รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านวังปริง จ.พัทลุง
สังกัด สพป.เขต 2 อ ำเภอกงหรำ
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 80,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 80,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญธรรม พัชรเลขกุล
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นายฐานุพงศ์ สุชนก
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสุพร เทพหนู
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางพรพิมล ยอดตระกูลชัย
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นางอารมณ์ไหมหมาด
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นายวิโรจน์ ไชยสุนทรกิตติ
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาววิลาวัณย์ สวัสดีนฤนาท
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านวังปริง จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

กรอบแนวคิด
  1. การเกษตรในโรงเรียน

- เพิ่มการเลี้ยงปลากินพืช4บ่อ - เกษตรสู่ชุมชน/ให้ทุกครัวเรือนของนักเรียนปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ ตลอดปี ติดตามประเมินผล - เปิดตลาดนัดนักเรียน นำผลผลิตด้านการเกษตรมาจำหน่าย - ขยายการผลิตเห็ดนางฟ้า สนับสนุนอาหารกลางวัน ขายให้สหกรณ์ ร่วมด้วยแปรอาหารจากเห็ด เลี้ยงผึ้ง 4จุดจำนวน10 รัง - ปลูกผักตลอดปีการศึกษา ขยายแปลงผัก - การให้ความรู้ด้านการเกษตรแก่นักเรียน/ชุมชน โดยเฉพาะเลี้ยงปลาดุก/ปลากินพืช/เลี้ยงผึ้ง - ของบประมาณจากกองทุนเพื่ออาหารกลางวัน มาเลี้ยงไก่ไข่ - ปรับปรุงสุขาภิบาลเพิ่มเติม - การเลี้ยงปลาดุกนำผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหาร คาดชนะเลิศระดับภูมิภาคอีกปี ครองแชมป์ตลอดกาล 2. การสหกรณ์นักเรียน 2.1 สหกรณ์ผู้บริโภค (ร้านค้า) - ดำเนินการต่อ ให้นักเรียน/ครู/ชุมชน เข้าเป็นสมาชิกและบริการให้มากขึ้น - กรรมการต้องเข้มแข็ง 2.2 สหกรณ์ออมทรัพย์ ดำเนินการต่อไปอย่างยั่งยืน 3. การจัดบริการอาหารของโรงเรียน - จัดอาหารเช้าอย่างมีคุณภาพ/ราคาเบา/นักเรียนร้อยละ80-90มาใช้บริการ - ดำเนินการทุกอย่างให้กิจกรรมนี้ยั่งยืน - ดำเนินการอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ/ตามรายการอาหาร - อาหารเสริม(นม) ดำเนินการตลอดปีการศึกษา - บริการอาหารว่างช่วงบ่าย (ตามความเหมาะสม) 4. การติดตามภาวะโภชนการ - ตรวจสอบน้ำหนัก ส่วนสูง เด็กอ้วน,เด็กผอม ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ลดจำนวนให้เหลือน้อยลง - ดำเนินการต่อเนื่องตลอดปี - ให้ความรู้ผู้ปกครองรายบุคคลในการดูแลสุขภาพนักเรียน ดังกล่าว 5. การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน - เพิ่มเติมความรู้ - ครูกวดขันนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกวัน - การประเมินสุขนิสัยอย่างเป็นประจำ - ประกวดสุขภาพนักเรียนในโอกาสวันเด็ก - ตลาดนัดสุขภาพ เช่น การกีฬา การออกกำลังกาย และเป็นศูนย์กลางการออกกำลังกายชุมชน 6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม - บริเวณโรงเรียนสะอาดสวยงาม ปลอดภัยอยู่เสมอ - น้ำดื่ม น้ำใช้ ผ่านการตรวจสอบ สะอาดปลอดภัย มีแร่ธาตุที่จำเป็น - โรงอาหารปรับใหม่ให้ถูกสุขลักษณะมากยิ่งขึ้นผ่านการรับรองด้านการบริหารจัดการสุขาภิบาลอาหาร - แหล่งเรียนรู้หลากหลาย - การกำจัดขยะมูลฝอย/จัดกิจกรรมธนาคารขยะ - น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นโรงเรียนที่ผ่านการประเมิน ปี 2559 - ประสานความร่วมมือกับชุมชนพัฒนาสิ่งแวดล้อมของทุกครัวเรือนของผู้ปกครองนักเรียน ทั้งภายในบ้าน/นอกบ้าน - ร่วมกับชุมชนดำเนินการ “ปลูกดอกไม้ให้พ่อแม่ชมปีที่2 ”
- ปรับปรุงบริเวณถนน/หน้าบ้านให้สะอาดสวยงาม - ห้องส้วมถูกสุขลักษณะมากขึ้น/มีสบู่บริการผ่านการรับรองมาตรฐาน 7. การจัดบริการสุขภาพ - ตรวจสุขภาพประจำวันของครูประจำชั้น - แปรงฟันหลังอาหารเที่ยงทุกวัน - ตรวจสุขภาพตามระบบของรพ.สต./บริการต่อเนื่อง - การบริหารห้องพยาบาลเบื้องต้น - เด็กปราศจาก เหา/หิด/กลาก/เกลื้อน


  1. การจัดการเรียนรู้: เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย

- โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” มีหลักสูตรบูรณาการดังกล่าว ตลอดภาคเรียนที่2 /2558 และต่อเนื่องต่อไป ปี59 - ดำเนินกิจกรรมให้เป็นที่ยอมรับและศึกษาดูงานของโรงเรียนต่างๆต่อไป - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET NT ติดอันดับของเขต1ใน 10 - เป็นตัวแทนของ 117โรงเรียนใน สพป.พท. เขต 2ในการเข้าร่วมจัดนิทรรศการงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ ครั้งที่66 ในปี59 - ผลการทดสอบความรู้ ด้านเกษตร,โภชนาการ และสุขภาพอนามัยสูงขึ้น 9. การรายงานผล/สรุปผล ให้ชุมชนรับทราบ/ศูนย์อนามัยที่ 12/ผู้บริหารโครงการทราบ

ดังนั้น โรงเรียน.............บ้านวังปริง....จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 100
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 15
ผู้ปกครอง 100
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 215215
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 20
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 10
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 10
อื่น ๆ 50
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 90
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
  2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดาเนินงาน
  4. ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียน
  5. ขยายผลเครือข่ายโรงเรียนในอำเภอมาร่วมโครงการจำนวน10โรงดังนี้
    • โรงเรียนบ้านควนประกอบ
    • โรงเรียนบ้านต้นประดู่
    • โรงเรียนวัดควนขี้แรด
    • โรงเรียนบ้านคู
    • โรงเรียนบ้านป่าแก่
    • โรงเรียนบ้านพูดกรป.กลาง
    • โรงเรียนบ้านนาทุ่งโพธิ์
    • โรงเรียนบ้านหน้าวัง
    • โรงเรียนวัดเขาวงก์
    • โรงเรียนวัดพังกิ่ง
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

1 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ของโรงเรียน ปี2559 1.ภาวะโภชนาการนักเรียน
1.1 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน (นักเรียนที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน: มากกว่าหรือเท่ากับ+2 S.D. ขึ้นไป) 1.90 1.2 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะผอม
(นักเรียนที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน: น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2 S.D. ) 4.50 1.3 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเตี้ย (นักเรียนที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน: น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2 S.D. )

