
  4. นำผลงานที่ได้ออกจำหน่ายโดยให้เจ้าหน้าที่สหกรณืไปจำหน่าย

 

99 97

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 19 5                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 120,000.00 31,327.00                  
คุณภาพกิจกรรม 20 19                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. กิจกรรมจัดอบรมแม่ครัว แม่ค้าและผู้สนใจในเรื่องอาหารและโภชนาการ ( 16 พ.ย. 2559 )
  2. ปลูกผักต้านทานโรค ครั้งที่ 2 ( 21 พ.ย. 2559 - 3 ก.พ. 2560 )
  3. กิจกรรมลดอ้วน ลดโรค ( 24 พ.ย. 2559 )
  4. ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่1 และขอเบิกเงินงวดที่ 2 ( 25 พ.ย. 2559 )
  5. จัดกิจกรรมโครงการขยะจ๋าบูรณาการเกษตร ( 1 ธ.ค. 2559 )
  6. กิจกรรมขยับกายทุกวัน สร้างสรรค์สุขภาพ ( 2 ธ.ค. 2559 )
  7. กิจกรรมห้องเรียน 3 ดี ( 22 ธ.ค. 2559 )
  8. ฐานการเรียนรู้สหกรณ์นักเรียน ( 27 ธ.ค. 2559 )
  9. กิจกรรมบูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพ ( 24 ม.ค. 2560 - 28 ก.พ. 2560 )
  10. เลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อปูนซีเมนส์ครั้งที่ 2 ( 1 ก.พ. 2560 - 28 ก.พ. 2560 )
  11. อบรมครูเรื่องการติดตามภาวะโภชนาการและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียน ( 10 ก.พ. 2560 )
  12. ประกวดวัยใส ใส่ใจสุขภาพฟันและเพลงล้างมือ ( 14 ก.พ. 2560 )
  13. เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์อารมณ์ดีไข่แดง ( 23 ก.พ. 2560 - 20 ก.พ. 2560 )

(................................)
นายเอกนิษฐ์ ปริสุทธิกุล
ผู้รับผิดชอบโครงการ