แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนคุระบุรี

ชุมชน 116/15 หมู่ที่ 1 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

รหัสโครงการ ศรร.1413-097 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ

วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. ครูและแม่ครัว จำนวน40คน มีความรู้ในเรื่องการจัดบริหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ให้กับนักเรียนและสามารถนำมาปรับใช้ในโรงเรียนคุระบุรีได้

  2. ครู มีความรู้เรื่องการจัดการเกษตรในโรงเรียนที่ได้ผลและนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนคุระบุรีได้

  3. ครู มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เรื่องสหกรณ์โรงเรียนโดยนักเรียนมีส่วนร่วมได้

ผลผลัพธ์

  1. โรงเรียนคุระบุรีสามารถนำโปรแกรม Thai School Lunch มาจัดบริการอาหารกลางวันให้กับนักเรียนได้

  2. โรงเรียนคุระบุรีสามารถจัดการเรียนรู้เรื่องเกษตรในโรงเรียนเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียนได้

  3. โรงเรียนคุระบุรีสามารถจัดการเรียนรู้เรื่องสหกรณ์โรงเรียนให้กับนักเรียนได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำครูและแม่ครัวไปศึกษาดูงานการจัดการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch และโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ณ โรงเรียนราชประชานุะเคราะห์ 1 จังหวัดกระบี่ ที่สามารถเป็นแบบอย่างและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อนำมาปรับใช้ในโรงเรียนคุระบุรี

กิจกรรมที่ทำจริง

นำครูและแม่ครัว จำนวน 40 คน ไปศึกษาดูงานการจัดการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch และโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 และโรงเรียนอนุบาลกระบี่จังหวัดกระบี่ โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการบริการอาหารกลางวันโปรแกรม Thai School Lunch การจัดการเรียนรู้การเกษตรในโรงเรียน สหกรณ์โรงเรียน มาพัฒนาและปรับใช้ในโรงเรียนคุระบุรี

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

40 40

2. เกษตรโรงเรียน (เพาะเห็ดนางฟ้า)

วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. นักเรียนระดับชั้น ป.3 จำนวน141คน มีความรู้ มีทักษะในการเพาะเห็ดนางฟ้า

  2. นักเรียนระดับชั้น ป.3 จำนวน141คน นำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  3. นักเรียนจำนวน141 คน เป็นแกนนำในการให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในเรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้าได้

ผลผลัพธ์

  1. โรงเรียนคุระบุรีมีแหล่งเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าให้กับโรงเรียน และชุมชน

  2. โรงเรียนคุระบุรีมีผลผลิตเห็ดนางฟ้านำไปใช้ประกอบอารหารในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน

  3. โรงเรียนคุระบุรีสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเพาะเห็ดนางฟ้าเข้ากับวิชาเรียนเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ และจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น

  4. นักเรียนโรงเรียนคุระบุรีมีทักษะชีวิตและทักษะการทำงานร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษแบบผสมผสาน เพื่อนำผลผลิตจัดทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียน

  1. ปลูกผักปลอดสารพิษ เช่น ผักกาด ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง

  2. เพาะเห็ดนางฟ้า

  3. การเลี้ยงปลาดุก

  4. การเลี้ยงไก่ไข่

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้าให้เด็กนักเรียน ระดับชั้น ป.3 จำนวน 4 ห้องเรียนโดยให้ความรู้ครั้งละ 1 ห้องเรียน ซึ่งมีคุณครูยลดานันท์มงคลวัฒนาสกุล ตำแหน่งครูผู้สอนวิชาเกษตร ดังนี้
    1.1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดการวางก้อนเชื้อในลักษณะแนวนอนโดยวางเรียงต่อกันเป็นแนวและวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ

1.2.การเปิดดอก โดยเปิดจุกและสำลีจากคอขวดออกและพับปากถุงให้เหมือนเดิมกับตอนที่ยังมีจุกคอขวดอยู่เพื่อจะทำให้เก็บดอกเห็ดได้ง่าย

1.3.การรดน้ำ ควรพ่นให้ผิวหน้าของก้อนเชื้อชื้นก็พอ เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อมีเชื้อราจะเน่าเสียเร็ว การรดน้ำประมาณวันละ 3-4 ครั้งแล้วแต่สภาพอากาศ

1.4.การเก็บดอกเห็ดและการทำความสะอาดหน้าก้อนเห็ด เมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้วเก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อโยกซ้ายขวาบนล่างแล้วดึงออกจากถุงเห็ด ระวังอย่าให้ถุงเห็ดบาน ถ้าโคนเห็ดขาดอยู่ให้แคะออกเพื่อป้องกันการเน่าเสีย การทำความสะอาดก้อนเชื้อทำได้โดยเขี่ยเศษเห็ดที่ติดอยู่ข้างในถุงออกให้หมด และงดให้น้ำ 3 วันถ้าก้อนเห็ดมีเชื้อราให้นำออกทันที

  1. ส่งผลผลิตที่ได้สู่โรงอาหารในโครงการอาหารกลางวันและจำหน่ายสู่ชุมชน
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

952 141

3. เกษตรโรงเรียน (เลี้ยงปลา)

วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 08.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. นักเรียนระดับชั้น ป.4 จำนวน114คน มีความรู้ มีทักษะในการเลี้ยงปลาดุกและปลานิล

  2. นักเรียนระดับชั้น ป.4 จำนวน114คน นำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  3. นักเรียนจำนวน114คน เป็นแกนนำในการให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในเรื่องการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลได้

ผลผลัพธ์

  1. โรงเรียนคุระบุรีมีแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกและปลานิลให้กับโรงเรียน และชุมชน

  2. โรงเรียนคุระบุรีมีผลผลิตปลาดุกและปลานิลนำไปใช้ประกอบอารหารในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน และจำหน่ายให้กับชุมชน

  3. โรงเรียนคุระบุรีสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลเข้ากับวิชาเรียนเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ และจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น

  4. นักเรียนโรงเรียนคุระบุรีมีทักษะชีวิตและทักษะการทำงานร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการเกษตร โภชนาการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดการเรียนรู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลให้กับนักเรียนชั้น ป.4 จำนวน 114 คน จำนวน 4 ห้องเรียนโดยให้ความรู้ครั้งละ 1 ห้องเรียน ซึ่งมีคุณครูแสนโกสินทร์วงษ์มะยุรา เป็นครูผู้สอน ดังนี้

1.1.การเตรียมบ่อซีเมนต์เลี้ยงปลาดุกและปลานิล เนื่องจากทางโรงเรียนมีบ่อซีเมนต์อยู่แล้ว การเตรียมบ่อจึงเป็นไปได้ง่ายโดยการนำน้ำสะอาดใส่ในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 วันหลังจากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งเพื่อปรับสภาพบ่อแล้วเปิดน้ำเตรียมสำหรับใส่ปลาดุก และปลานิล

1.2.การเลือกพันธุ์ปลาดุกและปลานิล - พันธุ์ปลาดุกเลือกลูกพันธุ์ปลาดุกที่มีความแข็งแรงและไม่เล็กเกินไปขนาดประมาณ2นิ้วจำนวน1,000ตัวใส่ในบ่อซีเมนต์4บ่อๆ ละ 250 ตัวขนาดบ่อซีเมนต์100 x 60 ซม. - พันธ์ุปลานิลเลือกลูกพันธุ์ปลานิลใช้พันธุ์จิตลดาเพราะมีความแข็งแรงและปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำจืดและทนทานต่อโรคใช้ขนาดประมาณ 2 นิ้ว จำนวน1,000ตัวจำนวน1บ่อ ขนาดบ่อซีเมนต์400 x 80 ซม.
1.3.อาหารปลาดุกและปลานิล และวิธีการให้อาหาร
- อาหารปลาดุกและปลานิล จะใช้เป็นอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาดุกขนาดเล็ก ซึ่งการใช้อาหารสำเร็จรูปจะทำได้ง่ายเพียงแค่สาดอาหารลงไปในบ่อเลี้ยงปลาในขนาดพอเหมาะประมาณ ครึ่งกิโลกรัมต่อปลา 1,000 ตัว และเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นเรื่อยเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น

1.4.วิธีการดูแลปลาดุก และปลานิล
- ปลาดุก ต้องมีระดับถ่ายเทน้ำให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่น เพราะถ้าน้ำขุ่นหรือน้ำสกปรกที่เกิดจากอาหารตกค้างจะทำให้ปลาดุกตาย อาการจากคุณภาพน้ำไม่ดีจะสังเกตได้จากการที่ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติ และจะลอยตัวอยู่เหนือน้ำเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าน้ำกำลังสกปรกและควรเปลี่ยนน้ำทันทีโรงเรียนจึงแก้ปัญหานี้โดยการใช้ระบบหมุนเวียนน้ำ - ปลานิล ไม่ชอบให้เปลี่ยนน้ำบ่อย ชอบน้ำขุ่นๆ ควรปลูกพืชน้ำไว้ในบ่อด้วย ปลานิลมีข้อเสียในเรื่องของการปรับสภาพน้ำ ถ้าโดนน้ำฝนมากเกินไปปรับสภาพไม่ทันก็จะตาย ดังนั้นจึงควรมีหลังคาป้องกันน้ำฝน

1.5.การนำผลผลิตไปใช้ - ปลาดุก สามารถเติบโตได้ขนาด200กรัมต่อตัวในระยะเวลาประมาณ3เดือน และนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายได้ - ปลานิล สามารถเติบโตได้ขนาด400กรัมต่อตัวในระยะเวลาประมาณ4เดือนและนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายได้

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

114 114

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 15 3                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 120,000.00 33,000.00                  
คุณภาพกิจกรรม 12 9                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

การเดินทาง

ระยะทางไกล

ให้ประชุมย่อยเป็นภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่าง

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมสัญจร ครั้งที่1 จัดทำรายงานปิดงวด 1 ( 13 ต.ค. 2559 )
  2. ตลาดนัดแก้มใส ( 1 พ.ย. 2559 )
  3. จัดทำเมนูอาหารกลางวัน ( 1 พ.ย. 2559 )
  4. การเรียนรู้บริษัทสร้างการดี ( 4 พ.ย. 2559 )
  5. เกษตรโรงเรียน (ปลูกผัก) ( 4 พ.ย. 2559 )
  6. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ตามโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ( 7 พ.ย. 2559 )
  7. กำจัดโรคร้ายทำลายแหล่งเพาะพันธุ์โรค ( 11 พ.ย. 2559 )
  8. อบรมโภชนาการอาหาร ( 19 พ.ย. 2559 )
  9. นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ( 3 เม.ย. 2560 )
  10. จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย ( 4 เม.ย. 2560 )
  11. ประชุมสัญจรครั้งที่ 2 จัดทำรายงานปิดงวด 2 ( 4 เม.ย. 2560 )
  12. นำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย งวดที่ 2 ( 5 เม.ย. 2560 )

(................................)
นายสมยศ ผลอินทร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