2.45 1.4 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะส่วนสูงระดับดีและสมส่วน 92.00 2. สมรรถภาพทางกาย
- ร้อยละของเด้กนักเรียนที่มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัยใน 3 ด้าน คือ การไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัว 75.00 3.สุขภาพด้านอื่นๆของนักเรียน
3.1 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่เป็นโรคฟันผุ 8.00 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ของโรงเรียน ปี2559 3.2มีเหตุการณ์การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ไม่มี 3.3ร้อยละของเด็กนักเรียนที่ไม่เป็นเหา 100.00 3.4ร้อยละของเด็กนักเรียนที่ตรวจพบความผิดปกติของสายตาและการได้ยินได้รับการดูแลส่งต่อรักษา ไม่มี 4.การบริโภคอาหาร
- ร้อยละของเด็กนักเรียนที่บริโภคอาหารได้ถูกต้อง 75 5.สุขนิสัยที่พึงประสงค์
- ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ 75 6.ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรแบบผสมผสานในโรงเรียน
6.1 ปริมาณผัก 110 6.2 ปริมาณผลไม้ 100 6.3 สัตว์ปีก - 6.4 สัตว์น้ำ 400 6.5 เห็ด 150 7.ความรู้ด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพ
- ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีความรู้ด้านเกษตร โสหกรณ์ภชนาการ และสุขภาพระดับดีขึ้นไป 75 8.ความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการสุขภาพในโรงเรียน 82 9.ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อโครงการสุขภาพในโรงเรียน 75 10.ความพึงพอใจของหน่วยงานที่สนับสนุน 72


2. ตัวชี้วัดกระบวนการ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ของโรงเรียน ปี2559 1.การเกษตรในโรงเรียน
ระดับ 1 มีการผลิตทางเกษตร และหรือปศุสัตว์/ประมง โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนและชุมชน ระดับ 2 มีการจัดทำแผนการผลิตทางการเกษตรปศุสัตว์/ประมงที่ ระดับ 3 มีการนำผลผลิตไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียนในปริมาณไม่น้อยกว่ารอยละ 30 ของผลผลิตต่อปี ระดับ4มีการนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ให้กับกิจกรรมอาหารกลางวันและหรือขายให้กับชุมชน 3 2.สหกรณ์นักเรียน
ระดับ 1 มีกิจกรรมสหกรณ์นัเรียนในรูปแบบร้านค้าและหรือออมทรัพย์/ส่งเสริมการผลิตทางการเกษตร ระดับ 2 มีนักเรียนเป็นสมาชิกสหกรณ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ระดับ 3 มีแกนนำนักเรียนดำเนิการกิจกรรมสหกรณ์และการจัดทำบัญชีการค้าขาย ในทุกกิจกรรม ระดับ4 มีการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 3 3.การจัดบริการอาหารในโรงเรียน
ระดับ 1 มีการจัดทำรายการอาหารหมุนเวียนอย่างน้อย 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ (โดยใช้โปรแกรม Thai School lunch) ที่สอดคล้องกับผลผลิตทางการเกษตร/ปศุสัตว์/ประมงของโรงเรียนและหรือชุมชน ระดับ 2 มีการปรุง ประกอบอาหารถูกหลักในโภชนาการ การสุขาภิบาล และอาหารปลอดภัย ระดับ 3 มีการตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนของโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย ระดับ 4 อาหารกลางวันของนักเรียนมีปริมาณพลังงานและสารอาหารครบถ้วนหรืออย่างน้อยร้อยละ 70 ของความต้องการฯ 3 4.การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายของนักเรียนและสุขภาพ
ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ของโรงเรียน ปี2559 ระดับ 1 มีฐานข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง สมรรถภาพทางกาย และภาวะสุขภาพของนักเรียนทุกคน
ระดับ 2 มีการแปลผลภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพที่ถูกต้องตามเกณฑ์ชี้วัดและมีการนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหา โดยครอบครัวมีส่วนร่วม ระดับ 3 เด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามทุกเดือน ระดับ4 เด็กสามารถประเมินภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกาย และสุขภาพได้ด้วยตนเอง
5.การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของนักเรียน
ระดับ 1 มีการจัดทำแผนกิจกรรมการพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริม สุขภาพนักเรียนที่ครอบคลุมสุขนิสัยในด้านต่างๆ 4 ระดับ 2 นักเรียนมีการปฏิบัติตามแผนกิจกรรมที่วางไว้ครอบคลุมทุกกิจกรรม ระดับ 3 โรงเรียนมีการติดตามและประเมินผลสุขนิสัยนักเรียน ระดับ 4 นักเรียนแกนนำสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยและติดตามประเมินผลด้วยตนเอง
6.การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ระดับ 1 มีกิจกรรมการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เช่นทำความสะอาดห้องเรียน ห้องส้วม ระดับ 2 มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม(น้ำดื่มสะอาด การจัดการขยะ ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ระดับ 3 มีความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และเครือข่ายท้องถิ่นในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ระดับ 4 มีการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและเพียงพอกับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน - น้ำดื่มที่สะอาด - ที่ล้างมือ - ห้องส้วม - การจัดการขยะ แมลง สัตว์นำโรค - ความสะอาด ปลอดภัย 4 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ของโรงเรียน ปี2559 7.การจัดบริการสุขภาพนักเรียน
ระดับ 1 มีห้องปฐมพยาบาลที่ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐาน และมีครูอนามัยหรือครูพยาบาลรับผิดชอบดูแลตลอดเวลา ระดับ 2 มีนักเรียนแกนนำร่วมรับผิดชอบในการให้บริการสุขภาพ ระดับ 3 มีนักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นตามมารตฐานบริการสุขภาพ ระดับ 4 นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือที่มีปัญหาสุขภาพทุคคนได้รับความช่วยเหลือแก้ไขเบื้องต้นอย่างเหมาะสม โดยมีการส่งต่อตามระบบการส่งต่อช่วยเหลือนักเรียน 4 8.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพ 4 ระดับ 1 มีแผนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการด้านเกษตร อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ ทั้งใน และนอกห้องเรียนในทุกช่วงชั้น ระดับ 2 มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านเกษตร อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ อย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อปี ระดับ 3 มีการประเมินความรู้และทักาะด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพปีละ 2 ครั้ง ระดับ 4 มีสื่อ นวัตกรรม ชุดความรู้ และฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชนด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพที่เกิดจากผลงานของครู นักเรียน ครอบครัว และชุมชน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

