โรงเรียนเทศบาล 3 วัดสมุทราราม
1.ครูที่รับผิดชอบด้านการเกษตรและครูโภชนาการวางแผนงานร่วมกันโดยใช้ข้อมผลการวิเคราะห์สภาพดินของปี 2554 มาเป็นฐานในการวางแผนการเพาะปลุกที่เหมาะสมเพือให้ได้ผลผลิตที่ดี
2.ประชุมครูที่มีส่วนร่วมในการเข้ารร่วมกิจกรรม และเตรียมแปลงสาธิตเพื่อใช้ในการอบรมปรับปรุงดินชายทะเลให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารกลางวัน ได้แก่ ผักบุ้ง ผักคะน้า พริกชี้ฟ้า โหระพา กระเพรา มะเขือเปราะ ถั่วพู มะละกอ ฟักเขียว ผักหวาน มันปู ต้นแคดอก มะขาม (หลายชนิดตามความสนใจของเด็กและสิ่งที่ต้องการบริโภค)
3.ส่งหนังสือเชิญวิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอ/ ผู้ปกครองนักเรียนทุกชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6 ห้องละ 3 คน
4.เชิญหัวหน้ากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครกาะสมุย มาเป็นประธานเปิดการประชุม
5.จัดอบรมจำนวน 2 วัน และเตรียมเมล็ดพันธุ์ในวันที่ 2 เพื่อนำไปทดสอบการปลูก หลังการปรับปรุงสภาพดิน
1.จำนวนนักเรียนแกนนำชั้นป.4-6 (20 คน) ครู ผู้ปกครอง และชุมชน(อสม. และกรรมการชุมชนลิปะน้อยในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย) ได้รับการอบรมจำนวนรวม 62 คน
2.มีการอบรมบรรยายการปรับปรุงจากสภาพความเป็น กรด-ด่าง ให้มีสภาพเป็นกลางเหมาะสมแก่การเพาะปลูกตามความต้องการของโรงเรียน
3.มีการสาธิตการปรับปรุงดิน จำนวน 4 กลุ่ม
4.นักเรียนเก็บตัวอย่างดินจากแปลงสาธิต โดยสุ่มทั้ง 4 ด้าน โดยใช้วิธีแบบตักเฉียง 45 องศา และตักหน้าตรงโดยมีความลึก 10 ซม. นำดินมาผสมแล้วทดสอบด้วยน้ำยาเคมีเพื่อดูความเป็น กรด-ด่าง และจดบันทึก
5.มีการนำผลจากการทดสอบมาวิเคราะห์เพื่อปรับสภาพดินตามหลักวิชาที่ได้เรียนรู้ (ในวันแรก)
6.มีการนำเมล็ดพันธุ์ผักที่เตรียมไว้ ได้แก่ ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง บวบ มะเขือเปราะ พริกขี้หนู มาทดลองปลูกในแปลงที่ปรับสภาพดินไว้เรียบร้อยแล้วจากวันที่ 1
ประกอบด้วย