ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา

รหัสโครงการ ศรร.1411-111 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.18 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

กิจกรรมผลผลิตทางการเกษตรเพื่อโครงการอาหารกลางวัน -กิจกรรมทางการเกษตร - จักรยานสูบน้ำประหยัดพลังงาน -ปุ๋ย EM น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยแห้ง การทำปุ๋ยหมัก
ฯลฯ

การปลูกผักให้มีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายเพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนจึงนำวิธีการแนวใหม่มาใช้ในการปลูกพืชผักนั่นคือการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ คือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่เป็นอาหาร เนื่องจากเป็นการประหยัดพื้นที่และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดินทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร - หลักฐานการทำกิจกรรม ได้แก่ รูปถ่าย รายงานโครงการ และแปลงเกษตรในโรงเรียน

-การแบ่งพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ของโรงเรียนมุ่งประโยชน์ทั้งเป็นไม้ผลเป็นร่มเงาและเป็นที่จัดกิจกรรมของนักเรียนมีระเบียบสวยงามเหมาะสมกับท้องถิ่นและฤดูกาลมีการวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการผลผลิตในการสนับสนุนกิจกรรมอาหารกลางวันของโรงเรียนและการบริหารผลผลิตให้มีคุณภาพพร้อมทั้งการจัดทำบันทึกการดำเนินกิจกรรมบัญชีรับ - จ่ายให้เป็นปัจจุบัน -ประเมินผลตามระยะที่กำหนดในแผนกิจกรรมเพื่อพัฒนางานแก้ปัญหาได้ทันเหตุการณ์ -จัดบูรณาการกิจกรรมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน -รายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามปฏิทินการปฏิบัติงาน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน
  • กิจกรรมร้านค้า
  • กิจกรรมออมทรัพย์
  • กิจกรรมส่งเสริมการผลิต

จัดทำเอกสารต่างๆสำหรับการดำเนินงานสหกรณ์ จัดซื้ออุปกรณ์ชุดผลิตน้ำยาล้างจานเพื่อไว้ใช้และจำหน่ายตลอดทั้งปี จัดทำวัสดุบรรจุผลิตภัณฑ์ มีผลผลิตจากการเกษตรจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและชุมชน

จัดทำวัสดุบรรจุผลิตภัณฑ์ มีผลผลิตจากการเกษตรจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

กิจกรรมอาหารปลอดภัย

๑.ปลูกผักกินเอง ๒.สหกรณ์โรงเรียนจำหน่ายอาหาร ที่เป็นประโยชน์ให้แก่นักเรียน ๓.โรงเรียนจัดเมนูเพื่อสุขภาพ ๔.เจ้าหน้าที่อนามัยมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารตาม ๕. การใช้โปรแกรม Thai SchoolLunce ๖.การบูรณาการเรื่องอาหารและโภชนาการเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

๑.นักเรียนสามารถทำอาหารเพื่อสุขภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ ๒.การประชาสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการเรียนรู้เรื่องอาหารและโภชนาการตามช่องทางต่างๆ

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการและทดสอบสมรรถภาพนักเรียน

๑.จัดทำกิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ และติดตามการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงทุก ๒ เดือน เพื่อประเมินความก้าวหน้า
๒.การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ตามเกณฑ์ของกรมพลศึกษา หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย ปีละ ๑ ครั้ง

๑) การแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ โรงเรียนได้ดำเนินการให้อาหารเสริม (นม) อาหารเช้า เพิ่มเติมในเวลาเช้าและได้รับอาหารเสริม (นม) ก่อนกลับบ้าน ให้นักเรียนได้รับประทานทุกวันและทุกคน อีกทั้งการส่งเสริมรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมหรือขนมกรุบกรอบ ๒.การเฝ้าระวังทางโภชนาการ และติดตามการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงโดยการใช้โปรแกรมINMU - Thaigrowth ของสำนักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

กิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน

จัดหาทำป้ายนิเทศ/ป้ายความรู้ต่างๆ -ป้ายเกี่ยวกับอาหารหลัก๕ หมู่ -ป้ายมารยาทในการรับประทานอาหารและป้ายโภชนาการสมวัย -ฝึกสุขนิสัยมารยาทในการรับประทานอาหารของนักเรียน

-มีป้ายนิเทศและป้ายความรู้ที่พัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน -พัฒนาความรู้และทักษะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน-ส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาสุขนิสัยด้านต่างๆตามหลักสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ และการพัฒนาสุขนิสัยพึงประสงค์

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน - การจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ - การพัฒนาลักษณะนิสัยให้ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดยั่งยืน -การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียน

การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ปลอดภัย และ มีสุขลักษณะที่ดี ตามหลักสุขาภิบาลเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียน ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการกิจกรรมโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ปลอดภัย และ มีสุขลักษณะที่ดี ตามหลักสุขาภิบาล

๑.การพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน ๒.มีที่รับขยะถูกหลักสุขาภิบาล ๓. การสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และให้เป็นแหล่งเรียนรู้

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

กิจกรรมการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน - การปฐมพยาบาล - การจัดห้องพยาบาล - การตรวจพยาธิ - การตรวจสุขภาพอื่น

-จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ ยา ไว้บริการแก่ผู้รับบริการ -ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่อนามัยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จัดบริการสาธารณสุขด้านต่างๆ -การช่วยเหลือแก้ไขอาการเจ็บป่วยในเบื้องต้นอย่างเหมาะสม และส่งต่อในรายที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน -การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลและการดูแลสุขภาพ -จัดซื้ออุปกรณ์ชุดผลิตน้ำยาล้างจานเพื่อไว้ใช้และจำหน่ายตลอดทั้งปี

-มีห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์ยาไว้บริการแก่ผู้มารับบริการอย่างเพียงพอ ได้มาตรฐาน -การดูแลและแก้ไขด้านสาธารสุขต่างๆจากเจ้าหน้าที่อนามัยที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพ ๑.การจัดกิจกรรมอบรมการทำ ไข่เค็มยุวเกษตรหมอดิน การทำน้ำหมักชีวภาพ ๒. การศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราขดำริ ๓.การอบรมนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพและอย.น้อย

โรงเรียนจัดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพ

๑.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยด้านความรู้และการปฏิบัติของนักเรียน ๒.ลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อการศึกษาเล่าเรียนและส่งเสริมให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

กิจกรรมการมีส่วนร่วมและเครือข่าย

การจัดตั้งชมรมสุขภาพหรือมีนักเรียนแกนนำในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพในโรงเรียน เช่น ชุมนุมกีฬาชุมนุมแอโรบิค ชุมนุมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเป็นต้น เพื่อเป็นการรณรงค์ให้นักเรียนรักการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง -การจัดกิจกรรมด้านสุขอนามัยในโรงเรียน นักเรียนแกนนำด้านสาธารณสุข มีส่วนร่วมในการจัดดำเนินกิจกรรมพัฒนา สุขภาพในโรงเรียน -การดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

-พัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพที่เกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน เครือข่ายด้านสุขภาพระหว่างโรงเรียนกับกลุ่มโรงเรียน/ชุมชน/ท้องถิ่น/หน่วยงานภายนอก -แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การจัดตั้งเครือข่ายโรงเรียนด้านสุขภาพและเครือข่ายโครงการเด็กไทยแก้มใส

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

1.จัดตั้งชมรมหรือมีนักเรียนแกนนำในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน 2.นักเรียนเป็นสมาชิกชมรมหรือเครือข่ายกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ 3.มีโครงการ/กิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน 4.มีเครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับกลุ่มโรงเรียน/ชุมชน/ท้องถิ่น หน่วยงานภายนอก 5.มีการจัดตั้งเครือข่ายโรงเรียน 6.มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น บุคคล องค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ แหล่งความรู้ ฯลฯ ในการดำเนินงาน 7.มีการระดมทรัพยากรหรืองบประมาณจากภายนอกเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน

  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระหว่างทำกิจกรรม ได้แก่ เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ รพ.สต. สสจ. และ สสอ.

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

โรงเรียนมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมอย่างสมำ่เสมอ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ร่มรื่นน่าอยู่และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเอื้อต่อการพัฒนา โรงเรียนมีสภาพภูมิทัศน์และบรรยากาศภายนอกภายในบริเวณโรงเรียนมีการจัดบรรยากาศอาคารเรียนทั้งภายนอกและภายในห้องเรียน มีห้องพิเศษต่าง ๆตลอดจนการจัดบรรยากาศห้องสุขาหรือห้องน้ำ ห้องส้วมและโรงครัว/โรงอาหาร สามารถให้บริการในด้านอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ว่า โรงเรียนสะอาดบรรยากาศน่าอยู่

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนบ้านบาโงย ยึดหลักการบริหารแบบการมีส่วนร่วมลงมือกระทำ ดังเช่นปณิธานของผู้อำนวยการที่ว่า “ต้องน้อมนำ ทำให้ดูชูให้เห็นเป็นให้ได้”มีคุณธรรมจริยธรรม คือ ความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีส่วนร่วมต่องานในหน้าที่ของตน เน้นการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแบบผลสัมฤทธิ์ โดยอาศัยหลักยุทธศาสตร์พระราชทาน ที่ว่า เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา อีกทั้งมีนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ BANGOI MODELซึ่งประกอบด้วย การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (B = Based on SBM) การปฏิบัติและการปรับปรุงแก้ไขงาน ปฏิบัติงานโดยใช้แนวปฏิบัติตามวงจรของเดมมิ่ง PDCA (A : Action) การทำงานให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ปฏิบัติงานโดยใช้หลัก ๕ ส. คือ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย (N : Nowaday) การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ คือ นิติธรรม คุณธรรมความโปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบและความคุ้มค่า (G : Good Governance)การตอบสนองต่อความต้องการโดยใช้หลักการตลาดมาปรับใช้ คือ การควบคุมคุณภาพการสื่อสารการมีส่วนร่วมและการประสานความร่วมมือ (O : Ondemand) และสร้างความเป็นอัตลักษณ์และมีเอกลักษณ์ของโรงเรียน (I : Identity)

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

เริ่มต้นจากสร้างความตระหนัก สร้างแรงบันดาลใจให้ครู ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมกันคิดวิเคราะห์เพื่อรวมปัญหาและพิชิตวิกฤตที่เกิดขึ้น คือ การพัฒนานักเรียนให้ความรู้ควบคู่คุณธรรม ให้มีใจรัก มีจิตอาสา มีส่วนร่วมคิดร่วมทำด้วยใจ ทุกคนร่วมมือร่วมใจช่วยกันระดมสมอง กลั่นกรองความคิด ช่วยกันสกัดมาเป็นองค์ความรู้ขยายผลสู่นักเรียนและชุมชน ในการดำเนินงานของโรงเรียนทุกครั้ง จะต้อง คำนึงถึงความพร้อมและความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องทุกคน ให้มีทักษะที่ดี แก้ปัญหาได้อย่างมีสติเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง โดยการปฏิบัติและการปรับปรุงแก้ไขงาน การทำงานให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ปฏิบัติงานโดยใช้หลัก ๕ ส. คือ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีอุปนิสัยพอเพียง เป็นคนดีมีคุณธรรม รวมทั้งทักษะชีวิตพร้อมที่จะก้าวออกไปสู่สังคมต่อไป ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพของครู นักเรียน และแม่ครัวให้มีความพร้อมที่จะใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน คุณภาพของโรงเรียนและขยายผลสู่ชุมชนต่อไป