โรงเรียนบ้านวังปริงมีความมุ่งมั่น

  1. การดำเนินการเกษตรในโรงเรียน โรงเรียนดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรหลากหลาย เพื่อนำผลผลิตบริการอาหารกลางวันและจัดตลาดนัดนักเรียนร่วมกับชุมชน และทุกครัวเรือนมีการปลูกผักตนเอง
  2. กิจกรรมสหกรณ์ มีบริการออมทรัพย์นักเรียนทุกคน จำหน่ายผลผลิตนักเรียน และเครื่องอุปโภคบริโภค โดยนักเรียนทุกคนเป็นสมาชิก จะขยายเป็นสหกรณ์นักเรียน/ชุมชน
  3. บริการอาหารกลางวัน บริการอาหารเช้า อาหารกลางวัน อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนอาหารเสริม(นม) อาหารว่าง ปรับปรุงสุขาภิบาลโรงอาหาร ความปลอดภัย
  4. การเฝ้าระวัง/ติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ลดความเตี้ย-อ้วน โดยความร่วมมือกับ รพ.สต.ประจำหมู่บ้าน
  5. การพัฒนาสุขนิสัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัย นักเรียน มีการตรวจสุขภาพประจำวัน การส่งเสริมการออกกำลังกาย ตลอดปีการประเมินสุขพฤติดรรมสุขนิสัยบัญญัติแห่งชาติ
  6. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้สวยงาม สะอาด ปลอดภัยและสนับสนุนให้นักเรียน/ผู้ปกครอง ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านเรือนตนเองด้วย โรงเรียนยังมีมาตรการด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน/มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภค และส้วมมาตรฐานผ่านการรับรอง
  7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียนนักเรียนได้ตรวจสุขภาพทุกคนอย่างน้อย เทอมละ1ครั้งดูแลช่วยเหลือนักเรียนเจ็บไข้เบื้องต้น และแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพอนามัย (ห้องพยาบาล)
  8. การจัดการเรียนเกษตร/สหกรณ์/อาหาร/โภชนาการและสุขภาพ โดยมีการจัดการเรียนรู้บูรณาการกับโครงการเด็กไทยแก้มใส มีการทดสอบภาคความรู้ในด้านต่างๆ ก่อน-หลัง โครงการเพื่อประเมินความรู้และมีนวัตกรรมใหม่ๆ

    กิจกรรมดังกล่าว นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ผ่านนโยบาย “ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ” ที่สนับสนุนให้เกิดกับเด็ก 4HคือHEADHEARTHANDHEALTHและเกิดคุณลักษณะ4ประการตามแนวพระราชดำริ คือพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา พลศึกษา โดยครูผู้กำกับและชุมชน หน่วยงานภาคีเครือข่าย ร่วมสนับสนุนจนเกิดผลลัพธ์อย่างยั่งยืนและเป็นต้นแบบการดูแลสุขภาพนักเรียน เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระชนมายุครบ6รอบ 2 เมษายน 2558

พื้นที่ตั้งโรงเรียน โรงเรียนบ้านวังปริง ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.47331718855,99.9805490956place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 15 ต.ค. 2559 32,000.00
2 1 ต.ค. 2559 6 เม.ย. 2560 15 ต.ค. 2559 4 เม.ย. 2560 44,000.00
3 7 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 4,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  • เกิดกระบวนการ ประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน

1 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ของโรงเรียน ปี2559 1.ภาวะโภชนาการนักเรียน
1.1 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน (นักเรียนที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน: มากกว่าหรือเท่ากับ+2 S.D. ขึ้นไป) 1.90 1.2 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะผอม
(นักเรียนที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน: น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2 S.D. ) 4.50 1.3 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเตี้ย (นักเรียนที่มีน้ำหนักต่อส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน: น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2 S.D. )

2.45 1.4 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะส่วนสูงระดับดีและสมส่วน 92.00 2. สมรรถภาพทางกาย
- ร้อยละของเด้กนักเรียนที่มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัยใน 3 ด้าน คือ การไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัว 75.00 3.สุขภาพด้านอื่นๆของนักเรียน
3.1 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่เป็นโรคฟันผุ 8.00 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ของโรงเรียน ปี2559 3.2มีเหตุการณ์การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ไม่มี 3.3ร้อยละของเด็กนักเรียนที่ไม่เป็นเหา 100.00 3.4ร้อยละของเด็กนักเรียนที่ตรวจพบความผิดปกติของสายตาและการได้ยินได้รับการดูแลส่งต่อรักษา ไม่มี 4.การบริโภคอาหาร
- ร้อยละของเด็กนักเรียนที่บริโภคอาหารได้ถูกต้อง 75 5.สุขนิสัยที่พึงประสงค์
- ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ 75 6.ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรแบบผสมผสานในโรงเรียน
6.1 ปริมาณผัก 110 6.2 ปริมาณผลไม้ 100 6.3 สัตว์ปีก - 6.4 สัตว์น้ำ 400 6.5 เห็ด 150 7.ความรู้ด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพ
- ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีความรู้ด้านเกษตร โสหกรณ์ภชนาการ และสุขภาพระดับดีขึ้นไป 75 8.ความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการสุขภาพในโรงเรียน 82 9.ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อโครงการสุขภาพในโรงเรียน 75 10.ความพึงพอใจของหน่วยงานที่สนับสนุน 72

2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชุมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดาเนินงานความสาเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร

เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชุมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดาเนินงานความสาเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร

3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพิ่มขึ้น และเพื่อขยายผลเครือข่ายโรงเรียนในอำเภอ

ขยายผลไปสู่โรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วม 10 โรง มาร่วมโครงการจำนวน10โรงดังนี้ 1. โรงเรียนบ้านควนประกอบ 2. โรงเรียนบ้านต้นประดู่ 3. โรงเรียนวัดควนขี้แรด 4. โรงเรียนบ้านคู 5. โรงเรียนบ้านป่าแก่ 6. โรงเรียนบ้านพูดกรป.กลาง 7. โรงเรียนบ้านนาทุ่งโพธิ์ 8. โรงเรียนบ้านหน้าวัง 9. โรงเรียนวัดเขาวงก์ 10. โรงเรียนวัดพังกิ่ง

