ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนคุระบุรี |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | 116/15 หมู่ที่ 1 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา |
จำนวนนักเรียน | 965 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นายสมยศ ผลอินทร์ |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางเกษร แซ่เอียบ |
นำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย งวดที่ 2.1
นำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย งวดที่ 2.1
- จัดทำรายงานในระบบออนไลน์เว็บไซต์ http://www.dekthaikamsai.com โดยมีวิทยากรพี่เลี้ยงให้การแนะนำ
- จัดทำเอกสารรายงานการใช้เงิน ง2 รายงานความก้าวหน้าโครงการ ส2
- ร่วมแลกเปลี่ยนรู้กับโรงเรียนต่างๆ 12 โรง
ผลผลิต
1. บุคลากร จำนวน 2 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานในระบบเว็บไซต์ http://www.dekthaikamsai.com
2. สามารถนำส่งรายงาน ง2 และ ส2 ได้
ผลลัพธ์
1. บุคลากรที่เข้าประชุมได้นำความรู้ไปถ่ายทอดและขยายผลให้กับเพื่อนครูในโรเรียน
2. โรงเรียนสามารถส่งเอกสารรายงาน ง2 และ ส2 ได้อย่างถูกต้อง
นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม
นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม
จัดทำจัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย
ผลผลิต คืนดอกเบี้ย ผลลัพธ์ คืนดอกเบี้ย
โรงเรียนได้มีการจัดกิจกรรมตลาดนัดแก้มใส เดือนละ 1 ครั้ง โดยร่วมตั้งแต่เปิดภาคเรียนที่ 2 ซึ่งจะจัดในทุกวันอังคารที่ 2 ของเดือน และได้มีการจัดกิจกรรมตลาดนัดแก้มใสขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือข่าย ในวันที่ 14 มีนาคม 2560 โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. แจ้งวัตถุประสงค์ของกิจกรรมตลาดนัดแก้มใสให้ครูและบุคลากร นักเรียนในโรงเรียนคุระบุรี และโรงเรียนเครือข่าย 5 โรงทราบ 2. แจ้งกำหนดการให้ครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน โดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย และทำหนังสือเชิญโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วม 3. ดำเนินกิจกรรมตลาดนัดแก้มใสตามวันและเวลาที่กำหนด 4. รายงานผล
ผลผลิต นักเรียนโรงเรียนคุระบุรี ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และครู นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 1,090 คน ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำผลผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาจำหน่ายในกิจกรรมตลาดนัดแก้มใส ผลลัพธ์ โรงเรียนคุระบุรีมีกิจกรรมตลาดนัดแก้มใสให้บริการแก่นักเรียน ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษา และโรงเรียนเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
- ให้ความรู้นักเรียนหน้าเสาธงในประชุมสุดสัปดาห์ และจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน
- ครูจัดกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนในห้องเรียน
- ให้นักเรียนปฏิบัติจริงในการเดินรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน
- แจกแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและชุมชน
ผลผลิต นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคและสามารถป้องกันโรคด้วยตัวเองไ้ด้ ผลลัพธ์ โรงเรียนคุระบุรีไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ุโรค
- โรงเรียนจัดทำแผนงานตามกิจกรรม และขอความร่วมมือเทศบาลตำบลคุระบุรี
- เทศบาลตำบลคุระบุรีได้เข้ามาจัดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนในการคัดแยกขยะ
- นักเรียนได้เรียนรู้จากคู่มือ และปฏิบัติจริงในการคัดแยกขยะจากห้องเรียน
- นักเรียนสร้างรายได้จากขยะ
- รายงานกิจกรรม
ผลผลิต
นักเรียนโรงเรียนคุระบุรีมีความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี
ผลลัพธ์
1. โรงเรียนมีคู่มือการกำจัดขยะที่ถูกวิธี
2. โรงเรียนคุระบุรีสะอาดปลอดจากขยะ
จัดการเรียนรู้บูรณาการด้านการเกษตร โภชนาการ และสุขภาพให้กับนักเรียนครอบคลุมทั้ง 8 กลุ่มสาระ สำหรับนักเรียนประถม และกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม สำหรับนักเรียนอนุบาล และทำสื่อประกอบการเรียนการสอน
ผลผลิต นักเรียนได้พัฒนาตนเองให้มีความรู้ทักษะ ทัศนคติ และลักษณะนิสัยที่ดีในเรื่องของเกษตร สหกรณ์ยั่งยืน โภชนาการและสุขภาพอนามัย ผลลัพธ์ 1. โรงเรียนแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการเกษตร โชนาการ และสุขภาพอนามัยทุกชั้นเรียน 2. โรงเรียนมีสื่อสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนบูรณาการเกษตร โชนาการ และสุขภาพอนามัยทุกชั้นเรียน
- ครูแต่ละชั้นให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับพันธุ์ผัก วิธีการปลูก การดูแลรักษา การเก็บผลิต
- ให้นักเรียนแต่ละชั้นเรียนเลือกพันธุ์ผักที่จะนำมาปลูก
- ให้นักเรียนลงมือปลูกโดยแบ่งเป็นเดี่ยวหรือกลุ่ม
- นำผลผลิตมาจัดทำอาหารกลางวัน
- นำผลผลิตมาจำหน่ายในตลาดนัดแก้มใส
ผลผลิต 1. นักเรียนสามารถปลูกผัก และนำผลผลิตทางการเกษตรไปทำอาหารกลางวันรับประทาน 2. นักเรียนสามารถปลูกผักเพื่อรับประทานและจำหน่ายในครัวเรือนได้ ผลลัพธ์ 1. โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรในการประกอบอาหารกลางวัน 2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรสำหรับนักเรียนและชุมชน
-ประชุมวางแผนเพื่อกำหนดกิจกรรมและวันเวลาในการจัดการอบรม -ขอความร่วมมือโรงพยาบาลคุระบุรีชัยพัฒนาสนับสนุนวิทยากรการอบรม -ส่งหนังสือเชิญวิทยากรผู้ให้การอบรม -จัดการอบรมแก่ ครู นักเรียน และแม่ครัวรับการอบรมตามวันเวลาที่กำหนด - ครู นักเรียน และแม่ครัวนำความรู้มาจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
ผลผลิต - ครู นักเรียน และแม่ครัวได้รับการอบรมด้านโภชนาการอาหารที่เหมาะสม สำหรับเด็กวัยเรียน - ครู นักเรียน และแม่ครัวนำความรู้มาจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนอย่างเหมาะสม
ผลลัพธ์ -โรงเรียนคุระบุรีจัดอาหารกลางวันได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการถูกต้องเหมาะสมกับวัยและเพียงพอกับความต้องการ
- ส่งบุคลากรครูไปอบรมเรื่องการจัดอาหารกลางวันตามโปรแกรม Thai School Lunch
- ให้ความรู้กับแม่ครัว
- ดำเนินการจัดเมนูอาหารโดยให้ครูนักเรียนมีส่วนร่วม
ผลผลิต นักเรียนโรงเรียนคุระบุรีได้รับประทานอาหารกลางวันถูกต้องตามหลักโภชนาการ ผลลัพธ์ โรงเรียนคุระบุรีมีเมนูอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch
- จัดทำรายงานในระบบออนไลน์เว็บไซต์ http://www.dekthaikamsai.com โดยมีวิทยากรพี่เลี้ยงให้การแนะนำ
- จัดทำเอกสารรายงานการใช้เงิน ง1 รายงานความก้าวหน้าโครงการ ส1
- ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนต่างๆ 13 โรง
ผลผลิต
1. บุคลากรจำนวน 3 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานในระบบออนไลน์เว็บไซต์ http://www.dekthaikamsai.com
2. สามารถนำส่งรายงาน ง1 และ ส1 ได้
ผลลัพธ์ 1. บุคลากรที่เข้าประชุมได้นำความรู้ไปถ่ายทอดและขยายผลให้กับเพื่อนครูในโรงเรียน 2. โรงเรียนสามารถส่งเอกสารรายงาน ง1 และ ส1 ได้อย่างถูกต้อง
