โรงเรียนบ้านยางงาม

การจัดทำปุ๋ยหมัก20 กุมภาพันธ์ 2560
20
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เศษอาหารเป็นขยะหรือของเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการ ที่คนส่วนใหญ่ละเลยถึงคุณค่าไม่มีใครเหลียวแล และอยากที่จะทิ้งไปให้ไกลๆตัวโดยเร็ว เพราะเพียงแค่ทิ้งไว้ข้ามคืนมันก็จะส่งกลิ่นเหม็นรัญจวนใจได้ที่ทีเดียว การทิ้งเศษอาหารลงในถังขยะรวมกับขยะประเภทอื่นๆที่พอจะนำกลับไปรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว หรือโลหะ จะเป็นการเร่งให้ภาวะโลกร้อนเป็นไปอย่างรุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะแทนที่เราจะนำขยะดังกล่าวกลับมารีไซเคิลได้ง่ายๆ กลับต้องใช้แรงงาน เวลา พลังงาน และทรัพยากร ในการจัดการมากขึ้น และเจ้าขยะเศษอาหารก็บูดเน่าเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งเร่งให้จุลินทรีย์กลุ่มเป็นโทษทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เกิดกลิ่นเหม็น แมลงวัน แมลงหวี่และหนูมากขึ้น เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย เราน่าจะช่วยกันนำเศษอาหารมาทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันกัน ซึ่งมีวิธีการทำและใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ดังนี้


ส่วนผสม1. ขยะเศษอาหาร หรือเปลือกผัก-ผลไม้ทุกชนิด3กก. 2. กากน้ำตาล1กก. 3. น้ำสะอาด10ลิตร 4. หัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ ประมาณ 1/2แก้วน้ำ

วิธีทำ
นำขยะเศษอาหารใส่ในถังพลาสติก (ถ้าชิ้นใหญ่ ควรสับให้เล็กลง) ใส่กากน้ำตาลคลุกเคล้าให้ทั่ว
เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาถังให้สนิท ยังไม่ต้องใส่น้ำ หมักไว้ 7 วัน จึงเปิดฝา เติมน้ำ 10 ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วหมักต่อไปนาน 15-30 วัน จึงนำน้ำหมักมาใช้ได้
ประโยชน์
-ใช้ราดลงในโถส้วม สัปดาห์ละ 1-2 แก้ว จะช่วยดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ ห้องส้วม ทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว -ใช้เทลงท่อระบายน้ำทิ้งเป็นประจำ จะช่วยขจัดคราบไขมันที่อุดตันท่อน้ำได้ดี -ใช้เทลงในท่อระบายน้ำเป็นประจำ จะช่วยลดกลื่นเหม็นจากน้ำเน่า -ใช้ลดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ โดยผสมน้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 10 c.c.ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ฉีดพ่น ไปบนกองขยะเป็นประจำ
-ใช้ผสมน้ำรดต้นไม้ การใช้น้ำหมักฯกับต้นไม้ จะต้องหมักไว้นานอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้กากน้ำตาลสลายตัวจนสิ้นสุดกระบวนการไม่เช่นนั้นแล้วต้นพืชอาจได้รับพิษจากกากน้ำตาลที่ยังไม่สลายตัว การใช้น้ำหมักชีวภาพรดน้ำต้นไม้ ทำโดยผสมน้ำหมักชีวภาพ 1 c.c.ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร รดให้พืชหรือดินเป็นประจำ จะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตแข็งแรง มีภูมิต้านทานสูง ใช้ทุกวันได้ แต่ห้ามใช้ในอัตราส่วนที่เข้มข้นกว่าที่แนะนำ เพราะน้ำหมักชีวภาพมีฮอร์โมนพืชบางตัว ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่เข้มข้นเกินไป พืชจะแคระแกรนหรือตายได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนในโรงเรียน นักเรียนเครือข่าย ครู ผู้ปกครอง ทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 83 คน จากที่ตั้งไว้ 56 คน
ประกอบด้วย