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
12 - 14 พ.ค. 59 อบรมโปรแกรม Thai School Lunch การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ 0 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 31 มี.ค. 60 ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 0 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 จัดนิทรรศการ 255 1,000.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 30 เม.ย. 60 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 255 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 31 มี.ค. 60 เฝ้าระวังโภชนาการและสมรรถภาพร่างกายนักเรียน 255 2,000.00 0.00 more_vert
7 ก.ค. 59 ทำน้ำหมักชีวภาพ 0 1,000.00 0.00 more_vert
25 ก.ค. 59 ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร 0 3,000.00 0.00 more_vert
27 ก.ค. 59 ป้ายแหล่งเรียนรู้ 10 จุด / ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 0 4,000.00 2,700.00 more_vert
1 ส.ค. 59 ให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์และการทำบัญชีครัวเรือนแก่นักเรียน / ออมทรัพย์ /จำหน่ายสินค้า 235 6,000.00 1,565.00 more_vert
1 ส.ค. 59 ปลูกผักสวนครัว 0 2,000.00 1,710.00 more_vert
2 ส.ค. 59 เพาะเห็ด 0 2,000.00 2,400.00 more_vert
3 ส.ค. 59 ให้ความรู้นักเรียนด้านสุขภาพ (ฝึกมวยไทย เต้นแอร์โรบิก) 255 7,700.00 5,700.00 more_vert
31 ส.ค. 59 เลี้ยงผึ้งโพรง 0 3,000.00 3,000.00 more_vert
11 ต.ค. 59 ประชุมสัญจรทำรายงานออนไลน์งวดที่ 1 0 0.00 800.00 more_vert
4 พ.ย. 59 อบรมผู้เฝ้าระวัง/บริหารโครงการ แม่ครัว/ผู้ปกครอง/แกนนำนักเรียนได้รับการอบรมความรู้ มีความเข้าใจ การใช้เมนูอาหารนำไปปฏิบัติได้จริง 0 16,000.00 0.00 more_vert
11 พ.ย. 59 เตรียมบ่อ เลี้ยงปลากินพืช และเลี้ยงปลาดุก 0 7,000.00 6,980.00 more_vert
11 พ.ย. 59 ปรับปรุงโรงอาหาร 0 6,000.00 23,090.00 more_vert
22 พ.ย. 59 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ห้องส้วม 0 4,000.00 20,050.00 more_vert
16 ธ.ค. 59 แบบประเมินสุขภาพรายบุคคล 52 10,300.00 0.00 more_vert
17 ก.พ. 60 ทดสอบสมรรถนะนักเรียน 0 0.00 0.00 more_vert
20 ก.พ. 60 การแปรงฟันหลังอาหารเที่ยง 0 0.00 3,535.00 more_vert
20 ก.พ. 60 ทำปุ๋ยหมัก / ปุ๋ยชีวภาพ 0 1,000.00 3,660.00 more_vert
20 - 21 ก.พ. 60 เกษตรที่บ้านนักเรียน 0 1,500.00 1,015.00 more_vert
21 ก.พ. 60 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์และการทำบัญชีครัวเรือนแก่นักเรียน / ออมทรัพย์ 2 0 0.00 500.00 more_vert
21 ก.พ. 60 อบรมให้ความรู้นักเรียนด้านสุขภาพ (ฝึกมวยไทย เต้นแอร์โรบิก) ครั้งที่ 2 0 0.00 1,000.00 more_vert
1 มี.ค. 60 เพาะชำต้นไม้ 0 1,500.00 1,495.00 more_vert
17 มี.ค. 60 การประเมินภาคความรู้ด้านต่างๆ 255 0.00 0.00 more_vert
4 เม.ย. 60 คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ 0 0.00 17.29 more_vert
4 เม.ย. 60 ตรวจรายงานงวด และสรุปผลโครงการ 0 1,000.00 800.00 more_vert
รวม 1,562 80,000.00 29 80,017.29

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2559 17:02 น.