แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านบางครั่ง จ.พังงา

ชุมชน 125 หมู่ที่ 3 ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

รหัสโครงการ ศรร.1412-098 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.15

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมการปลูกผัก และการเลี้ยงสัตว์

วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-นักเรียนแกนนำในโรงเรียนเครือข่ายตำบลบางวัน ระดับ ป.4-ป.6โรงเรียนละ5คน ครูผู้ควบคุม 1 คน รวม 6โรงเรียน พร้อมนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านบางครั่ง เข้าร่วมอบรมการทำเกษตรพื้นบ้านและการเลี้ยงสัตว์น้ำ สัตว์ปีก -นักเรียน ระดับ ป.1- ป.6 จำนวน 109 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม เป็นเรื่องที่นักเรียนจะต้องรู้และเข้าใจกระบวนการในการเลี้ยง เช่านการคัดเลือกพันธุ์ปลาที่จะเลี้ยง จำนวนปลาที่จะเลี้ยงตามขนาดของบ่อ การให้อาหารปลาระยะปลาขนาดเล็ก ขนากลาง ขนาใหญ่ การดูแลรักษา เช่น การเปลี่ยนน้ำถ่ายน้ำเมื่อน้ำข้น การนำประโยชน์ของน้ำในบ่อปลาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อพืชผัก  การปลูกพืชผักรอบบ่อเลี้ยงปลา การคิดราคาต้นทุนในการเลี้ยงปลา การจัดหาตลาดในการจำหน่ายปลา การจัดทำเมนูอาหารจากปลาที่เลี้ยง และประโยชน์จากอาหารเมนูปลา 2.ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ปีก คือเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงเป็ด เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา วิธีการเลี้ยงที่ถูกต้อง ใช้บริบทสถานที่ที่มีในบริเวณ ในการจัดเลี้ยง เน้นการเลี้ยงเพื่อบริโภค เหลือบริโภคจึงจำหน่าย การคิดต้นทุนในการบริหารจัดการเมื่อจะดำเนินการในเชิงธุระกิจ การศึกษาวิธีการให้อาหาร การดูแลรักษา ให้ไก้ผลิตไข่อย่างต่อเนื่อง การจัดทำเมนูไข่ เพื่ออาหารในการบริโภค
    3.การให้ความเกี่ยวกับการปลูกพืช บนดิน การเลือกชนิดของพืชที่นำมาปลูก เพื่อให้มีกิน มีจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง การดูแลรักษา ให้พืชมีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง  ประโยชน์ของการบริโภคพืชที่ปลูกเอง กินเอง ไร้สารพิษตกค้าง โทษของของการบริโภคพืชผักสวนครัวที่มีสารตกค้าง การจัดทำเมนูอาหารจากพืชผักที่ปลูกเอง
  2. ประโยชน์ของการผลิตปุ๋ยหมักเอง  การนำปุ๋ยหมักไปใช้ในการบำรุงดูแลรักษาพืชชนิดต่างๆ การนำปุ๋ยหมักไปใช้ในการปลูกพืชชนิดต่าง     จากการดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนคณะครูบุคลากร ผู้ปกครอง หน่วยงานองค์กรต่างๆ บุคคลดังกล่าวได้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน ดำเนินการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยใช้เอง ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ทำให้ครอบครัวมีความสุขกับการบริโภคอาหารที่ปราศจากสารพิษตกค้าง และเป็นการประหยัด ลดรายจ่ายภายในครอบครัวได้มากขึ้น นักเรียนในโรงเรียนมีเงินออมมากขึ้น นักเรียนได้ทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดี มีความรับผิดชอบ มุ่งตั้งใจในการทำงาน เห็นคุณค่าในการดำเนินการจากการที่ได้ความรู้มาปฏิบัติ จนประสบความสำเร็จ เกิดความภาคภูมิใจในการดำเนินงานที่ตนเองปฏิบัติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงส้ตว์นำ้ (ปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม)ในบ่อพลาสติก
  2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักในดิน และไร้ดิน (การปลูกผักไฮโดโปนิค)
  3. สาธิการทำปุ๋ยหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม
  2. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา (ปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม)ในบ่อ
  3. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ปีก ( การเลี่ยงไก้ไข่ เลี้ยงเป็ด) ในลานโล่ง
  4. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวการกับปลูกผักบนดิน และการปลูกผักไร้ดิน (การปลูกผักโฮโรโปนิก)
  5. วิทยากรสาธิตการทำปุ๋ยหมักโดยการการใช้อินทรีย์จากพืชและสัตว์

 

144 130

2. จัดทำเกษตรสวนผสม

วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-นักเรียนแกนนำในโรงเรียนเครือข่ายตำบลบางวัน ระดับ ป.4-ป.6โรงเรียนละ5คน ครูผู้ควบคุม 1 คน รวม 6โรงเรียน พร้อมนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านบางครั่ง เข้าร่วมอบรมการทำเกษตรพื้นบ้านและการเลี้ยงสัตว์น้ำ สัตว์ปีก -นักเรียน ระดับ ป.1- ป.6 จำนวน 109 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้จากการอบรม  รู้จักการใช้วัสดอุปกร์ในการใช้อุปกรณ์เกษตร เพื่อปฏิบัติในการปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา พร้อมนำวัสดุอุปกรณ์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน จัดเก็บ รักษาให้ใช้งานได้อย่างยั่งยืน บูรณาการด้านการรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย ตามภาระกิจกที่แต่กลุ่มได้ดำเนินการ ดังนี้ ระดับชั้นอนุบาล รับผิดชอบ การเพาะถั่วงอก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รับผิดชอบเพาะเห็ดนางฟ้า ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 รับผิดชอบการเลี้ยงปลาน้ำจืด ในบ่อพลาสติก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รับผิดชอบการปลูกผักไฮโรโปนิก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รับผิดชอบเลี้ยงไก่ไข่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รับผิดชอบ ปลูกผักรอบบ้าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รับผิดชอบดูแลรักษาพืชเศรษฐกิจของชุมชนที่ปลูกรอบบริเวณโรงเรียน   จากการประเมินการดำเนินงานเกษตรสวนผสมในโรงเรียนตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการ ปรากฏว่า นักเรียน ครู บุคลากร ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในการดำเนินการอยู่ในระดับ ดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมคณะครู นักเรียน ชี้แจ้งรายละเอียดการดำเนินการเกษตรสวนผสมในโรงเรียน 2. ออกมาตรการดำเนินการการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ วางแผนการดำเนินงานเกษตรสวนผสม 3.ติดตามการดำเนินงานของนักเรียนค ครู ผู้ปกครอง 4. ประเมินผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมมอบหมายฐานกิจกรรมให้นักเรียน ครูประจำชั้น รับผิดชอบกิจกรรมฐาน
  2. จัดการเรียนการสอนวิธีการปฏิบัติการเกษตรในโรงเรียน โดยครูประจำวิชา
  3. ดำเนินการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
  4. ดูแล บำรุงรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิต ในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
  5. จำหน่ายผลผลิตกับสหกรณ์โรงเรียน
  6. อาหารกลางซื้อผลผลิตจากสหกรณ์โรงเรียน ปรุงอาหารให้นักเรียนรับประทาน

 

182 120

3. กิจกรรม ศึกษาดูงานด้านการจัดตั้งสหกรณ์นักเรียน

วันที่ 16 กันยายน 2559 เวลา 07:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-ตัวแทนนักเรียนในโรงเรียนเครื่อข่ายโรงเรียนละ 5 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนละ 5 คน และครูควบคุมนักเรียนโรงเรียนละ 1 คน  จำนวน 6 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 66 คน -นางบุญศิริ ชูพงศ์  ผู้อำนวยการสถานศึกษา  นางสาวสุนันทา  ศรีทอง  นางสาวศุภิสรา  พุทธพิทักษ์  ผู้ดูแลโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการศึกษาดูงานของคณะครู นักเรียน ทำให้ มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการสหกรณ์ได้ดีขึ้น นักเรียน ครูได้รับประสบการณ์ตรงจากการศึกษาดูงาน พร้อมกับนำมาปฏิบัติ ปรับปรุงพัฒนางานด้านสหกรณ์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ระบบการบริหารจัดการสหกรณ์ในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่โรงเรียนอื่น และชุมชน ซึ่งทำให้การดำเนินงานของสหกรณ์เป็นที่พึงพอใจของสมาชิก ผู้ปกครอง ชุมชน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ศึกษาดูงานด้านการจัดตั้งสหกรณ์นักเรียนนักเรียนคณะครู จำนวน 12 คน เดินทางโดยรถตู้ จากโรงเรียนบ้านบางครั่ง ไปศึกษาดูงาน การจัดกระบวนการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียน ในด้านการนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ของนักเรียนในการแสดงชิ้นงานที่นักเรียนดำเนินการตามแผนการเรียนรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการบริหารจัดการในรูปแบบสกรณ์ร้านค้า เพื่อนำมาพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์ของโรงเรียบ้านบางครั่ง ให้เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์ สามารถพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนได้

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุม วิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการสหกรณ์ในโรงเรียน 2.วางแผนการศึกษาดูงาน สถานที่ที่จะไป การเดินทาง จำนวนผู้กิจกรรม 3. ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนบ้านกะไหลอำเภอตะกั่วทั่ง จังหวัดพังงา

 

35 12

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 10 3                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,000.00 41,675.00                  
คุณภาพกิจกรรม 12 12                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมติดตามการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 1 ( 13 ต.ค. 2559 )
  2. ส่งเสริมสุขภาพนักเรียน (เด็กโรงเรียนบ้านบางครั่งใส่ใจสุขภาพ) ( 2 พ.ย. 2559 - 10 ต.ค. 2560 )
  3. อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร แม่ครัวโรงเรียนในโรงเรียนเครือข่าย ( 22 พ.ย. 2559 )
  4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบสหกรณ์นักเรียน ( 29 พ.ย. 2559 )
  5. คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ ( 26 มี.ค. 2560 )
  6. ประชุมติดตามการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 2 ( 3 เม.ย. 2560 - 4 เม.ย. 2560 )
  7. ถอนเงินเปิดบัญชี ( 4 เม.ย. 2560 )

(................................)
นางบุญศิริ ชูพงศ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