นำครูและแม่ครัว จำนวน 40 คน ไปศึกษาดูงานการจัดการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch และโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 และโรงเรียนอนุบาลกระบี่จังหวัดกระบี่ โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการบริการอาหารกลางวันโปรแกรม Thai School Lunch การจัดการเรียนรู้การเกษตรในโรงเรียน สหกรณ์โรงเรียน มาพัฒนาและปรับใช้ในโรงเรียนคุระบุรี
ผลผลิต
ครูและแม่ครัว จำนวน40คน มีความรู้ในเรื่องการจัดบริหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ให้กับนักเรียนและสามารถนำมาปรับใช้ในโรงเรียนคุระบุรีได้
ครู มีความรู้เรื่องการจัดการเกษตรในโรงเรียนที่ได้ผลและนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนคุระบุรีได้
ครู มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เรื่องสหกรณ์โรงเรียนโดยนักเรียนมีส่วนร่วมได้
ผลผลัพธ์
โรงเรียนคุระบุรีสามารถนำโปรแกรม Thai School Lunch มาจัดบริการอาหารกลางวันให้กับนักเรียนได้
โรงเรียนคุระบุรีสามารถจัดการเรียนรู้เรื่องเกษตรในโรงเรียนเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียนได้
โรงเรียนคุระบุรีสามารถจัดการเรียนรู้เรื่องสหกรณ์โรงเรียนให้กับนักเรียนได้
- จัดการเรียนรู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลให้กับนักเรียนชั้น ป.4 จำนวน 114 คน จำนวน 4 ห้องเรียนโดยให้ความรู้ครั้งละ 1 ห้องเรียน ซึ่งมีคุณครูแสนโกสินทร์วงษ์มะยุรา เป็นครูผู้สอน ดังนี้
1.1.การเตรียมบ่อซีเมนต์เลี้ยงปลาดุกและปลานิล เนื่องจากทางโรงเรียนมีบ่อซีเมนต์อยู่แล้ว การเตรียมบ่อจึงเป็นไปได้ง่ายโดยการนำน้ำสะอาดใส่ในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 วันหลังจากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งเพื่อปรับสภาพบ่อแล้วเปิดน้ำเตรียมสำหรับใส่ปลาดุก และปลานิล
1.2.การเลือกพันธุ์ปลาดุกและปลานิล
- พันธุ์ปลาดุกเลือกลูกพันธุ์ปลาดุกที่มีความแข็งแรงและไม่เล็กเกินไปขนาดประมาณ2นิ้วจำนวน1,000ตัวใส่ในบ่อซีเมนต์4บ่อๆ ละ 250 ตัวขนาดบ่อซีเมนต์100 x 60 ซม.
- พันธ์ุปลานิลเลือกลูกพันธุ์ปลานิลใช้พันธุ์จิตลดาเพราะมีความแข็งแรงและปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำจืดและทนทานต่อโรคใช้ขนาดประมาณ 2 นิ้ว จำนวน1,000ตัวจำนวน1บ่อ ขนาดบ่อซีเมนต์400 x 80 ซม.
1.3.อาหารปลาดุกและปลานิล และวิธีการให้อาหาร
- อาหารปลาดุกและปลานิล จะใช้เป็นอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาดุกขนาดเล็ก ซึ่งการใช้อาหารสำเร็จรูปจะทำได้ง่ายเพียงแค่สาดอาหารลงไปในบ่อเลี้ยงปลาในขนาดพอเหมาะประมาณ ครึ่งกิโลกรัมต่อปลา 1,000 ตัว และเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นเรื่อยเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น
1.4.วิธีการดูแลปลาดุก และปลานิล
- ปลาดุก ต้องมีระดับถ่ายเทน้ำให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่น เพราะถ้าน้ำขุ่นหรือน้ำสกปรกที่เกิดจากอาหารตกค้างจะทำให้ปลาดุกตาย อาการจากคุณภาพน้ำไม่ดีจะสังเกตได้จากการที่ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติ และจะลอยตัวอยู่เหนือน้ำเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าน้ำกำลังสกปรกและควรเปลี่ยนน้ำทันทีโรงเรียนจึงแก้ปัญหานี้โดยการใช้ระบบหมุนเวียนน้ำ
- ปลานิล ไม่ชอบให้เปลี่ยนน้ำบ่อย ชอบน้ำขุ่นๆ ควรปลูกพืชน้ำไว้ในบ่อด้วย ปลานิลมีข้อเสียในเรื่องของการปรับสภาพน้ำ ถ้าโดนน้ำฝนมากเกินไปปรับสภาพไม่ทันก็จะตาย ดังนั้นจึงควรมีหลังคาป้องกันน้ำฝน
1.5.การนำผลผลิตไปใช้ - ปลาดุก สามารถเติบโตได้ขนาด200กรัมต่อตัวในระยะเวลาประมาณ3เดือน และนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายได้ - ปลานิล สามารถเติบโตได้ขนาด400กรัมต่อตัวในระยะเวลาประมาณ4เดือนและนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายได้
ผลผลิต
นักเรียนระดับชั้น ป.4 จำนวน114คน มีความรู้ มีทักษะในการเลี้ยงปลาดุกและปลานิล
นักเรียนระดับชั้น ป.4 จำนวน114คน นำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
นักเรียนจำนวน114คน เป็นแกนนำในการให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในเรื่องการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลได้
ผลผลัพธ์
โรงเรียนคุระบุรีมีแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกและปลานิลให้กับโรงเรียน และชุมชน
โรงเรียนคุระบุรีมีผลผลิตปลาดุกและปลานิลนำไปใช้ประกอบอารหารในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน และจำหน่ายให้กับชุมชน
โรงเรียนคุระบุรีสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลเข้ากับวิชาเรียนเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ และจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น
นักเรียนโรงเรียนคุระบุรีมีทักษะชีวิตและทักษะการทำงานร่วมกัน
- จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้าให้เด็กนักเรียน ระดับชั้น ป.3 จำนวน 4 ห้องเรียนโดยให้ความรู้ครั้งละ 1 ห้องเรียน ซึ่งมีคุณครูยลดานันท์มงคลวัฒนาสกุล ตำแหน่งครูผู้สอนวิชาเกษตร ดังนี้
1.1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดการวางก้อนเชื้อในลักษณะแนวนอนโดยวางเรียงต่อกันเป็นแนวและวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ
1.2.การเปิดดอก โดยเปิดจุกและสำลีจากคอขวดออกและพับปากถุงให้เหมือนเดิมกับตอนที่ยังมีจุกคอขวดอยู่เพื่อจะทำให้เก็บดอกเห็ดได้ง่าย
1.3.การรดน้ำ ควรพ่นให้ผิวหน้าของก้อนเชื้อชื้นก็พอ เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อมีเชื้อราจะเน่าเสียเร็ว การรดน้ำประมาณวันละ 3-4 ครั้งแล้วแต่สภาพอากาศ
1.4.การเก็บดอกเห็ดและการทำความสะอาดหน้าก้อนเห็ด เมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้วเก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อโยกซ้ายขวาบนล่างแล้วดึงออกจากถุงเห็ด ระวังอย่าให้ถุงเห็ดบาน ถ้าโคนเห็ดขาดอยู่ให้แคะออกเพื่อป้องกันการเน่าเสีย การทำความสะอาดก้อนเชื้อทำได้โดยเขี่ยเศษเห็ดที่ติดอยู่ข้างในถุงออกให้หมด และงดให้น้ำ 3 วันถ้าก้อนเห็ดมีเชื้อราให้นำออกทันที
- ส่งผลผลิตที่ได้สู่โรงอาหารในโครงการอาหารกลางวันและจำหน่ายสู่ชุมชน
ผลผลิต
นักเรียนระดับชั้น ป.3 จำนวน141คน มีความรู้ มีทักษะในการเพาะเห็ดนางฟ้า
นักเรียนระดับชั้น ป.3 จำนวน141คน นำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
นักเรียนจำนวน141 คน เป็นแกนนำในการให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในเรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้าได้
ผลผลัพธ์
โรงเรียนคุระบุรีมีแหล่งเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าให้กับโรงเรียน และชุมชน
โรงเรียนคุระบุรีมีผลผลิตเห็ดนางฟ้านำไปใช้ประกอบอารหารในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน
โรงเรียนคุระบุรีสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเพาะเห็ดนางฟ้าเข้ากับวิชาเรียนเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ และจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น
นักเรียนโรงเรียนคุระบุรีมีทักษะชีวิตและทักษะการทำงานร่วมกัน