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

การใช้นวัตกรรมเทคนิคTEAM กำลังสอง คือ การทำงานร่วมกันระหว่างทีมโรงเรียนกับทีมของชุมชน ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน มีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งการปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรในโรงเรียน มาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อกระจายหน้าที่ ความรับผิดชอบของการปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยการการปรับทัศนคติ มุมมอง แนวคิดในแง่บวก สร้างความคุ้นเคย และความประทับให้กับผู้อื่น จะส่งผลให้เราทำงานอย่างมีความสุขและพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ วางแผนการทำงาน หรือตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ให้ความช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานแก่เพื่อนร่วมงาน อาศัยความร่วมมือกัน ความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดองกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความประนีประนอมต่อกัน ทำให้สามารถลดความตึงเครียด หรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกันได้มีการสื่อสารที่ดีซึ่งก็เป็นผลดีในการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น และถือเป็นพฤติกรรมที่สำคัญสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่น หากการสื่อสารมีประสิทธิภาพก็สามารถลดปัญหา หรือข้อขัดแย้งในการทำงานลงได้ ในการดำเนินงานนำไปสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดโครงการ/กิจกรรม ตามแผนงาน มีการรายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจหรือสิ้นปีการศึกษา มีการนำผลการประเมิน ข้อเสนอแนะไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

ผักกวางตุ้ง ผักคะน้าผักบุ้งอย่างละ 2 แปลงผักสลัด 2 แปลง และผลไม้ ได้แก่ มะละกอ10 ต้นส้มโอ1 ต้น

แบบบันทึกการเก็บเกี่ยวผลผลิตของผัก

เพิ่มผลผลิตให้เพิ่มขี้นและหลากหลายโดยใช้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

ไก่เนื้อ 25 ตัว

แบบบันทึกผลผลิตทางการเกษตร(ไก่เนื้อ) แบบบันทุึกผลผลิตทางการเกษตร(ไข่)

เพิ่มผลผลิตให้เพิ่มขี้นและหลากหลายโดยใช้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

ปลาดุก 800 ตัวปลาทับทิม 300 ตัว ปลาหมอ 100 ตัว

แบบบันทึกผลผลิตทางการเกษตร(ปลา)

เพิ่มผลผลิตให้เพิ่มขี้นและหลากหลายโดยใช้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

ทำอาหารเช้าให้กับนักเรียนทุกคน104 คน ทุกวัน

ภาพถ่าย และบัญชีงบประมาณ

จัดให้มีอาหารเช้าสำหรับนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อลดภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

มีการจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL

เมนูหมุนเวียน 15 วัน ตามโปรแกรม TSL

โรงเรียนสามารถจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL ได้ 100%

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

มีการจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL

เมนูหมุนเวียน 15 วัน ตามโปรแกรม TSL

โรงเรียนสามารถจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL ได้ 100%

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

โรงเรียนได้แบ่งเมล็ดพันธุ๋ผักชนิดต่างๆ ให้นำไปปลูกที่บ้าน โดยโรงเรียนรับซื้อจากนักเรียน

บันทึกการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ผัก รูปถ่าย

ชุมชนมีผักปลอดสารพิษรับประทานเองในครัวเรือน และสามรถป้อนเข้าสู่สหกรณ์โรงเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

การทำน้ำยาล้างจานและปุ๋ยน้ำชีวภาพ

ภาพถ่าย และผลิตภัณฑ์

ใช้ในโรงเรียนและสามารถขยายต่อสู่ชุมชน

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

80 %ใช้วัตถุดิบเหมือนใน โปรแกรม TSL และ20 % ใช้วัตถุดิบที่ใกล้เคียง

เมนู อาหารกลางวันของโรงเรียน

โรงเรียนสามารถจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL ได้ 100%

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

โรงเรียนได้ติดตามภาวะโภชนการของนักเรียนโดยให้นักเรียนชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเทอมละ 2 ครั้ง

แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง

ร่วมกับ จนท.อนามัย ติดตามนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนการ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 1/22558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/12562 2/22563 1/12563 1/22563 2/1
เตี้ย 10.20 10.20% 14.29 14.29% 10.58 10.58% 13.46 13.46% 9.62 9.62% 8.65 8.65% 10.78 10.78% 4.90 4.90% 4.67 4.67% 9.26 9.26% 11.43 11.43% 11.65 11.65% 11.88 11.88% 14.85 14.85% 10.31 10.31% 9.28 9.28% 9.00 9.00% 10.00 10.00% 13.00 13.00% 10.89 10.89% 11.00 11.00%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 27.55 27.55% 32.65 32.65% 24.04 24.04% 29.81 29.81% 26.92 26.92% 25.00 25.00% 27.45 27.45% 21.57 21.57% 22.43 22.43% 23.15 23.15% 26.67 26.67% 23.30 23.30% 23.76 23.76% 25.74 25.74% 22.68 22.68% 19.59 19.59% 20.00 20.00% 18.00 18.00% 31.00 31.00% 21.78 21.78% 21.00 21.00%
ผอม 21.43 21.43% 13.27 13.27% 25.96 25.96% 18.27 18.27% 16.35 16.35% 16.35 16.35% 7.84 7.84% 9.80 9.80% 11.21 11.21% 6.48 6.48% 7.62 7.62% 3.88 3.88% 5.94 5.94% 2.97 2.97% 9.28 9.28% 6.19 6.19% 4.00 4.00% 3.00 3.00% 4.95 4.95% 4.95 4.95% 2.00 2.00%
ผอม+ค่อนข้างผอม 31.63 31.63% 21.43 21.43% 42.31 42.31% 25.96 25.96% 25.96 25.96% 22.12 22.12% 14.71 14.71% 21.57 21.57% 20.56 20.56% 15.74 15.74% 19.05 19.05% 14.56 14.56% 14.85 14.85% 9.90 9.90% 21.65 21.65% 13.40 13.40% 12.00 12.00% 13.00 13.00% 15.84 15.84% 16.83 16.83% 12.00 12.00%
อ้วน 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.96 0.96% 0.96 0.96% 0.96 0.96% 0.96 0.96% 1.96 1.96% 1.96 1.96% 0.93 0.93% 1.85 1.85% 1.90 1.90% 1.94 1.94% 0.99 0.99% 1.98 1.98% 1.03 1.03% 1.03 1.03% 2.00 2.00% 1.00 1.00% 0.99 0.99% 0.00 0.00% 1.00 1.00%
เริ่มอ้วน+อ้วน 0.00% 0.00% 0.00% 0.00% 0.96% 0.96% 0.96% 0.96% 1.92% 1.92% 2.88% 2.88% 2.94% 2.94% 2.94% 2.94% 4.67% 4.67% 3.70% 3.70% 3.81% 3.81% 5.83% 5.83% 2.97% 2.97% 4.95% 4.95% 4.12% 4.12% 5.15% 5.15% 7.00% 7.00% 7.00% 7.00% 8.91% 8.91% 7.92% 7.92% 7.00% 7.00%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

มีนักเรียนภาวะเริ่มอ้วนหรืออ้วนคงที่

บันทึกการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง

การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

นักเรียนมีภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

บันทึกการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง

การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

บันทึกการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง

การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

มี โดยให้นักเรียนที่มีภาวะอ้วนให้ออกกำลังกายและทานอาหารที่พอเหมาะจำกัดปริมาณการทานอาหาร

กิจกรรมการออกกำลังกายการเล่นกีฬา

การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

โรงเรียนได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองในการดูแลนักเรียน และให้ผู้ปกครองเข้ารับการอบรม

กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง กิจกรรมอบรมแกนนำผู้ปกครองและแม่ครัว

การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

1.จัดตั้งชมรมหรือมีนักเรียนแกนนำในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน 2.นักเรียนเป็นสมาชิกชมรมหรือเครือข่ายกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ 3.มีโครงการ/กิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน 4.มีเครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับกลุ่มโรงเรียน/ชุมชน/ท้องถิ่น หน่วยงานภายนอก 5.มีการจัดตั้งเครือข่ายโรงเรียน 6.มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น บุคคล องค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ แหล่งความรู้ ฯลฯ ในการดำเนินงาน 7.มีการระดมทรัพยากรหรืองบประมาณจากภายนอกเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน

  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระหว่างทำกิจกรรม ได้แก่ เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ รพ.สต. สสจ. และ สสอ.

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh