แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านโนนเมือง

ชุมชน หมู่ที่ ๔ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

รหัสโครงการ ศรร.1311-089 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.43

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การอบรมให้ความรู้นักเรียน

วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับหลักการของสหกรณ์นักเรียนและสามารถผลิตอาหารเพื่อสุขภาพจำหน่ายแก่สมาชิกของสหกรณ์ได้  นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนและจัดทำบัญชีรับ-จ่ายได้ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต(output)

  • นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสหกรณ์นักเรียน
  • นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อน ๆ นักเรียนทุกช่วงชั้น
  • นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย การซื้อสินค้า การคิดต้นทุน กำไร และขาดทุน

ผลลัพธ์(outcome)

  • นักเรียนมีเจตคติที่ดีกับหลักการของสหกรณ์นักเรียน
  • นักเรียนเป็นสมาชิกของสหกรณ์นักเรียน100%
  • นักเรียนมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รื่นเริงในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสหกรณ์นักเรียน การบริการ การผลิต การออมทรัพย์ การจัดทำบัญชีรับ-จ่ายในกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน  ตลอดจนการจัดทำระเบียบของสหกรณ์นักเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมคณะณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และคณะกรรมการนักเรียน เพื่อดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) แผนการดำเนินงานที่3 สหกรณ์นักเรียน แบ่งครูรับผิดชอบกิจกรรมฐานการเรียนรู้
    ฐานที่1 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยเกม ฐานที่2 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยเพลง ฐานที่3 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยนิทาน ฐานที่4 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยกระบวนการคำถามให้คิด ฐานที่5 การจัดการเรียนการสอนสหกรณ์นักเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและวิเคราะห์ต้นทุน กำไร ขาดทุน

  2. จัดทำหนังสือเชิญวิทยากรจากสำนักงานสหกรณ์อำเภอหัวตะพาน/สหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ

  3. วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคมพ.ศ.2559 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่นักเรียนตามกำหนดการ คือ 08.40 น. นักเรียนลงทะเบียน 09.00-09.30 น. ผู้อำนวยการโรงเรียนทำพิธีเปิดการประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียน 09.30-10. 30น. นายมงคลศรีมงคลผู้อำนวยการส่งเสริมงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียน 10.30-10.40 น. นักเรียนหยุดพักรับประธานอาหารว่าง 10.40-11.30 น. นางอัมพรสุวรรณพันธ์ ครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนให้ความรู้เกี่ยวกับการสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์นักเรียน การซื้อสินค้าและการจำหน่ายการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายการตรวจสอบและรายงานบั ญชีประจำวันการคิดต้นทุนกำไรและขาดทุน 11.30-12.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.30-14.30 น. นางจิราพรศรีเมืองหัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านโนนเมืองให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรวิชาการสหกรณ์ในโรงเรียน 14.30-15.30 น. นักเรียนเข้าปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้จำนวน5ฐาน
    15.30-16.00 น. นางอัมพรสุวรรณพันธ์ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสรุปความรู้จากการประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการ
    16.00 น. พิธีปิด

 

94 90

2. ประชุมผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่าย ครู

วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ครู ผู้ปกครอง  ชุมชน  ภาคีเครือข่าย  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวภารกิจของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส และมีหลักสูตรแบบบูรณาการในศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต(output)

  1. ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กไทย ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร เด็กอ้วน เด็กเตี้ย และเด็กผอม
  2. ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนเมืองและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้านอาหารให้มีความยั่งยืนแก่นักเรียน
  3. ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โรงเรียนบ้านโนนเมืองตามข้อเสนอโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ80,000บาทจำนวน4แผนการดำเนินงาน17กิจกรรม
  4. ผู้ปกครองและเครือข่ายทุกภาคส่วนยืนยันที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานตามแผนการดำเนินการที่บุตรหลานเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ ศรร.ตามปฏิทินการปฏิบัติงานที่เสนอต่อผู้สนับสนุนโครงการไว้แล้ว

ผลลัพธ์(outcome)

  1. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ประธานเปิดการประชุม ฯ ได้กล่าวชื่นชมที่โรงเรียนนำโครงการดี ๆ มาสู่โรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ภาวะโภชนาการดี สุขภาพดีและผลการดีในโอกาสต่อไป
  2. ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและเครือข่ายแสดงความชื่นชมที่โรงเรียนบ้านโนนเมือง เป็น 1 ใน 3 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญที่เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) และเป็น 1 ใน 5 โรงเรียนของ จำนวน 256 โรงเรียนในจังหวัดอำนาจเจริญที่ใช้ THAISCHOOL LUNCH PROGRAM จัดการอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ
  3. ผู้ปกครองแสดงความชื่นชมและขอบคุณที่ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู เอาใจใส่ดูแลนักเรียนเป็นอย่างดีทุกเรื่อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงนโยบายและจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส 1 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู เพื่อจัดกิจกรรมประชุมชี้แจงนโยบายและจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส๑วัน
  2. จัดทำหนังสือเชิญผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญจำนวน150คน(มีพิธีรับมอบสนามกีฬาฟุตซอล และเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสด้วย)
  3. ประชุมครูจัดเตรียมสถานที่ เอกสารการประชุม ป้าย และจ้างผู้ประกอบอาหารและอาหารว่าง
  4. วันศุกร์ที่22กรกฎาคมพ.ศ.2559 เวลา 08.45น. พิธีรับมอบสนามกีฬาฟุตซอลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญงบประมาณ 2,490,000บาท
    เวลา 09.09น. พิธีเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงนโยบาย ฯ และพบปะกับผู้เข้าร่วมประชุม
  5. เวลา16.00น. พิธีปิดการประชุมชี้แจง ฯ

 

280 181

3. การจัดทำหลักสูตร สื่อและนวัตกรรม

วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ครู ผู้ปกครอง  ชุมชน  ภาคีเครือข่าย  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวภารกิจของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส และมีหลักสูตรแบบบูรณาการในศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต(Output)

  1. สาระหลักสูตรท้องถิ่นจำนวน 10กลุ่มอาชีพ (ประกอบด้วย การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงหมูป่า การเลี้ยงกบ การทำก้อนเห็ด การปลูกเลี้ยงเห็ด การปลูกผักกางมุ้ง การทำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์และการเลี้ยงเป็ดเทศ
  2. สื่อและนวัตกรรมจากสาระหลักสูตรท้องถิ่น

ผลลัพธ์(Outcome)

  1. นักเรียนจำนวน79 คน ได้เรียนรู้และมีทักษะในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน ทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีรายได้ระหว่างเรียน มีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพดี มีผลการเรียนดีและมีความมั่นคงทางอาหาร
  2. นักเรียนมีทักษะชีวิตสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประกอบอาชีพได้ หรือบูรณาการกับการดำรงชีวิตประจำวันที่บ้านได้อย่างมีความสุข
  3. ครูสามารถนำสาระหลักสูตรท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามโครงการการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน(Active Learning)และกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่โรงเรียนใช้โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) เป็นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ครูจัดการเรียนการสอนสาระหลักสูตรท้องถิ่นที่บูรณาการกับตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 แบบ Active Learning5 ขั้น ตอน คือ Learning to QuestionLearning to Search Learning to Construct Learning to CommunicateLearning to Serve เป็นไปตามกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  5. โรงเรียนดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) โดยใช้กระบวนการและยุทธศาสตร์จากผลผลิตและผลลัพธ์อย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. คณะครูรวบรวมและจัดทำหลักสูตรกรอบสาระท้องถิ่น 10 กลุ่มอาชีพ ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)
  2. คณะครู/ผู้รับผิดชอบกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานจัดทำหลักสูตรแต่ละกิจกรรมจำนวน 10 หลักสูตร
  3. ครูผู้รับผิดชอบแต่ละองค์ประกอบ/กลุ่มอาชีพผลิตสื่อ/นวัตกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. โรงเรียนออกคำสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการ วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559
  2. คณะครูจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น 10 อาชีพ เพื่อบูรณาการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) กับการขับเคลื่อนโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน(Active Learning)และโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
  3. คณะครูกำหนดขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น วิเคราะห์องค์ประกอบของกรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่น จัดทำสาระหลักสูตรท้องถิ่น จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อนวัตกรรมที่บูรณาการเข้ากับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
  4. นำหลักสูตร 10 กลุ่มอาชีพสู่การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

 

267 10

4. การทำปุ๋ยอินทรีย์

วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) มีวัตถุดิบเพื่อทำอาหารกลางวันจากกิจกรรมทั้งหมดแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต(Output)

  1. กรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่นการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
  2. ครู นักเรียน นักการภารโรง มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
  3. สื่อ/นวัตกรรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
  4. ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ

ผลลัพธ์(Outcome)

  1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเห็นคุณค่าของการทำเกษตรอินทรีย์ในชีวิตประจำวัน
  2. นักเรียนสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพสำหรับการเกษตรที่โรงเรียนและที่บ้าน เพื่ออาหารปลอดภัย
  3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการทำเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต
  4. นักเรียนเป็นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในครอบครัวและชุมชนตลอดจนสามารถนำชุมชนเพื่อผลิตเกษตรอินทรีย์สู่ความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

โรงเรียนปลูกผักสวนครัว

ปีที่ 1 พบว่า ขาดปุ๋ยที่จะเสริมสร้างให้ผลผลิตมีคุณภาพและปริมาณมากขึ้นซึ่งจะทำให้ได้ผักปลอดสารส่งอาหารกลางวันปรุงเป็นอาหารอย่างมีคุณค่า

ปีที่ 2 เกษตรอำเภอแนะนำว่า ควรใช้มูลสุกร ไก่ ไปทำปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยหมักและน้ำหมักมาสนับสนุนเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้นและปลอดสารด้วย ซึ่งกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์จะได้ดำเนินการตามกระบวนการต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ครูทำความเข้าใจกับนักเรียนกลุ่มอาชีพทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
  2. ครู นักเรียนและเกษตรอำเภอเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
  3. เกษตรอำเภอให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกสิกรรมแบบปลอดสารพิษ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
  4. เกษตรอำเภออธิบายขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นร่วมกับครู นักเรียน นักการภารโรงลงมือปฏิบัติทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
  5. นักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้เกิดองค์ความรู้

 

267 43

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 17 4                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 32,000.00                  
คุณภาพกิจกรรม 16 14                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)เป้าหมายต้องการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนทำให้มีปัญหาในการประสานงานและการดำเนินงาน
2. ผู้ปฏิบัติ คือ นักเรียนยังขาดความตระหนักในการเป็นผู้ผลิตเพื่อการบริโภคสำหรับเสริมสร้างสุขภาพของตนเองด้วยโภชนาการจากเกษตรในโรงเรียน
3. ปัญหาผู้ปกครอง คือ ไม่มีเวลามาช่วยดูแล สนับสนุนกิจกรรมของบุตรหลานตามที่ได้ตกลงกับทางโรงเรียน
4. ปัญหาเกี่ยวกับครู คือ ครูมีน้อยต้องรับผิดชอบงานหลายด้าน

ภาคีทุกภาคส่วน ผู้ปกครองต่างก็มีภาระ หรืองานหลักมากมาย

ปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเวลาและโอกาสของผู้มีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างหลากหลาย

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2 ( 21 ต.ค. 2559 )
  2. การถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส ( 1 ธ.ค. 2559 - 31 มี.ค. 2560 )

(................................)
นายเผ่า วามะลุน
ผู้รับผิดชอบโครงการ