แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนเทศบาล 3 วัดสมุทราราม

ชุมชน หมู่ที่ ๓ ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รหัสโครงการ ศรร.1422-101 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.19

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรม ผักปลอดสารพิษพิชิตโรค

วันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

นักเรียนทุกคนสามารถปลูกพืช  หรือหาผลผลิตทางการเกษตรที่ทำได้ง่าย ลงทุนไม่มาก ใช้เวลาน้อย มาทำการเกษตร เพื่อสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดี ฝึกอาชีพ และความรับผิดชอบของนักเรียน ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักแตงกวา มะเขือ ถั่วงอก ผักบวบ ปลาดุก 500 ตัว

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้ผลผลิตการเกษตรจากการปลูกผัก 5 ชนิดได้แก่  มะเขือ  ผักบุ้ง พริกขี้หนู ส่วน ผักอีก 3 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง แตงกวา และ บวบ ไม่เติบโตเนื่องจากได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ 2. จำนวนผลผลิตที่นำส่งสหกรณ์นักเรียน ได้ มะเขือเปราะ 3 กก. ผักบุ้ง 10 กก. พริกขี้หนู 1/2 กก.
3. ได้ผลผลิตทำเมนูอาหารกลางวัน ได้แก่ แกงเขียวหวานไก่มะเขือเปราะ (ต้องซื้อเพิ่ม 4 กก. จากตลาดสดหน้าทอน) ผัดผักบุ้งได้ 1 มื้อโดยไม่ต้องซี้อจากภายนอก 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.วางแผนงานระหว่างครูเกษตร นักเรียนและครูโภชนาการในการเตรียมเพาะเมล็ดผัก 2.นักเรียนลงมือเพาะเมล็ดผัก (กวางตุ้ง แตงกวา มะเขือ บวบ พริกขี้หนู) ุ3.ผู้ปกครองและนักเรียนช่วยกันปรับสภาพดินและเตรียมแปลงเพื่อการปลูกผัก ใช้เวลาก่อนปลูก 3-5 วัน 4.นักเรียนแกนนำจำนวน 20 คน พร้อมด้วยนักเรียน ป.4-6 ในกลุ่มกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ลงแปลงปลูกผักด้วยกัน แบ่งเป็น 6 แปลง (2 แปลง/ห้อง) ได้แก่ กวางตุ้ง แตงกวา มะเขือ บวบ ผักบุ้ง พริกขี้หนู 5.การเก็บเกี่ยวผลผลิต 6.การนำผลผลิตสู่อาหารกลางวันโดยผ่านสหกรณ์นักเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ครูและนักเรียนเตรียมแปลงสำหรับปลูกผัก ( กวางตุ้ง แตงกวา มะเขือ บวบ ผักบุ้ง ) 2.นักเรียนลงมือปลูกผักที่เตรียมต้นกล้าไว้ในแปลง 3.นักเรียนและครูวางแผนการดูแลผักที่ปลูกไว้โดยการแบ่งกลุ่ม

 

233 226

2. กิจกรรม รู้ไว้ใช่ว่า เรื่องการปรับปรุงดิน อบรมแกนนำนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และครู เพื่อพัฒนาคุณภาพของดิน

วันที่ 19 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

นักเรียนทุกคนสามารถปลูกพืช  หรือหาผลผลิตทางการเกษตรที่ทำได้ง่าย ลงทุนไม่มาก ใช้เวลาน้อย มาทำการเกษตร เพื่อสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดี ฝึกอาชีพ และความรับผิดชอบของนักเรียน ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักแตงกวา มะเขือ ถั่วงอก ผักบวบ ปลาดุก 500 ตัว

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.จำนวนนักเรียนแกนนำชั้นป.4-6 (20 คน) ครู ผู้ปกครอง และชุมชน(อสม. และกรรมการชุมชนลิปะน้อยในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย) ได้รับการอบรมจำนวนรวม 62 คน
2.มีการอบรมบรรยายการปรับปรุงจากสภาพความเป็น กรด-ด่าง ให้มีสภาพเป็นกลางเหมาะสมแก่การเพาะปลูกตามความต้องการของโรงเรียน 3.มีการสาธิตการปรับปรุงดิน จำนวน 4 กลุ่ม
4.นักเรียนเก็บตัวอย่างดินจากแปลงสาธิต โดยสุ่มทั้ง 4 ด้าน โดยใช้วิธีแบบตักเฉียง 45 องศา และตักหน้าตรงโดยมีความลึก 10 ซม. นำดินมาผสมแล้วทดสอบด้วยน้ำยาเคมีเพื่อดูความเป็น กรด-ด่าง และจดบันทึก 5.มีการนำผลจากการทดสอบมาวิเคราะห์เพื่อปรับสภาพดินตามหลักวิชาที่ได้เรียนรู้ (ในวันแรก) 6.มีการนำเมล็ดพันธุ์ผักที่เตรียมไว้ ได้แก่ ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง บวบ มะเขือเปราะ พริกขี้หนู มาทดลองปลูกในแปลงที่ปรับสภาพดินไว้เรียบร้อยแล้วจากวันที่ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.วางแผนงานระหว่างครูที่รับผิดชอบด้านการเกษตรและครูโภชนาการโดยใช้ฐานข้อมูลผลการวิเคราะห์สภาพดินชายทะเลซึ่งเป็นที่ตั้งของปี 2554
2.ประชุมครูที่มีส่วนร่วมในการเข้ารร่วมกิจกรรม และเตรียมแปลงสาธิตเพื่อใช้ในการอบรมปรับปรุงดิน 3.กำหนดรายชื่อวิทยากร และจำนวนผู้ปกครองนักเรียนทุกชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6
4. ประสานงานการเชิญประธานเปิดการอบรม


กิจกรรมที่ทำจริง

1.ครูที่รับผิดชอบด้านการเกษตรและครูโภชนาการวางแผนงานร่วมกันโดยใช้ข้อมผลการวิเคราะห์สภาพดินของปี 2554 มาเป็นฐานในการวางแผนการเพาะปลุกที่เหมาะสมเพือให้ได้ผลผลิตที่ดี 2.ประชุมครูที่มีส่วนร่วมในการเข้ารร่วมกิจกรรม และเตรียมแปลงสาธิตเพื่อใช้ในการอบรมปรับปรุงดินชายทะเลให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารกลางวัน ได้แก่ ผักบุ้ง ผักคะน้า  พริกชี้ฟ้า โหระพา กระเพรา มะเขือเปราะ ถั่วพู มะละกอ ฟักเขียว ผักหวาน มันปู ต้นแคดอก มะขาม (หลายชนิดตามความสนใจของเด็กและสิ่งที่ต้องการบริโภค) 3.ส่งหนังสือเชิญวิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอ/ ผู้ปกครองนักเรียนทุกชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6 ห้องละ 3 คน
4.เชิญหัวหน้ากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครกาะสมุย มาเป็นประธานเปิดการประชุม 5.จัดอบรมจำนวน 2 วัน และเตรียมเมล็ดพันธุ์ในวันที่ 2 เพื่อนำไปทดสอบการปลูก หลังการปรับปรุงสภาพดิน

 

53 50

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 17 2                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,000.00 22,430.00                  
คุณภาพกิจกรรม 8 6                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. กิจกรรม การอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำยาอเนกประสงค์จากเศษผักผลไม้ ( 14 ต.ค. 2559 )
  2. ประชุมสัญจร งวด1 ( 17 ต.ค. 2559 - 18 ต.ค. 2559 )
  3. โรงเรียนเทศบาล 3 วัดสมุทราราม บริการดี ชีวีปลอดภัย อบรมเรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้านเบื้องต้น ( 21 ต.ค. 2559 )
  4. กิจกรรม เด็กรุ่นใหม่เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลโรคอ้วน ( 28 ต.ค. 2559 )
  5. กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ( 29 ต.ค. 2559 )
  6. กิจกรรม ผักปลอดสารพิษพิชิตโรค ( 31 ต.ค. 2559 - 30 พ.ย. 2559 )
  7. กิจกรรม เพื่อสุขภาพที่ดี ชีวีมีสุข ( 1 พ.ย. 2559 )
  8. กิจกรรม โรงเรียนเทศบาล 3 วัดสมุทราราม ฮูลาฮูบ สร้างสรรค์ ลดพุง ลดโรค ( 1 ธ.ค. 2559 )
  9. การเลี้ยงสัตว์ ( 15 ธ.ค. 2559 - 17 ธ.ค. 2559 )
  10. คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ ( 4 เม.ย. 2560 )
  11. ถอนเงินปิดบัญชีโครงการ ( 4 เม.ย. 2560 )
  12. ประชุมติดตามการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 2 ( 4 เม.ย. 2560 )

(................................)
นางสาววิภากรโพธิ์วิเศษ
ผู้รับผิดชอบโครงการ