การปลูกพืชแบบผสมผสานครั้งที่ 129 กรกฎาคม 2559
29
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย จีราวดี สิริรัตนจิตต์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและการดูแลผักเหลียง
  2. จัดซื้อต้นพันธุ์ ผักเหลียง จำนวน200ต้น
  3. การเตรียมแปลงปลูกผักเหลียงโดยภูมิปัญญาท้องเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมหลุม โดยให้ขุดลงประมาณ 1 ฟุตแล้วใส่ปุ๋ยคอกรองหลุม ประมาณ 2-3 กำมือและในแต่ละหลุมห่างกัน 1 เมตรโดยประมาณทั้ง 4 ด้าน
  4. สาธิตวิธีการปลูก ในการปลูกผักเหลียงให้ปลูกเอียงโดยลำต้นทำมุม45 องศากับพื้นดินเพื่อให้ตาที่อยู่บริเวณด้านข้างของลำต้นแตกออก ซึ่งจะปลูกในแนวเดียวกัน
  5. รดน้ำให้ชุ่มเพราะผักเหลียงเป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นโดยจะรดวันละ 1-2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศซึ่งอาจจะระบบน้ำหยดเพื่อสะดวกในการดูแล
  6. การดูแลใส่ปุ๋ย เราใช้สลับระหว่างปุ๋ยเคมีกับ ปุ๋ยชีวภาพคือเมื่อปลูกไปประมาณ 2สัปดาห์ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15เพื่อบำรุงต้นและเวลารดน้ำใช้น้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตรโดยอาจจะรดสัปดาห์ละครั้ง
  7. การเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนหลังจากปลูกจึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
  8. จัดทำป้ายนิเทศความรู้เกี่ยวกับผักเหลียง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนสามารถ  นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน
  2. โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตร  เพื่อป้อนเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 76 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย